จ่ายค่าคอมมิชชั่น ไปต่างประเทศ

วันที่เอกสาร

2 กรกฎาคม 2541

เลขที่หนังสือ

กค 0811/10081

ข้อกฎหมาย

มาตรา 40(2), มาตรา 41, มาตรา 50(1), มาตรา 76 ทวิ, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505

ข้อหารือ

1. กรณีที่บริษัทไทยจ่ายค่านายหน้าในการขายสินค้าให้แก่บุคคลธรรมดา หรือบริษัทซึ่งมีถิ่น
ที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรืออังกฤษ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย กรณีดังกล่าว
บริษัทไทยจะมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร
2. หากบุคคลธรรมดา หรือบริษัทซึ่งเป็นนายหน้าตาม 1. ประกอบกิจการในประเทศไทย
กรณีดังกล่าวบริษัทไทยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

เนื่องจากค่านายหน้าจากการขายสินค้า เข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ ดังนั้น กรณีตาม
ข้อเท็จจริงข้างต้น จึงพิจารณาได้ดังนี้
(1) กรณีบุคคลธรรมดาหรือบริษัทซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว มิได้ประกอบกิจการโดยผ่าน
สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บุคคลธรรมดาหรือบริษัทซึ่งเป็นนายหน้านั้น จะได้รับยกเว้น
ภาษีเงินได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาฯ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศ
มาเลเซียหรือประเทศสิงคโปร์เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน หรือตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญา
ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรอังกฤษเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน แล้วแต่กรณี และตาม
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ฉะนั้น เมื่อบริษัทไทยจ่ายค่านายหน้าให้กับ
บุคคลธรรมดาหรือบริษัทซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว บริษัทไทยจึงไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แต่
อย่างใด
(2) กรณีบุคคลธรรมดาหรือบริษัทซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว ประกอบกิจการโดยผ่าน
สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แยกพิจารณาได้ดังนี้
(ก) บุคคลธรรมดาดังกล่าว มีหน้าที่ต้องนำค่านายหน้าที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และโดยที่
ค่านายหน้าดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทไทยจ่ายค่านายหน้า
ให้แก่บุคคลธรรมดาดังกล่าวบริษัทไทยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
(ข) บริษัทดังกล่าว มีหน้าที่ต้องนำค่านายหน้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อบริษัทไทยจ่าย
ค่านายหน้าให้กับบริษัทดังกล่าว บริษัทไทยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2020

เลขที่หนังสือ

กค 0811(กม)/878

ข้อกฎหมาย

มาตรา 40 (2), มาตรา 70

ข้อหารือ

      บริษัท เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยจ่าย
ค่านายหน้าค่าขายสินค้าให้นิติบุคคลในประเทศอิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา บริษัทฯ จึง
หารือว่า เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้นิติบุคคลในประเทศดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
หรือไม่

แนววินิจฉัย

     1. กรณีการจ่ายค่านายหน้าให้นิติบุคคลในประเทศอิสราเอล และประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
      หากนิติบุคคลในประเทศทั้ง 2 ดังกล่าว ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย
ตามนัยข้อ 5 แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทย กับรัฐบาล
แห่งประเทศอิสราเอลและระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวคือ ค่านายหน้าจาก
การขายสินค้า เป็นเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ และเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2)
แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็นเงินได้ประเภทกำไรจากธุรกิจ ตามอนุสัญญา เพื่อการเว้น
การเก็บภาษีซ้อนฯ เมื่อนิติบุคคลในประเทศทั้ง 2 ข้างต้น เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศอิสราเอล และ
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ตามลำดับ และไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย นิติบุคคลผู้มีเงินได้จึง
ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ตามข้อ 7 แห่งอนุสัญญาฯ และตามมาตรา 3 แห่ง
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
     2. กรณีการจ่ายค่านายหน้าให้นิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกา
      หากเป็นการจ่ายค่านายหน้าให้แก่นิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนวันที่ 1
มิถุนายน 2541 กล่าวคือ การจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่
นิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีจาก
เงินที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
      แต่หากเป็นการจ่ายค่านายหน้าให้แก่นิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 1
มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่อนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีผลใช้บังคับและนิติบุคคลดังกล่าวไม่มี
สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ตามนัยข้อ 5 แห่งอนุสัญญาฯ นิติบุคคลผู้มีเงินได้ไม่อยู่ในข่ายต้อง
เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยตามข้อ 7 แห่งอนุสัญญาฯ และตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออก
ตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ซึ่งบริษัทฯ
ผู้จ่ายเงินได้จะไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

สัญญาว่าจ้างกับบริษัทผู้รับจ้างฯ เป็นนิติบุคคลจัด ตั้งขึ้นตามกฎหมายฮ่องกง ไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย ตามสัญญาว่าจ้างดัง

กล่าว ผู้รับจ้างฯ มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อ จัดหา และอำนวยความสะดวกในการจัดหาผู้ขายวัตถุดิบในประเทศต่างๆ และช่วยต่อ

รองราคา แต่ไม่มีอำนาจ ในการตัดสินใจในการซื้อทั้งสิ้น ผู้ว่าจ้างฯ จ่ายค่าตอบแทนให้ผู้รับจ้างฯ ในรูปนายหน้าเป็นจำนวนเงินเหรียญ

ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตัน หรือน้ำหนักของวัตถุดิบที่ได้มีการตกลงราคาซื้อขาย โดยผู้ว่าจ้างฯ จะทำการจ่ายค่าตอบแทนเมื่อการซื้อขาย

ดังกล่าว ได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนการซื้อขายแล้ว ทั้งนี้ ผู้รับจ้างฯ ไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อธุรกรรมดังกล่าว ผู้ว่า

จ้างฯ จึงขอหารือว่า การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 70 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หากผู้รับจ้างฯ เป็นนิติบุคคลที่ได้

รับค่านายหน้า มีถิ่นที่อยู่ในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มิได้ประกอบกิจการผ่านสถานประกอบการถาวรใน

ประเทศไทย ผู้รับจ้างฯ จะได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทยตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งเขตบริหาร

พิเศษฮ่องกงแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร

ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น

รัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ผู้ว่าจ้างฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับผู้รับจ้างฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา

70 แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ว่าจ้างฯ จ่ายค่านายหน้าให้ผู้

รับจ้างฯ เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการให้บริการในต่างประเทศ ผู้ว่าจ้างฯ ไม่มี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง