พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ร.9 มีอะไรบ้าง

โรงเรียนจิตรลดา ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างขึ้นในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ทั้งนี้เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระราชโอรส พระราชธิดา บุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ์ มหาดเล็ก ข้าราชการบริหารและบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ทรงเห็นว่าการส่งพระราชโอรส พระราชธิดาไปเรียนโรงเรียนข้างนอก อาจไม่เหมาะสมและเป็นภาระแก่โรงเรียนและครู โรงเรียนจิตรลดาได้รับพระราชทานทุนทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายนักเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนและได้พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันและอาหารว่างตอนบ่าย นอกจากนี้นักเรียนที่เรียนดีก็จะได้รับพระราชทานรางวัลอีกด้วย โรงเรียนจิตรลดาได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างล้นพ้น เพราะเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลและแก้ปัญหาการขาดแคลนสถานที่เรียนได้อีกส่วนหนึ่งด้วยโรงเรียนราชวินิต
โรงเรียนราชวินิตได้ถือกำเนิดขึ้นจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินสำนังานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทางทิศใต้ของสวนสุนันทาให้แก่กรมสามัญศึกษาเพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของข้าราชการสำนักพระราชวังและประชาชนในท้องถิ่นใช้เป็นที่เล่าเรียน โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบกับเงินที่มีผู้บริจาคเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงเรียนและได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ต่อมาได้พระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มุมสนามม้าราชตฤณมัยสมาคมก่อสร้างโรงเรียนราชวินิตมัธยมอีกด้วยโรงเรียนวังไกลกังวล
โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาวังไกลกังวล เปิดสอนชั้นเด็กเล็กไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และเปิดสอนหลักสูตรวิชาระยะสั้นเพิ่มเติมด้วย และต่อมาได้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอาคารที่พักกองรักษาการณ์วังไกลกังวลให้เป็นอาคารเรียนแทนอาคารไม้เก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ต่อมาก็ได้สร้างเป็นอาคารเรียนเพิ่มขึ้นบริหารโดย "คณะกรรมการบริหารโรงเรียนวังไกลกังวล" ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารโรงเรียนและทางวิชาการจากกระทรวงศึกษาธิการและฝ่ายสำนักพระราชวัง ปัจจุบันเปิดสอนถึงระดับสารพัดช่าง วิชาชีพระยะสั้น และประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างฝีมือ มีจำนวนถึง ๑๗ แผนกวิชา อันเป็นการสนองโครงการตามพระราชดำริเกี่ยวกับศิลปาชีพพิเศษ และเป็นที่ฝึกงานในชั่วโมงเรียนวิชาการวางพื้นฐานอาชีพด้วย และเนื่องในโอกาสปีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี โรงเรียนวังไกลกังวลยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อออกอากาศการเรียนการสอนและรายการทางการศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ของกรมสามัญศึกษาทั่วประเทศให้ครบ ๒,๕๐๐โรงเรียนภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เนื่องจากโรงเรียนวังไกลกังวลเก็บค่าเล่าเรียนในอัตราต่ำ รายได้ของโรงเรียนไม่พอกับรายจ่ายต้องขอพระราชทานเงินพระราชกุศลเพิ่มขึ้นตามจำนวนครูและนักเรียน ปัจจุบันโรงเรียนวังไกลกังวล ได้รับพระราชทานเงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานจากงบเงินใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยปีละ ๑ ล้าน ๒ แสนบาท มากที่สุดในบรรดาโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทั้งหมดมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ถือกำเนิดจากสำนักงานเลขาธิการพระราชวังได้เสนอแนะเป็นเบื้องต้นที่จะนำเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ เช่น โรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้เป็นผู้ดำเนินการ เป็น "โครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม" ขึ้นมาก่อน โดยร่วมกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและบริษัทชินวัตร แซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ทั้งนี้เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติปีกาญจนาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นการนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ ช่วยโรงเรียนที่ขาดแคลนครูสาขาวิชาต่าง ๆ และช่วยโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลได้รับโอกาสเท่าเทียมกับโรงเรียนในเมือง ในระดับชั้น ม.๑ - ม.๖ โดยออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคมจำนวน ๖ ช่อง และใช้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นแม่ข่าย ทุนดำเนินการในชั้นแรกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวน ๕๐ ล้านบาทเป็นทุนประเดิม นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน บริษัท ตลอดจนบุคคลทั่วไปเข้าร่วมโครงการนี้เป็นจำนวนมาก และกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ตั้งงบประมาณสนับสนุนเป็นรายปีทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นไป
ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสถานีส่งโทรทัศน์เพื่อการนี้ขึ้นที่โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และคล่องตัว คณะผู้บริหารโรงเรียนจึงเห็นสมควรให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นเพื่อบริหารงาน ใช้ชื่อว่า "มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม" มีสำนักงานอยู่ที่อาคารกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ใช้ตราสัญลักษณ์กาญจนาภิเษกเป็นเครื่องหมายของมูลนิธิ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นสิริมงคลยิ่งแก่มูลนิธิผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับการศึกษาทางไกลนี้ ในเชิงปริมาณจะมีผลทำให้สถานศึกษาทุกสังกัดจัดการศึกษาในระบบชั้นเรียนมีโอกาสขยายการดำเนินงานได้กว้างขวางมากขึ้น ในด้านคุณภาพทำให้นักเรียนชนบทห่างไกลมีโอกาสได้รับความรู้และศึกษาเล่าเรียนกับนักเรียนในเมือง รวมทั้งประชาชนผู้สนใจใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วย (เป็นการบริหารงานวิชาการในด้านการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการขยายโอกาสทางการศึกษา ๖-๑0 ปีได้ ๓ ล้านคนตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ ๘)โรงเรียนราชประชาสมาสัย
โรงเรียนราชประชาสมาสัย เริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินทุนจำนวน ๑ ล้านบาท ให้มูลนิธิราชประชาสมาสัยเป็นทุนจัดสร้างขึ้น เพื่อให้บุตรธิดาของผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อนใช้เป็นสถานที่เล่าเรียน ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ได้ทรงเห็นว่า บุตรธิดาของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้รับเคราะห์กรรมจากบิดามารดา จะเข้าเรียนที่โรงเรียนใดก็ไม่ได้ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อไม่ให้โรงเรียนรับบุตรธิดาผู้ป่วยโรคเรื้อนเข้าเรียน และถ้าปล่อยทิ้งไว้กับบิดามารดาก็ทำให้ติดโรคได้ ทรงมีความห่วงใยชีวิตและอนาคตของเด็กเหล่านี้ จึงมีพระมหากรุณาธิคุณให้มูลนิธิราชประชาสมาสัยดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์อีก ๑ ล้านบาท ก่อสร้างโรงเรียนอีกหนึ่งหลัง ปัจจุบันโรงเรียนราชประชาสมาสัย ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางโดยเปิดรับเด็กทั่วไปเข้าเรียนร่วมกับบุตรธิดาผู้ป่วยโรคเรื้อน ซึ่งก็ไม่มีปัญหาการอยู่ร่วมกันแต่อย่างใดโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมคือโรงเรียนราชวิทยาลัยตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ตำบลบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี รับนักเรียนประจำกินนอน มีวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมนักเรียนให้มีความรู้เพื่อไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในยุโรป และในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โอนมาอยู่กระทรวงยุติธรรม มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาได้ศึกษาวิชากฎหมายในขั้นอุดมศึกษาและย้ายไปเปิดสอนที่ ตำบลบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศให้โรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นต่อสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมาก็ให้รวมโรงเรียนราชวิทยาลัยกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเข้าด้วยกันอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระราชทานนามว่า "โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย"
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช คณะครูและศิษย์เก่าได้ร่วมกันจัดตั้งและดำเนินกิจการโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นใหม่ โดยขอใช้สถานที่ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สามพรานเดิม จากกระทรวงศึกษาธิการ และขอพระราชทานอักษรย่อพระปรมาภิไชย ภ.ป.ร. นำหน้าชื่อโรงเรียน จึงได้รับพระราชทานนามว่า "โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย" และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ ปัจจุบันรับนักเรียนชาย สอนสายสามัญศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ถึงมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ เป็นโรงเรียนประจำกินนอน ฝึกอบรมให้นักเรียนมีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม มีพลานามัยสมบูรณ์ จิตใจเป็นสุข มีระเบียบวินัย เคารพผู้ใหญ่ มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพึ่งตนเองได้โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์
นอกจากจะพระราชทานโรงเรียนสำหรับพระราชโอรสและพระราช-ธิดา บุตรข้าราชบริพารและเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้ร่วมเรียนด้วยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมีพระเมตตาต่อเยาวชน พสกนิกรอย่างทั่วถึง ทั้งที่เป็นชาวไทยภูเขาหรือประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นชายแดนห่างไกลการคมนาคม โดยการพระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อสอนหนังสือให้แก่ชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม พระราชทานนามว่า "โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์" เป็นอาคารเรียนถาวรสำหรับเด็กนักเรียนชาวเขา เป็นโรงเรียนในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา ตั้งอยู่บริเวณชายแดนภาคเหนือ ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ทำให้เยาวชนชาวไทยภูเขาเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้หนังสือไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย เป็นการสร้างสำนึกของความเป็นคนไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของชาติ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๐ โรง ต่อมาเมื่อท้องถิ่นนั้นมีความเจริญขึ้น หน่วยราชการที่รับผิดชอบโดยตรงสามารถเข้าไปดำเนินการได้ ก็จะโอนให้กับส่วนราชการนั้น ๆ รับไปดำเนินการต่อไปโรงเรียนร่มเกล้า
เนื่องจากโรงเรียนที่อยู่ในเขตชายแดนภาคอีสานหลายแห่งต้องปิด เพราะเยาวชนส่วนใหญ่ถูกชักจูงให้เข้าป่าไปร่วมกับกลุ่มที่มีอุดมการณ์ที่แตกต่างทางการเมืองและรวมกลุ่มกันอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าสีแดงเข้ม กองทัพบกได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานสร้างโรงเรียนที่บ้านหนองแดน เพื่อให้การศึกษาและป้องกันมิให้เด็กถูกชักจูงเข้าป่า ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างโรงเรียน และพระราชทานกำลังใจมิให้ย่อท้อ ให้ทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยการศึกษาของเยาวชนที่ขาดโอกาสของการศึกษา มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนร่มเกล้าในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และในพื้นที่ปฏิบัติการของผู้มีอุดมการณ์ที่แตกต่างทางการเมืองอีกหลายจังหวัด จึงเป็นการนำการศึกษาและการพัฒนามาใช้แทนการต่อสู้ด้วยความรุนแรง
การดำเนินการโรงเรียนร่มเกล้า นอกจากเน้นด้านวิชาการแล้ว ยังเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ทักษะการทำงานโดยเฉพาะด้านอาชีพ โรงเรียนร่มเกล้าได้พัฒนาด้านการจัดการศึกษา และการจัดกิจกรรมสนองตามพระราชดำริที่พระราชทานไว้เป็นสำคัญตลอดมาจนปัจจุบันโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาสงเคราะห์เด็กยากจน ซึ่งขาดที่พึ่งและเด็กในถิ่นกันดาร ให้ได้รับการศึกษาควรแก่อัตภาพ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัดเป็นประเภทโรงเรียนราษฎร์ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดการโรงเรียน ขอความร่วมมือจากคณะสงฆ์ช่วยอุปถัมภ์ และอาราธนาพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้สอน โดยใช้ทุนทรัพย์พระราชทานและทุนที่ได้รับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลปัจจุบันมีอยู่ ๓ โรงเรียน คือ๑. โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ ตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสงเคราะห์เด็กยากจนชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
๒. โรงเรียนนนทบุรีวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ยกเว้นไม่เก็บค่าเล่าเรียน แจกชุดนักเรียนให้นักเรียนที่ยากจนและจัดหนังสือให้ยืมเรียน
๓. โรงเรียนวัดบึงเหล็กอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายแบบให้เปล่าทั้งหมดโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เกิดมหาวาตภัยภาคใต้ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังความเสียหายแก่จังหวัดภาคใต้ถึง ๑๒ จังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงผู้ประสบภัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ สิ่งของช่วยผู้ประสบภัยโดยเสด็จพระราชกุศล ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินที่มีผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียนประชาบาลที่ถูกพายุพัดพังรวม ๑๒ โรงเรียนใน ๖ จังหวัดภาคใต้ พระราชทานชื่อว่า "โรงเรียนราชประชานุเคราะห์" ๑ และ ๒ ที่จังหวัดกระบี่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓ ที่จังหวัดชุมพร โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๙, ๑๐ ที่จังหวัดนราธิวาส โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๑ ที่จังหวัดสงขลา และโรงเรียนราชประชา-นุเคราะห์ ๑๒ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อนำดอกผลสำหรับสงเคราะห์เด็กที่ประสบวาตภัย ขาดอุปการะเลี้ยงดูและช่วยเหลือราษฎรที่ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ
ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกับจังหวัดที่ประสบภัย จัดสร้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ขึ้นในจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๓จังหวัดอุตรดิตถ์โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๔จังหวัดหนองคายโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๕จังหวัดเชียงรายโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๖, ๑๗, ๑๘จังหวัดมหาสารคามต่อมากรมสามัญศึกษาได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ขึ้น ๑๑ แห่งเป็นประเภทศึกษาสงเคราะห์ เป็นโรงเรียนประจำสอนชั้นประถมศึกษาปี ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร ที่อยู่ เสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียน รวมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั้งสิ้น ๓๐ แห่ง

| สรรพศิลปศาสตราธิราช | พระราชกรณียกิจและพระราชดำริด้านการจัดการศึกษา |

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง