อธิการบดี เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

1. ถาม :ออกนอกระบบคืออะไร ?ตอบ :การเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ ไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ2. ถาม :ทำไมจึงเรียกว่านอกระบบตอบ :เป็นการเรียกกันต่อๆ มา ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิด แต่จริงๆ แล้ว คือ นอกระบบราชการ และที่ถูกควรเรียกว่า "มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ"3. ถาม :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะเป็นแบบเดียวกับมหาวิทยาลัยเอกชนใช่หรือไม่ตอบ :ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐยังคงเป็นหน่วยงานของรัฐ4. ถาม :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐคืออะไรตอบ :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และไม่ใช่ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ การบริหารจัดการถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นเอง5. ถาม :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแตกต่างอย่างไรกับส่วนราชการตอบ :ส่วนราชการต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการเป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นเอง6. ถาม :ทำไมมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจึงต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ตอบ :พระบัญญัติมหาวิทยาลัย (พรบ.) ฉบับปัจจุบันกำหนดโครงสร้างการบริหารงานแบบส่วนราชการไม่สอดคล้องกับการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงต้องร่าง พรบ. ฉบับใหม่ที่กำหนดรูปแบบการบริหารให้มีความคล่องตัว โดยสภามหาวิทยาลัยจะมีอำนาจการตัดสินใจสูงสุด7. ถาม :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเหมือนเดิมหรือไม่ตอบ :รัฐบาลยังคงจัดสรรงบประมาณประจำปี ได้แก่ เงินเดือน ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ของพนักงานมหาวิทยาลัย8. ถาม :เมื่อรัฐบาลจัดสรรประมาณให้แก่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นประจำทุกปี ยังต้องใช้ระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ตอบ :รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเป็นแบบเงินอุดหนุนทั่วไป และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบริหารงบประมาณตามข้อบังคับ ระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น ซึ่งจะมีความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณมากกว่าส่วนราชการ และหากมีงบประมาณคงเหลือสามารถเก็บสะสมได้9. ถาม :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะมีรายได้มาจากแหล่งใดบ้างตอบ :รายได้มาจาก 4 แหล่ง คือ
1) งบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
2) รายได้จากการดำเนินงาน
3) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และ
4) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย10. ถาม :ถ้ารายได้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่เพียงพอ จะทำอย่างไรตอบ :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอาจต้องปรับระบบการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด (เพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย) หรือขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือได้ตามความจำเป็น และเพียงพอ โดยระบุไว้ในกฎหมาย11. ถาม :มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะต้องเอาเงินค่าหน่วยกิตนักศึกษามาจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการเพิ่มขึ้น ใช่หรือไม่ตอบ :ไม่ใช่ ข้าราชการเมื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลออกให้ทั้งหมด12. ถาม :ค่าเทอมการศึกษา เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะมีการปรับค่าเทอมเพิ่มขึ้นหรือไม่ตอบ :การกำหนดอัตราค่าเทอมการศึกษาเป็นอำนาจของมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นส่วนราชการและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การจะขึ้นค่าเทอมการศึกษาไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ แต่การจะขึ้นค่าเทอมการศึกษา มหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากสถานการณ์เป็นช่วง ๆ ไป ถึงแม้มหาวิทยาลัยเป็นส่วนราชการก็จำเป็นที่จะต้องขึ้นค่าเทอม เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทุกปี ดังนั้น เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การขึ้นค่าเทอมก็จะขึ้นด้วยหลักการเดียวกันกับการเป็นส่วนราชการ คือ ขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ และค่าเทอมที่ปรับเพิ่มขึ้นจะใช้เฉพาะนักศึกษารุ่นที่เข้าศึกษาในปีที่ประกาศขึ้นไปเท่านั้น จะไม่ย้อนหลังกับนักศึกษาที่เข้าศึกษาก่อนปีที่ประกาศขึ้นค่าเทอม13. ถาม :ยังมีทุนให้นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือไม่ตอบ :ยังมีทุนให้นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เหมือนเดิม และต้องกำหนดไว้ใน พรบ. มหาวิทยาลัยให้ชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ให้มีโอกาสสำเร็จการศึกษา14. ถาม :ข้าราชการทุกรายจะต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ตอบ :ข้าราชการเฉพาะที่สมัครใจจะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพเป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ15. ถาม :อธิการบดีต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ตอบ :อธิการบดีที่เป็นข้าราชการ จะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ16. ถาม :แล้วผู้บริหารคนอื่น ๆ ต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ตอบ :ผู้บริหารตามที่พระบัญญัติกำหนดที่เป็นข้าราชการ จะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ17. ถาม :ข้าราชการที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยต้องมีการประเมินหรือไม่ตอบ :ข้าราชการที่จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขอบเขตงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ หากมีข้าราชการยื่นขอเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินขอบเขตงบประมาณที่ได้รับ มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ18. ถาม :เงินเดือนของข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไรตอบ :เงินเดือนจะได้รับเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนสุดท้ายที่เปลี่ยนสถานภาพ แต่จะได้รับเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละเท่าใดเป็นไปตามงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ และวิธีการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัย19. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้บำเหน็จบำนาญด้วยหรือไม่ตอบ :หากมีอายุราชการ ๑๐ ปีขึ้นไป สามารถเลือกได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ และถ้ารับราชการมา ๒๕ ปีขึ้นไป ก็จะได้รับเงินบำนาญ20. ถาม :บำนาญจะได้รับเท่าไหร่ตอบ :สูตรโดยทั่วไป คือ (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ) / ๕๐21. ถาม :ถ้าออกจาก กบข. จะคำนวณเงินบำนาญอย่างไรตอบ :โดยสรุปคือ
๑. กรณีที่เลือกออกจาก กบข. และขอรับบำนาญอย่างเดียว
สูตร คือ (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ) / ๕๐
๒. กรณีขอรับทั้งบำนาญ และ กบข.
สูตร คือ เงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือนสุดท้าย × อายุราชการ)/๕๐ แต่จะต้องไม่เกิน ๗๐% ของเงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือนสุดท้าย
สำหรับ เงิน กบข. จะประกอบด้วยเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ ซึ่งหากใครมีใบแจ้งยอดเงินสมาชิกของ กบข. ให้ดูบรรทัดสุดท้ายของช่องสุดท้ายจะมีตัวเลขยอดนี้อยู่22. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว จะยังคงเป็นสมาชิก กบข. ได้หรือไม่ และผลจะเป็นอย่างไรตอบ :เป็นสมาชิก กบข. ต่อไปได้ แต่ยังไม่ได้บำนาญ แต่ได้นับอายุราชการต่อ และจะได้รับบำนาญเมื่อเกษียณ23. ถาม :หากข้าราชการมีอายุราชการเหลือน้อย เช่น อีก ๕ ปีเกษียณอายุ จำเป็นต้องเปลี่ยนสถานภาพหรือไม่ หรือเลือกได้ว่าคงอยู่ในราชการต่อไปตอบ :การเปลี่ยนสภาพจากข้าราชการไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะขึ้นอยู่กับความสมัครใจ สามารถเป็นข้าราชการได้จนเกษียณอายุ24. ถาม :เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว การประเมินข้าราชการเพื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ถ้าหากไม่มีการพัฒนางาน และเมื่อประเมินแล้วได้คะแนนน้อยต้องพิจารณาอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น25. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้สิทธิอะไรบ้างตอบ :ได้สิทธิดังนี้
๑. เป็นข้าราชการบำนาญ
๒. ได้เงินบำเหน็จหรือบำนาญตามสิทธิ เว้นแต่ประสงค์จะเป็นสมาชิก กบข. ต่อ
๓. มีสวัสดิการของข้าราชการบำนาญ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร
๔. ได้เงินเดือน และค่าตอบแทน ไม่น้อยกว่าเดิม
๕. ไม่ต้องเข้าประกันสังคม เว้นแต่สมัครใจ
ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ26. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ถ้าเป็น กบข. ต่อ จะเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ตอบ :ใช้สิทธิเสมือนเป็นข้าราชการบำนาญ และเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิเช่นเดิม27. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ยังรักษาพยาบาลตัวเอง พ่อ แม่ และลูกได้เหมือนเดิมหรือไม่ตอบ :ได้เหมือนเดิม ใช้สิทธิในฐานะข้าราชการบำนาญ28. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ถ้าไม่ได้เข้าประกันสังคม จะใช้สิทธิอะไรในเรื่องการรักษาพยาบาลตอบ :ใช้สิทธิข้าราชการบำนาญ และหากต้องการเข้าประกันสังคม ก็สมัครเข้าได้โดยสมัครใจ29. ถาม :พนักงานมหาวิทยาลัยในตอนนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้วจะได้อะไรเพิ่มขึ้นบ้างตอบ :พนักงานมหาวิทยาลัยมีสถานะภาพและเงินเดือนเท่าเดิม แต่ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นจะออกมาเพื่อการบริหารพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นหลัก30. ถาม :กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มหาวิทยาลัยจะจัดตั้งขึ้นจะเป็นอย่างไรตอบ :โดยสรุปคือหักเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจ่ายสมทบ ตามอัตราที่กำหนด สำหรับการบริหารมอบให้ผู้บริหารกองทุนที่เป็นบริษัทบริหาร31. ถาม :เงินค่าตอบแทนตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ยังมีหรือไม่ตอบ :มี กรณีบุคลากรยังคงสภาพเป็นข้าราชการ ก็ยังคงได้เหมือนเดิม และกรณีที่ปรับสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สิทธิประโยชน์ที่ได้รับยังคงเดิม32. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว จะได้ passport น้ำเงินหรือไม่ตอบ :ได้เหมือนเดิม เพราะพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ33. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ใช้ตัวเองไปประกันคนอื่นเหมือนข้าราชการได้หรือไม่ตอบ :ได้เหมือนเดิม34. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องทำสัญญาเป็นช่วงๆ แบบเดียวกับพนักงานมหาวิทยาลัยก่อนหน้านี้หรือไม่ตอบ :จากการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐส่วนมากจะกำหนดให้ผู้ที่เปลี่ยนสถานภาพภายใน ๑ ปี ไม่ต้องทำสัญญาเป็นช่วงๆ แต่จะอยู่ได้จนถึงอายุ ๖๐ ปี35. ถาม :ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว จะมีการประเมินเหมือนพนักงานหรือไม่ตอบ :จากการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐส่วนมากจะกำหนดให้มีระบบการประเมิน ทุก ๆ ๕ ปี เพื่อดูว่าผู้ที่เปลี่ยนสถานภาพแล้วเป็นอย่างไรบ้าง36. ถาม :เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับแล้ว พนักงานมหาวิทยาลัยจะโดนกลั่นแกล้งหรือไม่ตอบ :การบริหารยึดหลักธรรมาภิบาลเหมือนเดิม และมีระบบอุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยมีคณะกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยที่มีอิสระและเป็นกลางด้วย37. ถาม :ภาระงานของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนจะเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น38. ถาม :การขึ้นเงินเดือนจะเป็นไงตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น39. ถาม :การขอตำแหน่งทางวิชาการจะเป็นอย่างไรตอบ :จะรวดเร็วขึ้น เพราะเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว สามารถใช้ Reader นอกบัญชีรายชื่อของ สกอ. ได้40. ถาม :ตำแหน่งศาสตราจารย์ยังโปรดเกล้าได้เหมือนเดิมตอบ :เหมือนเดิม41. ถาม :เครื่องราชฯ และสายสะพายของข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพ เป็นอย่างไรตอบ :สิทธิประโยชน์ในด้านนี้จะลดลง อธิการบดีจะได้เครื่องราชฯ สูงสุดคือสายสะพายสาย ๑ อาจารย์ที่เป็นศาสตราจารย์จะได้เครื่องราชสูงสุด คือ สายสะพายสาย ๒ จากแต่เดิมที่ข้าราชการตั้งแต่ซี ๙ มีสิทธิได้สายสะพายถึงสาย ๔ เรื่องนี้ทาง ทปอ. กำลังขอรัฐบาลให้ใช้ระบบเหมือนเดิม42. ถาม :ข้าราชการที่ไม่เปลี่ยนสถานภาพ ระบบบริหารบุคคลจะเป็นอย่างไรตอบ :เหมือนเดิม คือ ยังคงใช้พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาฯ43. ถาม :พนักงานมหาวิทยาลัยเดิมจะเป็นอย่างไรตอบ :เหมือนเดิม44. ถาม :ลูกจ้างชั่วคราว จะเป็นอย่างไรตอบ :เหมือนเดิม45. ถาม :ลูกจ้างประจำของส่วนราชการจะขอเปลี่ยนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้ด้วยหรือไม่ตอบ :ลูกจ้างประจำ หากเปลี่ยนสถานะภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างประจำเคยได้รับจะหมดไป ดังนั้น จึงต้องศึกษาก่อนกำหนดใน พรบ. และจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล46. ถาม :พนักงานเงินรายได้จะเปลี่ยนไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ตอบ :เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด แต่ได้รับเงินจากคนละแหล่งรายได้ ทั้งนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับจัดสรรจะถือเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย47. ถาม :พนักงานเงินรายได้เมื่อเปลี่ยนไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้เงินเดือนเท่ากับพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ตอบ :ปัจจุบันได้รับเท่ากัน ในอนาคตก็ควรจะเท่ากัน48. ถาม :วาระของอธิการบดีเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะกำหนดใน พรบ. ถ้าเหมือนเดิม คือ ๔ ปี49. ถาม :วาระของอธิการบดีนับต่อเนื่องก่อน พรบ. ออกนอกระบบหรือไม่ตอบ :นับต่อเนื่องกัน อธิการบดีอยู่ได้ไม่เกิน ๒ วาระ เมื่อครบวาระ อธิการบดีจะเป็นต่ออีกไม่ได้50. ถาม :วาระของคณบดีเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะกำหนดใน พรบ. ถ้าเหมือนเดิม คือ ๔ ปี51. ถาม :ระบบบริหารบุคคลของมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น52. ถาม :พนักงานมหาวิทยาลัย มีตำแหน่งทางวิชาการเหมือนเดิมหรือไม่ตอบ :เหมือนเดิม53. ถาม :ยังใช้ตำแหน่งเป็นคำนำหน้านามได้หรือไม่ตอบ :ยังใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านามได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย54. ถาม :พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนมีตำแหน่งชำนาญการ เชี่ยวชาญหรือไม่ตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น55. ถาม :ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น56. ถาม :การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ที่ยังเป็นข้าราชการกับผู้ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเหมือนกันหรือไม่ตอบ :เหมือนกัน57. ถาม :ยังมีระบบการลาไปศึกษาต่อภายในประเทศหรือต่างประเทศหรือไม่ตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น58. ถาม :ค่าตอบแทน สวัสดิการ ของพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น59. ถาม :ในอนาคตมหาวิทยาลัยจะกู้เงินและออกพันธบัตรได้หรือไม่ตอบ :ได้ เพราะเป็นนิติบุคคล60. ถาม :งบประมาณที่รัฐบาลจะให้ มหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไรตอบ :เป็นระบบ Block Grant คือ มหาวิทยาลัยจะได้มาเป็นก้อน แล้วมหาวิทยาลัยสามารถปรับและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เงินเหลือสามารถสะสมได้ไม่ต้องคืนรัฐบาล61. ถาม :จะมีการยุบเลิกคณะ สำนัก สถาบัน ใดหรือไม่ตอบ :หน่วยงานทั้งหมดยังเหมือนเดิม เว้นแต่ในอนาคตอาจมีการปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพโดยมติของสภามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาวการณ์ในขณะนั้น62. ถาม :การแต่งตั้ง คณบดีและระบบการสรรหาจะเป็นอย่างไรตอบ :คณบดีได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยเหมือนเดิม แต่หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น63. ถาม :คณะกรรมการประจำคณะยังมีอยู่หรือไม่ตอบ :มี คณบดีเป็นประธาน แต่หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น64. ถาม :วาระการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนัก สถาบันเหมือนเดิมหรือไม่ตอบ :ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะกำหนดใน พรบ. ถ้าเหมือนเดิม คือ ๔ ปี แต่หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น65. ถาม :การสรรหาและการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนัก/สถาบันเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น66. ถาม :คณะกรรมการประจำสำนัก/สถาบันยังมีอยู่หรือไม่/แตกต่างจากเดิมอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น67. ถาม :มหาวิทยาลัย ต้องร่างระเบียบข้อบังคับใหม่ทั้งหมดใช่หรือไม่ตอบ :ใช่68. ถาม :ใครเป็นผู้มีอำนาจออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยตอบ :สภามหาวิทยาลัย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย69. ถาม :ระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ต้องทำเสร็จเมื่อไหร่ตอบ :ข้อบังคับที่สำคัญต้องทำให้เสร็จก่อน พรบ. มีผลใช้บังคับ และต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย70. ถาม :ในการยกร่างข้อบังคับ มหาวิทยาลัยจะมีการรับฟังความเห็นหรือจัดประชาพิจารณ์หรือไม่ตอบ :ถ้าข้อบังคับนั้นเกี่ยวข้องกับประชาคมกลุ่มใด จะจัดให้ประชาคมกลุ่มนั้นมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างแน่นอน71. ถาม :ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบข้อบังคับใหม่จะทำอย่างไรตอบ :ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเดิม72. ถาม :สภามหาวิทยาลัยจะมีองค์ประกอบและหน้าที่อย่างไรบ้างตอบ :ตามที่กำหนดใน พรบ. (อยู่ระหว่างจัดทำ)73. ถาม :ระบบการสรรหาอธิการบดีเป็นอย่างไรตอบ :ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น74. ถาม :องค์การนักศึกษาและสภานักศึกษายังคงมีอยู่หรือไม่ตอบ :มี75. ถาม :ครุยมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไรตอบ :เหมือนเดิม76. ถาม :เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว แล้วมหาวิทยาลัยจะเจริญก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนหรือไม่ตอบ :ระบบมีความคล่องตัวมากขึ้น เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วน ผู้บริหารต้องบริหารตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรปฏิบัติตามภาระหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา มหาวิทยาลัยจะก้าวหน้าอย่างแน่นอน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง