จัดอันดับคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ไทย

แม้จะมีเสียงคัดค้านมากมายเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตาม “โครงการ Ranking 2006” ของ “สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)” แต่ในที่สุด เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ทางสกอ.ก็ “ทำคลอด” การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยออกมาเป็นผลสำเร็จจนได้

....ผลจะเป็นอย่างไรต้องไปติดตามกัน

สำหรับการจัดอันดับในครั้งนี้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ ด้านการเรียนการสอน และด้านการวิจัย โดยมี 50 สถาบันการศึกษาเข้าร่วม

ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ให้ข้อมูลว่า การจัดอันดับครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย ปี 2548 โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับดีเลิศ ดีเยี่ยม ดี พอใช้ และต้องปรับปรุง

สำหรับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน ใช้เกณฑ์การประเมินจากอัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ 20% บุคลากร 20% งบประมาณ 20% ความเป็นนานาชาติ 10% และการได้รับรางวัล 10% คิดคะแนนเต็มที่ 80 คะแนน เนื่องจากข้อมูลด้าน Student selectivity จากคะแนนเอนทรานซ์ไม่ครบถ้วนสำหรับมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยที่จัดอยู่ในกลุ่มดีเลิศ มีคะแนนการประเมินมากกว่า 75 คะแนน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ และ ม.มหิดล

กลุ่มดีเยี่ยม มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 70-74 คะแนน ประกอบด้วย ม.เกษตรศาสตร์ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยีสุรนารี และม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

กลุ่มดี มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 65-69 คะแนน ประกอบด้วย ม.ทักษิณ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.วลัยลักษณ์ ม.ศิลปากร ม.สงขลานครินทร์ ม.อุบลราชธานี ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กลุ่มพอใช้ มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 60-64 คะแนน ประกอบด้วย ม.นเรศวร ม.บูรพา ม.มหาสารคาม ม.แม่โจ้ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ม.ราชภัฎนครปฐม ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

กลุ่มที่ต้องปรับปรุง มีคะแนนประเมินน้อยกว่า 60 คะแนน ประกอบด้วย ม.ราชภัฏจันทรเกษม ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ม.ราชภัฏธนบุรี ม.ราชภัฏนครราชสีมา ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช ม.ราชภัฏนครสวรรค์ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ ม.ราชภัฏพระนคร ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ม.ราชภัฏยะลา ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ม.ราชภัฏเลย ม.ราชภัฏสกลนคร ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ม.ราชภัฏฎอุดรธานี ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ วิทยาลัยตาปี และม.เทพกษัตริย์ตรี

สำหรับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยด้านการวิจัย ใช้เกณฑ์การประเมินจากงบประมาณ 20% บุคลากร 20% ผลงาน 45% และบัณฑิตศึกษา 15% รวม 100 คะแนน มหาวิทยาลัยที่จัดอยู่ในกลุ่มดีเลิศ มีคะแนนการประเมินมากกว่า 75 คะแนน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เชียงใหม่ ม.มหิดล ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และม.เทคโนโลยีสุรนารี

กลุ่มดีเยี่ยม มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 70-75 คะแนน ประกอบด้วย ม.เกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.นเรศวร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กลุ่มดี มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 65-69 คะแนน ประกอบด้วย ม.บูรพา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.ศิลปากร ม.สงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

กลุ่มพอใช้ มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 55-64 คะแนน ประกอบด้วย ม.ทักษิณ ม.แม่โจ้ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.มหาสารคาม ม.วลัยลักษณ์ ม.อุบลราชธานี ม.นครราชสีมา ม.ราชภัฏเลย ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต ม.ราชภัฏอุดรธานี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

กลุ่มที่ต้องปรับปรุง มีคะแนนประเมินน้อยกว่า 55 คะแนน ประกอบด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ม.ราชภัฏจันทรเกษม ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ม.ราชภัฏเทพสตรี ม.ราชภัฏธนบุรี ม.ราชภัฏนครปฐม ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช ม.ราชภัฏนครสวรรค์ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ ม.ราชภัฏพระนคร ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ม.ราชภัฏยะลา ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ม.ราชภัฏสกลนคร ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาลัยตาปี และวิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ

ส่วนการจัดอันดับของคณะต่างๆ ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย 5 อันดับแรก แยกตามกลุ่มสาขา มีดังนี้

กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล,สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล,คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาเทคโนโลยี ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,คณะพลังงานและวัสดุ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.มหิดล,คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

กลุ่มสาขาชีวการแพทย์ ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่,คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล,วิทยาการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล

กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ ได้แก่ คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล,โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล,คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์,สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ม.เทคโนโลยีสุรนารี,คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่

กลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร,คณะศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา,คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ม.มหาสารคาม

ส่วนการจัดอันดับของคณะต่างๆ ที่มีศักยภาพด้านการเรียนการสอน 5 อันดับแรก แยกตามกลุ่มสาขา มีดังนี้

กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล,วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่,คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล

กลุ่มสาขาเทคโนโลยี ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะพลังงานและวัสดุ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

กลุ่มสาขาชีวการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล,คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล,คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ได้แก่ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร,คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล,คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่,สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ม.มหิดล

กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์,วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์,คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์,สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่ฟ้าหลวง,คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และคณะเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตปทุมธานี ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้ข้อมูลมาแต่ไม่ยินดีที่จะให้นำมาจัดอันดับด้วย จึงไม่ปรากฏชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการจัดอันดับ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ข้อมูล โดยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย แจ้งว่าจะยังไม่ให้ข้อมูลในปีนี้

“มหาวิทยาลัยที่ไม่ยอมรับการจัดอันดับหรือบอกว่าข้อมูลไม่ถูกต้องนั้น ข้อมูลต่างๆ ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้ให้ สกอ.มาเอง และที่พูดกันว่าหน่วยงานนั้นจะจัดอยู่แล้ว เราก็เห็นกันชัดเจนอยู่แล้วว่าที่ผ่านมาต่างประเทศได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ก็เคยแอบจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย แล้วทำไมเราไม่ดำเนินการเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและจัดเก็บอยู่ในระบบ ทั้งนี้ ดัชนีที่นำมาใช้ในการประเมินกลุ่มผู้ทำวิจัยได้มีการโต้เถียงกันในวงกว้าง แต่ดัชนีชี้วัดไม่ได้นิ่งตลอดเวลา บางสถานการณ์ดัชนีบางตัวก็เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีการพิจารณาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา”

“สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนมากที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มต้องปรับปรุงนั้น ต้องมีการคุยกันในเรื่องคุณภาพและปรับเปลี่ยน โดยอาจจะลดเรื่องปริมาณลงแต่พัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น นอกจากนี้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยยังสามารถนำไปใช้ในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ด้วย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่ใช่การตีตราบาปให้กับสถาบันอุดมศึกษา แต่เป็นบอกว่าคุณอยู่ตรงไหน อะไรอ่อน อะไรแข็ง เพื่อจะได้พัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น” เลขาฯ กกอ.อธิบาย

ด้าน ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดี ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ให้ความเห็นว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งนี้ แต่เมื่อ สกอ.ดึงดันที่จะจัดก็ต้องยอมรับแต่ต้องฟังหูไว้หู โดยไม่เชื่อทั้งหมดของข้อมูลที่ประกาศและคงจะดูที่เหตุผลในการเชื่อหรือไม่เชื่อ ส่วนที่เชื่อมหาวิทยาลัยจะนำไปพัฒนาปรับปรุง อย่างไรก็ตาม มศว มั่นใจว่าถ้าการจัดอันดับได้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด มาเป็นตัวชี้วัดอันดับที่ออกมาไม่น่าจะอยู่ไกลหรือรั้งท้าย เพราะ มศว มีความเข้มแข็งในหลายด้าน ขณะเดียวกันยอมรับว่ามีจุดอ่อนเช่นกัน

ส่วนรศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีม.ขอนแก่น (มข.) ซึ่ง มข.อยู่ในกลุ่ม 1 การจัดอันดับด้านการเรียนการสอน และอยู่กลุ่ม 2 ด้านการวิจัย บอกว่า ส่วนตัวเห็นว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีประโยชน์ แต่ สกอ.ควรบอกข้อจำกัดของตัวชี้วัดและจัดอันดับไปตามข้อจำกัด เพราะมหาวิทยาลัยจะมีความพร้อมและภูมิหลังภารกิจแตกต่างกัน หากนำมาเปรียบเทียบกันอาจเกิดความเข้าใจผิด เหมือนกับเอานักมวยคนละรุ่นมาเทียบกัน

ขณะที่ผศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดี มรภ.สวนดุสิต กล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องดีที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งอยู่มาก แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำข้อมูลมาใช้ปรับตัวเอง ส่วนตัวเห็นว่าอย่าไปกังวลมากกับการจัดอันดับครั้งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และต้องคิดว่าเป็นการสะท้อนความเป็นจริงว่าตัวเองพร้อมหรือไม่พร้อม หากจะโต้แย้งก็จะมีได้เรื่อยๆ

ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดี สจพ. กล่าวว่า มติคณะกรรมการบริหาร สจพ.ไม่ยอมรับกับผลการจัดอันดับของ สกอ. เช่นเดียวกับที่ มธ.และที่ผ่านมามหาวิทยาลัยก็คัดค้าน แต่เลขาธิการ กกอ. ก็ยังยืนยันที่จะทำไม่รู้ว่ามีเหตุผลอะไร หรือคิดว่าตัวเองเหลืออีก 1 เดือนเกษียณ จึงอยากทำผลงานว่าจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยได้เป็นคนแรก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัย แถมยังทำตัวเป็นศัตรูกับมหาวิทยาลัยอีก

ด้าน ผศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ ผอ.สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า อธิการบดี มทร.ธัญบุรีอยากให้จัดอันดับมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนา ซึ่งตนเป็นผู้กรอกข้อมูลของ มทร.ธัญบุรีตามดัชนีชี้วัดที่ สกอ.กำหนดผ่านเว็บไซต์ แต่ดัชนีชี้วัดไม่นิ่ง และไม่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลจริง ต่างจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่ประเมินครบวงจร ฉะนั้นปีหน้า สกอ.ควรจัดอันดับอีก ไม่เช่นนั้นเป็นการสร้างตราบาป

รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี ม.สงขลานครินทร์(มอ.) กล่าวว่า ไม่ยอมรับผลจัดอันดับในส่วน มอ.เพราะงานวิจัยและการสอนน่าจะอยู่อันดับ 1 แต่ สกอ.ได้ข้อมูลไม่ครบขาดไป 7-8 คณะ เช่น แพทย์ และขาดข้อมูลภารกิจการพัฒนาชุมชนที่ มอ.ดำเนินการในส่วนนี้มาก

ศ.ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดี ม.มหิดล กล่าวว่า รู้มานานแล้วมหาวิทยาลัยเป็นที่หนึ่ง และที่สิงคโปร์ทำก็อยู่อันดับหนึ่ง แต่ที่ไทมส์ทำไม่ติดอันดับเพราะสอบถามจากกลุ่มนักธุรกิจ คิดว่าการจัดอันดับน่าจะเป็นผลดีให้มหาวิทยาลัยขวนขวายพัฒนาตนเอง และช่วยกันยกระดับมหาวิทยาลัยทั้งประเทศ

ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม ว่า ทิศทางของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยเป็นเรื่องดีและเป็นประโยชน์ทำให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง ทราบว่ามหาวิทยาลัยใดอยู่อันดับใด มีความเข้มแข็งหรือไม่เข้มแข็งด้านใด ส่วนรายละเอียดหรือขั้นตอนการดำเนินการควรจะหารือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและปรับไปตามหลักวิชาการ โดยยึดถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชนผู้ที่จะรับบริการจากมหาวิทยาลัย ยอมรับว่าได้รับการทักท้วงจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยก่อนหน้าจะมีการประกาศและได้มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)ไปชี้แจงแล้ว อย่างไรก็ตาม ถือว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยเป็นการเริ่มต้นที่สามารถพัฒนาปรับปรุงข้อมูลตัวชี้วัดต่าง ๆ ถ้ามหาวิทยาลัยหรือนักวิชาการเสนอความเห็นที่เป็นประโยชน์ ตนไม่อยากจะเหมาหรือชี้ถูกชี้ผิด อยากให้เป็นการอ้างอิงโดยหลักวิชาจากนักวิชาการเพื่อเป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ยอมรับการจัดอันดับสามารถทำได้ แต่ไม่ใช่จะพูดเพื่อผลักออกจากระบบ เพราะตนอยากเห็นระบบหรือการจัดอันดับเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง



Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง