กระตุ้นพัฒนาการทารก 1 เดือน

พ่อแม่มือใหม่ควรรู้! ภาษาท่าทางของลูกน้อยวัย 1 เดือน มีความหมาย และเป็นสัญญาณบอก “พัฒนาการเด็กแรกเกิด 1 เดือน”

คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ จับสังเกตให้ดี ลูกน้อยส่งสัญญาณท่าทางตามพัฒนาการเด็กแรกเกิด 1 เดือน หรือไม่? พร้อมเรียนรู้วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกด้วยของเล่นเสริมพัฒนาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมบูรณ์

ใครบอกว่าทารก 1 เดือนนั้น มีแค่การกิน กับการนอน ในขณะเดียวกันลูกน้อยของคุณกำลังมีพัฒนาการการเรียนรู้จากสิ่งรอบๆ ตัว ผ่าน ตา หู จมูก การสัมผัส และการตอบโต้ด้วย บทความนี้จะพาคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ตามไปเช็กกันค่ะ ว่า พัฒนาการทารก 1 เดือน มีอะไรบ้าง โดย ”คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ”  ได้บอกไว้ดังนี้

เคยสังเกตกันไหมคะว่า เวลาเล่นกับทารก หรือพูดคุยด้วย ทารกจะจ้องหน้า หรือหันตามเสียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมา นั่นก็เป็นเพราะว่าโดยสัญชาตญาณตามวัยของทารกแรกเกิด จะชอบมองใบหน้าของแม่มากที่สุด และชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหว โดยเฉพาะวัตถุที่มีสีสัน หรือสีตัดกันที่ชัดเจน เช่น สีขาวกับสีดำ เพราะทารกจะยังไม่สามารถมองเห็นได้ชัด หรือโฟกัสได้ในระยะมากกว่า 1 ฟุต

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 1 เดือน ทางด้านการมองเห็น และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง กระตุ้นพัฒนาการด้านสมอง ในการจดจำสิ่งรอบๆ ตัว คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรมีการส่งเสริมพัฒนาการทารก ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านการมองเห็น

● ขณะอาบน้ำ แต่งตัว หรืออุ้มลูก ควรให้เด็กอยู่ในท่านอนหงาย หรืออุ้มเด็กให้หน้าคุณพ่อคุณแม่ ห่างจากใบหน้าเด็กประมาณ 30 ซม.

● ควรสบตา ทำตาโตบ้าง กระพริบตาบ้าง เพื่อให้เด็กสนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

● มีการพูดคุย ยิ้ม สลับกับทำตาโต กะพริบตา เพื่อกระตุ้นให้เด็กมองที่ปากสลับกับดวงตา

● ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ควรใช้เป็นโมบายสีสันสดใส แขวนไว้ตรงหัวเปล หรือของเล่นที่มีการเคลื่อนไหวสีสันสดใส

ข้อสังเกต : ทารก 1 เดือน อาจมีอาการตาเหล่ได้นิดหน่อย แต่จะหายไปได้เองเมื่ออายุ 2- 3 เดือน ยกเว้นกรณีที่ตาเหล่ชนิดตาดำหาย อาการนี้ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบพาไปพบแพทย์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการสังเกตพัฒนาการเด็กทารก ก็จะช่วยให้เราทราบถึงความผิดปกติได้เช่นกัน

ทารก 1 เดือน จะมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นให้มีร่างกาย และการเคลื่อนไหวที่ดี ทารก 1 เดือนจึงสามารถเหยียดขาทั้ง 2 ข้างได้ มือ และแขนมีการเคลื่อนไหว และในขณะนอนคว่ำจะเริ่มยกศีรษะขึ้นเองได้เล็กน้อย และหันศีรษะซ้ายขวาได้เล็กน้อยเช่นกัน แต่กล้ามเนื้อคอจะยังไม่แข็งแรงมาก คุณพ่อ คุณแม่ต้องคอยประคองศีรษะช่วยอีกแรง

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อของของเด็ก 1 เดือน ทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นให้ร่างกายทารก มีการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้ ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหว

● จับทารกนอนคว่ำ แล้วคุณพ่อคุณแม่เขย่าของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก อย่าง กรุ๊งกริ๊ง ค่อยๆ ส่ายไปมาซ้ายขวาให้เกิดเสียง ควรจับของเล่นให้อยู่ตรงหน้าทารกห่างประมาณ 30 ซม. เพื่อให้ทารกสนใจ และหันศีรษะตามเสียง เพื่อเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อคอ

● จับทารกนอนหงาย แล้วจับขาเหยียดออก สลับกับจับขาขึ้นลง เพื่อเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อขา แต่ควรทำอย่างเบามือ และไม่ควรทำถี่จนเกินไป

● คุณพ่อคุณแม่ควรมีการสัมผัส อุ้มลูกบ่อยๆ หรือทำกิจกรรมให้ลูกดู เช่น ร้องเพลงให้ฟัง จะทำให้เด็กมีการตอบสนองออกทางด้านร่างกาย

● อุ้มทารกขึ้นพาดบ่า ใช้มือช่วยประคองลำคอ พาออกไปเดินเล่นใกล้ๆ ให้ทารกเกิดความสนใจต่อสิ่งของรอบข้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกพยายามหันศีรษะไปมา และใช้สายตามองสิ่งของ

เมื่อทารกได้ยินเสียงพูดของผู้ใหญ่ความดังระดับปกติ จะมีปฏิกิริยายาตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน โดยการสะดุ้ง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะเสียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือคนใกล้ชิด ทารกจะจดจำเสียงได้ดี นอกจากแสดงการตอบโต้ต่อการรับรู้ของเสียงที่ได้ยินแล้ว ทารกยังสามารถสื่อสารได้โดยการส่งเสียง เพื่อบอกให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ว่าทารกต้องการอะไร อาทิ ส่งเสียงร้อง อาจหมายถึงทารกหิว หรือไม่สบายตัว หรือส่งเสียงอ้อแอ้ อาจหมายถึงทารกดีใจที่ได้เห็นหน้าคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น การสังเกตท่าทาง หรือการส่งเสียงของทารก จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดของเด็ก 1 เดือน ทางด้านการเข้าใจภาษา และการสื่อสารของทารก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นการรับรู้ และการโต้ตอบของทารกได้ ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา และการสื่อสารของทารก

● ให้ทารกนอนหงาย แล้วคุณพ่อคุณแม่พูดคุย หรือเรียกชื่อทารกบ่อยๆ จากด้านข้างทั้งซ้ายและขวา โดยพูดด้วยน้ำเสียงปกติ

● เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดคุยเสียงดังปกติ หากทารกมีการสะดุ้ง หรือขยับตัว ให้ยิ้มกับลูกน้อย และสัมผัสตัวทารก

● เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดคุยด้วยน้ำเสียงปกติกับทารก แต่ทารกไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ ให้เพิ่มระดับเสียงดังขึ้น หากลูกน้อยเริ่มสะดุ้ง หรือขยับตัว ให้ทำการลดเสียงลงอยู่ในระดับปกติ พร้อมกับสัมผัสตัวทารก

ข้อสังเกต : หากทารกร้องไห้นานเกินไป บ่อยผิดปกติ หรือไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ กับเสียง ทารกอาจกำลังเจ็บป่วย คุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรชะล่าใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือพาลูกน้อยไปตรวจร่างกาย

ถึงแม้ว่าทารกจะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาการสื่อสารเท่าเด็กโต แต่ทารก 1 เดือน จะสามารถรับรู้ความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่ได้ แล้วจะแสดงอารมณ์ออกมาให้เห็น เช่น หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มมีอารมณ์เครียด ทารกจะสามารถรับรู้ได้ทันที และจะแสดงออกมาทางด้านอารมณ์ และจิตใจ เช่น การงอแงร้องไห้ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ ยิ้มแย้ม หัวเราะ เล่นกับลูกน้อยด้วยท่าทางอารมณ์ดี ทารกก็จะมีอารมณ์ดี จิตใจแจ่มใสตามไปด้วย

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทารก 1 เดือน ทางด้านอารมณ์ และจิตใจ คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างความผูกพัน เอาใจใส่ ดูแลให้ความรัก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีของลูกได้ ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านอารมณ์และจิตใจ

● การยิ้มให้ลูกบ่อยๆ ลูกน้อยจะรู้สึกดี และอุ่นใจ ปลอดภัย

● การโอบกอด สัมผัสตัวทารก ลูกจะรับรู้ถึงความรัก ความอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่

● พาลูกน้อยออกไปเจอกับบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เช่น อุ้มลูกพาเดินเล่นไปรอบๆ บ้าน เพื่อรับแสงแดดบ้าง   

การเจริญเติบโตตามเกณฑ์ของเด็กทารก 1 เดือน

 ● น้ำหนักทารกเด็กชาย 3.5-5 กก. และเด็กหญิงน้ำหนัก 3-4.5 กก.

  ● ส่วนสูงทารกเด็กชาย 50-57 ซม. และส่วนสูงทารกเด็กหญิง 49-57 ซม.

  ● มีการฉี่วันละ 10 - 15 ครั้ง และขับถ่ายวันละ 3 - 4 ครั้ง

  ● เส้นรอบศีรษะเด็ก โดยประมาณแรกเกิด 35 ซม.

การส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก…เริ่มได้แต่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด คุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์นะคะ เพราะขณะตั้งครรภ์หากคุณแม่มีการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และมีสุขภาพจิตใจที่แจ่มใส อารมณ์ดี มีการพูดคุยกับลูก เล่านิทาน อ่านหนังสือให้ลูกฟัง สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ค่ะ ดังนั้น เหล่าคุณแม่คุณพ่อป้ายแดงอย่ารอช้า มาเริ่มส่งเสริมพัฒนาการลูกรักกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์นะคะ

หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแรกเกิด 1 เดือน หรือสงสัยว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมแบบนี้ เป็นไปตามวัยหรือไม่ ...สามารถสอบถามได้ที่ช่อง COMMENT ด้านล่าง 👇 ได้เลยนะคะ ทาง ADMIN จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ 👨‍⚕️💚🤍

📝บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง🩺

9 เรื่องควรรู้? แม่หลังคลอด ร่างกายเปลี่ยน เตรียมรับมือ 📕//healthsmile.co.th/blog/9-changes-in-mothers-body-and-mind-after-delivered/

เป็นแม่ควรจะอิ่มเอิบใจ แต่ทำไมกลับเศร้า อาจเป็นเพราะ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” 📗//healthsmile.co.th/blog/why-mother-feel-sad-post-partum-blue-baby-blue/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง