โรค ms รักษา ที่ไหน ดี

ก่อนอื่นคุณสาวๆ ควรเริ่มที่การทำความรู้จัก “ปลอกประสาท” ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการนำกระแสประสาทไปทั่วร่างกายของเราเสียก่อน ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการอักเสบหรือความผิดปกติใดๆ ของปลอกประสาทเหล่านี้ย่อมส่งผลให้การนำกระแสประสาทของอวัยวะนั้นผิดปกติ  มักเป็นการผิดปกติด้านการมองเห็น การเคลื่อนไหวร่างกาย และการรับความรู้สึก กลุ่มอาการเหล่านี้เรียกว่า โรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง (Demyelinating Disease)  ซึ่งหลายคนคงไม่คุ้นหู เพราะนี่เป็นโรคที่จะพบได้ก็ต่อเมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยตรงเท่านั้น!

 

 

พบมากในผู้หญิงวัยทำงาน

กลุ่มโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง ที่พบบ่อยมีหลายอาการ ในที่นี้เราจะเน้นไปที่ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือเรียกง่ายๆ ว่า “โรค MS” ซึ่งมักพบในผู้ป่วยเพศหญิง "วัยหนุ่มสาว" หรือ "วัยทำงาน" คือ ช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี ดังนั้นคุณสาวๆ ควรหมั่นสังเกตอาการซึ่งมีอาการหลากหลายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติว่าทำหน้าที่ใด

 

  • อาการแขน-ขา ชา อ่อนแรง
  • ตามัว การมองเห็นผิดปกติ
  • ปวดตา กลอกตาแล้วเจ็บ
  • ทรงตัวลำบาก
  • พูดหรือกลืนลำบาก
  • ระบบทางเดินปัสสาวะอุจจาระผิดปกติ

 

การกำเริบเฉียบพลันและการเป็นซ้ำ

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง (Demyelinating Disease) มักจะมีอาการผิดปกติแบบเฉียบพลัน เกิดอาการเร็ว ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือช้าสุดอาจใช้เวลาเป็นวัน อาการแบบเฉียบพลันนั้น อาจจะค่อย ๆ ทุเลาจนกลับมาปกติเหมือนเดิม หรือเกือบปกติเท่าเดิม แล้วก็กลับมาเป็นซ้ำอีกได้ ส่วนผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส ส่วนใหญ่จะเกิดอาการแบบรุดหน้า คือ อาการจะค่อย ๆ หนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะเกิดขึ้นในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลานานเป็นเดือน

 

แนวทางการดูแลรักษา

แม้ว่าอาการต่างๆ เหล่านี้จะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การที่ผู้ป่วยพบอาการและพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยเร็ว จะช่วยให้คุณสาวๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ลดอาการอักเสบลงไม่ลุกลามเป็นอาการรุนแรงจนมีโอกาสสูญเสียความสามารถในการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งลดโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพในระยะยาวได้

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลางที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลัน ด้วยการ การใช้ยาสเตียรอยด์ในปริมาณสูง ซึ่งมีการศึกษาเปรียบเทียบแบบดูข้อมูลย้อนหลังจำนวนมากแสดงถึงประโยชน์ของการให้ยาสเตียรอยด์ทางหลอดเลือดในปริมาณสูง หากอาการกำเริบรุนแรงหรืออาการที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ในปริมาณสูงทางหลอดเลือดดำ สามารถพิจารณาทางเลือกในการรักษาอีกหลายแนวทาง

หลายคนอาจยังไม่ค่อยรู้จัก หรือไม่เคยได้ยินชื่อโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง มากเท่าใดนัก เพราะเป็นโรคที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น โรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทจากระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทตา ฯลฯ เนื่องมาจากเม็ดเลือดขาวหลั่งสารที่เข้าไปทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาท ทำให้ระบบประสาทได้รับความเสียหาย ดังนั้น การวินิจฉัยโรคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก มาทำความรู้จักกับกลุ่มโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลางกันไว้ดีกว่า เพื่อที่จะช่วยป้องกันและดูแลตัวเองได้อย่างทันท่วงที

 

โรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลางคืออะไร

โรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง (Demyelinating Disease) เป็นกลุ่มโรคที่ทำลายมัยอิลิน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นรอยโรคที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยมัยอิลิน (Demyelination) คือองค์ประกอบส่วนใหญ่ของส่วนเนื้อขาว (White Matter) ของสมองและไขสันหลัง เมื่อมีการทำลายมัยอิลิน ก็จะเห็นอาการที่เรียกว่ารอยโรคได้อย่างชัดเจน ที่บริเวณระบบประสาทส่วนกลาง คือส่วนสมองใหญ่ สมองน้อย ก้านสมอง และไขสันหลัง โดยรอยโรคที่เห็นจะมีทั้งรอยเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป หรืออาจเกิดเป็นรอยขนาดใหญ่ ก็ได้เช่นกัน

โรคในกลุ่มปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง อย่างเช่น โรคมัลติเพิล สเคลอโรสิส (Multiple Sclerosis : MS) กลุ่มโรคนิวโรมัยอิลัยติส ออพติกา (Neuromyelitis Optica Spectrum Disorder : NMOSD) และโรค Acute Disseminated Encephalomyelitis : ADEM โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคอย่างชัดเจน แต่เบื้องต้นพบว่ามาจากระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย โดยเฉพาะเซลล์ลิมโฟไซต์ ชนิด T-lymphocyte และ B-lymphocyte ที่ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด ภาวะพร่อง หรือภาวะขนาดวิตามินดี ฯลฯ

สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้เนื้อเยื่อในระบบประสาทส่วนกลางอักเสบ จนไปทำลายมัยอิลิน และใยเส้นประสาท จนถึงเซลล์ประสาท ถึงแม้ว่าจะมีการพบโรคในกลุ่มปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลางไม่บ่อยนักก็ตาม แต่ก็พบการเกิดโรคในลักษณะนี้ซ้ำ ๆ จนทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถึงกับเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพ หรือถึงขั้นพิการ ซึ่งแน่นอนว่าการเริ่มต้นด้วยขั้นตอนการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง รวมไปถึงการวางแผนรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม จะทำให้สามารถช่วยชะลอการสะสมรอยโรค และลดความพิการได้ในระยะยาว

 

กลุ่มโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง ที่พบบ่อย

 

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis : MS) หรือโรคเอ็มเอส

เป็นโรคในกลุ่ม Demyelinating Disease ที่พบได้บ่อยที่สุด อาการของโรคเกิดจากมีการกระตุ้น T-lymphocyte ในร่างกาย ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ และนำให้ Inflammatory Cell มารวมกัน และหลั่งสาร Cytokine เข้าไปทำลายปลอกของมัยอิลิน ส่วนใหญ่จะพบที่เส้นประสาทตา ไขสันหลัง ฯลฯ ผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบ แล้วทุเลาลดลงสลับกัน แล้วอาการก็กลับมาเกิดวนซ้ำอีก ซึ่งในช่วงแรก ๆ อาจจะหายกลับมาเป็นปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเข้าสู่ระยะรุดหน้า จนอาการมากขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นพิการ และทุพพลภาพได้ในที่สุด โดยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส มักจะพบได้ในกลุ่มคนผิวขาว ที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น มีอายุประมาณ 20 - 40 ปี และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

 

โรค Neuromyelitis Optica Spectrum Disorders : NMOSD หรือโรคเดวิก Devic's Disease

เป็นโรคที่พบในคนไทยได้บ่อยกว่าโรคเอ็มเอส จัดอยู่กลุ่มโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (Autoimmune Disease) โดยโรค NMOSD เกิดจากการสร้าง Antibody ที่เกิดกับอะควาพอริน ชนิดที่ 4 (Aquaporin-4 : AQP4) ซึ่งทำให้เกิดอาการอักเสบ จนส่งผลให้มัยอิลินเสียหาย โดยจะเริ่มจากความผิดปกติบริเวณเส้นประสาทตา ไขสันหลัง ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน อาการของโรค NMOSD จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่จะเร็วและรุนแรง โดยโรค NMOSD สามารถเกิดขึ้นซ้ำ ซึ่งเมื่อเกิดแล้ว จะเป็นได้ตั้งแต่น้อยไปถึงมาก และทำให้ร่างกายค่อย ๆ สะสมความพิการตามจำนวนการกำเริบที่รุนแรงของโรค

 

โรค Acute Disseminated Encephalomyelitis : ADEM

ลักษณะโรคจะเกิดการอักเสบ และพบการทำลายมัยอิลิน กระจายไปทั่วสมองและไขสันหลัง โดยมักจะมีอาการหลังจากที่มีการติดเชื้อไวรัส หรือหลังจากที่มีการฉีดวัคซีน ไปแล้วในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปจะมีระยะฟักตัวประมาณ 4 - 12 วัน โดยผู้ป่วยโรค ADEM จะเริ่มจากมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ ค่อย ๆ ซึมลง บางรายอาจจะมีอาการคอแข็ง หลังแข็ง รวมทั้งอาการแขนขาชา หรืออ่อนแรง เพิ่มขึ้นมาด้วย ผู้ป่วย ADEM ส่วนใหญ่อาจจะหายดีขึ้นจนเป็นปกติ หรือมีความพิการบางส่วนหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะผู้ป่วยรายที่ป่วยเป็นโรคหัดหรือโรคอีสุกอีใสมาก่อน ส่วนผู้ป่วยรายที่เกิดอาการสมองบวมมาก อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ภาวะของโรค ADEM นั้น มักจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และพบได้ทั้งเพศหญิงและชายเท่า ๆ กัน

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง (Demyelinating Disease) ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการผิดปกติแบบเฉียบพลัน คือ อาการจะเกิดขึ้นเร็ว ช้าสุดใช้เวลาเป็นวัน หรืออาจจะเกิดอาการภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และอาการแบบเฉียบพลันนั้น อาจจะค่อย ๆ ทุเลาจนกลับมาปกติเหมือนเดิม หรือเกือบปกติเท่าเดิม แล้วก็กลับมาเป็นซ้ำอีกได้ ส่วนผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส ส่วนใหญ่จะเกิดอาการแบบรุดหน้า คือ อาการจะค่อย ๆ หนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะเกิดขึ้นในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลานานเป็นเดือน

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ป่วยควรจะต้องได้รับการวินิจฉัย และได้รับการดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอาการกำเริบของโรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลางในอนาคต หากพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อที่จะได้รับการรักษา และลดความรุนแรงของโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง