การหยุดการตอกเสาเข็มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคืออะไร

เสาเข็มมีด้วยกันหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้ประเภทของเสาเข็ม ได้แก่

1. เสาเข็มตอก

มีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก และเสาคอนกรีต ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากราคาถูกกว่าเสาเหล็กและแข็งแรงกว่าเสาไม้ สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบกลม แบบตัว I และแบบตัว T เป็นต้น เสาเข็มตอกสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 10-120 ตันต่อต้น

ตอกเสาเข็ม ต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดิน โดยช่วงสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็ม จะต้องมีการตรวจสอบการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เข็มที่ตอกมีการทรุดตัวกว่าค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าหากทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้แสดงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ

2. เสาเข็มเจาะระบบแห้ง เสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกสำหรับการขนย้าย ให้สามารถทำงานในสถานที่แคบ ๆ เสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 2030 เมตร

ทำเสาเข็มเจาะแบบแห้งสามารถเจาะโดยใช้ขาตั้ง 3 ขา แล้วใช้ลูกตุ้มเหล็กหรือกระบะตักดินกระแทกลงไปในดินลึกประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้นนำปลอกเหล็กตอกลงไปในหลุมเจาะ โดยปกติจะลงไปลึกประมาณ 12-14 เมตร ซึ่งระดับความลึกระดับนี้จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน หลังจากนั้นทำการเจาะดินโดยทิ้งกระบะตักดินลงไปในปลอกเหล็ก แล้วตักขึ้นมาทิ้งบริเวณปากหลุม การเจาะดินจะทำการเจาะไปถึงชั้นทรายแล้วจึงหยุดเจาะ เนื่องจากชั้นทรายจะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดซึ่งจะทำให้ก้นหลุมพัง หลังจากนั้นใส่เหล็กเสริมลงไปในปลอกเหล็ก แล้วเทคอนกรีตลงไปในปลอกเหล็ก หลังจากเทเสร็จให้รีบดึงปลอกเหล็กขึ้นทันที

3. เสาเข็มเจาะระบบเปียกเป็นเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ รูปหน้าตัดทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75-1.50 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 150-900 ตัน/ต้น เสาเข็มระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น เสาเข็มระบบนี้เมื่อเจาะลงลึกกว่า 20 เมตร จะต้องใช้ละลายเบนโทไนท์ใส่ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อผลักน้ำออกไปจากชั้นทรายเพื่อให้สามารถเทคอนกรีตลงไปได้

เสาเข็มที่นิยมใช้สร้างบ้าน จะมี 2 ประเภท ได้แก่

เสาเข็มตอก ซึ่งใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ผลิตจากโรงงาน แต่ละท่อนมีความยาวตั้งแต่ 1-28 ม. มีหลายหน้าตัด เช่น รูปตัวที (T) รูปตัวไอ (I) สี่เหลียม หกเหลี่ยม เป็นต้น เสาเข็มสั้นที่ยาว 1-6 เมตรมักจะตอกลงดินด้วยแรงคนขย่ม ส่วนเสาเข็มยาวจะใช้ปั้นจั่นในการตอก

เสาเข็มเจาะ ซึ่งจะใช้เครื่องมือขุดเจาะดินเป็นหลุมตามขนาดหน้าตัดเสาเข็ม โดยขุดให้ลึกถึงชั้นดินแข็งจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไป

ในปัจจุบันเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ย่อมเยา ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มก่อนที่จะติดตั้งได้ และสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยสูงสุดกว่า 200 ตันต่อต้น ทางด้านการติดตั้งมีกรรมวิธีที่หลากหลายตั้งแต่ใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม การเจาะดิน การปรับปรุงสภาพดินบริเวณปลายเสาเข็ม ไปจนถึงการกดเสาเข็มซึ่งสามารถลดมลภาวะเสียงและแรงสั่นสะเทือนได้สมบูรณ์แบบ ความเหมาะสมของวิธีที่ใช้ในการติดตั้งเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ความจำเป็น และกฎหมายที่บังคับในพื้นที่นั้นๆ ภายหลังการติดตั้งวิศวกรนิยมเลือกใช้การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือการทำสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามการคำนวณ ส่วนข้อจำกัดของเสาเข็มอาจจะพบได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากจะต้องมีการขนย้ายเสาเข็มจากโรงงานเข้าสู่หน้างาน



เสาเข็ม คือวัสดุที่ถ่ายน้ำหนักจากอาคารสู่ชั้นดินแข็ง ในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ โดยชั้นดินแข็งที่มีคุณสมบัติสามารถรับน้ำหนักอาคารได้ อาจอยู่ลึกตั้งแต่ 6 เมตร ถึง 40 เมตร (สำหรับเสาเข็มตอก) ซึ่งในการออกแบบฐานราก ผู้ออกแบบจะพิจารณาการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแต่ละต้นว่าจะรับน้ำหนักเท่าไหร่โดยทำการคำนวณและทดสอบด้วยน้ำหนักบรรทุก (Load Test) ประกอบกับผลการสำรวจชั้นดิน (Boring Log) โดยปกติชั้นดินในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการทดสอบจากการตอกเสาเข็มที่หน้างานเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้จึงมีความจำเป็น จึงจะทำให้เสาเข็มที่มีหน้าตัดและความยาวเดียวกันไม่สามารถรับน้ำหนักได้เท่ากันในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการกำหนดวิธีการทดสอบเสาเข็มตอกโดยการวัดการทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากการตอก 10 ครั้งสุดท้ายหรือ “Blow Count” ซึ่งเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการยืนยันว่าการตอกเสาเข็มต้นนั้นสิ้นสุดลงและสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้

Blow Count คือจำนวนครั้งที่ปล่อยตุ้มน้ำหนักบนรถตอกลงมากระแทกที่หัวเสาเข็มและทำให้เสาเข็มจมลงดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร สูตรในการคำนวณ Blow count มีหลากหลาย ซึ่งคำนวณจากปัจจัยหลักคือขนาดหน้าตัดเสาเข็ม, ความยาวเสาเข็ม, น้ำหนักของตุ้ม, ระยะยกตุ้ม, น้ำหนักปลอดภัยที่ผู้ออกแบบกำหนด (Safe Load) และค่าความปลอดภัย (Safety Factor) ซึ่งจะคำนวณโดยวิศวกร หากชั้นดินบริเวณปลายเสาเข็มมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้สูง ค่า Blow Count ก็จะสูงขึ้นตามลำดับ ผู้ติดตั้งจะเช็ค Blow Count ที่เสาเข็มจะมีการขีดเส้น ห่างกันทุกๆ30 เซนติเมตร และนับจำนวนครั้งที่ตอก หากการตอกเสาเข็มได้จำนวนครั้งตามค่าที่วิศวกรกำหนด จึงจะหยุดการตอกและเข้าสู่การนับการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow count)

เสาเข็มมี 2 วิธีมีอะไรบ้าง

การถ่ายเทน้ำหนักของเสาเข็มมี 2 ลักษณะ คือ เสาเข็มสั้น หรือ เสาเข็มที่รับน้ำหนักโดยใช้แรงเสียดทาน ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักตัวอาคารกับชั้นดินโดยใช้แรงเสียดทานในการช่วยรับน้ำหนัก และเสาเข็มยาว คือ เสาเข็มที่ถ่ายน้ำหนักตัวอาคาร ผ่านชั้นดินอ่อนไปยังชั้นดินที่มีความแข็งเพื่อรับน้ำหนักเสาเข็มโดยตรง

เสาเข็มแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิตและการใช้งาน ได้แก่ ... .
1.เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง ... .
2. เสาเข็มเจาะ ... .
2.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile ) ... .
2.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile ) ... .
3.เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง.

ตอกเสาเข็ม ดูอะไรบ้าง

ตรวจสอบเงื่อนไขการตอกเสาเข็ม กำหนดด้วยความยาว หรือ Blow Count. ตรวจสอบแผนงานการจัดลำดับขั้นตอนการตอกเข็ม และทางเดินปั้นจั่น ตรวจสอบขนาดพื้นที่หน้าตัด อายุของเข็ม และคุณภาพของเสาเข็ม ถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบหัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่

เสาเข็มแบ่งได้กี่ประเภทตามลักษณะการผลิต

เสาเข็มที่ใช้ในการสร้างบ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะการผลิตและการใช้งาน ดังนี้ 1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Pile)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง