วงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบาง

A   =  แอมแปร์ (หน่วยของกระแสไฟฟ้า)
V   =  โวลต์ (หน่วยของความต่างศักย์)
W   =  วัตต์ (หน่วยของกำลัง)
W =  โอห์ม (หน่วยของความต้านทาน)
H    =  เฮนรี่ (หน่วยของความเหนี่ยวนำ)
F   =  ฟารัด (หน่วยของความจุ)
Hz =  เฮิรตซ์
คำนำหน้าเพื่อบ่งถึงเศษส่วนหรือตัวคูณของหน่วย
p   =  พิโก  (หนึ่งส่วนล้านล้าน)
n  =  นาโน (หนึ่งส่วนพันล้าน)
u   =  ไมโคร (หนึ่งส่วนล้าน)
m   = มิลลิ (หนึ่งส่วนพัน)
k   =  กิโล (หนึ่งพัน)
M   =  เมกะ  (หนึ่งล้าน)
G   =  จิกะ (หนึ่งพันล้าน) แบตเตอรี่
ตัวต้านทาน
โพเทนชิออมิเตอร์
ตัวเหนี่ยวนำ
หม้อแปลง
ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุปรับล่วงหน้า
ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลต์
ไดโอด
ไดโอดเปล่งแสง
ทรานซิสเตอร์ชนิด 2 ขั้ว
ทรานซิสเตอร์ชนิดฟิลด์เอฟเฟกต์

     อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) หมายถึง การควบคุมหรือออกแบบการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบของวงจร ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า

        ตัวต้านทาน (Resistor)

                ตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีสมบัติในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

                1) ตัวต้านทานคงที่ Fixed Value Resistor เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานของการไหลของกระแสไฟฟ้าคงที่ สามารถอ่านค่าความต้านทานได้จากแถบสีที่คาดอยู่บนตัวความต้านทาน มีหน่วยเป็นโอห์ม Ω

                สัญลักษณ์ในวงจรคือ   

                2) ตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ Variable Value Resistor เป็นตัวต้านทานที่เมื่อหมุนแกนของตัวต้านทาน แล้วค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงไป นิยมใช้ในการควบคุมค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเพิ่ม – ลดเสียงในวิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นต้น

                สัญลักษณ์ในวงจรคือ   

                3) ตัวต้านทานไวแสง หรือ แอลดีอาร์ ; LDR ย่อมาจาก Light Dependent Resistor เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้ โดยค่าความต้านทาน ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงที่ตกกระทบ ถ้าแสงที่ตกกระทบมีปริมาณมาก LDR จะมีค่าความต้านทานต่ำ

                สัญลักษณ์ในวงจรคือ   

                4) ตัวต้านทานไวความร้อน (Thermistor) เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ใช้เป็นอุปกรณ์ในเครื่องเตือนอัคคีภัย ตู้อบอาหาร

                 สัญลักษณ์ในวงจรคือ

 

         การอ่านค่า

    

           ตัวเก็บประจุ (Capacitor)

                ตัวเก็บประจุ (Capacitor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่สะสมประจุไฟฟ้า หรือคายประจุไฟฟ้าให้กับวงจร หรืออุปกรณ์อื่นๆ

                ตัวเก็บประจุโดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 แบบ ตามฉนวนที่ใช้ ได้แก่

                1) ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก (Ceramic Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้เซรามิกกั้นระหว่างแผ่นตัวนำไฟฟ้า จะต่อขาใดเข้ากับขั้วบวกหรือขั้วลบก็ได้ ส่วนใหญ่ใช้กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ50 - 20000 โวลต์

                2) ตัวเก็บประจุชนิดน้ำยา (Electrolyte Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์กั้น และมีฉนวนบางๆของสารประกอบออกไซด์ เกาะอยู่บนแผ่นอลูมิเนียมบางๆ เป็นตัวเก็บประจุชนิดมีขั้ว เมื่อนำไปต่อกับวงจร ต้องต่อขั้วให้ถูกต้อง

                3) ตัวเก็บประจุชนิดไมลาร์ (Mylar Capacitor) มีความทนทานสูง ทนต่อน้ำและความชื้น และค่าความจุไม่เปลี่ยนค่าตามสภาพความชื้น

                              สัญลักษณ์ในวงจรของตัวเก็บประจุคือ      
               

          หรือ                     

                                               

วงจรตัวเก็บประจุ (Capaciter Circuit)

                วงจรตัวเก็บประจุ คือการต่อตัวเก็บประจุแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเก็บประจุได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเก็บประจุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกันไปดังนี้

                วงจรตัวเก็บประจุแบบอนุกรม เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ มีผลให้ฉนวนของตัวเก็บประจุมีความหนามากขึ้น  แผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่นหัวท้ายของตัวเก็บประจุรวมห่างกัน  มีผลให้ค่าความจุรวมของตัวเก็บประจุลดลง

                วงจรตัวเก็บประจุแบบขนาน เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อร่วมกัน 2 จุด             การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ เป็นการเพิ่มพื้นที่ของแผ่นโลหะตัวนำในตัวเก็บประจุรวมทำให้ค่าความจุของตัวเก็บประจุรวมเพิ่มขึ้น

                วงจรตัวเก็บประจุแบบผสม เป็นการต่อตัวเก็บประจุร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเก็บประจุแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ

ค่าความจุของตัวเก็บประจุจะมีหน่วยเป็น

ฟารัด ( Farad ) ใช้ตัวอักษรย่อคือ F แต่ตัวเก็บประจุที่ใช้กันทั่วไปมักมี

หน่วยเป็นไมโครฟารัด ( µ F ) ซึ่ง 1 F มีค่าเท่ากับ 10 6 µ F

            ไดโอด (Diode)

    ไดโอด (Diode)  เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ทางเดียว ทำจากสารกึ่งตัวนำ แบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้

                1) ไดโอดธรรมดา (Normal Diode) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลทางเดียว ทำจากสารกึ่งตัวนำมีขั้วคือ ขั้วแอโนด และแคโทด

 

 สัญลักษณ์ในวงจรคือ      

                2) ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode; LED) สามารถเปล่งแสงออกมาได้ เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นพลังงานแสง แสงที่เปล่งออกมามีหลายสี ขึ้นกับชนิดของสารกึ่งตัวนำที่ผลิต

                        

   สัญลักษณ์ในวงจรคือ         

ประโยชน์ของไดโอด

ประโยชน์ของไดโอด

        1)ไดโอดธรรมดา ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปทิศทางเดียว หากต่อวงจรผิด กระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลได้ จึงช่วยป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ให้ถูกทำลายจากกระแสไฟฟ้า

        2)ไดโอดเปล่งแสง ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่มีตัวเลขและตัวหนังสือเรืองแสง เช่น วิทยุเทป หน้าปัดนาฬิกา เครื่องคิดเลข จอคอมพิวเตอร์

         วงจรไดโอด

การต่อไดโอด

            ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว ถ้าต่อไดโอดกลับทางกระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลได

 

วงจรของไดโอดเปล่งแสง

                    ไดโอดเปล่งแสง (LED) จะเปล่งแสงออกมาเมื่อมีความต่างศักย์ไฟฟ้าที่สูงกว่า 2 โวลต์ แต่ไม่เกิน 6 โวลต์ เพราะถ้าต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้าที่สูงกว่า 6 โวลต์ ไดโอดเปล่งแสงจะเสียหาย ดังนั้นในวงจรจะต้องต่อตัวต้านทานไวด้วย เพื่อป้องกันไดโอดเสียหาย

        ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

                ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์แต่ละชนิดจะมี 3 ขา ได้แก่

                            1. ขาเบส ( Base : B )

                            2. ขาอิมิตเตอร์ ( Emitter : E )

                            3. ขาคอลเล็กเตอร์ ( Collector : C )

                หากแบ่งประเภทของทรานซิสเตอร์ตามโครงสร้างของสารที่นำมาใช้จะแบ่งได้ 2 แบบ คือ

                            1) ทรานซิสเตอร์ชนิด พีเอ็นพี ( PNP ) เป็นทรานซิสเตอร์ที่จ่ายไฟเข้าที่ขาเบสให้มีความต่างศักย์ต่ำกว่าขาอิมิตเตอร ์

         สัญลักษณ์ในวงจรคือ              

                            2) ทรานซิสเตอร์ชนิด เอ็นพีเอ็น ( NPN ) เป็นทรานซิสเตอร์ที่จ่ายไฟเข้าที่ขาเบสให้มีความต่างศักย์สูงกว่าขาอิมิตเตอร์

 ประโยชน์ของทรานซิสเตอร์

               1) เป็นวงจรขยายในเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์

               2) เป็นสวิตซ์ปิด-เปิด ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า (โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านหรือไม่ผ่านเข้าขาเบส)

วงจรทรานซิสเตอร์

                ทรานซิสเตอร์จะทำงานได้ต้องจ่ายไฟให้ที่ขาเบส (B) ซึ่งเป็นขาที่มีหน้าที่ในการควบคุมกระแสไฟฟ้าที่จะไหลจากขาคอลเลกเตอร์(C) ไปสู่ขาอิมิตเตอร์(E)

หากให้กระแสไหลที่ขาเบสมาก จะทำให้กระแสไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์มาก

ถ้าให้กระแสไหลที่ขาเบสน้อย กระแสที่จะไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์น้อย

                ด้วยหลักการทำงานของทรานซิสเตอร์นี้ กสามารถนำทรานซิสเตอร์ไปประกอบในวงจรต่างๆ ได้มากโดยเฉพาะในวงจร ที่ต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร

            

ซิลิคอนชิป (Silicon Chip)

                        ไอซี หรือซิลิคอนชิป  เป็นแผงวงจรรวมที่นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ มาใส่ไว้ด้วยกันในแผงวงจรขนาดเล็ก  ผลิตโดยการลดขนาดของทรานซิสเตอร์ให้มีขนาดเล็กลงมากจนเหลือเพียงจุดเล็กๆเท่านั้น แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าทรานซิสเตอร์

ประโยชน์ของซิลิคอนชิป

                    1) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล เช่น บัตรถอนเงิน (ATM) บัตรโทรทัศท์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

                    2) ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลและสั่งงาน ซิลิคอนชิปประเภทนี้จะถูกบรรจุในวงจรของเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่มีปุ่ม หรือโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่น เครื่องซักผ้าอัตโนมัติ เครื่องเล่นซีดี ไมโครเวฟ หรือในการแพทย์ ได้นำซิลิคอนชิปประเภทนี้บรรจุในเครื่องกระตุ้นหัวใจเทียม เพื่อไปกระตุ้นหัวใจผู้ป่วยให้มีอัตราการเต้นของหัวใจคงที่

                    3) ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลและประมวลผล ซิลิคอนชิปประเภทนี้ช่วยในการเก็บข้อมูล และเรียกดูข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น

การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์

        การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์

       ในการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เราควรจะเข้าใจการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ มากขึ้น และสามารถนำมาพัฒนาคุณภาพของอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรศึกษา ได้แก่

1. การต่อวงจรตัวต้านทาน ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์การต่อตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ต้องต่อวงจรแบบอนุกรม เพราะตัวต้านทานชนิดนี้สามามารถควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ให้ไหลมากหรือน้อยตามต้องการได้

รูปแสดงการต่อวงจรตัวต้านทาน

2. การต่อวงจรไดโอดเปล่งแสง การต่อไดโอดเปล่งแสงในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะต้องต่อตัวต้านทานไว้ในวงจรด้วย เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเล็กน้อยก็ทำให้ไดโอดเปล่งแสงทำงานได้ ดังนั้นจึงต้องต่อตัวต้านทานไว้ในวงจรด้วยเพื่อลดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไดโอดในปริมาณที่พอเหมาะ

รูปแสดงการต่อไดโอดเปล่งแปลง

3. การต่อวงจรทรานซิสเตอร์ การที่จะทำให้ทรานซิสเตอร์ ทำงานได้ต้องจ่ายไฟให้ที่ขาเบส (B) ซึ่งเป็นขาที่มีหน้าที่ในการควบคุมกระแสไฟฟ้าที่จะไหลจากขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์ กล่าวคือหากให้กระแสไหลที่ขาเบสมาก จะทำให้กระแสไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์มาก แต่ถ้าให้กระแสไหลที่ขาเบสน้อย กระแสที่จะไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์น้อยลงไปด้วย ดังนั้นด้วยหลักการทำงานของทรานซิสเตอร์นี้ ก็จะสามารถนำทรานซิสเตอร์ไปประกอบในวงจรต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะในวงจรที่ต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร

รูปแสดงทรานซิสเตอร์

การประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ต้องรู้จักเครื่องมือที่จะใช้เป็นอย่างดีและรู้วิธีการบัดกรี เช่น การใช้หัวแร้ง การใช้ตะกั่วบัดกรี ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการบัดกรีด้วยเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดในการต่อวงจร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง