ตรวจสุขภาพนักเรียน ตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพประจำปี คือการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ประกอบด้วย การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ หรือที่นิยมเรียกว่า ตรวจแล็บ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ตรวจไขมัน

โปรแกรมตรวจสุขภาพจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย เช่น การตรวจสุขภาพในผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป อาจมีการตรวจภายในเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย เป็นต้น

เลือกหัวข้อที่น่าสนใจได้ที่นี่

  • ตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรได้บ้าง?

    การตรวจสุขภาพ มี 2 เป้าหมายหลักในการตรวจ คือ

    1. ตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ยังไม่แสดงอาการได้

    • ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งเต้านมในระยะแรก หรือมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก
    • การตรวจพบโรคเหล่านี้ในระยะแรกๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา หรือโอกาสในการรักษาหายขาดได้มาก

    2. ตรวจหาปัจจัย หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค

    • ตัวอย่างเช่น กรรมพันธุ์ การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย การมีอารมณ์เครียด มีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วนลงพุง
    • หากตรวจพบปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค และทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

    ซักประวัติสุขภาพ ขั้นตอนสำคัญของการตรวจสุขภาพ

    การซักประวัติสุขภาพจะช่วยให้แพทย์ค้นพบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ หลังจากนั้นจะนำไปประเมินร่วมกับการตรวจร่างกาย หรือตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    สิ่งที่แพทย์อาจถามในขั้นตอนการซักประวัติสุขภาพ เช่น

    • ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป เช่น อายุ เพศ การทำงาน สถานที่อยู่อาศัย กิจวัตรประจำวัน
    • ประวัติสุขภาพโดยรวม เช่น โรคที่เคยเป็น ประวัติอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือการแพ้ยา
    • ประวัติความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว เนื่องจากโรคบางชนิดอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ได้

    ตรวจร่างกาย ตรวจอะไรได้บ้าง?

    แนวทางการตรวจร่างกาย มีหลายระบบ เช่น

    • ตรวจจากศีรษะจรดเท้า (Head-To-Toe assessment criteria) เป็นการตรวจสภาพทั่วๆ ไป โดยเริ่มจากสัญญาณชีพ ศีรษะและหน้า ตา หู จมูก ช่องปาก ลำคา หน้าอก ไปจนถึงส่วนของแขนขา
    • ตรวจตามระบบต่างๆ ของร่างกาย (Body systems assessment criteria) เริ่มจากตรวจสภาพทั่วๆ ไป สัญญาณชีพ และตรวจตามระบบต่างๆ เช่น ระบบประสาท ระบบการหายใจ ระบบหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง หรือระบบอวัยวะสืบพันธ์

    โดยมีวิธีการตรวจหลักๆ คือ ดู คลำ เคาะ และฟัง

    ตรวจเลือด ตรวจอะไรได้บ้าง?

    การตรวจเลือด คือการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลในห้องตรวจปฏิบัติการณ์ โดยการวิเคราะห์ผลจะแตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรม เช่น

    • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ความเข้มข้นของเลือด หรือภาวะผิดปกติอย่างโลหิตจาง
    • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน
    • ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอล และไตรีกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัว และโรคหลอดเลือดสมอง
    • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต โดยการตรวจค่าของเสียครีเอตินีน (Creatinine) และค่า BUn (Blood Urea Ntrogen) ในเลือด เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต
    • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ โดยการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ หรือดีซ่าน
    • ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งในเลือด เพราะมะเร็งบางชนิดอาจผลิตสารฮอร์โมนบางอย่างออกมาปะปนในเลือดได้
    • ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเกาต์
    • ตรวจหาโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
    • ตรวจเพื่อยืนยันโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Autoimmune)
    • ตรวจหาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา

    โปรแกรมการตรวจเลือดจะแตกต่างกันไปในแต่ละแพ็กเกจ หรือขึ้นอยู่กับการประเมินจากแพทย์

    นอกจากการตรวจดังกล่าวแล้ว การตรวจเลือดยังสามารถตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ในแต่ละบุคคล ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง หรือตรวจระดับฮอร์โมน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายได้อีกด้วย

    ตรวจปัสสาวะ ตรวจอะไรได้บ้าง?

    การตรวจปัสสาวะมักนิยมเก็บตัวอย่างในช่วงเช้า เพราะปัสสาวะยังเข้มข้นอยู่ โดยควรเก็บในช่วงกลางของปัสสาวะ และระมัดระวังไม่ให้อวัยวะสัมผัสกับที่เก็บตัวอย่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนได้

    ปัสสาวะ สามารถตรวจได้หลายอย่าง เช่น

    • ตรวจลักษณะของปัสสาวะ ได้แก่ สี กลิ่น และความใส โดยผลตรวจปกติ ปัสสาวะจะต้องใส มีสีเหลืองอ่อน หรือเหลืออำพัน และไม่พบสารเคมี เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ผลึก หรือเชื้อจุลชีพอื่นๆ ปนเปื้อนอยู่
    • ตรวจการตั้งครรภ์ โดยเป็นการตรวจหาฮอร์โมน HCG (Human chorionic gonadotropin) ในปัสสาวะ
    • ตรวจเบาหวาน โดยการตรวจหาน้ำตาลกลูโคส หรือคีโตน (Ketones) ในปัสสาวะ
    • ตรวจภาวะการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราในปัสสาวะ
    • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต โดยการตรวจคาสท์ (Casts) ในปัสสาวะ
    • ตรวจความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หรือตรวจการทำงานของระบบเผาผลาญ โดยการตรวจผลึก (Crystal) ในปัสสาวะ
    • ตรวจคัดกรองมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปัสสาวะจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีโปรตีนเบนซ์โจนส์ (Bence Jones) ในปัสสาวะ
    • ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ

    การตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นต้องตรวจทุกปีหรือไม่?

    ไม่จำเป็น การตรวจสุขภาพประจำปีจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจต้องตรวจทุกปี ในขณะที่บางคนอาจตรวจห่างกัน 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ เพศ หรือโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เช่น เบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง หรือมะเร็งเต้านม

    การตรวจสุขภาพไม่ควรตรวจแบบเหมารวม และตรวจให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยเท่านั้น โดยในแต่ละโรงพยาบาลมักมีการจัดโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยไว้แล้ว

    การตรวจแบบเหมารวมนั้น นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว การตรวจบางชนิดยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ด้วย

    เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพในแต่ละช่วงวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้บ้าน พร้อมรับส่วนลดพิเศษเมื่อจองคิวผ่าน HDmall แหล่งรวมบริการสุขภาพ ทันตกรรม และความงาม ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

    ตรวจสุขภาพนักเรียน เพื่ออะไร

    เพื่อทราบประวัติสุขภาพของนักเรียนทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้ทราบภาวะสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายรวมถึงบริการสุขภาพได้ที่ได้รับ เพื่อให้ข้อคิดเห็นและเป็นแนวทางสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูในการรักษาหรือแก้ไขภาวะสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียนได้ถูกต้อง

    ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง

    การตรวจสุขภาพประจำปีขั้นพื้นฐานของทุกช่วงอายุจำเป็นต้องตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจการทำงานของตับ ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด นอกจากนี้การตรวจสุขภาพประจำปียังมีการตรวจที่สำคัญบางรายการเพิ่มมาตามแต่ละช่วงอายุด้วย เช่น ตรวจมะเร็งปาก ...

    การตรวจสุขภาพนักเรียนมีกี่ท่า

    9 10 11 12 13 14 วิธีการตรวจร่างกาย 10 ท่า การเตรียมตัว พับแขนเสื้อขึ้น ปลดกระดุมที่อกออก 1 เม็ด ถอดถุงเท้า รองเท้า แล้วจับคู่กับเพื่อน เพื่อแลกกันสังเกตและตรวจร่างกาย หากพบความผิดปกติของร่างกายตาม “สิ่งที่ควรสังเกต ควรปรึกษา พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู หรือ แพทย์

    การตรวจสุขภาพคืออะไร

    การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจด้านสุขภาพของผู้ที่มีอาการ หรืออาการแสดงของการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจนั้น เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ภาวะผิดปกติ หรือโรคซึ่งนำไปสู่การป้องกัน อย่างเช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่รับการตรวจ หรือให้การบำบัดรักษาตั้งแต่ระยะแรก

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง