ตัวอย่าง ข้อเสนอโครงการวิจัย proposal

แหล่งรวบรวมบทความวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ โครงการพัฒนาศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Knowledge Center : STKC)...

วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 31 ตุลาคม 2564  

การเขียน Research Proposal อย่างไรให้ได้ทุนวิจัย เป็นคำถามสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่อยู่เสมอProposal ที่ดี ควรระบุความเป็นมาและแสดงความสำคัญของปัญหาให้ชัดเจน มีระเบียบวิธีการวิจัยที่ดี แสดงขอบเขต ขั้นตอนและรายละเอียดของการทำวิจัย  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะทำโครงการให้สำเร็จและมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม  การเขียนอย่างไรให้โดนใจกรรมการ และที่มีเปอร์เซ็นต์ได้รับการอนุมัติสูงมีอะไร  ได้รวบรวมเทคนิคแต่ละเรื่องไว้ดังนี้

หัวข้อการวิจัย”ต้องน่าสนใจ”

        ตั้งชื่อหัวข้อวิจัยให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ ต้องเป็นเรื่องใหม่ยังไม่ได้มีใครทำมาก่อน มีความชัดเจน ตอบโจทย์ความต้องการเร่งด่วน สามารถนำไปสู่การศึกษาต่อยอด และ/หรือนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป 

        ทั้งนี้ควรสื่อสารด้วยคำสำคัญ (keyword)  ตามประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาเพื่อหาคำตอบนำไปสู่การแก้ไข เน้นความแตกต่างที่สำคัญกับโครงการคู่แข่ง  และควรสอดคล้องกับบริบทของสังคม,หน่วยงานที่ไปขอทุน หรือนโยบายแยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

ระเบียบวิธีวิจัย”มีขั้นตอนชัดเจน”

         การออกแบบการวิจัยที่ดีจะส่งผลไปถึงเครื่องมือและวิธีการวิจัย อันนำไปสู่ Output / Outcome ที่ดี  สามารถตอบข้อสงสัยหรือแก้ปัญหาได้ ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนทำอย่างไร หากทำออกมาเป็นผังงานก็จะดีมาก โดยทั่วไปจะมีรายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้

  • วิธีการวิจัยที่เลือกใช้เป็นวิธีวิจัยแบบใด เช่น ใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง 
  • แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง และระบุจำนวนตัวอย่าง 
  • วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร
  • การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลว่าจะทำอย่างไร และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล มีความเหมาะสมและน่าเชื่อถือเพียงพอ เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้ 

ผลลัพธ์ของงานวิจัย”วัดผลได้จริง”

         ควรระบุ Output, Outcome และ Impact ให้ชัดเจน เพราะผู้ให้ทุนย่อมดูที่ผลงานเป็นหลักว่า ทำแล้วได้อะไร วัดผลได้หรือไม่ ตอบสนองเป้าประสงค์ของผู้ให้ทุนอย่างไร ควรเขียนชัดเจนว่า งานคืออะไร จะสำเร็จเมื่อไหร่ สำเร็จแล้วมีประโยชน์วงกว้าง (impacts) อย่างไร พยายามแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าของโครงการว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคมอย่างไร โดยอาจระบุว่ามีใครได้ประโยชน์บ้าง มีตัวชี้วัดผลลัพธ์ชัดเจน เช่น ระบุว่าจะเกิดอะไรในอีก 1-2 ปี ถ้าคนเอางานวิจัยไปใช้โดยวัดเป็น % 

         ทั้งนี้ ไม่ควรเขียนสิ่งที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ของการวิจัยโดยตรง เช่น ได้ผลการวิจัย ได้พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ หรือเขียนล้อกับวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 

“แจกแจง”เวลา งบประมาณ”ละเอียด”

         ผู้ขอทุนควรเขียนงบประมาณที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่กำหนดและมีความเหมาะสมกับขอบเขตการให้ของแหล่งทุน ควรแยกกิจกรรมเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน บอกถึงความจำเป็นที่ต้องการใช้ในการวิจัยในแต่ละรายการที่เสนอ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต้องสอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัย ทั้งนี้ผู้ขอทุนควรศึกษาระเบียบการเบิกจ่ายจากแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยให้ดี  

         หลายครั้งที่นักวิจัยมักตั้งคำถามว่า ทำไมถูกตัดงบประมาณมาก  จุดนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการระบุกิจกรรมไปพร้อมการตั้งงบประมาณ ควรสร้างกิจกรรมย่อย ๆที่สอดรับกิจกรรมหลักให้มาก พยายามอย่าให้งบวิจัยสำหรับผู้วิจัยมากเกินไป โดยเฉพาะงบประมาณซ้ำซ้อน เช่น จ้างคนเก็บแบบสอบถามและจ่ายเบี้ยเลี้ยงทั้งยังให้ค่าตอบแทนแบบสอบถามแต่ละฉบับที่มากเกินไป 

คณะผู้วิจัย”น่าเชื่อถือ”

         ควรมี profile สอดรับกับประเด็นที่ทำวิจัย อาจมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแนบด้วยในกรณีที่ผู้ให้ทุนร้องขอ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถทำงานที่เสนอให้สำเร็จได้อย่างมีคุณภาพและทันเวลา และมีประวัติการทำงานที่ดี ไม่มีประวัติติดค้างทุน

         ที่กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่าเป็นเทคนิคเบื้องต้นในการเขียน proposal ที่ดี อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิจัยแต่ละหัวข้ออาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน  จึงควรพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับโครงการวิจัยนั้นๆด้วย 

สามารถอ่านบทความ เขียนProposalอย่างไรให้โดนใจกรรมการ และอื่นได้ที่นี่

ข้อมูลอ้างอิง

//web.chandra.ac.th/blog/wp-content/uploads/2015/10/เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุนสนับสนุน.pdf

//nuph.health.nu.ac.th/training/doc/lecturer/2558/june/AHS3405.pdf

  

สินีนาฏ เพิ่มสวัสดิ์

มาร์เก็ตติ้งในธุรกิจความงามของบริษัทต่างประเทศชั้นนำกว่า 10 ปี เชี่ยวชาญการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าและเส้นผมโดยเฉพาะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง