ปัญหา ในสังคมโลก ด้าน เศรษฐกิจ

คำเชิญชวนของประธานาธิบดีแห่งมัลดีฟส์ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีนี้ เป็นคำอ้อนวอนที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก ในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ปัญหาระดับโลก แม้เป็นคำเชิญชวนให้มาเยือนประเทศหมู่เกาะ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ลำบาก ที่เกิดขึ้นกับประเทศเป็นเกาะต่าง ๆ ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อชีวิตหรือความเป็นอยู่ของพวกเขา

  • 4 ตุลาคม 2564
  • 7:00 น.
  • ต่างประเทศ

สังคมโลก : ผลกระทบโลกร้อน

คำเชิญชวนของประธานาธิบดีแห่งมัลดีฟส์ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีนี้ เป็นคำอ้อนวอนที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก ในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ปัญหาระดับโลก แม้เป็นคำเชิญชวนให้มาเยือนประเทศหมู่เกาะ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ลำบาก ที่เกิดขึ้นกับประเทศเป็นเกาะต่าง ๆ ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อชีวิตหรือความเป็นอยู่ของพวกเขา

  • 4 ตุลาคม 2564
  • 7:00 น.

สหประชาชาติรับรอง 38 รัฐกระจายอยู่ตามผืนน้ำ ทะเล และมหาสมุทรทั่วโลก ในฐานะชาติกำลังพัฒนา เพราะประเทศเหล่านี้กำลังเผชิญปัญหาท้าทาย อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

สเตฟาน กอสลิง ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้คือกลุ่มเสี่ยงในปัญหาโลกร้อน ซึ่งต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่การท่องเที่ยวนี่แหละ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของภาวะโลกร้อน คิดเป็น 8% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศของโลก แล้วยังมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19

ประเทศเป็นเกาะที่เผชิญสถานการณ์ลำบากเหล่านี้ พบปัญหานี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแหล่งดึงดูดด้านการท่องเที่ยว เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง แต่กลับส่งผลกระทบด้านภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้เกิดปะการังฟอกขาว และยังทำลายชายหาดที่สวยงามตามธรรมชาติอยู่แล้ว คาดว่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ดินแดนเป็นเกาะที่ราบต่ำ อาจจมทะเลหมดก็ได้

ประธานาธิบดีอิบราฮิม โมฮัมเหม็ด โซลิห์ ของมัลดีฟส์ กล่าวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติว่า ความแตกต่างระหว่าง 1.5-2 องศาเซลเซียส คือโทษประหารสำหรับประเทศมัลดีฟส์

United Nations

การประชุมประจำปีครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสให้แต่ละประเทศสมาชิก 193 ประเทศ ได้นำปัญหาเข้าสู่ที่ประชุมระดับโลก แต่สำหรับมัลดีฟส์แล้วบางทีทั่วโลกอาจรู้แล้วว่า ดินแดนหมู่เกาะแห่งมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอาจเป็นสวรรค์สำหรับคู่รักที่ไปฮันนีมูนดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ และเหล่าคนดังแห่งวงการบอลลีวู้ดนั้น ได้ยกระดับเป็นพิเศษสำหรับการประชุมปีนี้ เพราะรัฐมนตรีต่างประเทศของมัลดีฟส์ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม และประธานาธิบดีโซลิห์ยังได้แถลงต่อจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ

แต่คำร้องขอในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลย เพราะหลายปีแล้วที่ดินแดนเป็นเกาะเหล่านี้ ต้องถูกถล่มด้วยพายุและน้ำทะเลขึ้นสูงราวกับเป็นฆาตกรอย่างช้า ๆ ศาสตราจารย์เอพริล แบปติสต์ แห่งมหาวิทยาลัยคอลเกต อาจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและการศึกษาแอฟริกากับลาตินอเมริกา บอกว่า คำร้องขอของประเทศเป็นเกาะเหล่านี้ถูกละเลยมาหลายปีแล้ว เพราะมองว่าไม่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นดินแดนขนาดเล็ก ไม่มีอำนาจทางการเมืองและเงินทุน จึงง่ายมากที่จะมองข้ามไป เกาะเหล่านี้เคยเป็นเกาะที่มีประวัติศาสตร์ด้านการสำรวจ เมื่อย้อนหลังกลับไปหลายร้อยปี และผู้อยู่อาศัยก็คือ คนผิวสี

ผู้คนและรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ ได้ต่อสู้ด้วยตัวเองมานานแล้ว เช่น ชายจากเกาะคิริบาตี ซึ่งได้ไปขอสถานะผู้ลี้ภัยในนิวซีแลนด์โดยยกเหตุผลว่าภาวะโลกร้อน เป็นภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิตในประเทศบ้านเกิดของเขา แม้เขาจะถูกเนรเทศกลับมา รัฐบาลวานูอาตูหาทางนำปัญหาโลกร้อนเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แม้ส่วนใหญ่จะเป็นไปทางสัญลักษณ์ก็ตาม เพราะไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่รัฐบาลวานูอาตูก็มีเจตนา เพื่อให้นำกฎหมายระหว่างประเทศมาพิจารณา

เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิก ซึ่งเผชิญปัญหาน้ำทะเลทำลายพืชไร่ และยังรวมถึงแหล่งน้ำจืด จึงต้องประกาศอาณาเขตดินแดนในทะเล แม้ชายฝั่งอาจหดหายใต้คลื่น

ประเทศเป็นเกาะที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ความตึงเครียดจากภาวะโลกร้อน ระหว่างชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขา สะท้อนออกมาให้เห็นจากการตอบสนองต่อปัญหา การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และปกป้องชีวิตประชาชน ประเทศเหล่านี้ต้องปิดพรมแดน และการท่องเที่ยวซึ่งสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศเหล่านี้ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา และยังต้องฝากความหวังไว้กับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ให้ช่วยรักษาสัญญาและพันธกรณีปฏิบัติ ในการประชุมโลกร้อนที่กลาสโกว์ด้วย.

นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10  แห่งของประเทศไทยโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนด้อยพัฒนา และเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยในบริเวณนั้น แต่ทว่า กระบวนการได้มาและจัดการที่ดินทั้งพื้นที่ป่าและพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสร้างก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐบาล ซึ่งกลไกการตัดสินใจโดยมากเกิดขึ้นจากภาครัฐ ขาดการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ นำไปสู่ข้อร้องเรียนต่างๆ และทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนา

ป้ายคัดค้านการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบนรั้วที่ดินในอำเภอแม่สอด ที่มา: Heinrich Boll-Stiftung South East Asia การอนุญาต: CC BY-NC-SA 2.0

นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่ดินสาธารณะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มีการรับรองโดยภาครัฐ มีการใช้มาตรการกระตุ้นดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ โดยกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราชพัสดุ โดยมีกรมธนารักษ์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้หน่วยงานราชการ หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือนักลงทุนใช้ประโยชน์

ทั้งนี้ จากนั้นหน่วยงานภาครัฐจะจัดสรรที่ดินให้กับนักลงทุน สร้างแรงจูงใจด้วยการทำข้อตกลงเฉพาะการเจรจาด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่และผลประโยชน์สาธารณะที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ที่ผ่านมา​พบว่า การเจรจาระหว่างภาครัฐและชาวบ้านในพื้นที่มักจะล้มเหลว ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งที่จำกัดความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เหล่านี้

ผลที่ตามมาคือ โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนี้มีความเสี่ยงที่จะล่าช้าออกไปและประโยชน์ที่คาดไว้จะถูกถ่ายโอนไปยังภูมิภาคอื่น และเป็นที่ทราบกันดีว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทยได้ส่งผลผลักดันราคาที่ดินในภูมิภาคให้สูงขึ้นตามการเก็งกำไร ด้วยเหตุนี้ ความล้มเหลวในการเจรจาจะตัดโอกาสให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าของโครงการ

ผลกระทบทางสังคม 

การดำเนินงานของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษส่งผลกระทบทางสังคมมากมาย เช่น ความขัดแย้งการใช้ที่ดิน และแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น และกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น​ก่อให้เกิดผู้ชนะและผู้แพ้ ตัวอย่างเช่น แนวทางการดำรงชีวิตแบบพื้นบ้านลดลงอันเป็นผลมาจากความเจริญ​ บริษัทที่มาลงทุนตั้งใหม่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีความต้องการแรงงานต่างชาติราคาถูก ซึ่งมักจะตรงกันข้ามกับความต้องการของคนในพื้นที่ต่อโอกาสการจ้างงานที่ดึงดูด นอกจากนี้ เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ที่ดินสาธารณะเพื่อกำหนดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ คนในพื้นที่อาจจะสูญเสียสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร​ส่วนกลางในพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทำอยู่เพื่อรายได้​ของครอบครัว

แรงงานข้ามชาติ

ในปีพ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติประมาณ 3.59 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 5.6 ของประชากร หรือร้อยละ 9.6 ของการจ้างงานทั้งหมด) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีพ.ศ. 2558 และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามจังหวัดชายแดน แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา รัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะรับรองสถานะของแรงงานข้ามชาติและให้ได้รับการบริการพื้นฐานทางสังคม แต่ระบบยังไม่รองรับ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีเอกสารรับรอง และเสี่ยงต่อเป็นการเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งยิ่งสร้างความกังวลมากขึ้นถึงความเป็นไปได้ให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความเจริญอันเป็นผลมาจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ​ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติจะติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเรื่องสิทธิของผู้อพยพและเงื่อนไขการจ้างงานของแรงงาน​ที่เหมาะสม

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 

เนื่องจากรัฐบาลต้องการเร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย จึงส่งผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม ​​ตั้งแต่ป่าสงวน คุณภาพน้ำและอากาศ และการจัดการขยะ

ทรัพยากรป่าไม้ 

ความต้องการใช้ที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้สร้างแรงกดดันต่อพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่การเกษตรอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้การพัฒนาดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว จึงเลือกดำเนินการในพื้นที่ป่าไม้ ทั้งเขตป่าสงวนและป่าเสื่อมโทรมซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐ

การจัดสรรพื้นที่ป่าสงวนและป่าเสื่อมโทรมที่เป็นที่สาธารณะกลายเป็นประเด็นถกเถียง เพราะหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนวางแผนการใช้ที่ดินโดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศป่าไม้ที่มีอยู่หรือการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ การดำเนินงานทำนองนี้มักจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและชุมชนท้องถิ่น ตัวอย่างความขัดแย้งที่ผ่านมาถูกนำเสนอด้านล่างนี้

ทรัพยากรน้ำ​

แนวทางจัดการการใช้ที่ดินมีบทบาทสำคัญในการจัดการคุณภาพแหล่งน้ำ

การพัฒนาเขตอุตสาหกรรมผ่านเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมักจะลงเอยด้วยการแปลงพื้นที่ธรรมชาติเป็นเขตอุตสาหกรรมและก้าวสู่ความเป็นเมืองในที่สุด ทำให้เกิดความต้องการใช้น้ำเชิงแข่งขันอย่างสูงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการ ไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่ภาวะกดดันต่อทรัพยากรน้ำ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสามารถก่อผลกระทบต่อความพร้อมของน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร แหล่งน้ำภายในประเทศ รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรวม ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในหลายๆ แห่งมีแนวโน้มที่จะสร้างปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคต 

คุณภาพอากาศ 

มีการคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้นจากความเจริญของเมืองและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ​ ซึ่งรวมถึงก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น ปัญหาฝุ่นละออง (PM10) และการปล่อยสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ซึ่งมีการสังเกตเฝ้าดูปัญหานี้ว่า ได้ส่งผลกระทบดังกล่าวต่อสุขภาพของคนในพื้นที่แล้ว

ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 

ความเป็นเมืองและอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จากความเจริญด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เกินขีดการรองรับของระบบนิเวศ

ทุกจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลต่างๆ ดังนั้น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจำเป็นต้องมีแนวทางบำบัดและกำจัดขยะมูลฝอย​ รวมทั้งดำเนินการวางแผนปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยให้ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เช่น วางแผนการขนย้ายขยะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขนาดเล็กไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขนาดใหญ่เพื่อการจัดการได้อย่างถูกวิธี

จากรายงานสถานกาณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ยังพบว่า หลายจังหวัดมีปัญหาปริมาณขยะมูลฝอยตกค้าง และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นหากมีการดำเนินงานเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รายงานนี้ยังแสดงให้เห็นว่า จังหวัดที่มีการดำเนินการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีปริมาณขยะมูลฝอยมากที่สุดอยู่ในอันดับต้นๆ โดยเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก​ จังหวัดฉะเชิงเทรา​มีการสะสมของขยะตกค้างเป็นจำนวน 1,242,000 ตันในปี พ.ศ. 2559

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

  • กฎหมายและนโยบายสำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

References

  • . สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเทศไทย. 2558. คู่มือลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ.
  • . กลุ่มธนาคารโลก. 2559. การกลับมาสู่ความสำเร็จ: ฟื้นฟูการเติบโตและความมั่นคงให้แก่ทุกคน.
  • . กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2561. น้ำใต้ดินและพื้นที่ชุ่มน้ำ: ร่างแผนสิ่งแวดล้อมสำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. หน้า 2

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง