มรดกโลกทางธรรมชาติ ยูเนสโก

               ��ù��ʹ������ô��ҧ�Ѳ�������зҧ�����ҵ���������è����� "�ѭ����ª��������ô��š"  (World Heritage List) �С�з������Ѱ�����觻�����Ҥ� ��Ҫԡ������ӹҨ͸Ի���˹�������ô��ҧ�Ѳ�������зҧ�����ҵԹ��� ��ҹ��

               ����ȷ���ͧ����ʹͪ���ʶҹ���㹻���Ȣͧ�� ������Ѻ��þԨ�óҢ�鹷���¹���ô��š ��鹵͹�á�е�ͧ�Ѵ�Ӻѭ����ª���ʶҹ������դ����Ӥѭ�ҧ�Ѳ����� ��зҧ�����ҵԷ��������㹻���Ȣͧ�� �ѭ�չ�����¡��� “�ѭ����ª������ͧ��” (Tentative List) ����դ����Ӥѭ�ҡ ��������§ʶҹ������ժ�������㹺ѭ�չ����ҹ�鹷������Է�����Ѻ����ʹͪ��� ��鹵���һ���ȹ��� �е�ͧ���͡��ª���ʶҹ������ͧ����ʹͪ��� �Ҩҡ�ѭ����ª������ͧ�����ͨѴ���� "���������"  (Nomination File) �·ҧ�ٹ���ô��š�Ҩ�����й���Ъ��������㹡�èѴ�����������

               ��������Ũж١��Ǩ�ͺ��оԨ�óҨҡͧ��÷���֡�� ���� “��������ҧ�������Ҵ�����ҳʶҹ���������ҳ���” (The International Council on Monuments and Sites ���� ICOMOS) ��� "�ٹ�������ҧ�ҵ���Ҵ��¡���֡�� ���͹��ѡ�� ��л���ѧ�ó����ѵԷҧ�Ѳ�����" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property ���� ICCROM) ���ǹ�ͧ�ô��ҧ�Ѳ�������� "���Ҿ���͹��ѡ���š"  (The World Conservation Union ���� IUCN) ���ǹ�ͧ�ô��ҧ�����ҵ�

               �������Ԩ�óҢ����š�û����Թ�س��ҷ��ͧ��÷���֡������ʹ����� ��С�����ú����� (World Heritage Bureau) ��������繢���ʹ��� �����ʹ͵�ͤ�С�������ô��š�Ԩ�óҵѴ�Թ����

               ��С�������ô��š (World Heritage Committee) ���ա�û�Ъ�������ѹ����˹�觤��� 㹡�û�Ъ���������ѭ��Шӻ� ���͵Ѵ�Թ���ʶҹ������ա���ʹͪ������㴺�ҧ�����������鹷���¹���ô��š

ไทยพีบีเอสออนไลน์ รวบรวมมรดกของไทย 5 แห่งที่ยูเนสโก (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติ ล่าสุด "โขนไทย" เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

วันนี้ (30 พ.ย.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.-1 ธ.ค.นี้ ที่เมืองพอร์ตหลุยส์ สาธารณรัฐมอริเชียส ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก เข้าร่วมประชุม 181 ประเทศ

© Department of Cultural Promotion, Thailand, 2014

© Department of Cultural Promotion, Thailand, 2014


ขณะที่ที่ประชุมได้พิจารณาและประกาศให้ขึ้นบัญชี การแสดงโขนในประเทศไทย “Khon masked dance drama in Thailand” ในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ

ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีมรดกโลกทางธรรมชาติและมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว 5 แห่ง ได้แก่  

3 มรดกโลกทางวัฒนธรรม

ปี 2534 เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จ.สุโขทัย

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม


ปัจจุบันเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ปรากฏหลักฐานร่องรอยของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งบ้านเมืองในฐานะรัฐอิสระ จนกลายเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นเวลานานกว่า 200 ปี

ด้วยความโดดเด่นนี้ ส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 15 เมื่อปี 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ 1: เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรมที่มีความงดงาม และเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการสร้างสรรค์จากอัจฉริยภาพด้านศิลปะอย่างแท้จริง

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3: เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือหลักฐานที่แสดงขนบธรรมเนียม ประเพณีหรืออารยธรรมซึ่งยังหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว

โบราณวัตถุและโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเมืองประวัติศาสตร์นี้แสดงให้เห็นถึงผลงานสร้างสรรค์อันล้ำเลิศของมนุษย์ ความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสุโขทัยเป็นต้นแบบที่มีอิทธิพลต่อศิลปกรรมไทยสกุลช่างในระยะต่อมา ความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และพระพุทธรูปปางลีลา เป็นสิ่งยืนยันถึงความสำเร็จของศิลปกรรมในยุคแรกนี้ได้เป็นอย่างดี

ปี 2534 นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร จ.พระนครศรีอยุธยา

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม


แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 1,810 ไร่ในเขตเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยายังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ งดงามและทรงคุณค่า สะท้อนให้รำลึกถึงความสง่างามของปราสาท ราชวัง วัดวาอาราม ป้อมปราการ และบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต

นครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ พร้อมกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึก ศัตรูจากภายนอก

ขณะที่ผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชนหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระยะเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-24 อีกด้วย

หลักฐานแห่งอารยธรรมของชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2534  ด้วยหลักเกณฑ์ของคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value, OUV) ในข้อที่ 3 ดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3: เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว

ปี 2535 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม


แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรมสังคม และเทคโนโลยีที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดยาวนานกว่า 5,000 ปี ในช่วงเวลาระหว่าง 3,600 ปี ก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช 200 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปีพุทธศักราช 2535 จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 3 ดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3: เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว

นักโบราณคดี สันนิษฐานว่า วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียง แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ

1) ยุคต้น มีอายุระหว่าง 3,600-1,000 ปีก่อนคริสตศักราช (ราว 5,600-3,000 ปีมาแล้ว) ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดในยุคนี้ คือ ภาชนะดินเผาสีดำและสีเทาเข้ม มีเชิงหรือ ฐานเตี้ยตกแต่งลวดลายคล้าย

2) ยุคกลาง มีอายุระหว่าง 1,000-300 ปีก่อนคริสตศักราช (ราว 3,000-2,300 ปีมาแล้ว) ภาชนะดินเผาที่โดดเด่นที่สุดเป็นภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ก้นกลมและก้นแหลมผิวนอกมีสีขาวนวล ตกแต่งด้วยลายขีดผสมกับลายเขียนสี การฝังศพมักวางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาวมีเศษภาชนะดินเผาที่ถูกทุบคลุมทั้งตัว

3) ยุคปลายมีอายุระหว่าง 300 ปี ก่อนคริสตศักราช ถึงคริสตศักราช 200 (ราว 2,300-1,800) ภาชนะดินเผา มีความโดดเด่นสวยงามมากมีทั้งภาชนะเขียนลายสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ภาชนะเขียนลายสีแดง (อิฐ) บนพื้นสีแดงและภาชนะสีแดงขัดมัน ส่วนประเพณีการฝังศพมักวางศพนอนหงายเหยียดยาวมีภาชนะดินเผาเต็มใบวางอยู่บนลำตัว

2 มรดกโลกทางธรรมชาติ

ปี 2534 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง (ครอบคลุมพื้นที่ จ.อุทัยธานี กาญจนบุรี และตาก)

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งเป็นแหล่งมรดกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการประเมินคุณค่าให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ประกาศขึ้นทะเบียน เมื่อปี พ.ศ.2534 เป็นหนึ่งในพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญของ Indomalayan Realm ด้วยคุณสมบัติโดดเด่น ตามเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ 7: เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของกระบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางธรณีวิทยา และวิวัฒนาการทางชีววิทยาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของมนุษย์

หลักเกณฑ์ข้อที่ 9: เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความพิเศษเป็นเลิศ รวมทั้งมีความงดงามตามธรรมชาติที่หาได้ยากยิ่ง

หลักเกณฑ์ข้อที่ 10: เป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์หายากของโลกที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดชายแดนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ราว 350 กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ในเขตพื้นที่ จ.กาญจนบุรี และตาก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งอยู่ทางทิศตะวันออกในเขตพื้นที่ของ จ.อุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งสองแห่งนี้เป็นป่าต้นน้ำของลำน้ำสำคัญทางธรรมชาติที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำแควใหญ่ตอนบน (แม่น้ำแม่กลอง และลำห้วยขาแข้ง)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ได้รับการยกย่องให้เป็นผืนป่าอันยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่รวมประมาณ 6,222 ตารางกิโลเมตร หรือ 388,750 ไร่

นับเป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ของประเทศที่เป็นตัวแทนแสดงลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญของผืนป่าในแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ถึง 4 เขต คือ อินโด-หิมาลายัน ซุนดา อินโด-เบอร์มิส และอินโดจีน รวมทั้งเป็นถิ่นอาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ทั้ง 4 เขต อีกทั้งที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบนิเวศป่า เขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก

ทั้งนี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2503 (ปรับปรุงแก้ไขปีพุทธศักราช 2535) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อการคุ้มครองสัตว์ป่าที่นับวันจะลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ กฎหมายฉบับนี้จึงมีความเข้มงวดมากกว่ากฎหมายป่าไม้ฉบับอื่นๆ โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการโดยตรง คือ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ปี 2548 กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ (ครอบคลุมพื้นที่ จ.สระบุรี นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์)

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ภาพ : สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม


พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ประกอบด้วยพื้นที่คุ้มครอง หรือพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 3,854,083.53 ไร่ หรือ 6,152.13 ตารางกิโลเมตร

ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระบุรี นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ โดยด้านตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าบันทายฉมอร์ (Banteay Chmor) ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ (Protected Landscape) ของราชอาณาจักรกัมพูชา

รัฐบาลไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสู่อนาคต จึงได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่ป่าเขาใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณดงพญาเย็นของเทือกเขาพนมดงรักให้เป็นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งนับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย เมื่อปี 2505 และเมื่อกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีประสบการณ์และความพร้อมในด้านต่างๆ สูงขึ้น

รัฐบาลชุดต่อๆ มาได้ประกาศให้ป่าทับลาน ป่าปางสีดา และป่าตาพระยา เป็นอุทยานแห่งชาติในปีพุทธศักราช 2524 2525 และ 2539 ตามลำดับ รวมทั้งประกาศ ป่าดงใหญ่ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับป่าทับลาน ป่าปางสีดา และป่าตาพระยา ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในปีพุทธศักราช 2539

การประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติทั้ง 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง ทำให้ผืนป่าบริเวณนี้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่ จนได้รับการขนานนามว่า “พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” ซึ่งเชื่อว่าเอื้อต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งยังเป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลก หากมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและถูกหลักการ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-ปางสีดา-ทับลาน-ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขา ใหญ่” จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 29 เมื่อปี 2548 ที่เมืองเดอร์บัน สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐานในข้อ 10 ดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ 10: เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ

ขณะที่เว็บไซต์ของยูเนสโกยังระบุว่า ขณะนี้ไทยมีสถานที่ที่ขึ้นอยู่ในรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) จำนวน 6 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นมรดกโลก  ประกอบด้วย

  • เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง-ปราสาทเมืองต่ำ
  • อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท 
  • กลุ่มป่าแก่งกระจาน 
  • วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร 
  • อนุสรณ์สถานและพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเชียงใหม่ เมืองหลวงแห้งล้านนา 
  • วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ คณะกรรมการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เตรียมเสนอมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติเสนอต่อยูเนสโก เพื่อขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติในปี 2562 ได้แก่ นวดแผนไทย รวมทั้งยังมีการศึกษาแนวทางการเสนอมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีความคล้ายคลึงกันกับประเทศต่างๆ เพื่อเสนอเพิ่มเติมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก :
เว็บไซต์ยูเนสโก  
//whc.unesco.org/en/statesparties/th

เว็บไซต์ ฐานข้อมูลมรดกโลกของประเทศไทย 
//heritage.onep.go.th/Thai-World-Heritage/TWH/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง