ท่าน อน หมอนรองกระดูกคอ

อาการปวดคอ ปวดหลัง หรือปวดตามที่ต่างๆ ของร่างกายเรานั้น โดยต้นเหตุทั่วไป อาจเกิดจาการปวดรากประสาท ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งการลดหรือบรรเทาอาการปวด มีหลากหลายวิธี ต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญการในการวินิจฉัยและเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคน การฉีดยาชาระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดคอ ปวดหลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด มาฟัง รศ. พญ. นุช ตันติศิรินทร์ ให้ความรู้ใน Spine Podcast ep นี้ ได้เลยค่ะ

การฉีดยาเข้าข้อต่อกระดูกสันหลังปวดคอปวดหลังสถาบันกระดูกสันหลัง

อ่านเพิ่มเติม

กระดูกคอเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานคอผิดท่าเป็นเวลานาน ซึ่งปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อมในช่วงอายุที่น้อยลงมากขึ้น โดยมีอาการเริ่มแรกคือปวดตึงต้นคอหรือปวดคอร้าวไปที่สะบัก ปวดร้าวลงไปที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง ปวดที่ข้อไหล่และมีอาการไหล่ติดโดยกระดูกคอเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ระดับอาการดังนี้

  1. กระดูกคอเสื่อมที่ไม่กดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง จะมีอาการปวดเมื่อยต้นคอ บ่า ไหล่
  2. กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทคอ จะปวดตามแนวเส้นประสาท ชา อ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ รวมทั้งปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน
  3. กระดูกคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง จะมีอาการเกร็งบริเวณลำตัว แขนและขา การทรงตัวไม่ดี ก้าวสั้น ใช้งานมือได้ไม่ถนัด

แนวทางการรักษา

โรคกระดูกคอเสื่อม สามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากอาการไม่รุนแรงสามารถใช้วิธีกายภาพบำบัดร่วมกับการรับประทานยาได้ แต่ถ้ามีอาการชา แขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันแพทย์จะใช้ #เทคนิคผ่าตัดแบบแผลเล็ก ขนาดประมาณ 3 เซ็นติเมตร ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืน และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเร็วขึ้น

การรักษา ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงมากนัก

สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการทานยา และทำกายภาพบำบัด

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้นทำอย่างไรก็ไม่หาย

กลุ่มนี้จะมีนวัตกรรมการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่เข้ามาช่วยในการรักษา เช่น การรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ

คุณเคยรู้สึกปวดคอ และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยหรือไม่ ปวดคอร้าวลงแขน ,ปวดหัวบริเวณท้ายทอย ,มีอาการชาที่นิ้วมือ และอ่อนแรง เนื่องจากการเส้นประสาทคอโดนกดทับ

สาเหตุ และพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้คอผิดลักษณะ

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุ และจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บและทำให้หมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอ มีการเคลื่อน หรือกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท

สำหรับกลุ่มที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตพบได้บ่อยๆ คือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องของการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น

  1. พฤติกรรมการใช้คอผิดท่านานเกิน 2 ชั่วโมง เช่น ก้มคอ พับคอ เงยคอ
  2. พฤติกรรมความรุนแรง เช่น สะบัดคอ โยกคอ หรือวางของไว้บนศีรษะ
  3. โครงสร้างไม่สมดุล ตั้งแต่แรกเกิด เช่น กระดูกคอคด

• ยิ่งก้ม ยิ่งเสี่ยงปวดคอเรื้อรัง (Text Neck Syndrome)
• เสพติดมือถือ ระวังปวดคอเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

สาเหตุเหล่านี้มักทำให้ มีปัญหาเรื่องปวดคอ บ่า ไหล่ หรือมีอาการปวดแปล๊บเหมือนไฟช็อตลงไปที่แขน มีอาการชา บางรายอาจอ่อนแรง ด้านแพทย์เฉพาะทางกล่าวว่า สาเหตุหลักของอาการดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นสาเหตุหลัก และจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท พบอาการได้ 2 แบบคือ

1.อาการปวดบริเวณท้ายทอย อาจเกิดจากหมอนกระดูกคอบวมออกมาระคายเคืองเส้นประสาท หรือมีเส้น ประสาทคอส่วนบนโดนกดทับ
2.อาการปวด ชา ร้าวลง บ่า ไหล่ แขนและมือ เกิดจากหมอนรองคอกดทับเส้นประสาท หรือมีกระดูกคอทรุด ทำให้ เส้นประสาทโดนกดทับ

ถ้าหากมีการกดทับรุนแรง หรือปล่อยให้เกิดการกดทับทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดอาการชาและอ่อนแรงของแขนได้

การวินิจฉัย

ถ้าคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ได้กินยานานเกิน 1 เดือน แต่อาการปวดหรืออาการชาร้าวลงแขนหายแค่ช่วงเวลาสั้นๆ และกลับมาเป็นใหม่ แพทย์จะทำการตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนคอ ด้วยการทำ x-rayและMRI เพื่อหาต้นเหตุของอาการที่ตรงจุด

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

ปัจจุบันมีเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำการรักษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 อาการไม่รุนแรงมาก
อันดับแรกพอมีการปวดให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าปรับแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะใช้ยาแก้ปวดหลายๆตัวร่วมกับการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสม อาการก็มักจะดีขึ้นเป็นลำดับภายในไม่กี่สัปดาห์

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่มี ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง และรักษามานานแล้วยังไม่ดีขึ้น ปวดร้าวลงแขน ที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาท หรือไขสันหลังส่วนคอโดนแพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง ด้วยเทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอโดยแพทย์จะทำการนำกล้องเอ็นโดสโคป ที่มีความละเอียดสูงเข้าไปในช่องว่างภายในกระดูกคอเพื่อนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกมา หลังจากได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้วผู้ป่วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัด ของแพทย์เพื่อการหายอย่างยั่งยืน

ก่อนนำหมอนรองกระดูกออก

หลังนำหมอนรองกระดูกออก

• หมอนรองกระดูกทับเส้นรักษาที่ไหนดี ค้นหาอาการต้นเหตุ ด้วยเครื่อง MRI
• เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีกี่วิธี ที่คุณเลือกได้
• หลังการผ่าตัด ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ข้อดี

  1. ลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ
  2. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 เซนติเมตร
  3. ไม่ต้องเปิดแผลที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น
  4. ไม่ต้องใส่อุปกรณ์เสริมเข้าไปในร่างกาย
  5. เสียเลือดน้อย ข้อแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดใหญ่
  6. ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วหลังจากการผ่าตัด
ข้อจำกัด

การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอ ด้วยเทคนิคแบบ PSCD ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นจึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ของแพทย์เฉพาะทาง ควบคู่ในการรักษาผู้ป่วยทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย และจะพบได้ที่โรงพยาบาลเฉพาะทางที่รักษาโรค กระดูกสันหลังโดยเฉพาะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง