การปรับระบบบริการสุขภาพ reorient health service

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion)

                     ปัจจัยและวิถีชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพเป็นกลวิธีหนึ่งในการป้องกันรักษา และฟื้นฟูโรค   ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพต้องทำทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยมีองค์ประกอบของการสร้างเสริมสุขภาพหลายด้านเช่น การออกกำลังกาย โภชนาการ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ฯลฯ กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพการเฝ้าระวังสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา  (Ottawa Charter)

การประชุมการสร้างเสริมสุขภาพโลกในปี 2529(1986) ให้คำนิยาม ว่า

การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการที่ช่วยให้ ผู้คน สามารถควบคุม และเพิ่มพูนสุขภาพ ให้กับตนได้ 

Health promotion is the process of enabling people to increase control over, and to improve, their health.             

กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ

1. สร้างนโยบายสาธารณะ (Build Healthy Public Policy)

2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ  (Create Supportive Environment)

3. เพิ่มความสามารถของชุมชน (Strengthen Community Action)

4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop Personal Skills)

5. ปรับระบบบริการสุขภาพ (Reorient Healthy Services)

กลวิธีที่ 1   การสร้างนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ

     ได้แก่ การที่สังคม เช่น ประเทศมีนโยบาย เพื่อให้คนในสังคมมีสุขภาพดี ยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น การมีกฎระเบียบ หรือกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เป็นต้น

กลวิธีที่ 2 การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ     

  สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ นอกจากการหลีกหนี หรือปกป้องตนเอง หรือปกป้องสังคมให้พ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีแล้ว ในสภาพของคนทั้งสังคม การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างปัญหาต่อสุขภาพ

กลวิธีที่ 3 การสร้างเสริมกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง

  เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ ที่อยู่กันอย่างเป็นสังคม การส่งเสริมสุขภาพ ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยแพทย์ และพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น งานหลายอย่าง ต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชน

กลวิธีที่ 4  การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล

  การทำให้คนมีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจในการควบคุมปัจจัยก่อโรค คือ ต้องมีกระบวนการในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้คนรู้จัก และมีความสามารถ (ทักษะ) ในการดูแลสุขภาพตนเอง

กลวิธีที่ 5 การปรับเปลี่ยนบริการ การบริการทางการแพทย์ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ที่ผ่านมา และที่จะผ่านไปของการบริการทางการแพทย์ คือ การให้การบริการรักษา เป็นหลัก หรือทำโรงพยาบาลเพียงหน้าที่เดียว   คือ เป็นโรงซ่อมสุขภาพ

สรุปได้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ ต้องส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม คือ ส่งเสริมทั้งด้าน กาย จิต จิตวิญญาณ สังคม ไปด้วยกัน และต้องทำในลักษณะเชิงบุคคล และในเชิงสังคม หรือภาพกว้างด้วย

แนวคิด Health Promotion จึงไม่ได้เพียงแต่เปลี่ยนวิธีทำงานของบุคคลากรด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเข้ามาเปลี่ยนวิธีคิดของรัฐก่อนที่จะออกแบบนโยบายของรัฐ รวมไปถึงภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคการศึกษา-ที่ไม่ใช่เพียงสอนสุขศึกษาให้รู้ว่าอะไรคืออะไร แต่ต้องสอนให้ผู้เรียนรู้เท่าทัน ภาคเอกชน -บริษัทที่ไม่เพียงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน แต่ต้องทำให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีด้วย การสร้างเสริมสุขภาพจึงไม่อาจทำได้จากคนทำงานสาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง