โจทย์จํานวนจริง ม.4 พร้อมเฉลย

จำนวนอตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น √2 , √3, √5, -√2, – √3, -√5 หรือ ¶ ซึ่งมีค่า 3.14159265…

2. จำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น  เขียนแทนด้วย 0.5000…  เขียนแทนด้วย 0.2000…      • ระบบจำนวนตรรกยะจำนวนตรรกยะยังสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ1. จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนหรือทศนิยมซ้ำได้ แต่ไม่เป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น2. จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I = {…, -4, -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3, 4, …} เมื่อกำหนดให้ I เป็นเซตของจำนวนเต็ม   • ระบบจำนวนเต็มจำนวนเต็มยังสามารถแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน 1. จำนวนเต็มลบ หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I – โดยที่
I – = {…, -4, -3, -2, -1}
เมื่อ I – เป็นเซตของจำนวนเต็มลบ2. จำนวนเต็มศูนย์ (0)3. จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I+ โดยที่
I+ = {1, 2, 3, 4, …}
เมื่อ I+ เป็นเซตของจำนวนเต็มบวกจำนวนเต็มบวก เรียกได้อีกอย่างว่า “จำนวนนับ” ซึ่งเขียนแทนเซตของจำนวนนับได้ด้วยสัญลักษณ์ N โดยที่
N = I+ = {1, 2, 3, 4, …} • ระบบจำนวนเชิงซ้อนนอกจากระบบจำนวนจริงที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีจำนวนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งได้จากการแก้สมการต่อไปนี้ x2 = -1∴ x = √-1 = i x2 = -2∴ x = √-2 = √2 i x2 = -3∴ x = √-3 = √3 iจะเห็นได้ว่า “ไม่สามารถจะหาจำนวนจริงใดที่ยกกำลังสองแล้วมีค่าเป็นลบ” เราเรียก √-1 หรือจำนวนอื่นๆ ในลักษณะนี้ว่า “จำนวนจินตภาพ”และเรียก i ว่า “หนึ่งหน่วยจินตภาพ” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ iยูเนียนของเซตจำนวนจริงกับเซตจำนวนจินตภาพ คือ ” เซตจำนวนเชิงซ้อน ” (Complex numbers)

 

สมบัติของจำนวนจริง

 กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ1. สมบัติการสะท้อน a = a2. สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a3. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c4. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c5. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc • สมบัติการบวกในระบบจำนวนจริงกำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ1. สมบัติปิดการบวก a + b เป็นจำนวนจริง2. สมบัติการสลับที่ของการบวก a + b = b + c3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก a + ( b + c) = ( a + b ) + c4. เอกลักษณ์การบวก 0 + a = a = a + 0นั่นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 0 เป็นเอกลักษณ์การบวก5. อินเวอร์สการบวก a + ( -a ) = 0 = ( -a ) + aนั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวน a จะมี -a เป็นอินเวอร์สของการบวก สมบัติการคูณในระบบจำนวนจริงกำหนดให้ a, b, c, เป็นจำนวนจริงใดๆ1. สมบัติปิดการคูณ ab เป็นจำนวนจริง2. สมบัติการสลับที่ของการคูณ ab = ba3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการคูณ a(bc) = (ab)c4. เอกลักษณ์การคูณ 1 · a = a = a · 1นั่นคือในระบบจำนวนจริง มี 1 เป็นเอกลักษณ์การคูณ5. อินเวอร์สการคูณ a · a-1 = 1 = a · a-1, a ≠ 0นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวนจริง a จะมี a-1 เป็นอินเวอร์สการคูณ ยกเว้น 06. สมบัติการแจกแจงa( b + c ) = ab + ac( b + c )a = ba + caจากสมบัติของระบบจำนวนจริงที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถนำมาพิสูจน์เป็นทฤษฎีบทต่างๆ ได้ดังนี้  ทฤษฎีบทที่ 1กฎการตัดออกสำหรับการบวก เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ ถ้า a + c = b + c แล้ว a = b ถ้า a + b = a + c แล้ว b = c  ทฤษฎีบทที่ 2กฎการตัดออกสำหรับการคูณ เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ ถ้า ac = bc และ c ≠ 0 แล้ว a = b ถ้า ab = ac และ a ≠ 0 แล้ว b = c  ทฤษฎีบทที่ 3เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ a · 0 = 0 0 · a = 0  ทฤษฎีบทที่ 4เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ (-1)a = -a a(-1) = -a  ทฤษฎีบทที่ 5เมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0  ทฤษฎีบทที่ 6เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ a(-b) = -ab (-a)b = -ab (-a)(-b) = ab  เราสามารถนิยามการลบและการหารจำนวนจริงได้โดยอาศัยสมบัติของการบวกและการคูณใน
ระบบจำนวนจริงที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น  • การลบจำนวนจริง  บทนิยามเมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ a- b = a + (-b) นั่นคือ a – b คือ ผลบวกของ a กับอินเวอร์สการบวกของ b  • การหารจำนวนจริง  บทนิยามเมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ เมื่อ b ≠ 0  = a(b-1) นั่นคือ คือ ผลคูณของ a กับอินเวอร์สการคูณของ b

 

การแก้สมการตัวแปรเดียว

บทนิยามสมการพหุนามตัวแปรเดียว คือ สมการที่อยู่ในรูป anxn + an-1xn-1 + an-2xn-2 + … + a1x + a0 = 0 เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก และ an, an-1, an-2 ,…, a1, a0 เป็นจำนวนจริง ที่เป็นสัมประสิทธิ์ของพหุนาม โดยที่ an ≠ 0 เรียกสมการนี้ว่า “สมการพหุนามกำลัง n”  ตัวอย่างเช่นx3 – 2×2 + 3x -4 = 0 4×2 + 4x +1 = 0 2×4 -5×3 -x2 +3x -1 = 0  • การแ้ก้สมการพหุนามเมื่อ n > 2สมการพหุนามกำลัง n ซึ่งอยู่ในรูป anxn + an-1xn-1 + an-2xn-2 + … + a1x + a0 = 0 เมื่อ n > 2 และ an, an-1, an-2 ,…, a1, a0 เป็นจำนวนจริง โดยที่ an ≠ 0 จะสามารถหาคำตอบของสมการพหุนามกำลัง n นี้ได้โดยใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือช่วยในการแยกตัวประกอบ  ทฤษฎีบทเศษเหลือ เมื่อ f(x) = anxn + an-1xn-1 + an-2xn-2 + … + a1x + a0 โดย n > 2 และ an, an-1, an-2 ,…, a1, a0 เป็นจำนวนจริง และ an ≠ 0 ถ้าหารพหุนาม f(x) ด้วยพหุนาม x – c เมื่อ c เป็นค่าคงตัวใดๆแล้ว เศษของ การหารจะมีค่าเท่ากับ f(c) นั่นคือ เศษของ คือ f(c)  ทฤษฎีบทตัวประกอบ เมื่อ f(x) = anxn + an-1xn-1 + an-2xn-2 + … + a1x + a0 โดย n > 2 และ an, an-1, an-2 ,…, a1, a0 เป็นจำนวนจริง และ an ≠ 0 พหุนาม f(x) นี้จะมี x – c เป็นตัวประกอบ ก็ต่อเมื่อ f(c) = 0 ถ้า f(c) = 0 แล้วเศษของ คือ 0 แสดงว่า x – c หาร f(c) ได้ลงตัว นั่นคือ x – c เป็นตัวประกอบของ f(x)  ทฤษฎีบทตัวประกอบจำนวนตรรกยะ เมื่อ f(x) = anxn + an-1xn-1 + an-2xn-2 + … + a1x + a0 โดย n > 2 และ an, an-1, an-2 ,…, a1, a0 เป็นจำนวนจริง และ an ≠ 0 ถ้า x -เป็นตัวประกอบของพหุนามของ f(x) โดยที่ m และ k เป็นจำนวนเต็ม

 

สมบัติของการไม่เท่ากัน

บทนิยามa < b หมายถึง a น้อยกว่า b a > b หมายถึง a มากกว่า b   • สมบัติของการไม่เท่ากัน กำหนดให้ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ 1.สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a > b และ b > c แล้ว a > c 2.สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a > b แล้ว a + c > b+ c 3.จำนวนจริงบวกและจำนวนจริงลบ  a เป็นจำนวนจริงบวก ก็ต่อเมื่อ a > 0  a เป็นจำนวนจริงลบ ก็ต่อเมื่อ a < 0 4.สมบัติการคูณด้วยจำนวนเท่ากันที่ไม่เท่ากับศูนย์  ถ้า a > b และ c > 0 แล้ว ac > bc  ถ้า a > b และ c < 0 แล้ว ac < bc 5.สมบัติการตัดออกสำหรับการบวก ถ้า a + c > b + c แล้ว a > b 6.สมบัติการตัดออกสำหรับการคูณ  ถ้า ac > bc และ c > 0 แล้ว a > b  ถ้า ac > bc และ c < 0 แล้ว a < b   บทนิยามa ≤ bหมายถึงa น้อยกว่าหรือเท่ากับ ba ≥ bหมายถึงa มากกว่าหรือเท่ากับ ba < b < cหมายถึงa < b และ b < ca ≤ b ≤ cหมายถึงa ≤ b และ b ≤ c

 

ช่วงของจำนวนจริงและการแก้อสมการ

  กำหนดให้ a, b เป็นจำนวนจริง และ a < b 1. ช่วงเปิด (a, b) (a, b) = { x | a < x < b }     2. ช่วงปิด [a, b] [a, b] = { x | a ≤ x ≤ b }     3. ช่วงครึ่งเปิด (a, b] (a, b] = { x | a < x ≤ b }     4. ช่วงครึ่งเปิด [a, b) [a, b) = { x | a ≤ x < b }     5. ช่วง (a, ∞) (a, ∞) = { x | x > a}     6. ช่วง [a, ∞) [a, ∞) = { x | x ≥ a}     7. ช่วง (-∞, a) (-∞, a) = { x | x < a}     8. ช่วง (-∞, a] (-∞, a] = { x | x ≤ a}    • การแก้อสมการ อสมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร กับจำนวนใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย ≠ , ≤ ,≥ , < , > , เป็นตัวระบุความสัมพันธ์ของตัวแปร และจำนวนดังกล่าว คำตอบของอสมการ คือ ค่าของตัวแปรที่ทำให้อสมการเป็นจริง เซตคำตอบของอสมการ คือ เซตของค่าตัวแปรทั้งหมดที่ทำให้อสมการเป็นจริง   หลักในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เราอาศัยสมบัติของการไม่เท่ากันในการแก้อสมการ เช่น 1. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a > b แล้ว a + c > b + c 2. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a > b และ c > 0 แล้ว ac > bc ถ้า a > b และ c < 0 แล้ว ac < bc ตัวอย่างที่ 1จงหาเซตคำตอบของ x + 3 > 12วิธีทำ x + 3>12 ∴x + 3 + (-3)>12 + (-3)  x>9 ∴เซตคำตอบของอสมการนี้คือ (9, ∞) ตัวอย่างที่ 2จงหาเซตคำตอบของ 2x + 1 < 9วิธีทำ 2x + 1<9 ∴2x + 1 + (-1)<9 + (-1)  2x<8   (2x)< (8)  x<4 ∴เซตคำตอบของอสมการนี้คือ (-∞, 4) ตัวอย่างที่ 3จงหาเซตคำตอบของ 4x – 5 ≤ 2x + 5วิธีทำ 4x – 5≤2x + 5  4x – 5 + 5≤2x + 5 + 5  4x≤2x + 10  4x – 2x≤2x + 10 – 2x  2x≤10   (2x)≤ (10)  x≤5 ∴เซตคำตอบของอสมการนี้คือ (-∞, 5]  หลักในการแก้อสมการตัวแปรเดียวกำลังสอง กำหนดให้ a และ b เป็นจำนวนจริงใดๆ 1. ถ้า ab = 0 แล้ว จะได้ a = 0 หรือ b = 0 2. ถ้า = 0 แล้ว จะได้ a = 0 3. ถ้า ab > 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b > 0 หรือ a < 0 และ b < 0 4. ถ้า ab < 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b < 0 หรือ a < 0 และ b > 0 5. ถ้า ab ≥ 0 แล้ว จะได้ ab > 0 หรือ ab = 0 6. ถ้า ab ≤ 0 แล้ว จะได้ ab < 0 หรือ ab = 0 7. ถ้า > 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b > 0 หรือ a < 0 และ b < 0 8. ถ้า < 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b < 0 หรือ a < 0 และ b > 0 9. ถ้า ≥ 0 แล้ว จะได้ > 0 หรือ = 0 10. ถ้า ≤ 0 แล้ว จะได้ < 0 หรือ = 0 ตัวอย่างที่ 4จงหาเซตคำตอบของ (x – 3)(x – 4) > 0วิธีทำ ถ้า (x – 3)(x – 4)>0 แล้วจะได้  x – 3>0 และ x – 4 > 0                            x>3 และ x > 4   ∴เมื่อ x – 3>0 และ x – 4 < 0 แล้วจะได้ x > 4  หรือ x – 3<0 และ x – 4 < 0                            x<3 และ x < 4   ∴                     x – 3<0 และ x – 4 < 0 แล้วจะได้ x < 3 นั่นคือ เซตคำตอบของ (x – 3)(x – 4) > 0 คือ { x | x < 3 หรือ x > 4 } = (-∞, 3 ) ∪ (4, ∞ )ตัวอย่างที่ 5จงหาเซตคำตอบของ (x – 3)(x – 4) < 0วิธีทำ ถ้า (x – 3)(x – 4)<0 แล้วจะได้                    x – 3>0 และ x – 4 < 0                         x>3 และ x < 4   ∴เมื่อ x – 3>0 และ x – 4 < 0 แล้วจะได้ 3 < x < 4  หรือ x – 3<0 และ x – 4 > 0  x<3 และ x > 4 ซึ่งเป็นไปไม่ได้   ∴ไม่มีจำนวนจริง x ที่สอดคล้องกับ x – 3 < 0 และ x – 4 > 0 นั่นคือ เซตคำตอบของ (x – 3)(x – 4) < 0 คือ { x | 3 < x < 4 } = (3, 4)——————————————————————-จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สรุปเป็นหลักในการแก้อสมกาีได้ดังนี้กำหนดให้ x, a, b เป็นจำนวนจริง และ a < b แล้ว1. ถ้า (x – a)(x – b) > 0 จะได้ x < a หรือ x > b2. ถ้า (x – a)(x – b) < 0 จะได้ a < x < b3. ถ้า (x – a)(x – b) ≥ 0 จะได้ x ≤ a หรือ x ≥ b4. ถ้า (x – a)(x – b) ≤ 0 จะได้ a ≤ x ≤ b5. ถ้า > 0 จะได้ x < a หรือ x > b6. ถ้า < 0 จะได้ a < x < b7. ถ้า ≥ 0 จะได้ x ≤ a หรือ x > b8. ถ้า ≤ 0 จะได้ a ≤ x < bหรือ สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้ 

 

ค่าสัมบูรณ์

บทนิยาม กำหนดให้ a เป็นจำนวนจริง  นั่นคือ ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริงใดๆ ต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์เสมอ • สมบัติของค่าสัมบูรณ์ 1. |x| = |-x| 

2. |xy| = |x||y|

 3. | x – y | = | y – x | 4. |x|2 = x2 5. | x + y | ≤ |x| +|y| 6. เมื่อ a เป็นจำนวนจริงบวก 7.|x| < a หมายถึง -a < x < a    |x| ≤ a หมายถึง -a ≤ x ≤ a   8. เมื่อ a เป็นจำนวนจริงบวก |x| > a หมายถึง x < -a หรือ x > a |x| ≥ a หมายถึง x ≤ -a หรือ x ≥ aโจทย์แบบฝึกหัดเรื่อง จำนวนจริง (Real number)

โครงสร้างของระบบจำนวน

จำนวนเชิงซ้อน ( Complex Number )

  • จำนวนจินตภาพ
  •  จำนวนจริง
    • จำนวนอตรรกยะ
    • จำนวนตรรกยะ
      • จำนวนเต็ม
        • จำนวนเต็มลบ
        • จำนวนเต็มศูนย์
        • จำนวนเต็มบวก
      • ไม่เป็นจำนวนเต็ม

ส่วนประกอบของจำนวนจริง

จำนวนจริง ( Real Number ) จะประกอบไปด้วย 

  1. จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนในรูปจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้
  2. จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนในรูปจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้

 

จำนวนตรรกยะ ( RATIONAL NUMBER )

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนในรูปจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้ ซึ่งจำนวนตรรกยะนั้น จะมีส่วนประกอบอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ 

  1. จำนวนเต็ม
  2. ไม่ได้เป็นจำนวนเต็ม

ซึ่งทั้งสองส่วนก็ยังมีส่วนย่อยลงไปได้อีก ส่วนตัวเลขที่ไม่สามารถเขียนได้ทั้งจำนวนเต็ม และจำนวนที่มีทศนิยมซ้ำหรือเศษส่วนได้นั้น จะถือเป็นจำนวนอตรรกยะโดยทันที

 

จำนวนตรรกยะที่ไม่ได้เป็นจำนวนเต็ม

เช่นเดียวกัน จำนวนตรรกยะก็มีส่วนที่ไม่ได้เป็นจำนวนเต็ม ซึ่งสามารถแบ่งเป็นส่วนย่อยได้ดังนี้

  1. เศษส่วน
  2. ทศนิยมซ้ำ

ซึ่งในหัวข้อนี้จะไม่ได้พูดถึงเศษส่วนและทศนิยมซ้ำอย่างละเอียด ถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถเข้าไปศึกษาได้

 

 

จำนวนเต็ม ( INTEGER ) 

จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จำนวนเต็มเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนตรรกยะ ซึ่งในจำนวนเต็มก็ยังสามารถแบ่งส่วนย่อยลงไปได้อีกเป็น

  1. จำนวนเต็มบวก
  2. จำนวนเต็มลบ
  3. จำนวนเต็มศูนย์

ข้อควรรู้ :

  • ไม่มีจำนวนเต็มบวกที่มากที่สุด
  • ไม่มีจำนวนเต็มลบที่่น้อยที่สุด
  •  0 ไม่ใช่ทั้งจำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มลบ 
  • จำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุด คือ 1
  • จำนวนเต็มลบที่มากที่สุด คือ -1

ประเภทของจำนวน

  1. จำนวนคู่ ( Even Number ) : คือ จำนวนที่ 2 สามารถหารได้ลงตัว
  2. จำนวนคี่ ( Odd Number ) : คือจำนวนที่ 2 ไม่สามารถหารได้ลงตัว
  3. จำนวนเฉพาะ ( Prime Number ) : คือ จำนวนนับที่มีตัวหารที่เป็นจำนวนบวกเพียง 2 ตัว คือ 1 และ ตัวมันเองเท่านั้น
  4. จำนวนประกอบ ( Composite Number ) คือ จำนวนนับที่เกิดจากผลคูณของจำนวนเฉพาะตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

 

 

สมบัติของจำนวนจริง

กำหนดให้ a , b และ c เป็นจำนวนจริงใด ๆ

1. สมบัติการบวกในจำนวนจริง

  • สมบัติปิดการบวก

ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงใด ๆ a + b จะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริง

  • สมบัติการสลับที่การบวก

a + b = b + a

  • สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก  

a + ( b + c ) = ( a + b ) + c

  • การมีเอกลักษณ์การบวก

0 + a = a + 0 = a

  • การมีอินเวอร์สการบวก 

a + ( -a ) = ( -a ) + a = 0

2.  สมบัติการคูณในจำนวนจริง

  • สมบัติปิดการคูณ

ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว ab จะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริง

  • สมบัติการสลับที่การคูณ

ab = ba

  • สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการคูณ

a × ( bc ) = ( ab ) × c

  • การมีเอกลักษณ์การคูณ

1 × a = a × 1 = a

  • การมีอินเวอร์สการคูณ

a × ( 1/a ) =  ( 1/a ) × a = 1  

สมบัติการแจกแจง

a ( b+c  ) = ab + ac

1.จำนวนอตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น √2 , √3, √5, -√2, – √3, -√5 หรือ ¶ ซึ่งมีค่า 3.14159265…

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง