Medical Representative เงินเดือน

เป้าหมายของอาชีพเภสัชกรจะขึ้นอยู่กับว่าเป็นเภสัชกรที่ทำงานในสถานที่ทำงานประเภทไหน ถ้าเป็นเภสัชในบริษัทยาที่ดูแลในส่วนของการขายก็จะเรียกว่า ผู้แทนยา ทำหน้าที่ให้ข้อมูลยากับคุณหมอ เพราะยามันมีหลายตัวมาก ถ้าไม่มีอาชีพนี้ คุณหมอก็จะไม่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ต้องอัพเดทตลอดเวลา อาชีพนี้ก็ถือเป็นอาชีพที่สำคัญเหมือนกัน เราก็จะมีหน้าที่ไปหาคุณหมอ มีข้อมูลอะไรอัพเดทใหม่ๆ เพราะบางทีภาระงานของคุณหมอเยอะ ไม่ว่าจะเป็นคนไข้เยอะ ออกตรวจเยอะ บางทีการหาข้อมูลเหล่านี้จะไม่อัพเดท เราก็มีหน้าที่ช่วยสนับสนุนตรงนั้น

การทำงานของเราจริงๆเราไม่ได้ประจำอยู่ที่บริษัท แต่เราจะมีหน้าที่ที่รับผิดชอบแบ่งเป็นทีมว่าคนนี้ดูพื้นที่เขตไหนและดูแลยาอะไร ที่บริษัทก็จะมีการอัพเดทข้อมูลให้ทุกเดือน เราต้องอัพเดทข้อมูลยาของเราก่อนว่ายาอันนี้มีข้อบ่งใช้ (Indication) ยังไง ใช้ในคนไข้กลุ่มไหนได้ ดีกว่ายาตัวอื่นยังไง ทำไมคุณหมอต้องเลือกใช้ยาของเรา อีกอันนึงคือผลเสีย Side Effect ตรงนี้ก็สำคัญ ถ้าไล่เป็นลำดับขั้นตอนน่าจะเป็นดังนี้

หนึ่งก็คือต้องเทรนเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้า (ยา) ก่อน พอเราเทรนเสร็จแล้วเราก็จะเดินทางไปหาคุณหมอในเขตที่เรารับผิดชอบ เพื่อไปให้ข้อมูลในแต่ละวัน นี่ก็คือหน้าที่ของเรา พอสิ้นเดือนกลับเข้ามาออฟฟิศ เขาก็จะมีการดูว่าที่เราไปให้ข้อมูลคุณหมอ คุณหมอมีการสั่งใช้ยาให้กับคนไข้ตรงตามยอดที่บริษัทกำหนดไว้ไหม

เวลาเราจะไปพบคุณหมอเราก็ต้องดูเวลาว่าคุณหมอว่างตอนไหน ต้องหาข้อมูลเองในเขต ไม่ใช่ว่าไปได้เลย สมมติคุณหมอมีคนไข้อยู่ เราก็ต้องถามพี่พยาบาลหน้าห้องว่าคุณหมอมีเคสอีกกี่คน จะหมดกี่โมง เราก็ต้องไปรอ ไม่ใช่ว่าจะแทรกเข้าไป

ถ้าเฉพาะในฝั่่งของอาชีพในโรงพยาบาลที่เราต้องเกี่ยวข้องด้วย อย่างแรกเลยก็คือแพทย์ สำคัญที่สุด เพราะว่าเราต้องไปให้ข้อมูลคุณหมอเพื่อที่คุณหมอจะได้จ่ายยาคนไข้ได้อย่างถูกต้อง

สองก็คือเภสัชกรเหมือนกันแต่เป็นเภสัชกรที่ทำงานในโรงพยาบาล ซึ่งจะมีอยู่ 2 ส่วน คือ เภสัชกรที่ดูแลเรื่องคลังยา เราก็ต้องไปให้ข้อมูลเรื่องการเก็บรักษายา สต๊อกยา แล้วก็เภสัชกรที่จ่ายยาเพราะบางทีก่อนที่คนไข้จะรับยาไป เภสัชกรก็ต้องอธิบายข้อมูลให้กับคนไข้

แล้วก็สมาก็คือพยาบาลด้วย เพราะถ้าในบางกรณีเราขายยาที่คนไข้ไม่สามารถบริหารเองได้ อย่างเช่น ยาฉีดที่พยาบาลต้องฉีดให้คนไข้ เราก็ต้องไปสอนพยาบาลว่ายาของเราฉีดยังไง

อาชีพนี้ก็จะทำงานอยู่ในบริษัทยาทั้งที่รับยาจากต่างประเทศมาขาย (ยา original) และบริษัทยาที่ผลิตและขายยาที่หมดสิทธิบัตร (localmade)

หลักๆ ของอาชีพนี้ ไม่มีชั่วโมงการทำงานที่ชัดเจน ทางบริษัทยาเขาจะไม่จำกัดเลยว่าเราต้องทำงานกี่โมง เลิกกี่โมง คนที่ประกอบอาชีพนี้ต้องจัดการเรื่องนี้เอง เพราะบางทีคุณหมอออก OPD นอกเวลาตอนเย็นถ้าเราจำเป็นต้องพบเราก็ต้องอยู่รอ บางทีก็ทุ่ม สองทุ่ม บางทีคุณหมอคลินิกรุ่งอรุณตอนเช้า เราจำเป็นต้องพบก่อน 7 โมง เราก็ต้องไป

อาชีพนี้มันจะฝึกเราให้ต้องเป็นคนมีวินัยและมีความรับผิดชอบสูงมาก และอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราต้องจัดสรรเวลาให้มีประสิทธิภาพที่สุดตลอดเวลา อาชีพนี้เหมาะกับคนที่รักอิสระแต่ต้องมีวินัยในการคุมตัวเอง

ในด้านของบุคลิกลักษณะนิสัยที่เหมาะกับอาชีพ คือ

  1. ความรับผิดชอบ
  2. คือต้องมี Service-mind ใจรักการบริการ เพราะเราทำงานเหมือนเราไปขายของให้คนอื่น

ในด้านความรู้พื้นฐานอาชีพนี้จะยากตรงที่ สำหรับเด็กใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ คนที่จบเภสัชก็จะมีข้อได้เปรียบมากกว่า แต่ถ้ามีประสบการณ์แล้ว ไม่ว่าจะจบอาชีพอะไรมาก็ได้เหมือนกัน ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่เป็นพื้นฐานคือประสบการณ์ในงานมากกว่า

ในด้านของเครื่องมือ เราจะมีที่เรียกว่า CME Plus เป็นเอกสารงานประชุมทางวิชาการ ก็จะมีข้อมูลว่างานประชุมจัดวันที่เท่าไหร่ จัดที่ไหน แล้วใครเป็น Speaker เราก็เอาข้อมูลนี้ไปให้คุณหมอ บอกคุณหมอว่าเรามีเอกสารมาอัพเดท งานประชุมพูดเรื่องนี้ และบอกรายละเอียดให้คุณหมอฟัง คุณหมอก็จะรู้ว่ายาเราใช้แบบนี้ คนอื่นก็ใช้กัน มีประโยชน์แบบนี้ อันนี้คือการประชุมของสมาคมกลาง

อีกอันจะเป็นเอกสารของที่บริษัททำมา อันนี้ Product Manager มีหน้าที่อัพเดทข้อมูลทางวิชาการ ทางบริษัททำขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลคุณหมอ

คุณค่าต่อตัวเราเองนอกจากผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินและสวัสดิการต่างๆ แล้ว อาชีพนี้ยังจะทำให้เราพัฒนาตัวเองขึ้นอีกเพราะเป็นอาชีพเหมือนอาชีพอิสระที่เราต้องจัดการตัวเอง ซึ่งต้องมีวินัยมากๆ ถ้าเป็นอาชีพอื่น ตื่นเช้ามา เวลานี้ไปตอกบัตร ตอนเย็นกลับบ้าน แต่อาชีพนี้เราต้องวางแผนตัวเองตลอดเวลา เราต้องไปพบคุณหมอ 7 โมง เราต้องวางแผนว่าในหนึ่งอาทิตย์เราจะทำงานยังไงบ้าง วันจันทร์ไปพบคุณหมอกี่โมง มันฝึกให้เราจัดการตัวเอง ถ้าเราไปแล้วพลาดไม่ได้พบจะทำยังไง เราก็ต้องมีแผนสำรอง

ส่วนคุณค่าที่มีต่อสังคมและคนรอบข้าง อาชีพนี้ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีประโยชน์กับคนไข้ เพราะหน้าที่หลักของเราคือการไปให้ข้อมูลกับคุณหมอว่ายาเรามีประโยชน์กับคนไข้ยังไง มันมีความคืบหน้าด้านการรักษาอะไรบ้างที่คุณหมอจะสามารถนำไปใช้กับคนไข้ของตนเองได้

ตำแหน่งต่ำสุดเรียกว่าผู้แทนยา (Medical Representative) ถ้าโตขึ้นไปตามขั้น สามารถขึ้นไปได้สองขา คือ Sales Manager กับ Product Manager หลังจากนั้นแล้วก็จะขึ้นไปเป็น Business Unit/ Business Director ดูทั้งหมดของยาตัวนี้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการตลาดหรือฝ่ายขาย

ส่วนถ้าถามว่าเปลี่ยนเป็นเภสัชกรที่ทำงานที่อื่นได้ไหม เภสัชกรเป็นได้หมดเลย ทั้งเปิดร้านขายยา เช่น เราทำงานจันทร์-ศุกร์ เสาร์อาทิตย์มีเวลาว่างเราก็สามารถเอาเวลานั้นไปเปิดร้านยาได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องทำอย่างเดียว หรืออาจจะกลับไปทำงานเป็นเภสัชกรในโรงพยาบาล หรือจะย้ายไปเป็นเภสัชกรที่ดูแลส่วนผลิตหรือส่วนควบคุมคุณภาพในโรงงานผลิตยาก็ได้

อาชีพนี้ไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะทาง แต่ถ้าจบเภสัชก็ถือเป็นข้อได้เปรียบ คนที่อยู่ในบริษัทยาบางคนที่ไม่ได้อยู่บริษัท Original เขาก็อาจจะไปอยู่บริษัทเล็กๆมาก่อน พอมีประสบการณ์การทำงานเขาก็ค่อยขอย้ายเข้ามาบริษัท Original เพื่อเหตุผลหนึ่งคือโปรไฟล์ที่ดีขึ้น สองคือรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ถามว่าจำเป็นต้องจบเภสัชไหม อันนี้แล้วแต่เกณฑ์ของบริษัทเลย บางคนที่ไม่จบเภสัชเก่งกว่าคนที่จบเภสัชมาก็มี เขามีความพยายามมากกว่า ฉะนั้นการจบเภสัชไม่ได้เป็นข้อกำหนดของอาชีพนี้ แต่ถ้าจบมาก็ดี เพราะเวลาเทรนสินค้าก็จะเข้าใจได้ง่ายมากกว่า เพราะเขาก็จะสอนเหมือนวิชาที่หมอเรียนเลย เภสัชที่แตกต่างจากหมอคือฉีดยาไม่ได้ ผ่าตัดไม่ได้ และไม่ได้เรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ลึก เราจะมาเน้นทางเคมีมากกว่า อย่างพวกกลไกยา ผลข้างเคียง ข้อมูลการใช้

แหล่งข้อมูลสำหรับหาเพิ่มเติมก็สามารถไปเสิร์ชในอินเทอร์เน็ตได้ เดี๋ยวนี้ก็จะมีที่พี่เภสัชไปสร้างเป็นบล็อค ถ้าเป็นบล็อคจะมีเยอะ หรือจะเป็นของสภาเภสัชกรรมก็ได้ อาชีพพี่เขาจะเรียกว่าวิชาชีพ ไม่ใช่อาชีพ

คำว่าวิชาชีพในที่นี้หมายความว่าจะมีสภาวิชาชีพที่เป็นองค์กรคอยดูแลเราอีกทีหนึ่ง เหมือนวิศวะก็จะมีสภาวิศวะ เภสัชกรก็จะมีบัตรประจำตัวเภสัช พอเราเรียนจบเขาจะให้ไปสอบเป็นใบประกอบวิชาชีพ เป็นใบอนุญาติ แล้วตอนนี้เขาจะต้องให้เก็บหน่วยกิตอย่างน้อยปีละ 10-20 หน่วยกิต เพื่อต่ออายุ ถ้าสมมติ 5 ปีเราเก็บไม่ครบร้อย ใบประกอบเราก็จะถูกยึด หน่วยกิจที่ว่าคือข้อสอบ หรืองานประชุม เขาก็จะบอกว่าตอนนี้มีงานประชุมอะไร ถ้าเข้าร่วมได้กี่หน่วยกิต หรือไม่ก็จะมีข้อสอบในเว็บสภาเภสัชกรรม ถ้าเราทำถูกก็ได้หน่วยกิตไป เราต้องตามเอง ก็จะรู้จากกลุ่มเพื่อนๆกัน ตอนนี้เภสัชกรทุกคนต้องมีบัตรนี้ แต่ก่อนไม่มี เพิ่งมาเริ่มปีที่แล้ว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง