หนังสือ รับรอง การ หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย คือ อะไร

เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ รูปแบบหนึ่งของการเสียภาษี โดยเงินรายได้ของเราจะถูกหักทันทีจากผู้จ่ายเพื่อนำส่งให้สรรพากร

วอย่างเช่น ยุ้ย พนักงานออฟฟิศ มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และโบนัสปีละ 1 เดือน จากข้อมูลนี้ ช่วยให้ฝ่ายบัญชีของบริษัทสามารถประมาณรายได้ทั้งปีของยุ้ยได้เป็น 30,000 x 13 = 390,000 บาท ยุ้ยเคยให้ข้อมูลกับทางบริษัทว่า เธอทำประกันชีวิตไว้ปีละ 20,000 บาท ซึ่งบริษัทจะเก็บข้อมูลนี้เพื่อคำนวณเป็นค่าลดหย่อน และคำนวณเป็นภาษีเงินได้ที่ยุ้ยจะต้องจ่ายในปีนั้น ๆ ก่อนที่จะหารด้วย 12 เพื่อเฉลี่ยเป็น “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” หรือก็คือเงินที่จะถูกหักออกจากเงินเดือนของยุ้ยในทุก ๆ เดือนนั่นเอง เมื่อถึงปลายปี บริษัทจะส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อสรุปเงินได้ของยุ้ย และยอดภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปตลอดทั้งปี ซึ่งหากยุ้ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายได้ หรือค่าลดหย่อนตามที่แจ้งไว้กับบริษัทแล้ว ยุ้ยก็ไม่ควรจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมอีก แต่หากยุ้ยมีรายได้เสริม เช่น รับจ้างเขียนบทความ ยุ้ยก็มีหน้าที่ต้องแสดงหลักฐานเพิ่ม สำหรับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ต้องแสดงก็คือเอกสารที่ได้รับจากบริษัทที่ว่าจ้างยุ้ยเขียนบทความนั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อนำมาคำนวณหารายได้รวมจากทั้งสองงาน ภาษีที่ควรจะต้องชำระ และนำมาเปรียบเทียบกับยอดภาษีหัก ณ ที่จ่าย รวมทั้งปี เพื่อพิจารณาว่า จะได้รับภาษีคืน หรือต้องชำระเพิ่ม

ในกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เงินได้ก็ถูกหัก ณ ที่จ่ายเช่นกัน ตัวอย่างการหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบนี้ก็คือ แอน โปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์ รับค่าจ้างเป็นโปรเจกต์ ปีที่ผ่านมา แอนรับงานทั้งสิ้นสี่โปรเจกต์ แอนตกลงราคาค่าจ้างสำหรับโปรเจกต์แรกเป็นเงิน 20,000 บาท โดยผู้ว่าจ้าง ทำการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือคิดเป็นเงิน 600 บาทเพื่อส่งให้กับสรรพากร และโอนเงินเข้าบัญชีให้แอน จำนวน 19,400 บาท ซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับอีกสามโปรเจกต์ที่เหลือก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น เมื่อถึงเวลายื่นภาษี แอนต้องนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งก็คือเอกสารที่ได้รับจากนายจ้างของทั้งสี่โปรเจกต์ มาคำนวณเพื่อหาจำนวนภาษีที่ควรจะเสียจริงทั้งปี ซึ่งแอนมีโอกาสที่ต้องชำระภาษีเพิ่มหากผลจากการคำนวณมียอดสูงกว่าภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปแล้วตลอดทั้งปี และในทางกลับกัน แอนก็มีโอกาสที่จะได้รับเครดิตเงินภาษีคืน หากแอนได้เสียภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งปีแล้วสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้

นับได้ว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือเทคนิคหนึ่งในการลดภาระการเสียภาษีก้อนใหญ่ครั้งเดียวในแต่ละปี ด้วยการทยอยนำส่งให้สรรพากรทันทีที่ได้รับรายได้ เช่น ในกรณีของยุ้ยที่จ่ายภาษีทุกเดือน หรือแอนที่จ่ายภาษีเมื่อได้รับค่าจ้างในแต่ละโปรเจกต์

 

สรุปได้ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ทยอยจ่ายไว้แล้วในระหว่างปีเป็นจำนวนเท่าไหร่นั่นเองครับ

สำหรับบทความด้านภาษีอื่น ๆ สามารถเลือกอ่านได้ที่นี่นะครับ

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่มีชื่อเล่นว่า “ใบ 50 ทวิ” เอกสารสำคัญที่ทุกคนใช้เป็นหลักฐานการยื่นภาษี แต่น้อยคนทีเข้าใจรายละเอียดอย่างถูกต้อง วันนี้มาพูดคุยกันสบาย ๆ กับทุกประเด็นที่น่าสนใจของใบ 50 ทวิกัน

ใบ 50 ทวิ คืออะไร?

  • จริง ๆ ก็เริ่มมาจากหลักการทางภาษีที่พื้นฐานที่สุดเลยก็คือ “เมื่อมีรายได้ ก็ต้องจ่ายภาษี เพียงแต่รัฐมองว่า ลำพังจะรอเก็บภาษีทีเดียวปีละครั้ง ก็อาจจะเป็นภาระก้อนใหญ่เกินไปสำหรับผู้จ่ายภาษีบางคน หรือถ้ามีใครเลี่ยงภาษีขึ้นมา รัฐก็จะเสียสภาพคล่อง
  • รัฐก็เลยให้ผู้ที่มีหน้าที่จ่ายรายได้ให้เขา เป็นตัวแทนของรัฐ ช่วยหักภาษีส่วนนึงจากรายได้ของเขาส่งให้รัฐ ก่อนจะจ่ายที่เหลือให้กับผู้มีสิทธิรับรายได้
  • เราเรียกภาษีที่ถูกหักไปก่อนส่วนนึงนี้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” เพราะไหน ๆ ก็ต้องจ่ายภาษีกันอยู่แล้ว งั้นทยอยจ่ายตั้งแต่ตอนนี้ จะได้ไม่เป็นภาระก้อนใหญ่ทีหลัง รัฐก็ไม่เสียสภาพคล่องด้วย
  • ก็เลยเป็นที่มาของใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย) คือเอกสารที่จะแสดงรายละเอียดให้เห็นว่า มีการหักภาษี ณ ที่ที่จ่ายเงินนำส่งให้รัฐไปก่อนเท่าไหร่ จากที่ต้องจ่ายจริงคือเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
คลิก //finno.me/open-plan

ทำไมใบ 50 ทวิ ถึงสำคัญ?

  • เพราะเป็นตัวชี้ชะตาว่า เมื่อคำนวณรายได้ทั้งปีแล้ว เรามีภาระภาษีที่แท้จริงเท่าไหร่ ได้จ่ายผ่านการถูกหัก ณ ที่จ่ายไปก่อนแล้วเท่าไหร่
  • รัฐจะต้องเรียกให้จ่ายค่าภาษีเพิ่ม กรณีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปนั้นยังน้อยกว่าที่ต้องจ่ายจริง
  • รัฐต้องคืนค่าภาษีให้ กรณีที่ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมากกว่าที่ต้องจ่ายจริง

ใครมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และออกใบ 50 ทวิ? 

  • ผู้รับบทบาทนี้คือผู้ที่มีหน้าที่จ่ายเงินให้เรา
  • กรณีลูกจ้างบริษัท ู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายออกให้ก่อน และออกใบ 50 ทวิให้เราเป็นหลักฐานยื่นภาษี ก็คือนายจ้างของเรา
  • แต่กรณีของพนักงานเงินเดือน จะมีข้อสังเกตว่าค่าภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน จะคำนวณจากการประมาณการรายได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ เท่าที่นายจ้างมีข้อมูล แล้วหารเฉลี่ยเพื่อหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายเดือนไป
  • ดังนั้นถ้าปีไหนที่นายจ้างประเมินแล้วว่า รายได้ของเราทั้งปียังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ก็อาจไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จะยังมีหน้าที่ออกใบ 50 ทวิให้เป็นหลักฐานอยู่เหมือนเดิม
  • นอกจากนี้ในใบ 50 ทวิของพนักงานเงินเดือน จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินสมทบประกันสังคม และเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถ้ามี ระบุเอาไว้ให้ด้วย ซึ่งก็ใช้เป็นหลักฐานการลดหย่อนภาษีด้วยประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไปในตัว
  • กรณีฟรีแลนซ์ที่รับค่าจ้าง ก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแตกต่างกันไปตามเนื้องานแต่ละประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด อย่างค่าจ้างบริการทั่วไป เช่น จ้างรีวิวสินค้า จ้างทำกราฟฟิค ก็จะถูกกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 3% เป็นต้น และถ้ายอดที่จ่ายเป็นจำนวนไม่ถึง 1,000 บาท ก็ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

ความเข้าใจผิดเบื้องต้นของใบ 50 ทวิ

  • แม้ว่าถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ได้ใบ 50 ทวิแล้ว ก็ยังคงมีหน้าที่ในการยื่นภาษีและเสียภาษีตามเกณฑ์ปกติ เพราะการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเพียงการทยอยหักภาษีให้ “เบื้องต้น เท่านั้น
  • ใบ 50 ทวิ เป็นเพียงหลักฐานการหัก ณ ที่จ่าย แต่ไม่ใช่หลักฐานของประเภทเงินได้ จริงอยู่ว่าในมุมของคนที่เค้าจ่ายเงิน และออกใบ 50 ทวิให้เรา จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทเงินได้ของเราประมาณนึง แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ เช่น จ้างงานกันเป็นลักษณะจ้างรับเหมา ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 7 แต่ระบุในใบ 50 ว่าเป็นค่าจ้างทั่วไป ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 2
  • การลงประเภทเงินได้ต่างไปจากเนื้องานจริงเป็นเรื่องใหญ่พอสมควรในทางภาษี เพราะเงินได้ต่างประเภทกันจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน ภาระทางภาษีก็จะไม่เท่ากันด้วย
  • สิ่งที่เราต้องยืนยันกับตัวเองให้ได้คือเงินที่เราได้รับมาเป็นเงินได้จากการทำงานลักษณะตามประเภทอะไร ตอนยื่นภาษีประจำปีก็จะได้ยื่นตามนั้นให้ถูกต้อง
  • ถ้าให้ดีที่สุดก็ควรพูดคุยกับนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างให้เข้าใจตรงกัน ว่าเงินที่จ่ายเป็นเงินได้ประเภทอะไร จะได้ลงข้อมูลในใบ 50 ให้ถูกต้องตรงกัน

เราควรจะได้รับใบ 50 ทวิเมื่อไร?

  • จะมี deadline ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้อยู่แล้วว่าฝั่งผู้จ่ายเงินจะต้องรีบออกใบ 50 ทวิให้ผู้รับเงินภายในเมื่อไหร่
  • กรณีพนักงานเงินเดือน นายจ้างจะมีหน้าที่ออกใบ 50 ทวิให้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีรับเงินได้
  • กรณีฟรีแลนซ์ ผู้ว้าจ้างมีหน้าที่ออกใบ 50 ทวิให้ทันทีที่ได้จ่ายเงิน

ทำใบ 50 ทวิหาย จะทำยังไง จะยื่นภาษีไม่ได้ใช่มั้ย

  • ไม่เป็นไร ถ้าทำหาย ติดต่อผู้จ่ายเงินให้ออกให้ใหม่ได้
  • ถ้าตอนยื่นภาษีไม่มีใบ 50 ทวิตัวจริง แต่ได้บันทึกเป็นภาพถ่ายเก็บเอาไว้ มั่นใจว่ามีข้อมูลเงินได้เป็นตัวเลขที่ถูกต้อง ก็สามารถกรอกยื่นภาษีไปก่อนได้
  • แต่เมื่อตามเอกสารตัวจริงมาได้แล้ว ทีนี้ให้เก็บเอาไว้ให้ดี เผื่อว่ามีประเด็นทางภาษีอะไรในอนาคต จะได้ไม่ต้องตามหาเอกสารใหม่ให้ลำบาก

ถ้าได้รับเงินมา แบบที่ไม่มีใบ 50 ทวิให้ แบบนี้ก็ไม่ต้องยื่นภาษีใช่มั้ย

  • ไม่ใช่ เพราะใบ 50 ทวิเป็นเพียงหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ไม่ใช่หนังสือรับรองเงินได้ ดังนั้นถ้าเรามีเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ก็ต้องยื่นภาษีเสมอ
  • ส่วนหลักฐาน ก็อาจอ้างอิงสัญญาจ้างงาน หรือ Statement บัญชีธนาคารที่รับเงินได้ก็ยังได
  • หากเราหนีภาษี จะมีสิทธิลุ้นรับโทษทางภาษีก้อนใหญ่ ย้อนหลังได้สูงสุดถึง 10 ปี

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
คลิก //finno.me/open-plan

ผู้เขียน

FINNOMENA CHANNEL

FINNOMENA CHANNEL อีกหนึ่งช่องทางความรู้ทางการเงิน และการลงทุน จาก FINNOMENA ในรูปแบบ Video Content

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นไหม

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เป็นเอกสารสำคัญที่คนมีรายได้ทุกคนจะต้องใช้เพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภ.ง.ด. 91/90) เมื่อคุณได้รับใบรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากที่ทำงาน ก็ให้นำข้อมูลในเอกสารดังกล่าวมาใช้ใน คำนวณภาษี และกรอกยื่นแบบภาษีต่อไป

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีกี่ฉบับ

ผู้จ่ายเงินจะต้องจัดทำเอกสาร หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้รับเงินเป็นจำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 จะมีข้อความกำกับบนหัวเอกสารว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมแสดงรายการ” และฉบับที่ 2 จะมีข้อความกำกับบนหัวเอกสารว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน”

หัก ณ ที่จ่าย ออกตอนไหน

โดยปกติหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายควรออกให้แก่พนักงานภายในวันที่ 15 ก.พ. ของปีถัดจากปีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย หรือในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากงานระหว่างปี เอกสาร 50 ทวิควรถูกออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษีภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกหักออกจากงาน ในกรณีเป็นเงินได้อื่นๆ นอกจากเงินค่าจ้างเช่น ค่าเช่า ค่า ...

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ขอจากไหน

ภาษี 7 June, 2563. 156,955 VIEWS. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เป็นหลักฐานที่ผู้มีเงินได้จะได้รับจากผู้ที่จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าบริการให้ ดังนั้น หากต้องการใช้ใบ 50 ทวิ ต้องติดต่อขอรับจากผู้ที่จ่ายเงินค่าจ้าง/ค่าบริการให้คุณโดยตรงเท่านั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง