ข่าว อาหาร ป น. เปื้อน ต่างประเทศ 2563

15 มิถุนายน 2562, 13:40น.


สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ หรือพีเอชอีเผย พบผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิต 2 ราย เนื่องจากรับประทานแซนด์วิชที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรีย ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อลิสเทอเรียที่มีการระบาดในช่วงนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 รายแล้ว


ก่อนหน้านี้ หน่วยงานเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหารของอังกฤษ ระบุว่า มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิต 3 คน และอีก 6 คน มีอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง หลังจากรับประทานอาหารที่โรงพยาบาล ซึ่งผลิตโดยบริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน จำกัด และหลังจากมีข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรีย บริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน ก็ได้มีการนำแซนด์วิชและสลัดออกจากรายการอาหาร พร้อมแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและเจ็บป่วย ขณะเดียวกันก็ระบุว่า หน่วยงานด้านสาธารณสุขกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ


ด้านนายแมตต์ ฮันคุก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ มีคำสั่งให้ตรวจสอบอาหารที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ และมีคำแนะนำให้โรงพยาบาลงดเว้นการนำอาหารจากบริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน ไปให้บริการแก่ผู้ป่วย


สำหรับเชื้อลิสเทอเรียสามารถพบในนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์สไลด์ที่ปรุงสุก และแซลม่อนรมควัน โดยอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาทในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็กทารก


...


**13.36F174**

ข่าวทั้งหมด

                เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella spp.) เป็นแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร มนุษย์อาจรับเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง อาเจียน และมีไข้ ซึ่งอาการอาจหนักมากจนทำให้ผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตได้ จึงเป็นเชื้อโรคสำคัญที่ต้องระวังเพื่อความปลอดภัยในอาหาร
                รายงานล่าสุดจากฮ่องกงพบว่า เหตุการณ์ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษเมื่อไม่นานมานี้เกิดจากการบริโภคแซนด์วิชที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยสามารถตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลาในอุจจาระของผู้ป่วย และในตัวอย่างแซนด์วิชที่เก็บได้จากร้านค้าที่ผู้ป่วยระบุ ในกรณีดังกล่าวพบผู้ป่วยทั้งสิ้น 229 ราย และ 45 รายต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยพบการกระจายตัวหลายกลุ่มและปรากฏขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน หน่วยงานที่รับผิดชอบระบุว่าการเก็บรักษาอาหารสำเร็จรูปไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานานคือปัจจัยที่เอื้อให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตและสร้างสารพิษได้มากขึ้น ผู้เกี่ยวข้องจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานที่ทิ้งไว้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง ทั้งนี้ได้มีการตักเตือนและอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการให้ดูแลสุขอนามัยอาหารให้ดีขึ้น และหยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนแล้ว โดยตามกฎหมายของฮ่องกง ผู้ประกอบการโรงงานอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์ฮ่องกง และจำคุกไม่เกินหกเดือน
                ปัจจุบันกฎหมายควบคุมการประกอบกิจการอาหารของไทยถือว่าไม่เข้มงวดนักเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งเอื้อให้ชาวไทยสามารถเริ่มธุรกิจอาหารได้ง่าย แต่ก็นับเป็นความเสี่ยงต่อความปลอดภัย ดังกรณีปรากฏเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่เกิดการป่วยจากการบริโภคขนมจีบ จนมีผู้เสียชีวิต และตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อซาลโมเนลลาเช่นกัน กรณีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งเตือนให้ผู้ประกอบการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปตระหนักถึงความสำคัญของสุขาภิบาลอาหาร จะต้องเรียนรู้และยึดถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความปลอดภัยในอาหารของผู้บริโภค

ที่มา : //www.foodsafetynews.com/ สรุปโดย : มกอช.

                การปนเปื้อนสารพิษในหอยทะเลสองฝาเกิดจากการที่หอยกรองกินสาหร่ายเซลล์เดียวที่สร้างสารพิษแล้วมีการสะสมสารพิษในตัวหอย โดยหอยไม่มีอาการผิดปกติ แต่มนุษย์ที่บริโภคหอยดังกล่าวจะได้รับสารพิษและทำให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น จึงนับเป็นหนึ่งในความเสี่ยงของความไม่ปลอดภัยจากอาหาร
                เมื่อไม่นานมานี้ได้มีรายงานการตรวจพบสารพิษในหอยทะเลสองฝาในไอร์แลนด์และนิวซีแลนด์ ดังในรายงานข่าว //warning.acfs.go.th/th/early-warning/view/?page=7071 ล่าสุดทางการญี่ปุ่นก็ได้รายงานการพบสารพิษในหอยทะเลสองฝาในหอยสดและแปรรูปที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้เช่นกัน ตามการตรวจเฝ้าระวังเป็นปกติของทางการญี่ปุ่น โดยสารพิษที่พบมีทั้งพิษที่ทำให้ท้องร่วง diarrheic shellfish poisoning (DSP) และพิษที่ทำให้เป็นอัมพาต paralytic shellfish poisoning (PSP) ผู้สนใจสามารถศึกษารายงานดังกล่าวได้จาก //www.mhlw.go.jp/content/11135200/000656219.pdf
                สารพิษในหอยและปลาที่ได้รับจากการกินสาหร่ายทะเลมีพิษเป็นปัญหาที่อาจเกิดมากขึ้นได้จากการที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น การประมงในทะเลเขตร้อนเช่นประเทศไทยจึงควรตระหนักถึงความเสี่ยงนี้และมีการศึกษาวางแผนควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสมต่อไป         

ที่มา : //www.shokukanken.com/  สรุปโดย : มกอช.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง