อาการ หลังผ่าตัดไทรอยด์ 2 ข้าง

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นก้อนที่ต่อมไทรอยด์

     ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ เมื่อผิดปกติจะโตขึ้น และ เห็นเป็นก้อน บางครั้งก็เห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆ บางครั้ง ก็โตเป็นลักษณะหลายๆ ก้อนติดกัน แต่ที่สำคัญคือ ก้อนที่เกิดบนต่อมไทรอยด์ จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลง เวลาเรากลืนน้ำลาย

                                                        
                                                         

ไทรอยด์เป็นพิษ และไม่เป็นพิษ

    
ต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้น จะมีโรคอยู่ 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่เป็นพิษ และ ไม่เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะ หรือ โรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ มีการทำงานมากเกินไป เกิดการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากผิดปกติ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายผิดปกติตามไปด้วย อาการที่พบคือ ใจสั่น หงุดหงิด ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย กินจุแต่น้ำหนักไม่เพิ่มหรือกลับผอมลง บางคนมีผิวหนังค่อนข้างชื้น บางคนมีอาการท้องเสีย ส่วนบางคนก็ตาโปนออก ฯลฯ ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ไม่เป็นพิษ จะไม่มีอาการดังกล่าว พบแต่ต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นเท่านั้น
 
มีความเข้าใจผิดและสับสนเสมอ ระหว่าง ไทรอยด์เป็นพิษกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ไทรอยด์เป็นพิษไม่ใช่มะเร็ง และมักจะพบว่าคนที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษไม่ค่อยเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์

ก้อนที่ไทรอยด์ เป็นโรคอะไรได้บ้าง

    
ความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยกว่ากลุ่มอื่น คือ มีก้อนที่เจริญผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์เพียงก้อนเดียว ซึ่งเป็นโรคต่างๆ ได้หลายชนิด และหนึ่งในนั้น มีมะเร็งของต่อมไทรอยด์รวมอยู่ด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์จะต้องให้การวินิจฉัย แยกโรค เพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 ผู้ป่วยที่มี ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพียงก้อนเดียว อาจเป็นโรคต่างๆ ได้ดังนี้

1. 
เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ (thyroid adenoma) พบได้ประมาณร้อยละ 20-30
2. 
เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษร่วมด้วย (toxic adenoma) เป็นเนื้องอกที่สามารถผลิตฮอร์โมน (ปกติ thyroid adenoma จะไม่ผลิตฮอร์โมน) พบได้ไม่บ่อย
3. 
มะเร็งของต่อมไทรอยด์ (thyroid carcinoma) พบได้ร้อยละ 10-15 ในระยะเริ่มต้นจะเป็นก้อนเดี่ยว  ขนาดเล็ก และ โตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายเป็นก้อนหลายก้อนในเนื้อต่อมไทรอยด์ หรือ แพร่กระจายไปที่อื่น เช่นที่ต่อมน้ำเหลือง หรือ ที่กระดูก ฯลฯ
4. 
คอพอก หรือ คอหอยพอก (nodular goiter) ร้อยละ 50 - 60 ของก้อนเดี่ยวที่ต่อมไทรอยด์ มีความผิดปกติอยู่ในกลุ่มของคอหอยพอก ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะตรวจพบลักษณะเป็นก้อนเดี่ยว แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะพบการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์ เป็นก้อนหลายก้อน หรือ โตที่คอทั้ง 2 ข้างได้ 

                                                        

หากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งจะมีอาการอย่างไร

    
มะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ จนกลายเป็นเนื้อร้าย สาเหตุของมะเร็งต่อมไทรอยด์ยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ซึ่งมะเร็งไทรอยด์มักจะเริ่มเป็นก้อนเฉยๆ ที่บริเวณต่อมไทรอยด์(ด้านหน้าลำคอ) ต่อมาก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตมากขึ้น อาจมีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเกิดเป็นก้อนขึ้นที่ด้านข้างลำคอ (ต่อมน้ำเหลือง) หรือมีก้อนตามตัวที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น ศีรษะ ซี่โครง สะโพก ฯลฯ บางคนอาจมีอาการเสียงแหบ หรือก้อนใหญ่ขึ้นจนหายใจไม่สะดวกรู้ได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือไม่มะเร็งต่อมไทรอยด์ เมื่อเป็นน้อยๆ มักไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ นอกจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ดังนั้น เมื่อพบก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ที่เคลื่อนขึ้น-ลง ตามการกลืนน้ำลาย ควรพบแพทย์ แพทย์จะทำการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเซลล์จากต่อมไทรอยด์มาตรวจ (fine needle aspiration) ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ วิธีนี้มีความแม่นยำ ประมาณ 80% แต่หากการเจาะเซลล์เพื่อตรวจไม่พบเซลล์มะเร็ง ก็อาจเป็นเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ หรือ คอหอยพอกได้ ในกรณีดังกล่าว แพทย์มักจะให้ยาเพื่อรักษาโรคคอหอยพอก และ นัดมาตรวจซ้ำ ในกรณีที่เป็นคอพอก ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะมีขนาดเล็กลง และ หายได้ในที่สุด แต่หากก้อนนั้นไม่หาย ก็ควรจะคิดถึงโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอก หรือ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ในกรณีนี้ แพทย์มักจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

1. เนื้องอกของต่อมไทรอยด์(nodules)ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง
2. ต่อมไทรอยด์โตและมีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
3. ก้อนที่ไทรอยด์กดหลอดลม 4. มีเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์หลังจากการฉายแสงรังสีที่หน้า

การรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถทำได้  2 วิธีคือ

1. การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยวิธีปกติ วิธีนี้ แพทย์จะลงแผลตามแนวนอนบริเวณกลางลำคอ และเข้าไปตัดต่อมไทรอยด์ในข้างที่มีก้อนออก หรืออาจตัดออกทั้ง 2 ข้าง ในกรณีพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นมะเร็ง

                                                        

                                                        

                                                             รูปแผลเป็นจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด

2. การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้อง โดยการลงแผลขนาดเล็กบริเวณรักแร้ หรือบริเวณแผ่นอก แล้วสอดกล้องและเครื่องมือ เพื่อเข้าไปผ่าตัดต่อมไทรอยด์ข้างที่มีก้อนออก วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถซ่อนบาดแผลไว้ในบริเวณใต้ร่มผ้า แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำในผู้ที่มีก้อนใหญ่มากๆ หรือจะไม่พิจารณาการผ่าตัดผ่านกล้องในกรณีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์

                                                            

                                                    รูปแผลเป็นจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องจะมีแผลเป็นแค่บริเวณรักแร้ 

 
การรักษาหลังผ่าตัดไทรอยด์ จะเป็นแบบใด ขึ้นอยู่กับผลของการพิสูจน์ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา

  • หากเป็นเนื้อไทรอยด์โตธรรมดา (Goitre) แพทย์อาจให้ติดตามการรักษา หรือให้รับประทานฮอร์โมนไทรอยด์หลังผ่าตัดประมาณ 6 เดือน
  • หากเป็นถุงน้ำที่ต่อมไทรอยด์ ไม่ต้องให้การรักษาใดๆ เพิ่มเติม
  • หากเป็นเนื้องอกชนิดไทรอยด์ไม่ร้าย ไม่ต้องให้การรักษาใดๆ เพิ่มเติม แพทย์อาจนัดมาทำการตรวจเป็นระยะ
  • หากเป็นเนื้องอกของไทรอยด์ชนิดร้าย ขึ้นอยู่กับลักษณะและชนิดของเนื้องอก บางชนิดใช้วิธีติดตามการรักษา บางชนิดจำเป็นต้องทำการผ่าตัดครั้งที่สองเพื่อตัดต่อมไทรอยด์ออกให้หมด บางชนิดจำเป็นต้องกลืนน้ำแร่หลังทำการผ่าตัดด้วย
     

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการผ่าตัดไทรอยด์

1. ผ่าตัดไทรอยด์แล้วจะไม่มีเสียงจริงหรือ?

      ปกติต่อมไทรอยด์จะวางอยู่บนเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงเหนือหลอดลมอย่างแนบชิดมากๆ การผ่าตัดไทรอยด์มีโอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาททั้งสองข้างได้ โดยมีโอกาส 1-5% แล้วแต่ขนาดก้อน ยิ่งก้อนใหญ่มากเท่าไหร่หรือก้อนอักเสบมากๆโอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาทก็จะมากขึ้นเท่านั้น การผ่าตัดแบบเปิดและการส่องกล้องโอกาสการบาดเจ็บแทบจะไม่ต่างกันในปัจจุบัน ถ้าบาดเจ็บเส้นประสาทที่ว่านี้ จะทำให้เสียงแหบแห้งลงไปไม่เหมือนปกติ (ไม่ใช่ไม่มีเสียงเลย) เสียงอาจจะแหบชั่วคราว (3-6 เดือน ถ้าบาดเจ็บบางส่วนหรือแค่ช้ำๆ) หรือถาวรเลยก็ได้(ในกรณีที่ตัดขาด 2 ท่อน) แต่ในขณะผ่าตัด ศัลยแพทย์จะพยายามเก็บรักษาเส้นประสาทเส้นนี้อย่างดีที่สุด ระมัดระวังไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ เว้นแต่เหตุสุดวิสัยจริงๆที่อาจจะบาดเจ็บได้


2. ผ่าตัดแบบเปิดกับการผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ต่างกันอย่างไร
?

      ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องเมื่อเทียบกับแบบเปิดที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ จะไม่มีแผลเป็นที่คอ ทั้งนี้ลงแผลผ่าตัดที่ไหนก็จะมีแผลเป็นที่นั่น เช่น ผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางรักแร้ ก็จะมีแผลเป็นที่แนวพับของรักแร้เป็นต้น ผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหัวนม ก็จะมีแผลเป็นตรงรอยต่อระหว่างหัวนมกับผิวหนัง และผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางปาก แผลจะถูกซ่อนไว้ในร่องระหวางฟันล่างกับริมฝีปากล่าง ทำให้ไม่มีแผลเป็น 100% ที่ผิวหนังนั่นเอง นอกจากนั้น การผ่าตัดส่องกล้องจะฟื้นตัวเร็วกว่าและเจ็บน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด



3. ผ่าตัดไทรอยด์เสร็จแล้วมีอาการชา และต้องกินแคลเซียม
?ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่ผลิตพาราไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อระดับแคมเซียมในกระแสเลือด ต่อมพาราไทรอยด์วางอยู่ชิดกับต่อมไทรอยด์ ข้างละ 2 ต่อม ทั้ง 2 ข้าง ในการผ่าตัดไทรอยด์ข้างใดข้างหนึ่งมักจะไม่เกิดปัญหานี้เนื่องจากอีกข้างยังมีต่อมพาราไทรอยด์อยู่นั่นเอง ปัญหามักจะเกิดกับคนที่จะต้องได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้างออกไป ซึ่งอาจจะตัดเอาพาราไทรอยด์ออกไปด้วยก็ได้ ทำให้แคลเซียมในกระแสเลือดต่ำ เกิดอาการชาตามมา ศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดจะพยายามเก็บรักษาต่อมพาราไทรอยด์ทั้ง 4 ต่อมไว้ อีกกรณีหนึ่งคือ เก็บต่อมพาราไทรอยด์ไว้ได้ แต่เนื่องจากขณะผ่าตัดทำการเลาะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงต่อมพาราไทรอยด์ อาจเกิดการขาดเลือดชั่วคราว ทำให้ต่อมทำงานได้ไม่เต็มที่ชั่วคราว เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็กลับมาทำงานปกติ

4. ผ่าตัดไทรอยด์ออกไปแล้วต้องทานยาต่อหรือไม่?

           ถ้าผ่าตัดเพียงแค่ข้างเดียวออกไป ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาฮอร์โมนต่อ เนื่องจากเหลือต่อมไทรอยด์ไว้เพียงแค่ข้างเดียวก็สามารถทำงานได้ปกติ (จริงๆเหลือปริมาณไทรอยด์แค่ 4 กรัม ก็สามารถทำงานได้) แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องตัดออกหมดทั้งสองข้าง คนไข้จำเป็นต้องรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมนเม็ดเล็กๆสีขาว ตลอดไป

5. ก้อนไทรอยด์ที่คอใหญ่ขนาดไหนถึงจะผ่าตัดส่องกล้องไม่ได้

?

            สำหรับการผ่าตัดส่องกล้องทางรักแร้ ขนาดไทรอยด์ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ไม่เกิน 6-7 ซม. และทำได้เพียงข้างเดียว ถ้ามีก้อน 2 ข้าง ก็ต้องเข้าทางรักแร้ทั้งสองข้าง และผ่าตัดได้ทั้งสองข้าง พึงระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งขนาดใหญ่มากเท่าใด การผ่าตัดก็จะยาก และโอกาสผ่าตัดส่องกล้องสำเร็จก็จะน้อยตามไปด้วย

6. ไทรอยด์เป็นพิษ ผ่าตัดได้ไหม

?

      สำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจุบันแนะนำให้เริ่มรักษาจากการรับประทานยาไปก่อนเป็นเวลา 2 ปี จะพิจารณาผ่าตัดก็ต่อเมื่อ -รับประทานยาไปแล้วมากกว่า 2 ปี ระดับฮอร์โมนยังสูงอยู่ -มีภาวะตาโปนหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นที่เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ -แพ้ยาหรือไม่สามารถทนต่อการทานยาที่รักษาได้ เป็นต้น

7. ผ่าตัดไทรอยด์แล้วกลับบ้านได้เลยหรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเท่าไหร่
?

           หลังผ่าตัด

ไทรอยผ่านกล้องเสร็จรียบร้อยจะนอนพักฟื้นใน รพ.ประมาณ 3 วัน จึงจะให้กลับบ้าน

 ค่าใช้จ่าย ในการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องประมาณ 200,000  บาท

                                                        

                                                                                        แผลผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องผ่านทางรักแร้

8. ก่อนและหลังผ่าตัดต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง?

     ก่อนผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่มีอาหารที่ต้องงดแต่อย่างใด ยกเว้น งดรับประทานยาละลายลิ่มเลือดและอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา .เนื่องจากมักจะทำให้เลือดออกง่าย ก่อนการผ่าตัดพยายามหลีกเลี่ยงที่ชุมชนที่เสี่ยงต่อการติดหวัดเนื่องจากจะไม่สามารถดมยาสลบได้ หลังผ่าตัดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก พยายามอย่าขากเสลดแรง หรือไอแรงๆ หรือตะโกนเสียงดัง เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกได้ง่าย ส่วนการปฏิบัติตัวอื่นสามารถทำได้ตามปกติ

 เนื่องจากมักจะทำให้เลือดออกง่าย ก่อนการผ่าตัดพยายามอย่าเป็นหวัดเนื่องจากจะไม่สามารถดมยาสลบได้ หลังผ่าตัดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก พยายามอย่าขากเสลดแรง หรือไอแรงๆ หรือตะโกนเสียงดัง เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกได้ง่าย ส่วนการปฏิบัติตัวอื่นสามารถทำได้ตามปกติ

พว.วนิดา  วิปุลานุสาสน์
หัวหน้าศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง