ตัวอย่าง ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีอะไรบ้าง

บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินคำว่า “บริษัทนิติบุคคล” ซึ่งหมายถึง เจ้าของธุรกิจที่เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายกำหนดและเสียภาษีรูปแบบนิติบุคคล ซึ่งในรูปแบบนิติบุคคลนี้ ยังมีอยู่อีกหลายประเภท ได้แก่ บริษัทจำกัด (บจก.) บริษัทมหาชนจำกัด (บมจ.) และ ห้างหุ้นส่วน เพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้เลือกว่าต้องการจดทะเบียนนิติบุคคลประเภทไหน

โดยห้างหุ้นส่วนยังสามารถแยกออกได้เป็นอีก 2 ประเภท คือ

– ห้างหุ้นส่วนจำกัด

– ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล)

ลักษณะทั่วไปของ ห้างหุ้นส่วน คือ รูปแบบการจดทะเบียนนิติบุคคลรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งรูปแบบนี้ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกัน ผู้ที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมาสามารถจัดสรร และทำการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้นได้ว่า จะลงทุนด้วยเงิน ลงทุนด้านทรัพย์สิน หรือฝีมือแรงงาน

และต้องทำการตกลงกันตั้งแต่เริ่มแรก เนื่องจากการลงทุนและเมื่อตกลงกัน ทุกอย่างต้องตีราคาของสิ่งที่ลงทุนร่วมกันเป็นจำนวนเงิน นอกจากนี้ยังมีความความแตกต่างในรายละเอียดอยู่พอสมควร ซึ่งหากใครมีความต้องการจะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ควรตรวจสอบลักษณะและเงื่อนไขของห้างหุ้นส่วนทั้ง 2 ประเภทว่าตรงกับธุรกิจของเราหรือไม่ด้วย

 

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) คือกิจการที่ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกไรที่ได้จากการดำเนินงาน ซึ่งมีเงื่อนไขสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแบบ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ดังนี้

– ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

– ไม่กำหนดทุนขั้นต่ำ

– ผู้ถือหุ้นมี 2 แบบคือ

1) หุ้นส่วนประเภท “จำกัด” ความรับผิด คือรับผิดชอบตามเงินลงทุนของตนเองที่ลงในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น โดยทุนที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สิน จะเป็นแรงงานไม่ได้ และจะไม่มีสิทธิ์เข้าจัดการงาน หรือตัดสินใจในกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่มีสิทธิ์สอบถามการดำเนินงานของกิจการ  ออกความเห็น และรับเป็นที่ปรึกษาได้

2) หุ้นส่วนประเภท “ไม่จำกัด” ความรับผิด คือรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด (หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด)

โดยหุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์เข้าจัดการและตัดสินใจต่างๆ ในกิจการได้อย่างเต็มที่ และทุนที่นำมาลงทุนเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้

 

ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล) 

ห้างหุ้นส่วนสามัญ (หสม.) คือห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน จะต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของกิจการ โดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียน หรือไม่ก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

– ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จัดอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หากผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาของห้างหุ้นส่วน กฎหมายให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้

– ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจดทะเบียน เรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) จัดอยู่ในรูปแบบนิติบุคคล จะต้องใช้คำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ประกอบหน้าชื่อห้างเสมอ โดยห้างหุ้นส่วนดังกล่าวนี้จะต้องมีการระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้อย่างชัดเจน อาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่หุ้นโดยหุ้นส่วนผู้จัดการจะเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันห้างหุ้นส่วน และทำธุรกรรมต่างๆ ในนามห้างหุ้นส่วนได้

โดยเงื่อนไขสำหรับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแบบ “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” มีดังนี้ 

– ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

– ไม่มีกำหนดทุนขั้นต่ำ

– ต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัด แต่แบ่งปันกำไรจากกิจการได้

 

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของห้างหุ้นส่วน

นอกจากลักษณะเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนต้องมี และหากจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแล้วต้องปฏิบัติตาม ยังมีข้อดี-ข้อเสียที่เป็นตัวช่วยให้เจ้าของกิจการตัดสินใจเลือกประเภทบริษัทนิติบุคคลที่ตรงกับตนเองที่สุด ดังนี้

ข้อดีของห้างหุ้นส่วน คือ

– จัดตั้งขึ้นง่าย แค่มีสัญญาระหว่างผู้เป็นหุ่นส่วนเท่านั้น และจะเลิกเมื่อใดก็ได้

– มีเงินทุนมากกว่าการประกอบกิจการแบบเจ้าของคนเดียว เพราะห้างหุ้นส่วนมีบุคคลหลายคนนำมาลงทุนร่วมกัน และห้างหุ้นส่วนเพิ่มทุนเท่าไรก็ได้

– มีความน่าเชื่อถือทางการเงินมากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว

– สามารถประกอบธุรกิจในด้านไหนก็ได้ หรือหุ้นส่วนจะเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนก็ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์

– สามารถชวนผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้าร่วมกิจการในห้างหุ้นส่วนได้

– หุ้นส่วนทั้งหมดมีส่วนได้เสียในห้างหุ้นส่วน ทำให้มีความระมัดระวัง และดูแลรักษาผลประโยชน์ได้ดีกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว

– หุ้นส่วนได้รับประโยชน์จากการปรึกษาหารือ และสามารถแบ่งงานกันได้ตามความถนัด เช่น ควบคุมบัญชี ควบคุมการขาย

– เสียภาษีแบบนิติบุคคล ซึ่งคำนวณภาษีจากผลกำไรสุทธิสูงสุด 20%

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วน คือ

– ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ต้องรับผิดชอบในหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวน ซึ่งอาจกระทบถึงสินทรัพย์ส่วนตัว เว้นแต่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดที่หุ้นส่วนอยู่ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ

– การดำเนินงานในห้างหุ้นส่วนอาจล่าช้า เพราะหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบแบบไม่จำกัดจำนวน ต้องมีการปรึกษาหารือกัน

– หุ้นส่วนถอนเงินทุนออกจากห้างหุ้นส่วนได้ยาก เนื่องจากต้องได้รับการยินยอมจากหุ้นส่วนด้วยกันก่อน

– การกระทำของหุ้นส่วนที่มีผลเสียเพียงคนเดียว แต่จะกระทบหุ้นส่วนคนอื่นๆ ทั้งหมดด้วย

– ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกิจการ เมื่อมีหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายหรือลาออก อาจทำให้งานที่กำลังดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงักลงได้

 

หน้าที่ความรับผิดชอบของห้างหุ้นส่วน ด้านบัญชี-ภาษี

ทั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เมื่อจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแล้ว จะมีหน้าที่ต้องทำงบการเงินประจำปี เพื่อยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณีภายใน 5 เดือน นับตั้งแต่วันปิดรอบปีบัญชี แม้ว่าจะยังไม่ได้ประกอบกิจการก็ตาม หากไม่ยื่นจะถือว่ามีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งมีหน้าที่เหมือนกันคือ

– จัดทำบัญชีรายวัน จัดทำบัญชีรายเดือน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยต้องเริ่มทำตั้งแต่วันที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

– ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชีและปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีจากสารวัตรบัญชีหรือสารวัตรใหญ่บัญชีและอาจปิดก่อนรอบ 12 เดือนก็ได้

– จัดทำงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปลี่ยนเทียบกับปีก่อน

– จัดหาบริการรับตรวจสอบงบการเงิน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่เป็นอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ

– ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าหากห้างหุ้นส่วนมีการจด VAT ไว้ จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน แม้เดือนนั้นๆ ไม่มีรายการการค้าก็ตาม

– ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน (แต่ถ้าหากไม่มีการหัก ณ ที่จ่าย ก็ไม่จำเป็นต้องยื่น)

– ยื่นภาษีนิติบุคคลทั้งแบบครึ่งปีและสิ้นปี  โดยเสียอัตราภาษีสูงสุด 20%

– ยื่นประกันสังคม เมื่อกิจการได้ขึ้นทะเบียนนายจ้าง และมีพนักงานประจำ ด้วยแบบ สปส.1-10 ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

– ยื่นส่งงบการเงิน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” กับ “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

เจ้าของธุรกิจที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนประเภทไหน สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนด้วยตนเองได้ที่บทความ อยาก… จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ทำเองได้หรือไม่” แต่หากวิเคราะห์ดูแล้ว อาจทำให้เสียเวลา และต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเอกสารในการขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ก็มีทางเลือกที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย คือใช้บริการสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์รับจดทะเบียนบริษัทได้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเดินเรื่องหลายรอบให้ปวดหัว            

PrevPreviousควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ ตัดสินใจยังไง ที่นี่มีคำตอบ

Nextเช็กเลย! จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ทำเองได้หรือไม่Next

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง