นักเรียนคิดว่าวิธีการวิเคราะห์ด้วย 5w1h และผังก้างปลา

ในการทำงานหรือการทำธุรกิจต่าง ๆ มักจะเกิดปัญหาขึ้นเสมอ และหลายครั้ง เรามักไม่ทราบว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหานั้น แล้วเราควรทำอย่างไร เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ?

ในบทความนี้ เราจะอธิบายถึงเครื่องมือการวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบของปัญหา ด้วยการตั้งคำถามว่า “ทำไม” หรือการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาด้วย 5 Whys (Why-Why) Analysis ควบคู่ไปกับ แผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) ซึ่งมักจะใช้ควบคู่กันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด

"5 Whys" ถูกเรียกหลังจากที่มีการนำไปใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอีกชื่อหนึ่งว่า 'Cause and Effect Diagram' ซึ่งใช้หลักการเดียวกัน

จี้จุดสาเหตุด้วย "แผนภูมิก้างปลา" (Fish Bone Diagram)

แผนภูมิก้างปลา หรือ Fish Bone Diagram เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบ และสาเหตุ โดยแบ่งเป็น สาเหตุหลัก สาเหตุรอง และสาเหตุย่อย ด้วยโครงสร้างที่ชัดเจนในการวิเคราะห์ระบุปัจจัยพื้นฐานของสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ

โดยปัจจัยต่าง ๆ นั้น จะแตกแขนงมาจากหัวข้อสาเหตุหลัก ๆ ซึ่งไม่มีการกำหนดสาเหตุไว้อย่างตายตัว แต่ส่วนมากในอุตสาหกรรมการผลิต ปัญหาของกระบวนการผลิตมักจะขึ้นอยู่กับ 4M เป็นหลัก

ซึ่งการวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อนำไปดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น เราจะเริ่มจากก้างใหญ่ โดยในอุตสาหกรรมการผลิตนิยมใช้แนวคิดการวิเคราะห์ 4M1E ที่หมายถึง 

- Man (คน) 
- Machine
(เครื่องจักร) 
- Material
(วัตถุดิบ) 
- Method
(วิธีการทำงาน) 
- Environment
(สภาพแวดล้อม) 

Note: สามารถเปลี่ยนแนวคิดการวิเคราะห์ไปตามอุตสาหกรรมที่ทำได้ เช่น 
4Ps - ใช้ในการทำการตลาด (Product, Price, Place, Promotion)
4Ss - ใช้ในธุรกิจบริการ (Surrounding, Supplier, System, Skill)

ซึ่งเครื่องมือ (Tool) นี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยใช้สำหรับการ Brainstorm หรือการระดมสมองของคนหลาย ๆ คน (ไม่เหมาะกับการทำคนเดียว) แล้วนำไปพิสูจน์ต่อ

ระดมสมองผ่าน Fish Bone Diagram และ 5 Whys

ต่อไปเรามาเจาะลึกทำความเข้าใจแต่ละขั้นตอนในการสร้างแผนภูมิการระดมสมองหาสาเหตุของปัญหาด้วย Fish Bone Diagram และ 5 Whys (Why - Why) Analysis

Kaoru Ishikawa - ภาพจาก www.pharmaceuticalonline.com

หลักการนี้มีต้นกำเนิดมาจากผู้คิดค้นชื่อ Kaoru Ishikawa (石川 馨) ศาตราจารย์ ดร. นักสถิติและวิศวกรทำงานที่มหาวิทยาลัยโตเกียว  ผู้มีจิตวิญญาณในการพัฒนาระบบจัดการคุณภาพ (Total Quality Control)

และหลักการนี้ได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กรระดับโลกภายใต้ชื่อ Ishikawa Diagram ในการทำกิจกรรมควบคุมคุณภาพ - TQM (Total Quality Management ) ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอเปอร์เรชั่น (Toyota Motor Corporation) 

โดยการสร้างนั้น จะเริ่มจากการเขียนหัวปลาหันไปทางขวา แม้จะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่จากการสันนิฐานของข้อมูลที่มีอยู่ ทำให้พอจะสรุปได้ว่า เนื่องจากแผนภูมินี้ คนญี่ปุ่นนิยมอ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย อีกทั้งคนญี่ปุ่นยังเชื่อว่าการหันขวาเป็นสิริมงคล แผนภูมิก้างปลานี้ จึงเริ่มจากหัวปลาซึ่งเป็นตำแหน่งของปัญหาอยู่ทางด้านขวามือเสมอ แล้วตามด้วยเส้นแกนกลางและแตกกิ่งก้านออกไปในลักษณะของก้างปลาที่เป็นการหาสาเหตุ เริ่มจาก ก้างใหญ่ เป็นสาเหตุหลักต่อไปด้วยก้างกลางก้างเล็กก้างแขนง ก้างฝอย ออกไปเรื่อย ๆ

ขั้นตอนต่อไปหลังจากที่เราระดมสมองถึงสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ แล้วนั้น ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า สาเหตุทั้งหมดเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และไม่มีสาเหตุใดที่ตกหล่นไป

โดยใช้ชุดคำถามว่า “ทำไม” เพื่อให้สาเหตุแคบลง และ “ดังนั้น” ในการตรวจสอบผลลัพธ์ หากมีช่องว่างระหว่างสาเหตุต่าง ๆ ให้ทำการปรับแก้ไข หรือเพิ่มเติมให้แน่ใจว่า สาเหตุทั้งหมดเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและไปในทิศทางเดียวกัน

สาเหตุที่ได้มาจากการวิเคราะห์นั้น จะได้รับการพิสูจน์ด้วยข้อเท็จจริง โดยอาศัยข้อเท็จจริงและการคาดเดา ซึ่งจะยึดข้อเท็จจริงเป็นหลัก เริ่มด้วยการตั้งคำถาม ที่นำสาเหตุจากก้างกลางมาหาข้อเท็จจริงด้วยการถาม “ทำไม” เป็นลำดับไปเรื่อย ๆ จนครบ

ใช้หลักการการตั้งคำถามด้วยโครงสร้าง “ภาคประธาน+ส่วนขยายของประโยค” (ประธาน+กริยา) เพื่อให้ชัดเจนและสามารถค้นหาคำตอบได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังนิยมทำร่วมกับ Genchi Genbutsu 現地現物 หรือ การไปดูหน้างาน Go and Study เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตัดสินใจ และสร้าง consensus เพื่อการบรรลุเป้าหมายด้วยความรวดเร็ว


ล้างสมอง รีเซ็ตตัวเอง ก่อนเข้าสู่ช่วง 5 Whys

ประเด็นสำคัญในการถาม “ทำไม” 5 ครั้ง คือการที่ควรจะได้แนวคิดการวิเคราะห์ ดังเช่น 4M อีกทั้งการระดมความคิดนี้ ควรจะเป็นแบบ Zero-based thinking คือ การที่ไม่เอาความคิดหรือวิธีการก่อนหน้าใส่เข้าไป และต้องไม่มี bias และ/หรือ stereotyped image ที่กลัวว่าหากพูดความจริงไปแล้ว งานใน process ตัวเองจะเยอะขึ้น

อีกประเด็นที่สำคัญ คือ เราไม่สามารถระดมความคิดเองคนเดียวได้ หลายหัวมักดีกว่าหัวเดียวเสมอ เพราะคนคนเดียว จะไม่สามารถรู้ลึกรู้จริงในแต่ละ process ได้ หรือหากรู้ ก็จะรู้แค่ในบางปัญหา ซึ่งก็อาจจะกว้างเกินไปสำหรับคนหนึ่งคน ที่จะสามารถมองเห็นปัญหาได้ครบทุกมิติหรือทุกมุมมองได้ ดังนั้นการทำแผนภูมิก้างปลาและวิเคราะห์แบบ 5 Whys นั้น แต่ละคนควรจะมี own responsibility ร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม มักเกิดคำถาม หรือความเข้าใจผิด ว่าต้องถาม Why 5 รอบเท่านั้น แต่ความจริง นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง

ทำไม? ต้องตั้งคำถามว่า ทำไม 5 รอบ?

การตั้งคำถามเพื่อหาสาเหตุปัญหาไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าต้องถาม 5 รอบ แต่หากเป็นเพียงค่าเฉลี่ยที่ได้ทำการพิสูจน์มาแล้วว่าเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อคำถามและการสรุป การวิเคราะห์ด้วยการถามว่า “ทำไม” เช่นนี้ จึงมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า Why - Why Analysis

ยิ่งไปกว่านั้น หากเราต้องการทราบว่าเราจะต้องถาม Why ไปถึงเมื่อไร ในความเป็นจริงแล้ว ควรหยุดถามคำถามเพิ่ม เมื่อคำถามต่อ ๆ ไป เริ่มหลุดออกจาก Scope ที่เราต้องการวิเคราะห์แล้ว

เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เราจะยกตัวอย่างสถานการณ์ ด้วยการสร้างแผนภูมิก้างปลาคู่กับการวิเคราะห์ด้วย 5Whys (Why-Why analysis)

โดยจำลองเหตุการณ์ว่าเจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีลูกค้ามาร้องเรียนว่า "แกงกะหรี่ของที่ร้านไม่อร่อย"

การสร้าง Fish Bone Diagram เราจะเริ่มจากการตั้งปัญหาไว้ที่หัวปลาทางขวามือ เริ่มด้วย “แกงกะหรี่ไม่อร่อย” หลังจากนั้น วาดแกนกลางลำตัวหรือกระดูกสันหลัง ตามด้วยก้างใหญ่ที่เป็นสาเหตุหลัก 4M1E ที่กล่าวไว้ข้างต้น หลังจากนั้น เราจึงมาระดมสมองคิดหาถึงสาเหตุของปัญหาโดยการถาม “ทำไม” ไปเรื่อยๆ ในหัวข้อเดิม แล้วจึงย้ายไปที่หัวข้ออื่นๆ ต่อ

ในแต่ละก้างใหญ่ จะมีการพิสูจน์ด้วยข้อเท็จจริง โดยอาศัยข้อเท็จจริงและการคาดเดาโดยยึดข้อเท็จจริงเป็นหลัก ด้วยเริ่มด้วยการตั้งคำถาม ที่นำสาเหตุจากก้างกลางมาหาข้อเท็จจริงด้วยการถาม “ทำไม” ไปเรื่อย ๆ และหากถามย้อนกลับ เราต้องมั่นใจว่า สิ่งนั้นเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาจริง ๆ

ยกตัวอย่างเช่น เริ่มจาก Man (คน) ทีแม่ครัวอาจจะมีสภาพร่างกายไม่พร้อมมาทำงาน (ก้างกลาง) เพราะ นอนไม่เพียงพอ (ก้างเล็ก) เพราะทำงานหนักเกินไป (ก้างแขนง) หรืออาจจะเป็นเพราะแม่ครัวใหม่เป็นคนทำแกงกะหรี่ (ก้างกลาง) เนื่องจากแม่ครัวเก่าลาออก (ก้างเล็ก) เป็นต้น

หลังจากนั้นจึงไประดมสมองในหัวข้อถัดไปจนครบ ขั้นตอนต่อไป เราจะเลือกสาเหตุหลัก โดยการจัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ ใส่ข้อมูลที่จำเป็น และยืนหยัดประเด็นที่จะทำการทดสอบ

การใช้แผนภูมิก้างปลาและการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาด้วยการถามว่า “ทำไม” นั้น เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงขิงเหตุและผล หลายครึ่งการระดมความคิดอาจก่อให้เกิดสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความสับสนและเสียเวลาได้ ดังนั้นการใช้เครื่องมือนี้ ต้องการใช้มุมมองจากคนที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านนั้นๆ เพื่อความแม่นยำ

เคล็ดลับการวิเคราะห์แผนภูมิก้างปลา เมื่อคุณไม่แน่ใจว่าสาเหตุใดที่ต้องการตรวจสอบ และหากคุณไม่มีประสบการณ์หรือความรู้มากพอ ให้รวบรวมสาเหตุและผลให้มากที่สุด และขอคำปรึกษาจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์

โดยสรุปแล้ว การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ 5Whys (Why-Why) คู่กับแผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) นั้นเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณเจอสาเหตุที่แท้จริงพร้อมกับการใช้งานที่ง่าย เพียงแค่เริ่มจากกะระบุประเภทของสาเหตุที่สำคัญ โดยอาจจะใช้แนวคิดการวิเคราะห์ตามแต่ละอุตสาหกรรม ตามด้วยการถามว่า “ทำไม” และย้อนกลับด้วยคำว่า “จึงทำให้” เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์การวิเคราะห์สาเหตุเหล่านั้นด้วยข้อเท็จจริง

อย่างไรก็ตาม แผนภูมิก้างปลาและการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาด้วยการถามว่า “ทำไม” นั้น เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือเท่านั้น เรายังสามารถใช้เครื่องมือการวิเคราะห์แบบอื่น ๆ ได้อีกมากมาย

#DisruptRules

ขอบคุณข้อมูลจาก:คุณนพาถวิล โพธิ์สละ , Process Quality Innovation Div. Quality Improvement & Audit Field at Toyota Motor Corporation

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง