จดทะเบียน สมรสกับชาวเยอรมัน ในไทย

จดทะเบียนสมรสที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ

คำร้องนิติกรณ์ขอจดทะเบียนสมรส (แบบ PDF)

สถานกงสุลใหญ่ ฯ ไม่รับจดทะเบียนสมรสระหว่างคนสัญชาติไทยกับคนสัญชาติเยอรมัน รับจดทะเบียนสมรสเฉพาะระหว่างคนสัญชาติไทยกับคนสัญชาติไทย หรือระหว่างคนสัญชาติไทยกับคนสัญชาติอื่น ๆ เท่านั้น

ผู้ยื่นคำร้องทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ต้องยื่นเอกสารเหมือนกัน ดังนี้

  • หนังสือรับรองโสดตัวจริง ถ้าเคยแต่งเคยหย่ามาก่อนต้องมีหนังสือรับรองโสดหลังหย่า หรือถ้าคู่สมรสเสียชีวิตต้องมีหนังสือรับรองโสดว่าหลังคู่สมรสเสียชีวิตแล้วไม่ได้แต่งงานอีก หนังสือรับรองโสดนี้ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก
    • ในกรณีหย่ามาก่อน ให้ยื่นสำเนาใบสำคัญการหย่าหรือคำพิพากษาหย่าด้วย 1 ชุด
    • ในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต ให้ยื่นสำเนามรณบัตรด้วย 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) 1 ชุด
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แล้วแต่กรณี เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล เป็นต้น

หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้วและไม่มีข้อขัดข้องประการใด เจ้าหน้าที่จะนัดหมายให้ท่านเดินทางไปจดทะเบียนสมรสที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ

หากท่านไม่มีหนังสือรับรองโสด ท่านสามารถเดินทางไปยื่นคำร้องมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ เพื่อให้ญาติไปขอหนังสือรับรองโสดที่อำเภอได้ (ข้อมูลมอบอำนาจดูที่ “มอบอำนาจและหนังสือยินยอม”)

และดูข้อมูลการใช้นามสกุลหลังสมรสตามกฎหมายไทยใน “พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548” เพื่อตัดสินใจเลือกใช้นามสกุลหลังสมรสตามที่กฎหมายไทยกำหนดไว้

การจดทะเบียนสมรส

  • จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  • การเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสและ/หรือคำนำหน้าชื่อหลังสมรส
  • การจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายเยอรมัน

จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

Download :คำร้องนิติกรณ์ขอจดทะเบียนสมรส (คลิกที่นี่)

สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับจดทะเบียนสมรสระหว่างคนสัญชาติไทยกับคนสัญชาติเยอรมัน รับจดทะเบียนสมรสเฉพาะระหว่างคนสัญชาติไทยกับคนสัญชาติไทย หรือระหว่างคนสัญชาติไทยกับคนสัญชาติอื่นๆ เท่านั้น

ผู้ยื่นคำร้องทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ต้องยื่นเอกสารเหมือนกัน ดังนี้

  • หนังสือรับรองความเป็นโสดตัวจริง ถ้าเคยแต่งเคยหย่ามาก่อนต้องมีหนังสือรับรองความเป็นโสดหลังหย่า หรือถ้าคู่สมรสเสียชีวิตต้องมีหนังสือรับรองความเป็นโสดว่าหลังคู่สมรสเสียชีวิตแล้วไม่ได้แต่งงานอีก หนังสือรับรองความเป็นโสดนี้ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก
    • ในกรณีหย่ามาก่อน ให้ยื่นสำเนาใบสำคัญการหย่าหรือคำพิพากษาหย่าด้วย 1 ชุด
    • ในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต ให้ยื่นสำเนามรณบัตรด้วย 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) 1 ชุด
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แล้วแต่กรณี เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล เป็นต้น

หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้วและไม่มีข้อขัดข้องประการใด เจ้าหน้าที่จะนัดหมายให้ท่านเดินทางไปจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หากท่านไม่มีหนังสือรับรองความเป็นโสด ท่านสามารถเดินทางไปยื่นคำร้องมอบอำนาจที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ เพื่อให้ญาติไปขอหนังสือรับรองความเป็นโสดที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอได้และดูข้อมูลการใช้นามสกุลหลังสมรสตามกฎหมายไทยใน “พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548” เพื่อตัดสินใจเลือกใช้นามสกุลหลังสมรสตามที่กฎหมายไทยกำหนดไว้

  • ถ้าท่านเคยสมรส หรือหย่า ตามกฎหมายเยอรมัน หรือตามกฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ต้องแจ้งให้สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่เมืองไทยทราบด้วย เพื่อไปยื่นขอจดทะเบียน คร. 22 ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ตนมีถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน และเพื่อแก้ไขนามสกุลและคำนำหน้านามให้ถูกต้องตามสถานภาพการสมรสของท่าน
    • ถ้าเคยสมรสและหย่าตามกฎหมายเยอรมัน
      • ขอทะเบียนสมรส* ที่เป็น international Heiraturkunde จาก standes Amt  ที่ตนได้ทำการสมรส และนำไปรับรองการที่ เรียกว่า การทำ legalization หรือ Legalisierung ที่ Regierungspräsidium*
      • นำทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรองแล้ว พร้อมคำพิพากษาหย่าไปแปลเป็นภาษาไทยโดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาล
      • นำเอกสารดังกล่าวมารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้ที่
        Royal Thai Embassy,
        Lepsiusstrasse 64/66,
        12163 Berlin
        หมายเลขบัญชีสำหรับการโอนค่าธรรมเนียมคือ
        Royal Thai Embassy
        Deutsche Bank
        Kontonummer 419205000700
        BLZ 10070000
      • นำเอกสารไปทำการรับรองลายมือชื่อกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่กรมการกงสุล (ถนนแจ้งวัฒนะ)
      • ไปยื่นขอทำ คร.22 ที่สำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอ ขอแก้ไขชื่อและคำนำหน้าในทำเบียนราษฎรให้ถูกต้องตามสถานภาพสมรสปัจจุบัน

* หากท่านเป็นนางสาว ท่านควรจะเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็น “นาง” ภายหลังการสมรส เพื่อให้เจ้าที่ทางการเยอรมนีจะได้เข้าใจถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง

* หากท่านไม่สามารถไปดำเนินการตามข้อ 4 และ 5 ด้วยตนเองได้ ท่านสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่น (ญาติ หรือเพื่อน) ไปดำเนินการแทนได้ กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มได้ในส่วนหนังสือมอบอำนาจ

    • ถ้าเคยสมรสและหย่าตามกฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในเยอรมนี ให้ใช้ทะเบียนสมรสและใบสำคัญการหย่าของไทยยื่นประกอบการทำหนังสือมอบอำนาจ
    • ถ้าคู่สมรสถึงแก่กรรม และประสงค์จะทำการสมรสใหม่ ต้องขอใบรับรองความเป็นโสดก่อนทำการสมรส ในกรณีที่คู่สมรสเป็นชาวเยอรมัน และท่านไม่เคยแจ้งการแต่งงานต่อทางการไทย ท่านต้องแจ้งโดยนำทะเบียนสมรสและมรณบัตรไปรับรองที่ Regierungspräsidium แล้วนำไปแปลเป็นภาษาไทยโดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาล (รายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้เพิ่มเติม ดูที่คำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจ)
  • Regierungspräsidium เนื่องจากหน่วยงานที่มีสิทธิรับรองเอกสารของประเทศเยอรมนีมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ดังนั้น หากท่านไม่ทราบว่าจะนำทะเบียนสมรสไปทำ Legalisierung ที่ไหน ให้สอบถามสำนักทะเบียนที่ออกเอกสารให้ท่าน หรือสอบถามหน่วยงานปกครองของเมืองที่ท่านพำนักอยู่ (Stadtverwaltung)

การเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสและ/หรือคำนำหน้าชื่อหลังสมรส

Download :คำร้องเปลี่ยนนามสกุลและ/หรือคำนำหน้าชื่อหลังสมรส (คลิกที่นี่)

หญิงไทยสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส เช่น โดยการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก “นางสาว” เป็น “นาง” และ/หรือขอเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรสได้ดังนี้

ก. การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและนามสกุลหลังการสมรสชั่วคราวในหนังสือเดินทาง  

การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือนามสกุลหลังสมรสชั่วคราวทำได้แต่ในหนังสือเดินทางรูปแบบเก่าเท่านั้น ในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ไม่สามารถขอแจ้งเปลี่ยนได้แต่อย่างใด

  1. นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag) ไปรับรองที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องในแต่ละรัฐ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่ “หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน“)
    และหากท่านจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศอื่น เช่น เดนมาร์ก ต้องนำทะเบียนสมรสดังกล่าว ไปรับรองที่กระทรวงต่างประเทศของเดนมาร์ก และที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน ตามลำดับ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่ “การรับรองทะเบียนสมรสเดนมาร์ก“)

โปรดทราบ “บันทึกฐานะแห่งครอบครัว” (Familienbuch) และ “ใบรับรองการสมรส” (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้

  1. นำใบทะเบียนสมรสที่รับรองมาแล้ว (สำเนา 1 ชุด) มายื่นคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ และ/หรือ ขอเปลี่ยนนามสกุลที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยยื่นเอกสารประกอบต่อไปนี้
    1. สำเนาทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
    2. หนังสือเดินทางตัวจริง และสำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด
    3. ซองเปล่าติดแสตมป์ 4 ยูโร (หากยื่นทางไปรษณีย์)
    4. ค่าธรรมเนียม 3 ยูโร (ส่งเป็นเงินสดเท่านั้น)

ข. การแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวและเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย 

ตามกฎหมาย บุคคลสัญชาติไทยเมื่อสมรสหรือหย่าแล้วในต่างประเทศต้องแจ้งบันทึกฐานะแห่งครอบครัวหรือสำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอที่ตนมีชื่ออยู่

  1. นำทะเบียนสมรสที่รับรองแล้วไปให้นักแปลภาษาไทยที่มีใบอนุญาตจากศาลเยอรมันแปลเป็นภาษาไทย และมอบสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านและสูติบัตรไทยให้ล่ามด้วย 1 ชุด เพื่อให้ล่ามแปลชื่อ-นามสกุลของท่านให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ล่ามต้องเย็บคำแปลภาษาไทยและต้นฉบับภาษาเยอรมันเข้าด้วยกัน เป็น 1 ชุด พร้อมประทับตราและลงลายมือชื่อรับรองการแปลด้วย
  2. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 1) มารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร)
  3. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 2) ที่รับรองมาจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปรับรองครั้งสุดท้ายที่
    กองสัญชาติและนิติกรณ์
    กรมการกงสุล
    กระทรวงการต่างประเทศ
    ถนนแจ้งวัฒนะ
    เขตหลักสี่
    กรุงเทพ ฯ
    10210
    โทร. 02-575-1056-59,
    แฟกซ์ 02-575-1054
  4. นำทะเบียนสมรสและคำแปลที่รับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ (เอกสารจากข้อ 3) ไปแจ้งนายทะเบียนที่สำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอในประเทศไทยที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านภายหลังการสมรสตามสามีต่อไป หลังจากนั้นจึงนำทะเบียนบ้านไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนนี้ ต้องไปทำด้วยตัวเองที่ประเทศไทยเท่านั้น

การจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายเยอรมัน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ขอแจ้งให้ทราบว่า กฎหมายไทยไม่ยอมรับการจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายเยอรมัน (Lebenspartnerschaft) แต่อย่างใด

บุคคลสัญชาติไทยที่ได้จดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกันจึงไม่สามารถแจ้งการจดทะเบียนดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการไทยได้เช่น ไม่สามารถมายื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรสที่เป็นบุคคลเพศเดียวกันได้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอแนะนำให้ท่านที่วางแผนจะจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายเยอรมันเลือกใช้นามสกุลเดิมของตนเป็น “นามสกุลหลังการจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน” เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการเปลี่ยนนามสกุล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง