DC Power Supply ใช้ทําอะไร

Power Supply MEAN WELL เกือบจะทุกรุ่นจะสามารถรองรับแหล่งจ่ายทั้ง AC และ DC ได้ โดยจะระบุไว้ใน Datasheet ของรุ่นๆ นั้นเสมอ ทั้งนี้ เนื่องด้วยลักษณะการออกแบบของวงจรภายใน การรองรับแรงดัน DC นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ

(1) 85~264VAC;120~370VDC

(2) 176~264VAC;250~370VDC

(3) 85~132VAC/176~264VAC by Switch; 250~370VDC

แบบที่ 1 รองรับแรงดันไฟ้ฟ้า DC ตั้งแต่ 120~370V 

แบบที่ 2 รองรับแรงแรงดันไฟฟ้า DC ตั้งแต่ 250~370VDC 

แบบที่ 3 จะเป็นรุ่นที่มีสวิตช์เลือกว่าจะใช้ไฟ AC 110V หรือ 220V หากต้องการต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่เป็นระบบ DC ต้องตรวจสอบให้ถูกต้องว่าแต่สับสวิตช์ไปช่อง 220V เท่านั้น โดยจะสามารถต่อใช้ไฟจ่ายแหล่งจ่าย DC ได้ตั้งแต่ 250~370VDC หากสลับสวิตไว้ในช่อง 110V AC จะทำให้ Power Supply เสียหายได้

ภาพ ตัวอย่างข้อมูลใน Datasheet ที่ระบุว่าสมารถรับแรงดันไฟฟ้า DC ได้ช่วงไหน

การต่อใช้งานทุกแบบ สามารถ ต่อสายไฟ + เข้าขับช่อง L (AC) และไฟ - เข้ากับช่อง N (AC) ได้เลย

ทั้งนี้ อาจจะมีบางรุ่นที่ต้องต่อสลับกันคือ ต่อไฟ - เข้ากับช่อง L (AC) และต่อไฟ + เข้ากับช่อง N (AC) Power Supply ถึงจะทำงานได้ 

การต่อใช้งานจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า DC ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่า การต่อสลับขั้วเมื่อใช้แหล่งจ่ายไฟ DC และจำทำให้ Power Supply เสียหาย หากต่อผิดขั้ว Power Supply ก็จะไม่ทำงาน ทำการแก้ไขโดยการสลับขั้ว +/- กับช่อง AC L/N และลองจ่ายไฟดูใหม่ Power Supply ก็จะใช้งานได้ด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้า DC ครับ

ข้อควรระวังที่พบบ่อย หากนำไปต่อเข้ากับระบบโซล่าเซลล์แล้ว ต้องตรวจสอพิกัดแรงดันของแผงโซล่าเซลล์ของระบบว่าแรงดัน Open Voltage ของระบบนั้นต้องไม่เกิน 370VDC เพื่อไม่ให้ Power Supply เสียหายครับ

เพาวเวอร์ซัพพลาย คือ อุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย

ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้

 

เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างรายละเอียดจากเพาเวอร์ซัพพลายยี่ห้อ Enermax ตะกูล Coolergiant รุ่น EG701AX-VH(W) ที่ให้กำลังไฟโดยรวมประมาณ 600 วัตต์ (Watt)

 

ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

1. AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด – ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)

2.ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด – เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้
– ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
– ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น
– ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX

ส่วนต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v ความถี่ 50 Hz เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า

ฟิวส์ (Fuse) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้นอันตราย จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด

วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้

หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มีระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป

วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง (ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย)
วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่ และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน

ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v ได้วิ่งผ่านฟิวส์ และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์ โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย

ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ

ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์

วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป

 

หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply )

และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง

การเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายเป็นส่วนที่ละเลยกันมากที่สุดในการเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ บ่อยครั้งที่เราเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เราแค่คำนึงถึงความเร็วของซีพียู เมนบอร์ด ขนาดหน่วยความจำ ขนาดฮาร์ดดิสก์ และลืมเรื่องเกี่ยวกับพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พาวเวอร์ซัพพลายคือผู้ที่จัดหา “เชื้อเพลิง”สำหรับส่วนต่าง ๆ ของพีซีเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

เพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพดีและมีความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างพอเพียงสามารถเพิ่มความทนทานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ อีกทางหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพต่ำ อาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงานหลายครั้ง ซึ่งยากต่อการแก้ไข พาวเวอร์ซัพพลายที่ชำรุดหรือคุณภาพแย่อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน พื้นที่บางส่วนของฮาร์ดดิสก์เสีย เกิดบลูสกรีนอันเลื่องชื่อ

และอาจรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์รีเซตตัวเองหรือทำงานค้างเป็นครั้งคราว และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องอีกมากมาย
เราจะมาดูกันว่าเมื่อต้องเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายซักตัว เราต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้าง ไม่ใช่ดูแค่ว่าพาวเวอร์ซัพพลายที่เราจะซื้อนั้นจ่ายไฟได้กี่วัตต์

มาตรฐานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายของพีซีมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันหลายแบบ ซึ่งรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันนี้มันมาจากเรื่องของมาตรฐานนั่นเอง นอกจากความต่างกันเรื่องขนาดและแบบของปลั๊กแล้ว ความต่างศักย์ที่จ่ายออกมายังต่างกันอีกด้วย ดังต่อไปนี้

1.มาตรฐาน AT พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT ใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ AT พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้จะจ่ายไฟด้วยความต่างศักย์สี่ค่าคือ +5V, +12V, -5V และ 12V และใช้หัวต่อแบบ 12 ขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแบ่งออกเป็น 6 ขา 2 ชุด ปัญหาก็คือ หัวต่อ 6 ขาทั้งสองชุดนี้สามารถเสียบเข้าไปในด้านใดก็ได้ของหัวต่อ 12 ขาบนเมนบอร์ด เพื่อป้องกันการผิดพลาด เราต้องจำให้ขึ้นใจว่าต้องติดตั้งหัวต่อแบบนี้ โดยจัดวางในลักษณะให้สายสีดำอยู่ตรงกลางของหัวต่อแต่พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT นั้นตกยุคไปได้หลายปีแล้ว

2.มาตรฐาน ATX พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX จะใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ ATX โดยเหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน ATX นี้เป็นมาตรฐานที่มีบทบาทมากที่สุดในเวลานี้แม้ว่าจะมีการเปิดตัวมาตรฐานของ BTX ออกมานานแล้วก็ตาม แต่มาตรฐานของ ATX นั้นก็ยังคงอยู่และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาอีกหลายเวอร์ชัน และเราก็ยังสามารถนำพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ไปใส่ในเคสแบบ BTX ได้ รวมไปถืงเมนบอร์ดแบบ ATX ก็สามารถนำไปติดตั้งในเคสที่เป็น BTX ได้เช่นกัน เพราะทางผู้ผลิตเคสได้ทำช่องสำหรับยึดตำแหน่งของพาวเวอร์ซัพพลาย กับเมนบอร์ดแบบ ATX เอาไว้ด้วย 

สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ก็จะมีหลายรูปแบบที่เราจะกล่าวถึงต่อไป สำหรับความแตกต่างประการหลักสามประการระหว่างพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT และ ATX คือ มีสายไฟฟ้า +3.3V เพิ่มเติมอีกหนึ่งสาย, พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ในเวอร์ชันแรกๆ ใช้หัวต่อแบบ 20 ขา และพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีสายสำหรับเปิดปิด อันทำให้สามารถปิดพาวเวอร์ซัพพลายด้วยซอฟต์แวร์ได้ พาวเวอร์ซัพพลายของ ATX มีขนาดกว้าง, สูง, ลึกเท่ากับ 5.90 นิ้ว x 3.38 นิ้ว x 5.51 นิ้ว (150 มิลลิเมตร x 86 มิลลิเมตร x 140 มิลลิเมตร

 

3.มาตรฐาน ATX12V v1.x เนื่องจากซีพียูสมัยใหม่ต้องการพลังงานมากขึ้น จึงได้มีการเพิ่มหัวต่อให้กับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX กล่าวคือ หัวต่อ 12V แบบสี่ขาและหัวต่อเสริม +3.3V และ +5V หกขา โดยหัวต่อแบบหกขานี้แต่เดิมมีใช้กันอยู่ในเมนบอร์ด Pentium 4 รุ่นแรก (เมนบอร์ดที่ใช้ซ็อกเก็ต 423) เราใช้พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยมีขนาดทางกายภาพเหมือนกับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ATX12V v1.3 ยังได้มีการนำหัวต่อ Serial ATA ซึ่งมี 15 ขาเข้ามาใช้

4.มาตรฐาน ATX12V v2.x ATX12V รุ่นใหม่นี้เปลี่ยนหัวต่อจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ดจาก 20 ขาเป็น 24 ขา และยังยกเลิกหัวต่อเสริม 6 ขาเนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป รวมทั้งปรับการใช้งานหัวต่อจ่ายไฟ Serial ATA อย่างไรก็ดี มีเมนบอร์ดATX12V v2.x บางรุ่นที่ยังคงเปิดโอกาสให้เราใช้กับพาวเวอร์ซัพพลาย 20 ขาดังเช่นพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v2.x กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยผ่านทางตัวแปลง ขนาดทางกายภาพของ ATX12V v2.X เหมือนกันกับพาวเวอร์ซัพพลาย ATX ดั้งเดิมและยังคงรักษาหัวต่อ 12V 4 ขาเพิ่มเติมที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.x

 

การระบายความร้อน
ดังที่เราได้กล่าวมาแล้วว่า พาวเวอร์ซัพพลายมีบทบาทสำคัญในกระบวนระบายความร้อนของพีซี โดยหน้าที่ที่แน่นอนของมันคือนำอากาศร้อนออกไปจากเคส การไหลของอากาศภายในพีซีจะเริ่มจากอากาศเย็นไหลผ่านเข้าไปทางช่องด้านหน้าของเคส ต่อจากนั้น อากาศถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยอุปกรณ์ดังเช่นซีพียู การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ ชิปเซต ฯลฯ เนื่องจากอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น มันจึงลอยขึ้นไปด้านบนตามหลักธรรมชาติทำให้อากาศร้อนลอยตัวไปถูกกักอยู่ตรงส่วนบนสุดของเคส พัดลมทำความเย็นของพาวเวอร์ซัพพลายจะทำงานเป็นพัดลมระบายอากาศ ดึงลมร้อนออกจากบริเวณนี้และเป่าออกไปจากพีซี

ในยุคหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีราคาแพงจะมีพัดลมระบายอากาศสองหรือสามตัว แต่เดี๋ยวนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเปลี่ยนมาใช้พัดลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนเพื่อลดเสียงรบกวนในการทำงานไปด้วยในตัว และเคสส่วนมากก็จะมีพื้นที่ว่างพอควรสำหรับติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมที่ด้านหลัง
อย่างไรก็ตามเคสคอมพิวเตอร์บางรุ่นก็ไม่ได้ให้เราทำการติดตั้งพาวเวอร์ซัพพลายไว้ทางด้านบนของตัวเคส

แต่จะให้พาวเวอร์ซัพพลายอยู่ด้านล่างของเคสแทน หรือถ้าเป็นเคสที่วางแบบแนวนอนพาวเวอร์ซัพพลายก็จะอยู่ด้านหนึ่ง เมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะอยู่อีกด้านหนึ่ง พาวเวอร์ซัพพลายก็ยังมีส่วนช่วยในการระบายความร้อนออกจากเคสอยู่ดี เพราะอย่างน้อยๆ มันก็นำความร้อนจากตัวมันเองออกสู่นอกเคส ไม่ทิ้งความร้อนสะสมไว้ภายในตัวเครื่องเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง