เขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) หมายถึงข้อใด

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2535 เป็นความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีฯให้เสร็จภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะค่อยๆลดภาษีสินค้าทุกรายการให้เหลือ 0-5% ภายในปี พ.ศ. 2553 จากนั้นก็จะยกเลิกเครื่องกีดขวางทางการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษีให้หมดไปด้วย เช่น การจำกัดโควต้านำเข้า เป็นต้น ข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและศิลปะ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน หมายความว่าการที่ได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน

ผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์อะไร? อาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน การแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบจะส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้

เกษตรกรไทยได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่? ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงในการเปิดเสรีทางการค้าในสินค้าเกษตร ซึ่งมีสินค้าผูกพันตามข้อตกลงจำนวน 23 รายการ ได้แก่ น้ำนมดิบ/นมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ลำไยแห้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง พริกไทย ข้าว เมล็ดถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง ชา เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ไหมดิบ น้ำตาล และใบยาสูบ

สินค้าเกษตรไทยต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการแข่งขันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  การเปิดเสรีทางการค้าทำให้การผลิตสินค้าทางการเกษตรเป็นการผลิตเชิงพาณิชย์ มีการลงทุนโดยกลุ่มทุนการเกษตรคราวละมากๆ แต่เกษตรกรไทยมีพื้นที่จำกัด ขาดเทคโนโลยีทางการเกษตรที่จะช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ หรือให้ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก ทำให้ไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศไม่ได้ ประกอบกับถูกมาตรการกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้าด้อยคุณภาพ ทำให้เกษตรกรไทยไม่พร้อมจะแข่งขันในระดับโลก และในขณะเดียวกันก็จะทำให้สินค้าเกษตรจากต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าประเทศไทยไหลเข้ามาในประเทศ ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าทำให้สินค้าเกษตรไทยขายไม่ได้ เมื่อเกษตรกรไทยไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรเพื่อแข่งขันในประเทศตนเองไม่ได้ เกษตรกรไทยก็อาจจะต้องสูญเสียอาชีพไปในที่สุด

ผู้บริโภคได้อะไร? ประชาชนที่เป็นผู้บริโภคก็อาจจะซื้อสินค้าราคาถูกลงในระยะแรก แต่เมื่อเกษตรกรรายย่อยล่มสลายก็จะเกิดการผูกขาดทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงตลอดไป

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะรับมืออย่างไร? อาจกล่าวว่าเป็นความโชคดีก็ได้ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะไปเจรจาขอเลื่อน AFTA ภาคการบริการการท่องเที่ยวออกไปอีกเป็น พ.ศ. 2558 เนื่องจากต้องการเวลาในการพัฒนาบุคคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอในการแข่งขัน ในด้านผู้ประกอบการจะเป็นกังวลเรื่องการลงทุนว่าเมื่อต่างชาติมีความพร้อมด้านเงินลงทุนมากกว่าก็จะเข้ามาตีตลาดได้ แต่ธุรกิจนำเที่ยวไทยที่ไม่มีความพร้อมด้านเงินลงทุนจำนวนมากก็จะแข่งขันด้านการตลาดไม่ได้ นอกจากนี้การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน ในปี 2558 จะทำให้บุคลากรของไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะยังมีจุดอ่อนทางด้านภาษาและไอที กลุ่มแรงงานที่เพิ่งจบการศึกษาก็จะหางานทำได้ยากขึ้น เพราะจะมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานเพราะความได้เปรียบด้านภาษา อย่างไรก็ตามกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยวมากถึง 242 หลักสูตรเพื่อรับมือกับปัญหาด้านแรงงานที่จะมีขึ้น หลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งหมดนี้ต้องนำเสนอให้ที่ประชุมอาเซียนพิจารณาและรับรองหลักสูตรเพื่อให้เกิดการยอมรับก่อนนำไปใช้ ปัจจุบันหลักสูตรที่ทำเสร็จแล้วคือ หลักสูตรพนักงานต้อนรับในโรงแรมที่ได้เปิดทดลองใช้และพัฒนาให้ดีขึ้น และได้รับความร่วมมือจากกระทรวงแรงงานเพื่อการออกใบรับประกันการผ่านงาน ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำประกาศนียบัตรนี้ไปสมัครทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ทั้ง 10 ประเทศ (หลังจากกลุ่มอาเซียนเซ็นยอมรับในหลักสูตรอบรมมาตรฐานแล้ว)

การเปิดเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) มีทั้งประโยชน์และอุปสรรคต่อคนไทยในทุกภาคส่วนทั้งในฐานะผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องศึกษารายละเอียดและข้อตกลงต่างๆเพื่อเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งคว้าโอกาสที่จะมาถึง ก็จะดีกว่าการวิพากษ์วิจารณ์หรือวิตกกังวลจนเกินไป

เขตการค้าเสรี (FTA) นั้น คือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันในอัตราที่น้อยที่สุด หรือ ในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งประเทศที่มีการรวมกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้นจะได้เปรียบทางการค้ามากกว่าประเทศที่อยู่นอกกลุ่มในเรื่องของอัตราภาษี โดยการเปิดเสรีทางการค้านั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะด้านสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านบริการและการลงทุนด้วย เช่น เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น ทั้งนี้อาเซียนได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเช่นกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียน ทั้งด้านการผลิตและอำนาจในการต่อรองในเวทีระดับประเทศ เหล่าผู้นำอาเซียนจึงได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยได้ลงนามในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน ใน ค.ศ.1992 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนนับแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา

ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ยึดโยงกับเจ้าอาณานิคมเดิมของตนอยู่ กล่าวคือ กิจการในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นของชาวต่างชาติและประกอบกับตลาดภายในประเทศที่ยังคงพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีราคาแพงและส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค ประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบตกอยู่ในความยากจนที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าอาณานิคมมากกว่าพลเมือง จนเมื่อได้มีการตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนขึ้น ใน ค.ศ.1967 อาเซียนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ดี ในระยะแรกๆ อาเซียนไม่ได้ดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจเท่าที่ควรเนื่องจากความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาคยังไม่มีเสถียรภาพนัก ดังนั้นในค.ศ.1967-1975 จึงไม่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจใดของอาเซียนออกมาเป็นรูปธรรม นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นเพียงแค่เป้าหมายที่แสดงถึงความร่วมมือภายในภูมิภาคเท่านั้น

แนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนปรากฏเป็นรูปธรรม จากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1976 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้มีการทำความตกลงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การให้สิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน ( The ASEAN Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี โดยการลดอากรภาษีขาเข้าให้แก่ประเทศสมาชิก นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะหลังจากนั้น ก็ได้มีโครงการต่างๆมากมาย เช่น โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (AIP) โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (AIC) โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIIV) เป็นต้น จนมาถึง แนวความคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ เมืองมะนิลา ในการประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ประเทศอินโดนีเซีย ได้คัดค้านการจัดตั้งดังกล่าวจึงทำให้ข้อเสนอนี้ตกไป แต่อย่างไรก็ดี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ.1992 ที่ประเทศสิงคโปร์ นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนอีกครั้ง ในครั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าว จึงได้มีการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น อย่างเป็นทางการ

เป้าหมายและวัตถุประสงค์

เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เกิดจากความต้องการร่วมมือทางการค้าจากประเทศต่างๆในอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก พร้อมกันนี้อาเซียนยังมีความต้องการที่จะดึงดูดประเทศต่างๆให้เข้ามาลงทุน เพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค โดย AFTA นั้น จะทำให้การค้าขายสินค้าในอาเซียนเป็นไปอย่างเสรี มีการคิดอัตราภาษีระหว่างกันในระดับที่ต่ำ และปราศจากข้อกำหนดทางการค้า อันจะส่งผลให้ประเทศสมาชิกจะมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ลดลง อีกทั้งเป็นการเพิ่มปริมาณทางด้านการค้าในภูมิภาคให้มีมากขึ้น ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมั่นคง  

กรอบการดำเนินงาน

อาเซียนดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยมุ่งเน้นไปที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งหลายภายในภูมิภาค ทั้งในด้านภาษีและเครื่องกีดขวางทางการค้าต่างๆที่มิใช่ภาษี ยกตัวอย่างเช่น การจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น โดยจะยกเว้นแต่เพียงสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ เท่านั้น ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นมาตรการทางภาษี โดยอาเซียนมีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในค.ศ.2002 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2010 สำหรับประเทศ ASEAN 6 (ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (SL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทมันฝรั่ง กาแฟของประเทศไทย หรือ กลุ่มสินค้าประเภท กาแฟ ชา ของประเทศบรูไน เป็นต้น โดยสินค้าประเภทนี้กำหนดให้ต้องลดภาษีเหลือ 0-5% ภายใน ค.ศ.2010 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทข้าวของมาเลเซีย ที่จะต้องลดภาษีจากร้อยละ 40 ให้เหลือร้อยละ 20 ในค.ศ.2010 สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศกัมพูชา) นั้น ได้มีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือ ร้อยละ 0-5 ภายใน ค.ศ.2010 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2015 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (SL) และสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่นเดียวกัน โดยการกำหนดมาตรการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่มุ่งเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน และเป้าหมายในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลกด้วย โดยในปัจจุบันอาเซียนได้ดำเนินการทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ นอกอาเซียนแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เขตการค้าเสรีอาเซียนจีน (ACFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) เป็นต้น

ความท้าทาย

เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นับเป็นส่วนผสมที่สำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ทำการเปิดเสรีการขนส่งสินค้า ด้านการให้บริการ ด้านการลงทุน ด้านการเคลื่อนย้ายทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานเคลื่อนย้ายอย่างอิสระ AFTA จะทำให้ตลาดของอาเซียนนั้นใหญ่ขึ้น และศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียนก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย โดยผลพวงดังกล่าวทำให้การค้าขายของประเทศสมาชิกมีมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ก่อนที่จะมี AFTA ประเทศไทยขาดดุลการค้ากับประเทศอาเซียน โดยมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 12 จากการส่งออกทั้งหมดเท่านั้น แต่ภายหลังจากได้มีการจัดตั้ง AFTA ขึ้น ประเทศไทยก็ได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งใน ค.ศ.2007 ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกในอาเซียนถึง ร้อยละ 21

แม้ AFTA จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ก็ยังมีข้อกังวลอยู่ไม่น้อย เช่น ปัญหาการเป็นคู่แข่งทางการค้า โดยส่วนใหญ่สินค้าของอาเซียนนั้นจะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเปิดการค้าเสรีได้อย่างแท้จริง หรือในเรื่องปัญหาการขาดอำนาจการบังคับใช้กฎระเบียบ เช่น กรณีของอินโดนีเซีย ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ACD) เป็นต้น ซึ่งหากอาเซียนมีกลไกที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบ และมีการจัดการปัญหาที่ดี AFTA จะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้ เศรษฐกิจของอาเซียนนั้นเจริญเติบโตและแข็งแกร่ง ทัดเทียมกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นเลยทีเดียว

อาฟตา หมายถึงข้อใด

เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)

เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

1. AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิต ที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรค ข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวย ต่อการค้าเสรี

เขตการค้าเสรี มีอะไรบ้าง

ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA).
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย - นิวซีแลนด์ (TNZCEP).
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA).
ความตกลงการค้าเสรีไทย - อินเดีย (TIFTA).
ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย – เปรู (TPFTA).
ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA).
เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA).

ประเทศใดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว

ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดทำ FTA กับ 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บาห์เรน เปรู และ 2 กลุ่มเศรษฐกิจ ASEAN และ BIMSTEC โดยเหตุผลสำคัญเพื่อรักษาสถานภาพและศักยภาพในการส่งออกของไทยโดยการขยายโอกาสในการส่งออกและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยทั้งในตลาดสำคัญในปัจจุบัน (เช่น ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง