สังเวชนียสถานคืออะไร มีอะไรบ้าง

สังเวชนียสถาน
เส้นทางพุทธดำเนิน เกิดสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง คือ  :: สถานที่ประสูติ, ตรัสรู้, ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ::

สังเวชนียสถาน (อ่านว่า สังเวชะนียะ-) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้าเกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น

สังเวชนียสถาน มี ๔ แห่ง คือ
สังเวชนียสถานแห่งที่ ๑ คือสถานที่ประสูติแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย และสถานที่ประสูตินี้ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนอินเดีย-เนปาลประมาณ ๓๒ กิโลเมตร ปัจจุบันสังเวชนียสถานแห่งนี้ ภาษาทางราชการเรียกว่า “รุมมินเด" แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังเรียกว่า "ลุมพินี"

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ คือสถานที่ตรัสรู้นี้ แต่เดิมทีเดียวในสมัยพุทธกาลนั้น คือ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมืองคยา แคว้นมคธ ซึ่งมีเมืองราชคฤห์ เป็นเมืองหลวง ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้นี้เรียก ตำบลพุทธ
คยา ขึ้นอยู่กับจังหวัดคยา (ห่างจากจังหวัดคยา ๑๒ กิโลเมตร) รัฐพิหาร มีเมืองหลวงชื่อ ปัฎนะ หรือ ปัฎนา (หรือชื่อเดิมว่า ปาฎลีบุตร) 

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ คือ สถานที่แสดงปฐมเทศนา หรือสถานที่พระตถาคตเจ้าทรงยังพระอนุตรธัมจักให้เป็นไป สถานที่นี้อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียกสารนาถ ห่างจากเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร ซึ่งเมืองพาราณสีนี้อยู่ห่างจากเมืองพุทธคยา สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร

สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ คือ สถานที่ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุดับไม่มีส่วนเหลือ คือทั้งกิเลส ทั้งเบญจขันธ์ดับหมด ตามปกติพระอรหันต์ทั่วไปจะนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกนั้นเป็นการดับกิเลส ส่วนเบญจขันธ์ยังอยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพาน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพียงแต่จิตเข้าสู่แดนพระนิพพานเท่านั้น เป็นจิตที่สะอาด ไม่มีกิเลส ไม่มีทุกข์แล้ว ดังเช่นพระพุทธเจ้า นิพพานครั้งแรกนี้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ส่วนนิพพานครั้งที่ ๒ ก็คือ อนุปาทิเสสนิพพาน ดังได้กล่าวแล้วนั้นเอง

รายละเอียดสถานที่สำคัญที่เดินทางไปสังเวชนียสถาน

สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 : สวนลุมพินี (Lumbini)
สถานที่ประสูติพระรูปกายของพระสิทธัตถโคตมพระพุทธเจ้า แห่งศากยวงศ์

สวนลุมพินี 
ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า สมัยพุทธกาล อยู่ในแดนชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย บริเวณฝั่งแม่น้ำโรหิณี เขตแคว้นศากยะ เป็นบริเวณกึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์เมืองหลวงของพระเจ้าสุท -โธทนะ กับกรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของพระเจ้าชนาธิป
คราวเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะครองนครกบิลพัสดุ์ มีพระอัครมเหสีนามว่า พระนางสิริมหามายา ต่อมาพระเทวีทรงพระครรภ์ เมื่อพระนางมีครรภ์แก่จวนครบ 10 เดือน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พระนางสิริมหามายาเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อไปมีพระประสูติกาลที่กรุงเทวทหะ เมืองหลวงของพระราชบิดาของพระนาง ตามขนบธรรมเนียมของคนที่อยู่บริเวณดินแดนแห่งนี้สมัยนั้นซึ่งถือปฏิบัติกันมา ฝ่ายหญิงจะต้องเดินทางไปคลอดบุตรที่บ้านมารดาบิดาของตนเอง เมื่อขบวนยาตราไปได้ประมาณ 20 กิโลเมตร จากเมืองกบิลพัสดุ์ถึงป่าลุมพินีซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะต่อกัน ขบวนก็ได้แวะพัก ณ ป่าลุมพินี แห่งนี้ ในขณะที่พักอยู่นั่นเอง พระนางก็ประชวรพระครรภ์จะประสูติบรรดาผู้เกี่ยวข้องเห็นว่าจะไปยังกรุงเทวทหะตามความประสงค์เดิมคงไม่ทันการเสียแล้ว จึงพร้อมใจกันจัดที่ประสูติถวายอย่างกะทันหันที่ใต้ร่มไม้สาละต้นหนึ่ง ซึ่งพระนางก็ประทับยืนยื่นพระหัตถ์เบื้องขวาเหนี่ยวกิ่งต้นไม้สาละไว้และแล้วก็ประสูติพระโอรสอย่างง่ายดาย ตำนานกล่าวไว้ว่าพระนางมิได้ทรงเจ็บปวด คลอดพระโอรสสะดวกเหมือนเทน้ำจากกระบอกฉะนั้น พระโอรสก็มิได้แปดเปื้อนด้วยมลทินแม้แต่น้อย ฝ่ายพระราชกุมาร พอพ้นจากพระครรภ์พระมารดาแล้วก็ประทับยืนและทรงย่างพระบาทไปได้ 7 ก้าว ได้เปล่งพระวาจาบุพพนิมิตแห่งพระโพธิญาณว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราจักเป็นใหญ่และประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย การเกิด ต่อไปคงไม่มีอีกแล้ว” พระราชกุมารทรงอุบัติในท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม พอประสูติได้เพียง 7 วันเท่านั้น พระมารดาก็ทิวงคต พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาก็ได้มอบการเลี้ยงดูพระราชกุมารให้แก่พระนางปชาบดีโคตรมี ซึ่งเป็นพระน้านาง และนางเป็นพระมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าสุทโธทนะ บริเวณที่ใกล้ลุมพินีวัน มีสถานที่สำคัญที่น่าศึกษาอยู่คือ ภูเขาหิมาลัย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้านคือ มหาวัน 1 จุลวัน 1 

มหาวัน คือ ภูเขาที่หนาทึบไปด้วยต้นไม้นานาชนิด มีน้ำแข็งหรือหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปี ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 20,000 ฟุตขึ้นไป
จุลวัน  คือ ภูเขาเล็กๆ ที่มากไปด้วยต้นไม้นานาชนิด อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 12,000 – 15,000 ฟุต แต่ลุมพินีวัน ซึ่งเป็นสถานที่ประสูตินั้น มิได้อยู่ในเขตมหาวันและจุลวันซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม

สภาพลุมพินีในปัจจุบัน
ที่ตั้งของลุมพินีในปัจจุบัน อยู่ในเขตประเทศเนปาล อำเภอไภราวา แคว้นอูธ เป็นชนบทเล็กๆของประเทศเนปาลติดกับเขตประเทศอินเดียตอนเหนือ อยู่ห่างจากติเลาราโกต ประมาณ 19 กิโลเมตร หรือประมาณ 20 ถึง 22 กิโลเมตร

ถาวรวัตถุศักดิ์สิทธิ์บริเวณลุมพินี
1. เสาหินพระเจ้าอโศก
ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างสถานที่ซึ่งเคยเป็นกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะเดิม โดยห่างจากกบิลพัสดุ์ประมาณ 19 กิโลเมตร และห่างจากเทวทหะประมาณ 20 กิโลเมตร ในอดีตหลังจากสมัยพระเจ้าอโศกแล้ว เสานี้จมอยู่ใต้ดิน ปรากฏให้เห็นเพียงส่วนปลายเสาเท่านั้น ในตอนแรกคาดว่าจะมีผู้พบเห็นแต่ไม่รู้ว่าเป็นเสาศิลาของพระเจ้าอโศก จึงจารึกอักษรเป็นภาษาทิเบต น่าจะเป็นพวกคนเลี้ยงสัตว์ประจำหมู่บ้านบริเวณนั้นขีดเขียนเล่นตามประสา และสันนิษฐานได้ต่อไปว่า บริเวณนี้ยุคหลังจากพระเจ้าอโศก คงจะเป็นถิ่นที่ชาวทิเบตอาศัยอยู่มาก หรืออาจจะเป็นพวกชาวพุทธทิเบตเดินทางมาแสวงบุญจารึกไว้ก็เป็นได้ ปัจจุบันอักษรทิเบตที่จารึกไว้ยังปรากฏให้เห็นอยู่ห่างจากยอดเสาประมาณ 2 เมตร
2. วิหารมายาเทวี
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระนางสิริมหามายา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 241 หรือในยุคเดียวกันกับที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างเสาศิลานั่นเอง วิหารนี้สร้างยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 3 เมตร มีบันไดขึ้นลง 2 ด้าน ตั้งอยู่ใกล้เสาศิลาของพระเจ้าอโศก ตัววิหารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณพื้นที่ภายในวิหารมีสถานที่สำหรับบูชา จุคนได้ครั้งละประมาณ 7-8 คน

3. ภาพหินแกะสลักพระนางสิริมหามายา
กำเนิดของภาพหินแกะสลักพระนางสิริมหามายาประสูติพระโอรส ซึ่งกษัตริย์มัลละแห่งราชวงศ์นาคะ ได้โปรดให้สร้างภาพหินแกะสลักพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรสขึ้นไว้เป็นพุทธบูชา เมื่อประมาณ พ.ศ. 1700-2100 ท่าน พี.ซี. มุเขอร์จี ได้ค้นพบในปี ค.ศ. 1899 ลักษณะของภาพหินแกะสลักตรงตามข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินีทุกประการ คือเป็นรูปของพระสิริมหามายาทรงใช้พระหัตถ์เบื้องขวาจับกิ่งต้นไม้ ขณะที่ประสูติพระราชโอรสพระกุมารซึ่งประสูติออกมาประทับยืนตรง มีดอกบัวบานรองรับพระบาท และรอบๆพระเศียรมีรัศมีปรากฏอยู่มีรูปเทวดาหลั่งด้วยภาชนะ และมีรูปเทวดากำลังโปรยดอกไม้

4. สระสรงสนานพระวรกาย
อยู่ห่างจากวิหารมายาเทวีมาทางด้านขวามือ ตามตำนานเดิมบอกว่าเป็นวงกลมรี แต่ปัจจุบันมีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดกว้างยาวประมาณ 30 x 30 เมตร 

สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 : พุทธคยา(Bodhgaya)
สถานที่ตรัสรู้
พุทธคยา(Bodhgaya) 
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เดิมทีเป็นบริเวณหมู่บ้านอุรุเวลาซึ่งปัจจุบันได้เพี้ยนมาเป็นอุเรล อยู่ห่างจากสถานีรถไฟเมืองคยา ประมาณ 10 กิโลเมตร เราสามารถเดินทางโดยรถไฟจากปัตนะถึงคยาระยะทาง 110 กิโลเมตร ถ้าเป็นทางรถยนต์ก็ประมาณ 185 กิโลเมตร โดยผ่านทางเมืองราชคฤห์

ประวัติ
    พุทธคยา ถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นี่ เป็นเวลา 2,500 ปีมาแล้ว สถานที่นี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมของการจาริกแสวงบุญจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วโลกและจัดเป็นสังเวชนีย-สถานแห่งที่ 2 ใน 4 แห่ง

สถานที่สำคัญ

1. ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นปัจจุบันนี้สืบทอดมาจากต้นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งก่อนตรัสรู้ตามลำดับ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ต้น
ต้นที่ 1 เริ่มในสมัยพุทธกาล เกิดขึ้นวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นเวลา 352 ปี
ต้นที่ 2 เริ่มในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สิ้นสุดลงในสมัยของกษัตริย์ฮินดู ในแคว้นแบงกอลพระนามว่า สาสังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. 1143-1163 มีอายุราว 871 – 891 ปี
ต้นที่ 3  พระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์เมารยะ ทรงปลูกขึ้นแทนต้นที่ 2 มาสิ้นสุดในสมัยอินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2521 มีอายุราว 1258-1278 ปี
ต้นที่ 4 นายพลเซอร์ คันนิ่งแฮม นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ปลูกขึ้นแทนต้นที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2423

2.  พระเจดีย์มหาโพธิ์
พระเจดีย์มหาโพธิ์แห่งนี้ คือสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ ณ ใต้ต้นโพธิ์ พระเจดีย์ใหญ่ มีขนาดความสูง 180 ฟุต มีพระเจดีย์เล็ก 4 องค์แวดล้อม สันนิษฐานกันว่า สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 และได้ถูกบูรณะซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง
ภายในห้องโถงของพระมหาเจดีย์มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่พระพักตร์เปี่ยมไปด้วยเมตตาและนิ้วพระหัตถ์ขวาที่ชี้ลงที่พื้นดิน
3. พระแท่นวัชอาสน์
พระแท่นวัชรอาสน์ หรือ พระแท่นเพชรแกะสลักด้วยเนื้อหินทรายเป็นรูปหัวเพชร กว้าง 4.10 นิ้ว ยาว 7.6 นิ้ว หนา 5 นิ้วครึ่ง ประดิษฐานไว้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ พื้นแท่นแกะสลักเป็นรูปลวดลายแก้วชิงดวงเป็นรูปหัวแหวน มีรูปดอกบัวห่านฟ้า และดอกมณฑทรพ พระแท่นวัชอาสน์นี้เคยถูกทำลายเมื่อตอนต้นศตวรรษที่ 13 แตกเป็น 5 เสี่ยง นายพลเซอร์ คันนิ่งแฮม ได้บูรณะให้ดีดังเดิม
4. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงอุปมาสัตว์โลกดุจดอกบัว 4 เหล่า
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่าธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งยากที่สัตว์โลกจะเข้าใจถึงจึงไม่ประสงค์จะแสดงธรรม แต่เมื่อทรงเปรียบเทียบสัตว์โลกกับดอกบัว 4 เหล่า จึงได้ตั้งพระทัยที่จะแสดงธรรม แล้วทรงเปรียบเทียบมนุษย์ดุจดอกบัว 4 เหล่าคือ
4.1 อุคฆติตัญญู  ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้วพอถูกแสงอาทิตย์ก็บานเปรียบเหมือนบุคคลผู้มีสติปัญญาแก่กล้าพอได้รับคำแนะนำเพียงหัวข้อเล็กน้อยก็รู้แจ้งหรือบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็วพลัน
4.2 วิปจิตัญญู   ดอกบัวที่เสมอน้ำมีโอกาสที่จะโผล่พ้นน้ำและรับแสงพระอาทิตย์เบ่งบานในเร็ววันได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีสติปัญญาดี พอได้รับคำแนะนำเพียงนิดหน่อย ก็รู้แจ้งเห็นจริงหรือบรรลุมรรคผลนิพพานในวันต่อไปได้
4.3 เนยยะ  ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำมีโอกาสจะโผล่พ้นน้ำในวันข้างหน้าได้ แต่อาจจะใช้เวลานานเปรียบเหมือนบุคคลผู้มีสติปัญญาปานกลาง ก็มีโอกาสรู้แจ้งเห็นจริง และบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในโอกาสต่อไปภายหน้า
4.4 ปทปรมะ  ดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำติดโคลนตม อาจจะเป็นอาหารของปลาและเต่าเปรียบเหมือนบุคคลผู้โง่เขลาอับปัญญาไม่สามารถจะรู้แจ้งเห็นจริงตามคำแนะนำได้ก็มีแต่จะจมอยู่ในอบายภูมิต่อไป
5. สถานที่ที่มารทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
พญามารได้มาเข้าเฝ้าหลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วว่า ได้เวลาที่จะเสด็จ ดับขันธปรินิพพานแล้วแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เราจักไม่ปรินิพพาน จนกว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาจะบรรลุธรรมตามที่เราแสดงไว้ และจนกว่าพระพุทธศาสนาจะประดิษฐานมั่นคงแก่มวลมนุษย์โลก เมื่อกาลอันควรมาถึงจึงจักปรินิพพาน
6. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข 7 สัปดาห์
หลังจากการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ 7 แห่ง ตลอด 7 สัปดาห์ ดังนี้คือ
6.1  สัปดาห์แรกประทับนั่งที่พระแท่นวัชรอาสน์
พระองค์ทรงประทับใต้ต้นศรีมหาโพธิ์  โดยประทับนั่งพิจารณาปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ตลอด 7 วัน
6.2  สัปดาห์ที่ 2 ที่อนมิสเจดีย์
พระองค์ทรงดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต้นโพธิ์ ทรงยืนพิจารณาทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเลย 7 วัน ทรงหวนระลึกถึงอดีตที่ทรงชำระกิเลสหมดสิ้นผ่องใส ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ประทับยืนนั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
6.3 สัปดาห์ที่ 3 ที่รัตนจงกรมเจดีย์
 ทรงเสด็จเดินจงกรมอยู่ทางทิศเหนือข้างพระเจดีย์ใหญ่ ตรงจุดนี้พระองค์ทรงเดินจงกรมตลอด 7 วัน เรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์
6.4 สัปดาห์ที่ 4 ที่รัตนฆรเจดีย์
 เทวดาเนรมิตเรือนแก้วขึ้นทางทิศเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระองค์ประทับ    นั่งบนบัลลังก์ พิจารณาอภิธรรมอันลึกซึ้งตลอด 7 วัน จึงเรียกว่า รัตนฆรเจดีย์

6.5 สัปดาห์ที่ 5 ที่ต้นอชปาลนิโครธ
พระพุทธองค์เสด็จออกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์มุ่งสู่ต้นอชปาลนิโครธ อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ธิดามาร 3 นาง คือ นางราคะ นางอรตี และนางตัณหาเข้ามาแสดงอาการยั่วยวนพระพุทธองค์ แต่พระองค์ทรงชนะด้วยพุทธบารมี ทรงชนะจอมมาร คือพญามารจนทรงได้พระนามว่าพระผู้พิชิตมาร พระองค์จะไม่กลับมาแพ้อีกอย่างแน่นอน
6.6 สัปดาห์ที่ 6 ที่สระมุจลินทร์
 ทรงเสวยวิมุติสุขที่สระมุจลินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ห่างจากต้นโพธิ์ราว 4 กิโลเมตร ทรงประทับนั่งที่นั่นตลอด 7 วัน 7 คืน มีพญานาคแผ่พังพานกำบังฝนให้แก่พระพุทธองค์
6.7   สัปดาห์ที่ 7 ที่ต้นราชายตนะ
7 ภูเขาดงคสิริ
คือสถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ก่อนที่จะเสด็จมาที่ต้นโพธิ์ทรงกระทำทุกกิริยา คือทรงบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์เพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์
8 เขาพรหมโยนี (คยาสีสะประเทศ)
ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองคยา ตรงไปจะเข้าตัวเมืองคยา เดิมเรียกว่า “คยาสีสะ” ปัจจุบันเป็น ศาสนสถานของชาวฮินดู เรียกว่า พรหมโยนี เพราะมีก้อนหินทับกันดูเหมือนโยนีของพระพรหม มีความสำคัญต่อพุทธศาสนา คือ
1. ชฏิล 3 พี่น้อง
2. พระเทวทัตต์ถูกตีเข่ายอดอก

สังเวชนียสถานแห่งที่ 3 : สารนาถ(Sarnath)
สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สารนาถ(Saranath)
สารนาถ เป็นสถานที่สำหรับจาริกแสวงบุญที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวพุทธ อยู่ห่างจากตัวเมืองพารณสี 10 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงพาราณสี อันเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งศาสนาฮินดูภายในแคว้น ยู.พี คือ อุตรประเทศ ของรัฐบาลอินเดียปัจจุบัน 

ประวัติ
สารนาถ เดิมมีชื่อว่า “ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน” ที่ชื่อว่าสารนาถ เนื่องจากจริยาของพระพุทธองค์เมื่อคราวเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เป็นที่พึ่งของกวาง  หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่เมืองคยาหรือพุทธคยาแล้ว พระองค์ก็ได้พิจารณาหาบุคคลผู้ที่มีอัธยาศัยเหมาะแก่การแสดงธรรมให้ฟัง ทรงทราบว่าปัญจวัคคีย์ ซึ่งออกบวชติดตามพระองค์ได้พากันมาอยู่ที่นี่ พระองค์จึงเสด็จมาเพื่อแสดงธรรมโปรด
พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรก มีชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ผลแห่งการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกทำให้ท่านพระโกญฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมคือ บรรลุธรรม และขออุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ทำให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ประมาณ 300 ปีต่อมาเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ได้เสด็จมานมัสการสถานที่นี้ พระองค์ได้ทรงสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ไว้มากมายเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระพุทธเจ้า

สถานสำคัญในปัจจุบัน
1.  ธรรมเมกขสถูป
สร้างขึ้นในราว ค.ศ. 500 และเชื่อกันว่า เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา แก่ ปัญจวัคคีย์ ลวดลายดอกไม้ที่รอบองค์พระสถูป เป็นศิลปะของยุคคุปตะแต่การขุดค้นสำรวจพบว่า แผ่นอิฐข้างในพระสถูปเป็นของยุค เมารยัน จึงสันนิษฐานไว้ว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก
พระสถูปเป็นรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 28 เมตรครึ่ง สูง 33 เมตรครึ่ง ช่องทั้ง 8 ช่องล้อมรอบองค์พระสถูป เป็นสัญลักษณ์แทนล้อของจักร คือ ธรรม ซึ่งก็คือธรรมจักรนั่นเอง
2.  ธรรมราชิกสถูป
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของธรรมเมกขสถูป ในปัจจุบันนี้เหลือให้เราเห็นก็แต่เพียงร่องรอยซากพระสถูปเท่านั้น
3.  เจาคันฑีสถูป
ตั้งอยู่เยื้องพิพิธภัณฑ์สารนาถ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าพบปัญจวัคคีย์หลังจากที่เสด็จมาจากคยา หรือพุทธคยา พระสถูปสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงของราชวงษ์คุปตะ ปัจจุบันพระสถูปนั้นได้สูญหายไปตามกาลเวลา
4. เสาหินพระเจ้าอโศก
พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งคณะสงฆ์รุ่นแรก และส่งไปประกาศพระศาสนา 61 รูป เมื่อ พ.ศ 250 เสาสูง 15.24 เมตร จารึกอักษรพรหมี มีใจความว่าห้ามมิให้ผู้ใดทำลายสงฆ์ให้แตกกันและให้อุบาสกอุบาสิกาถืออุโบสถศีล ต่อมาเสาได้หักลง ส่วนหัวเสาซึ่งเป็นรูปสิงห์โต 4 เศียรหันหลังชนกันได้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สารนาถเมื่ออินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็ตกลงใช้รูปสิงห์โต 4 เศียรนี้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินเดีย
5. พิพิธภัณฑ์สารนาถ 
สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รวบรวม พระพุทธรูป วัตถุโบราณที่ขุดได้บริเวณสารนาถทั้งหมดเมื่อ ค.ศ. 1904 โบราณวัตถุที่ขุดได้ เป็นศิลปะหลายๆยุค เริ่มจากยุคเมารยัน กุษาณ คุปตะ และ อื่นๆอีกมากในพิพิธภัณฑ์สารนาถ มีดังนี้คือ
5.1   ยอดเสาอโศก
5.2   พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
5.3   พระโพธิสัตว์


สังเวชนียสถานแห่งที่ 4 : กุสินารา (Kushinagar)
สถานที่ดับขันธปรินิพพาน

กุสินารา (Kushinagar)
กุสินาราเป็นเมืองที่อยู่ในเส้นทางสายเศรษฐกิจในครั้งพุทธกาล เชื่อมต่อระหว่างแคว้นโกศลและแคว้นมคธ ผู้ที่จะเดินทางจากแคว้นโกศลมายังแคว้นมคธ ต้องผ่านทางเมืองปาวา กุสินารา เวสาลี ปาฏลีบุตร และนาลันทา จึงมาถึงเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พวกเจ้ามัลละแห่งกุสินารานับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมากในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองอาตุมา ประทับค้างแรมที่เมืองกุสินารา ในสวนไม้ชื่อ “พลิหรณะ”  ณ โอกาสนี้ทรงแสดงกุสินาราสูตร 1 กุสินาราสูตร 2

สภาพปัจจุบัน
เมืองกุสินาราได้กลายมาเป็นหมู่บ้านกาเซีย ตั้งอยู่ ณ จุดที่แม่น้ำราปติและแม่น้ำกันดัคน้อย มาบรรจบกัน ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของอำเภอโครักขปูร์ แต่หมู่บ้านกาเซียนี้เป็นเมืองขนาดเล็กอยู่ในเขตอำเภอเดโอเรีย รัฐอุตตรประเทศ
กุสินารา เป็นศูนย์กลางแห่งการจาริกแสวงบุญ เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและผู้จาริกแสวงบุญอนุสรณ์สถานที่สำคัญ คือสถูปใหญ่ซึ่งเชื่อกันว่าองค์เดิมนั้นสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโศกมหาราชและเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานที่แวดล้อมด้วยซากของปูชนียวัตถุ อันเป็นเครื่องแสดงว่า ณ ที่บริเวณแห่งนี้ เคยมีวัด วิหาร และศาสน-สถานศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ตั้งอยู่ และมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในยุคต่างๆ ที่ผ่านมา

สถานที่อื่นๆ

ราชคฤห์ (Rajgir)
    เพียงชื่อเมืองก็มีความหมายไพเราะว่าราชวัง (Raja Griha) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปัตนะลงทางตอนใต้เพียง 102 กิโลเมตร และ 34 กิโลเมตรจากเมืองคยา เป็นเมืองที่มีความสำคัญแก่ชาวพุทธ โดยมีหนึ่งในสถานที่ที่มีชื่อเสียงคือ เขาคิชฌกูฏ (Griddhakuta Hill) เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมที่นี่หลายครั้ง  และได้มีการบันทึกพุทธธรรมคำสอนของพระองค์เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ที่เขาคิชฌกูฏแห่งนี้ยังมีบริการกระเช้าลอยฟ้าที่สามารถชมทิวทัศน์ฯโดยรอบได้ก่อนขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อชมสถูปแบบญี่ปุ่นที่สวยงามเก่าแก่
    โดยรอบกรุงราชคฤห์ล้วนเต็มไปด้วยสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี  ไม่ว่าจะเป็น ถ้ำพระเจ้าพิมพิสาร (Bimbisara Jail) ซึ่งย้อนให้รำลึกถึงพระเจ้าพิมพิสาร (ศตวรรษที่ 5-6 ก่อนคริสต์กาล) ผู้ทรงเลื่อมใสในศาสนาพุทธ และทรงเลือกใช้วาระสุดท้ายชองชีวิตที่นี่  โดยที่จุดนี้พระองค์สามารถทอดพระเนตรเห็นาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นเขาเพื่อบำเพ็ญธรรมสมาธิ
    นอกจากนี้ยังมี ป้อมพระเจ้าอชาติศัตรู (Ajat shatru’s Fort) และในบริเวณเดียวกันยังมีรูปปั้นที่สื่อถึงพระมหาปรินิพพาน ที่งดงามและมีคุณค่ามาก  ทั้งในแง่ศิลปะและประวัติศาสตร์รูปปั้นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบบนอนตะแคงขวาสื่อถึงมหาปรินิพพานด้วยการดับขันธ์ ซึ่งเป็นความศรัทธาสูงสุดของพระพุทธศาสนา
    แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่มีความสำคัญในกรุงราชคฤห์ อาทิเช่น สัตตธารา(Saptdhara) ซึ่งเป็นบ่อน้ำพุร้อนศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้  วัดเวฬุวนาราม (Venuvara Vihara) ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวายแก่องค์สัมมาสมพุทธเจ้า  สวนผลไม้ของชีวักกะ (Jivaka ‘s Mango Grove) และสระน้ำโบกธรณี (Karanda Tank) ที่พระพุทธองค์ทรงสรงน้ำและที่มีความสำคัญมากอีกแห่งคือ ถ้ำสัตตบรรณคูหา (Saptaparni Cave) ซึ่งเป็นที่ที่มีการสังคายนาครั้งแรก

สังเวชนียสถาน คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร

สังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็นในมหาปรินิพ-

สังเวชนียสถาน 4 แห่งคือที่ใด

พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ลุมพินีวัน • พุทธคยา สารนาถ • กุสินารา

สถานที่ตั้งสังเวชนียสถานคือที่ใด

สังเวชนียสถาน สถานที่ตรัสรู้นี้อยู่ในเมืองคยา แต่แยกออกมาเป็นเขตพุทธคยา เรียกได้ว่าเป็นชุมชนชาวพุทธที่ใหญ่ที่วุดแห่งหนึ่งของอินเดียเลยก็ว่าได้ แต่ละปีมีชาวพุทธและผู้สนใจจากทั่วโลกหลั่งไหลไปที่พุทธคยาเป็นจำนวนมาก การเดินทางก็ง่ายกว่าแต่ก่อน มีสนามบินคยา อยู่ไม่ไกลจากตัวพุทธคยา เดินทางเพียง 30 นาทีก็เข้าเขตต้นโพธิ์แล้ว ...

สังเวชนียสถานคืออะไรและมีความสำคัญต่อชาวพุทธอย่างไร

สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง (หรือ ๔ ตำบล) จึงเป็นอนุสรณียสถาน ที่ทำให้ระลึกถึงพระราชประวัติของพระพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชน ให้ความสำคัญและสนใจ ควรจะได้ไปศึกษาคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ ทรงค้นพบ ซึ่งได้เริ่มต้น ณ ดินแดนแห่งนี้ กับเพื่อจะได้ระลึกถึง พุทธคุณที่ทรงมีต่อมวลมนุษย์ การได้ไปกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง