ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศสมาชิกอาเซียน

                                                   ทิศทางการเกษตรในอาเซียน

โดย…รศ.สมพร อิศวิลานนท์

            หลังที่มีการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก10 ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว นับจากต้นปี 2559 เป็นต้นไป เรามีข้อตกลงร่วมกันที่จะเปิดเสรีทั้งด้านการค้าและการลงทุนเชื่อมต่อกันภายในภูมิภาคเกิดการรวมกันเป็นฐานการผลิตและการเป็นตลาดอันเดียวกันซึ่งภาคการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดเสรีด้านตลาดการค้าและการลงทุน

            อาเซียนมีพื้นที่การเกษตรโดยรวมประมาณ  793ล้านไร่ ในจำนวนนี้ประเทศอินโดนีเชียมีพื้นที่การเกษตรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 42.9 ของพื้นที่การเกษตรของอาเซียน รองลงมา 4 ลำดับ ได้แก่ประเทศ ไทย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม(ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรของสี่ประเทศรวมกันคิดเป็นร้อยละ 44.55)สำหรับประเทศสิงคโปร์และบรูไน เกือบจะไม่มีพื้นที่การเกษตรเลยหรือมีในจำนวนน้อยมาก ส่วน สปป.ลาวและกัมพูชามีพื้นที่รวมกันเพียงร้อยละ 6.32

            ข้าวเป็นพืชอาหารหลักของประชากรในอาเซียนและเอเชียพื้นที่การเกษตรของอาเซียนจึงถูกนำมาใช้ในการผลิตข้าวมากที่สุด องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้รายงานว่าในปี 2557มีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 304.73 ล้านไร่และมีผลผลิตรวม 209.89 ล้านตันข้าวเปลือกหรือ 117ล้านตันข้าวสาร

          ในจำนวนนี้มีการใช้บริโภคภายในภูมิภาค 103 ล้านตันข้าวสาร และมีผลผลิตส่วนเกินที่จะต้องส่งออกไปนอกภูมิภาค 14 ล้านตันประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของอาเซียนได้แก่ไทยและเวียดนาม ส่วนเมียนมาร์และกัมพูชามีปริมาณการส่งออกไม่มากนัก สำหรับ สปป.ลาวผลิตได้พอกินพอใช้ภายในประเทศเป็นสำคัญ

 [adrotate banner=”3″]

           ส่วนประเทศผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญในอาเซียนได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเชีย ซึ่งผลิตได้ไม่เพียงพอ สำหรับสิงคโปร์และบรูไนนั้นก็ต้องนำเข้าข้าวเช่นกันเพราะเกือบจะไม่มีการใช้พื้นที่ปลูกข้าวในประเทศทั้งสอง

            อาเซียนนอกจากการเป็นแหล่งผลิตพืชอาหารแล้วยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลกอีกด้วยโดยเฉพาะสินค้ายางพารา อาเซียนเป็นแหล่งผลิตยางธรรมชาติได้เป็นอันดับหนึ่งของโลกโดยมีปริมาณการผลิต 8.73 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 73ของผลผลิตยางธรรมชาติของโลก ในจำนวนนี้เป็นผลผลิตจากไทยสูงสุด รองลงมาได้แก่อินโดนีเซีย และมาเลเชีย ผลผลิตยางธรรมชาติดังกล่าวในอาเซียนส่วนมากเป็นการส่งออกไปนอกอาเซียนในรูปของวัตถุดิบทำให้ทั้งสามประเทศเป็นคู่แข่งทางการค้าในตลาดส่งออกนอกอาเซียน

           ในส่วนของปาล์มน้ำมันอาเซียนเป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันแหล่งใหญ่ของโลกประมาณ 228.58 ล้านตันหรือร้อยละ 86.53  ในจำนวนนี้มีอินโดนีเซียและมาเลเชียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่หรือร้อยละ 94 ของผลผลิตปาล์มในอาเซียนทั้งหมดและทั้งสองประเทศเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในตลาดการค้าน้ำมันปาล์มของโลกด้วยเช่นกัน

           สำหรับมันสำปะหลังอาเซียนมีผลผลิต 76.53 ล้านตันหรือมีสัดส่วนร้อยละ 29 ของผลผลิตมันสำปะหลังโลก ทั้งนี้มีไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ประมาณร้อยละ 40 และรวมถึงการเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก โดยส่งออกในรูปของผลิตภัณฑ์มันเส้นและมันอัดเม็ดซึ่งเป็นการแปรรูปขั้นต้น การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และเอทานอลมีไม่มากนัก

          ส่วนเวียดนามและอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตรองลงไป การผลิตอ้อยโรงงานในอาเซียนมีปริมาณ 192.3 ล้านตัน และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายเป็นหลักสำคัญ ในจำนวนนี้ไทยเป็นแหล่งผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายรายใหญ่ของอาเซียน

           ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆที่มีผลผลิตอ้อยรองลงมาได้แก่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียตามลำดับสำหรับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอาเซียนมีการผลิตประมาณ 39.88 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 3.92 ของผลผลิตข้าวโพดโลก ในจำนวนนี้มีอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแป้งข้าวโพดและการผลิตอาหารสัตว์ปีกซึ่งมีการผลิตและใช้ในแต่ละประเทศและในอาเซียนเป็นสำคัญ

             นอกจากพืชที่กล่าวถึงดังกล่าวแล้วการผลิตกาแฟโดยเฉพาะจากประเทศเวียดนามได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกอันดับสองของโลกรองจากบราซิล

           ถ้ามาดูการผลิตพืชผักและผลไม้การผลิตปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำส่วนมากจะใช้ภายในประเทศสมาชิกและภายในภูมิภาคอาเซียนเป็นสำคัญ มีการส่งออกไปยังตลาดทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียนบ้างแต่มีมูลค่าไม่มากนักทั้งนี้เพราะในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานและความปลอดภัยของตนเองซึ่งในหลายกรณีได้ใช้มาตรฐานและความปลอดภัยดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการจำกัดการค้าระหว่างกันในกรณีของสัตว์ปีกแปรรูปและสินค้าสัตว์น้ำแปรรูปพบว่าประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าเนื้อไก่สดและแปรรูปและสินค้าสัตว์น้ำแปรรูปโดยเฉพาะกุ้งสดแปรรูปและรวมถึงอาหารทะเลกระป๋องไปยังตลาดอาเซียนและนอกอาเซียน

         ขณะที่เวียดนามมีการผลิตสินค้าเนื้อปลาสวายจากการเพาะเลี้ยงส่งออกทั้งในตลาดอาเซียนและนอกอาเซียนสร้างมูลค่าได้จำนวนมากเช่นกัน

           สินค้าเกษตรที่ต้องนำเข้าอย่างมากในอาเซียนได้แก่ข้าวสาลีและถั่วเหลือง เป็นต้นภูมิอากาศและสภาพภูมินิเวศที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้ประเทศในอาเซียนไม่สามารถผลิตข้าวสาลีให้เป็นพืชเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้การผลิตถั่วเหลืองของหลายประเทศแม้จะมีการเพาะปลูกกันบ้างแต่อุปทานของผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค ทั้งการใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตน้ำมันพืชจากถั่วเหลืองและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จึงต้องนำเข้า

        ในอีกด้านหนึ่งของพันธข้อตกลงสู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียนนั้น ได้มีข้อตกลงว่าด้วยมาตรฐานสินค้าและความปลอดภัยภายในภูมิภาคหรือที่เรียกว่า ASEAN Standard ซึ่งแต่ละประเทศมีความจำเป็นจะต้องพัฒนามาตรฐานสินค้าของแต่ละประเทศสมาชิกให้เข้าสู่มาตรฐานอาเซียน

         ในกลุ่มของสินค้าเกษตรและอาหารได้มีการร่วมกำหนดมาตรฐานระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบสินค้านำเข้าเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานตัวสินค้าตามชนิดของสินค้า เช่นมาตรฐาน ทุเรียน มะม่วง สับปะรด มะละกอ เงาะ มังคุด เป็นต้น

        มาตรฐานระบบเช่นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน (ASEAN organic standard) มาตรฐานการปฎิบัติการเกษตรที่ดีอาเซียน (ASEAN GAP)และรวมถึงมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างซึ่งได้จัดอยู่ในกลุ่มมาตรฐานทั่วไปทั้งนี้มาตรฐานดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการยกระดับมาตรฐานสินค้าและความปลอดภัยในกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นอันหนึ่งอันเกียวกันและนำไปสู่การเชื่อมโยงและยกระดับการค้าทั้งในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคให้เกิดความเชื่อถือและเกิดการขยายตัวทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารตามมา

       กระนั้นการเป็นประชาคมอาเซียนแม้จะได้สร้างความหวังของการเป็นฐานการผลิตและการตลาดอันเดียวกัน พร้อมกับมีการยกระดับมาตรฐานสินค้าและความปลอดภัยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแล้วก็ตาม แต่การที่ประเทศสมาชิกในภูมิภาคยังมีองค์ประกอบของเกษตรกรขนาดเล็กเป็นจำนวนมากอยู่ในภาคการเกษตร

        อีกทั้งการผลิตสินค้าเกษตรหลักๆของประเทศสมาชิกทั้งหลายมีลักษณะของสินค้าที่คล้ายคลึงกันและเป็นสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดจึงอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวของภาคการเกษตรและเกษตรกรของแต่ละประเทศการปรับตัวดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าประเทศสมาชิกในอาเซียนจะได้ร่วมมือพัฒนาทำให้กลไกตลาดภายในอาเซียนทำงานได้อย่างเสรีในการจัดสรรทรัพยากรการผลิตและการกระจายสินค้าให้เป็นกลไกตลาดอันเดียวกันได้อย่างไร

       หากอาเซียนทำข้อจำกัดดังกล่าวให้เกิดเป็นผลสำเร็จได้ย่อมเชื่อได้ว่าภาคการเกษตรของอาเซียนจะสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นภาคที่มีความมั่งคั่งและสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรตามมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง