Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ต.ค. 2565

| 152,359 view

การวิเคราะห์ SWOT หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภท

 

ความหมาย SWOT

จุดแข็ง (Strengths) : จุดเด่นหรือจุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ) เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน และข้อได้เปรียบด้านการผลิต และด้านทรัพยากรบุคคล โดยบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด  

จุดอ่อน (Weaknesses) : จุดด้อยหรือจุดอ่อน ข้อเสียเปรียบเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทาง การบริการที่ไม่แน่นอน หรือบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท  

โอกาส (Opportunities) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ โดยการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น  

อุปสรรค (Threats) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง และพยายามขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้  

การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน

การวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในบริษัททุก ๆ ด้านเพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย

การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก

ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค การดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ

การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) การประกอบธุรกิจในฟินแลนด์

จุดแข็ง

1. การจัดตั้งบริษัทง่ายและกฎระเบียบไม่ซับซ้อน

2. รัฐมีระบบการสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับการเริ่มประกอบธุรกิจ

3. การประกอบธุรกิจมีความชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้

จุดอ่อน

1. ผู้ประกอบการควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา และพฤติกรรมการบริโภคของชาวฟินแลนด์

2. ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายแรงงานของฟินแลนด์ 

3. มีกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างที่นายจ้างจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เช่น การทำประกันสังคมและ ประกันสุขภาพ รวมถึงประกันอุบัติเหตุจากการจ้างงานซึ่งทำให้มีต้นทุนสูงในการประกอบธุรกิจ

โอกาส

1. การประกอบธุรกิจที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยจะดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า เนื่องจากชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจประเทศไทยเป็นอย่างมาก

2. ธุรกิจสามารถเติบโต สร้างความมั่นคง และสร้างเงินหมุนเวียนได้

3. ชาวฟินแลนด์มีรายได้ดี และกำลังซื้อสูง

4. การเลือกประกอบธุรกิจในทำเลที่ดีจะสามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้สูงและมีลูกค้าประจำ

อุปสรรค

1. ชาวฟินแลนด์มีความรอบคอบในการเลือกที่จะบริโภคสินค้าราคาถูกที่มีปริมาณมาก

2. ชาวฟินแลนด์ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การสื่อสาร เป็นสิ่งที่ชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจมากกว่า

3. พื้นที่เช่าในทำเลย่านธุรกิจมีการแข่งขันสูงทำให้หาพื้นที่ทีมีศักยภาพดียากขึ้น หรืออาจหาได้ในราคาที่สูงเกินไป

4. ผู้ประกอบการควรต้องรู้ภาษาท้องถิ่น แม้ว่าชาวฟินแลนด์มากกว่าร้อยละ 85 สามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่ก็คาดหวังที่จะได้รับการบริการและการสื่อสารในภาษาท้องถิ่น

SWOT Analysis คือ เครื่องมือวิเคราะห์แผนธุรกิจที่อยู่คู่หลักการบริหารธุรกิจมาอย่างยาวนาน เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ ในบทความนี้ Good Material จะมาเล่าถึง SWOT ว่ามีประโยชน์อย่างไร อะไรคือข้อจำกัด มีหลักการเขียนและวิธีการนำไปใช้อย่างไรเพื่อให้ธุรกิจของคุณได้ประโยชน์สูงสุดครับ

  • SWOT คือ
  • ประวัติและวิวัฒนาการของ SWOT
  • ประโยชน์ของ SWOT Analysis
  • ข้อจำกัดของ SWOT Analysis
  • เมื่อไหร่ควรใช้ SWOT Analysis
  • การสร้าง SWOT Analysis
    • เคล็ดลับเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT
    • คำแนะนำก่อนเริ่มวิเคราะห์ SWOT
  • ขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ SWOT แต่ละปัจจัย
    • Strengths : จุดแข็ง
    • Weaknesses : จุดอ่อน
    • Opportunities : โอกาส
    • Threats : อุปสรรค/ภัยคุกคาม
  • ตัวอย่าง SWOT ในการวิเคราะห์กิจการ
  • สรุป

SWOT คือ

SWOT Analysis คือ ตัวอักษร 4 ตัวที่มาจากภาษาอังกฤษ 4 คำ ประกอบด้วย Strengths , Weaknesses , Opportunities และ Threats

  • Strengths = จุดแข็ง , Weaknesses = จุดอ่อน : เป็นสิ่งที่อยู่ภายในบริษัทของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในทีม จำนวนสิทธิบัตร จำนวนเทคโนโลยีหรือทรัพย์สินทางปัญญา
  • Opportunities = โอกาส , Threats = อุปสรรคหรือภัยคุกคาม : เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกบริษัท ถือเป็นปัจจัยภายนอก โดยคุณสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาส และสามารถป้องกันตัวจากภัยคุกคามนี้ได้ แต่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ ตัวอย่างเช่น นโยบายภาครัฐ คู่แข่ง ราคาวัตถุดิบ และแนวโน้มการจับจ่ายของลูกค้า

ประวัติและวิวัฒนาการของ SWOT

ประวัติของ SWOT นั้นค่อนข้างจะคลุมเครือมีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน 

ช่วงปี 1960 ถึง 1970 (ช่วงปี พ.ศ.2503) : ในโครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด Albert Humphrey ได้พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประเมินแผนกลยุทธ์ และค้นหาสาเหตุที่การวางแผนขององค์กรในยุคนั้นมักจะล้มเหลว โดยเขาได้บัญญัติเทคนิกการวิเคราะห์ที่ชื่อว่า SOFT โดยที่

  • S  = Stood : หมายถึงการยืนหยัดในสิ่งที่พอใจในปัจจุบัน
  • O = Opportunities : หมายถึงโอกาสในการไขว่คว้าสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
  • F  = Faults : หมายถึงความผิดพลาดในปัจจุบัน
  • T  = Threats : ภัยคุกคามที่มีโอกาสเกิดขึ้น

คุณ Albert Humphrey รูปภาพจาก wikipedia.org

ปี ค.ศ. 1964 หรือ  (พ.ศ. 2507) : มีการกล่าวถึงคำว่า SWOT ครั้งแรกในงานสัมมนาที่ชื่อว่า Long Range Planning จัดขึ้นที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในงานนั้น Urick and Orr ได้เสนอแนวคิดการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งได้มาจาก SOFT โดยมีการปรับเปลี่ยน แทนที่ F ที่มาจากความผิดพลาด เป็น W : Weaknesses ที่หมายถึงจุดอ่อน หลังการโปรโมทครั้งแรกแที่ประเทศอังกฤษ แนวคิดนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ช่วงปี 1982  หรือ (พ.ศ. 2525) : ได้มีอีกพัฒนาการที่สำคัญของประวัติศาสตร์การวิเคราะห์ SWOT คือ การพัฒนาเมทริกซ์โดยบุคคลที่ชื่อว่า Dr.Heinz Weihrich  ได้เสนอให้ใช้เมทริกซ์ 2×2 ในการวิเคราะห์ SWOT โดยเมทริกซ์นี้ได้รับความนิยมในตอนแรกว่า TOWS Matrix

ช่วงหลังทศวรรษ 1980 : SWOT ได้รับความสนใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและเป็นส่วนสำคัญของกลไลการวางแผนเชิงกลยุทธ์ หากคุณศึกษาประวัติของเครื่องมือหรือแนวคิดการจัดการ จะมีแนวคิดที่คล้ายกันอยู่เป็นจำนวนมากในงานวิจัยต่างๆ แต่มีเพียงไม่กี่เครื่องมือที่เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน จากประวัติศาสตร์จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า SWOT Analysis เป็นหนึ่งในเครื่องมือวางแผนกลยุทธ์ที่ดีที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด

ประโยชน์ของ SWOT Analysis

ประโยชน์ของ SWOT Analysis คือ คุณไม่มีต้นทุนในการใช้งานเลย หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่เข้าใจธุรกิจก็สามารถทำการวิเคราะห์ SWOT ได้ และคุณเองยังสามารถนำ SWOT ไปใช้วิเคราะห์คู่แข่งของคุณเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจและการแข่งขันอีกด้วย

ข้อดีอีกอย่างของ SWOT คือ การมุ่งเน้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อธุรกิจของคุณ ดังนี้ :

  • เข้าใจธุรกิจของคุณดีขึ้น
  • สามารถเข้าใจจุดอ่อน แล้วแก้ไขจุดอ่อนได้ทันเวลา
  • สามารถยับยั้งภัยคุกคามหรือป้องกันล่วงหน้าได้
  • รับรู้และใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง เพื่อเสริมสร้างโอกาสได้มากขึ้น
  • นำสิ่งที่วิเคราะห์จาก SWOT ไปพัฒนากลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

ข้อจำกัดของ SWOT Analysis

เมื่อคุณได้ทำการวิเคราะห์ SWOT ควรจำไว้ว่านี่เป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนของการวิเคราะห์แผนธุรกิจเท่านั้น สำหรับปัญหาที่ซับซ้อน คุณต้องทำการวิจัยและวิเคราะห์ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้นไปอีก

อีกประเด็นหนึ่งสำหรับข้อจำกัดของ SWOT Analysis คือ เครื่องมือนี้ครอบคลุมเฉพาะประเด็นที่ถือได้ว่าเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรือ ภัยคุกคามเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดการกับปัจจัยที่มีความคลุมเครือหรือเป็นทั้งสองปัจจัยในเรื่องเดียวกัน เช่น ปัจจัยที่เป็นทั้งจุดแข็งพร้อมๆกับจุดอ่อน (ตัวอย่างเช่น คุณเปิดร้านอาหารที่อยู่ในทำเลที่ดีมากเป็นจุดแข็งด้านทำเล แต่ค่าเช่าสถานที่ต่อเดือนสูงมาก ซึ่งอาจจะเป็นจุดอ่อนด้านต้นทุน)

และนี่คือข้อจำกัดของการวิเคราะห์ด้วย SWOT :

  • ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  • ไม่มีทางแก้ปัญหาหรือเสนอทางเลือกในการตัดสินใจ
  • อาจสร้างแนวคิดได้มากเกินไป แต่ไม่ได้ช่วยให้คุณเลือกแนวคิดที่ดีที่สุด
  • สามารถสร้างข้อมูลได้มาก แต่อาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ทั้งหมด

เมื่อไหร่ควรใช้ SWOT Analysis

การวิเคราะห์ SWOT อย่างละเอียดช่วยให้คุณสามารถระบุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก แผนภาพและผลการวิเคราะห์จะมีประโยชน์มากขึ้นเมื่อคุณนำสิ่งที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ก่อนที่จะเริ่มควรมีคำถามที่ชัดเจน การถามคำถามอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาและอิงกับสถานการณ์ปัจจุบัน จะช่วยให้คุณค้นพบจุดอ่อนในแผนการ แผนงบประมาณ หรือเป้าหมาย คุณอาจจะใช้เครื่องมืออย่าง “5 Whys” เพื่อช่วยในการหาปัญหาที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น SWOT Analysis จะมีประโยชน์มากในช่วงเริ่มต้นของโครงการหรือเมื่อทีมของคุณประสบปัญหา

นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่คุณสามารถใช้ SWOT เพื่อแก้ไขปัญหา

  • การขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ : การขยายตลาดมีหลายสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็น การที่คุณประสบความสำเร็จในประเทศและต้องการขยายไปต่างประเทศ หรือ คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจออฟไลน์และต้องการขยายเข้าสู่ออนไลน์ คุณจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะใช้มี จุดแข็ง จุดอ่อน อะไรบ้าง รวมถึงโอกาสในการขยายตัวมีอะไรบ้าง ถ้าคุณเห็นตลาดดูสดใสงดงาม (Blue Ocean) แต่ภัยคุกคามของคู่แข่งรายใหม่หรือกฎระเบียนอาจจะยังไม่ชัดเจน คุณจะต้องตรวจสอบเชิงลึกมากขึ้น
  • แนวคิดทางธุรกิจใหม่ : การกระโจนเข้าสู่ธุรกิจที่คุณไม่รู้จักไม่คุ้นเคย อาจจะทำให้มิติในการประเมินธุรกิจใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก การวิเคราะห์ SWOT สามารถช่วยการจัดระเบียบความคิดของคุณ และทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต
  • โอกาสในการลงทุน : การลงทุนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเครื่องจักรใหม่ การลงทุนซื้อกิจการ หรือซื้อโปรแกรมใหม่สำหรับบริษัท การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการได้มา ช่วยป้องกันการซื้อที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ การแสดงแผนภาพ SWOT ในการพิจารณาสิ่งต่างๆจะช่วยให้คุณมองเห็นตัวเลือกที่เหมาะสม
  • การหาหุ้นส่วนที่มีศักยภาพ : SWOT Analysis เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการตรวจสอบความเข้ากันได้ส่วนบุคคล หากคุณกำลังคิดที่จะร่วมทีมทำธุรกิจ Start Up หรือรวมตัวทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละคนว่าจะเข้ามาส่งเสริมกันหรือขัดแย้งกัน หรือแม้แต่บุคคลที่เข้ามาอาจจะเป็นอุปสรรคไม่ใช่โอกาส การวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนจะช่วยในการเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับคุณมากยิ่งขึ้น

การสร้าง SWOT Analysis

เคล็ดลับเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT

แผนภาพ SWOT มักจะมีความตรงไปตรงมา แต่ขั้นตอนการกรอกข้อมูลอาจจะไม่ง่ายนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากเมทตริกซ์ที่คุณสร้าง ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ

  • โปรดจำไว้ว่าการวิเคราะห์ SWOT คือ การประเมินปัจจุบันไม่ใช่อดีตหรืออนาคต ในขณะที่ 4 มิติของการวิเคราะห์ช่วยให้คุณคิดถึงความเป็นไปได้ และอย่าลืมระบุทุกรายละเอียดตามความเป็นจริง อย่าเข้าข้างตัวเองมากเกินไป!
  • ใช้การวิเคราะห์ SWOT เพื่อเป็นแนวแทาง อย่านำมาเป็นกฎชี้เป็นชี้ตาย เพราะแต่ละปัจจัยสามารถถกเถียงกันได้ไม่รู้จบ ที่สำคัญคือการทำให้ทีมของคุณมีความเป็นปึกแผ่น และวิเคราะห์เพื่อให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าอย่างมีจุดหมายด้วยกัน

คำแนะนำก่อนเริ่มวิเคราะห์ SWOT

1.รวบรวมคนที่เหมาะสม

ก่อนอื่นคุณควรรวบรวมคนจากส่วนต่างๆในบริษัท และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีตัวแทนจากทุกแผนกที่เกี่ยวข้องหรืออาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง จะช่วยให้คุณได้มุมมองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ SWOT ให้ประสบความสำเร็จ

2.โยนความคิดของคุณออกไป

การวิเคราะห์ SWOT คล้ายกับการประชุมระดมความคิด หนึ่งในวิธีที่แนะนำคือ ให้แต่ละคนใช้กระดาษโน๊ตหรือ Post it เขียนไอเดียของตัวเองอย่างเงียบๆ ไม่จำเป็นต้องระบุว่ากระดาษแผ่นนั้นเป็นของใคร ซึงจะป้องกันการรวมกลุ่มคิด ป้องกันการกลัวที่จะคิดผิดของพนักงานที่ตำแหน่งต่ำกว่า จะทำให้คุณเห็นถึงเสียงทั้งหมดอย่างแท้จริง

หลังจากทุกคนคิดและเขียนไอเดียของตนเองเสร็จแล้วอาจใช้เวลา 5 ถึง 10 นาที รวบรวมกระดาษโน๊ตทั้งหมดมาติดไว้ที่ผนังและจัดกลุ่มของความคิดที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน

3.จัดลำดับความคิด

เมื่อคุณรวมกลุ่มของความคิดทั้งหมดเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะจัดลำดับความคิด วิธีการอาจจะทำโดยการให้ทุกคนมีคะแนนของตนเอง และลงคะแนนโหวตกับหัวข้อที่ตนเองคิดว่ามีความสำคัญจากประเด็นต่างๆ

หลังจากการโหวตคุณจะมีรายการแนวคิดที่ถูกจัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปถกเถียงและสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไป

ขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ SWOT แต่ละปัจจัย

ขั้นตอนแรกคือ การวาดเมทริกซ์สำหรับการวิเคราะห์ SWOT ส่วนมากจะวาดเป็นตารางขนาด 2×2 จะแบ่งออกมาได้ 4 ช่องด้วยกัน หนึ่งช่องสำหรับแต่ละด้านของ SWOT เขียนระบุลงไปให้ครบทั้ง 4 ด้าน (ตามรูปที่เราได้ยกตัวอย่างด้านบนครับ)

หลังจากนั้นเรามาเริ่มลงรายละเอียดแต่ละปัจจัยของธุรกิจกันเลยครับ

Strengths : จุดแข็ง

จุดแข็งคือสิ่งที่องค์กรของคุณทำได้ดีเป็นพิเศษหรือข้อได้เปรียบที่ทำให้คุณแตกต่าง นึกถึงข้อดีที่องค์กรคุณมีเหนือองค์กรอื่น สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเทคโนโลยี แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ข้อได้เปรียบในการเข้าถึงวัสดุบางอย่าง หรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มส่วนของข้อดีข้อได้เปรียบที่คิดได้ลงในส่วนของจุดแข็ง

จากนั้นลองเปลี่ยนมุมมองของคุณดูบ้าง ลองคิดในมุมของคู่แข่งว่าอะไรเป็นจุดแข็ง และอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน จะช่วยให้คุณได้มุมมองที่แตกต่างขึ้น

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์จุดแข็ง

  • คุณมีข้อได้เปรียบอะไรบ้างในการแข่งขัน
  • คุณมีทรัพย์สินอะไรบ้าง เช่น เทคโนโลยี การเงินที่แข็งแรง หรือ สิทธิบัตร
  • คุณมีทรัพยากรใดบ้างในทีมของคุณ เช่น บุคคลที่มีความรู้เฉพาะทาง บุคคลที่มีชื่อเสียง
  • กระบวนการทางธุรกิจใดบ้างที่ประสบความสำเร็จ

Weaknesses : จุดอ่อน

มาถึงขั้นตอนนี้คือ การพิจารณาจุดอ่อนขององค์กรอย่าง ซื่อสัตย์! การวิเคราะห์ SWOT จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อคุณรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่คุณต้องการ ดังนี้จงเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่คุณไม่พึงประสงค์โดยเร็วที่สุด

การพิจารณาจุดอ่อนก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ จุดแข็ง คือเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกองค์กรซึ่งควรมุ่งเน้นไปที่ระบบทรัพยากรบุคคล ระบบการทำงาน และประสิทธิภาพของเครื่องจักร คิดถึงสิ่งที่คุณสามารถปรับปรุงได้ และแนวทางปฎิบัติที่ควรหลีกเลี่ยง

ลองคิดในมุมของลูกค้า คู่แข่งหรือคนอื่นๆ ว่าเขาเห็นคุณเป็นอย่างไร  พวกเขาเห็นอะไรที่คุณมองไม่เห็นหรือไม่ หรืออาจจะใช้เวลาตรวจสอบคู่แข่งของคุณว่าเขาทำได้ดีกว่าในเรื่องใดบ้าง ทำไม อย่างไร และคุณขาดอะไร

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์จุดอ่อน

    • กระบวนการใดบ้างในธุรกิจที่คุณต้องปรับปรุง
    • ทรัพย์สินใดบ้างที่ธุรกิจคุณต้องการเพิ่ม เช่น เครื่องจักรใหม่ หรือ เงินสดสำรอง
    • สถานที่ทำงาน โรงงาน ของคุณเหมาะสำหรับความสำเร็จหรือไม่
    • ทักษะหรือทรัพยากรบุคคลใดบ้างที่ทำให้ธุรกิจไม่เติบโต

Opportunities : โอกาส

โอกาสคือช่องว่างบางอย่างที่เกิดขึ้นและสามารถส่งผลเชิงบวกกับองค์กรของคุณ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณต้องเป็นผู้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสนั้นด้วยตนเอง

โอกาสมักจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภายนอกองค์กรของคุณ ซึ่งคุณจะต้องคอยจับตาสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในโซเชียลมีเดียและเทรนด์แนวโน้มของอนาคต ในมุมของโซเชียลมีเดียอาจจะเป็นกระแสบางอย่างหรือคลิปไวรัลของเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ช่วยนำเสนอแบรนด์ของคุณออกไป มุมของโอกาสในอนาคตเกิดจากการพัฒนาตลาดที่คุณให้บริการหรือในเทคโนโลยีที่คุณใช้ หรือเทคโนโลยีที่คุณสามารถผลิตได้ ความสามารถในการมองเห็นและใช้ประโยชน์จากโอกาส สามารถสร้างความแตกต่างกับการแข่งขันและช่วยให้คุณเป็นผู้นำในตลาดของคุณ

คิดถึงโอกาสดีๆที่คุณสามารถมองเห็นได้ สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่หวังจะเปลี่ยนองค์กรคุณจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะการมองเห็นโอกาสและสร้างข้อได้เปรียบเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเพิ่มความสามารถในการแข็งขันของคุณได้ คุณควรตรวจสอบแนวโน้มของตลาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาโอกาสไม่ว่าเล็กหรือใหญ่

นอกจากนี้ นโยบายภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิตล้วนสามารถทำให้เกิดโอกาสที่น่าสนใจได้ทั้งสิ้น

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์โอกาส

      • ตลาดของคุณกำลังเติบโตและมีแนวโน้มจะกระตุ้นผู้คนให้ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณมากขึ้นหรือไม่
      • นโยบายของรัฐบาล หรือ นโยบายต่างประเทศของประเทศใดบ้างที่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ
      • กระแสทางโซเชียลใดบ้างที่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ
      • มีกิจกรรมใดบ้างที่กำลังจะเกิดขึ้น และบริษัทของคุณอาจสามารถใช้ประโยชน์จากการเติบโตใดได้บ้าง

 

Threats : อุปสรรค/ภัยคุกคาม

ภัยคุกคามคือปัจจัยจากภายนอกที่คุณไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมได้ รวมถึงสิ่งที่อาจะส่งผลเสียต่อธุรกิจของคุณ เช่น ปัญหาซัพพลายเชน การเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด หรือ การขาดแคลนพนักงาน สิ่งที่สำคัญคือ คุณจะต้องคาดการณ์สิ่งที่จะเป็นภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และดำเนินการป้องกันก่อนที่คุณจะตกเป็นเหยื่อของสิ่งเหล่านั้นซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ

ภัยคุกคามที่น่ากลัวคือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคย คุณจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันต่อกระแสโลก สองตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือเคสของ Nokia ที่เป็นเจ้าตลาดขายโทรศัพท์แต่โดนกระแสของ Smart Phone เข้ามาถาโถมและปรับเปลี่ยนไม่ทันเพราะคิดว่าตัวเองเป็นที่หนึ่ง หรือ เคสของ Kodak ที่ผลิตและเป็นเจ้าตลาดขายกล้องฟิล์มแต่กระแสของผู้บริโภคหันไปใช้กล้องดิจิตอลมากขึ้น เป็นต้น

อย่าลืมพิจารณาสิ่งที่คู่แข่งของคุณกำลังทำอยู่เสมอ

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์ภัยคุกคาม

      • มีคู่แข่งคุณที่อาจจะเข้ามาในตลาดอีกหรือไม่
      • มีแนวโน้มของตลาดที่อาจจะเป็นภัยคุกคามหรือไม่
      • การพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงวิธีทำธุรกิจของคุณได้หรือไม่
      • ซัพพลายเออร์สามารถหาวัตถุดิบในราคาที่คุณต้องการได้หรือไม่

หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้คุณวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกได้หลากหลายและครบทุกมิติมากยิ่งขึ้นคือ PESTEL Analysis ซึ่งประกอบด้วย

      • Political : ปัจจัยด้านการเมือง
      • Economic : ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
      • Social : ปัจจัยด้านสังคม / รวมถึงสังคมออนไลน์
      • Technology : ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
      • Environment : ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
      • Legal : ปัจจัยด้านกฎหมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : Pestel analysis คือ เทคนิค วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ที่ธุรกิจไม่ควรพลาด

ตัวอย่าง SWOT ในการวิเคราะห์กิจการ

เพื่อให้คุณเข้าใจและเห็นภาพ เราขอวิเคราะห์กิจการ OilPure Thailand ของเรา เพื่อเป็นกรณีศึกษาว่า SWOT เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วจะมีหน้าตาอย่างเป็นอย่างไร ?

OilPure Technology เป็นบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและจดสิทธิบัตรความเป็นเจ้าของเป็นที่เรียบร้อย โดยเทคโนโลยีของเราสามารถกรองเพื่อยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันไฮดรอลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันชุบแข็ง ให้กลับมาสะอาดเหมือนน้ำมันใหม่ ช่วยให้ลูกค้าที่ใช้บริการไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันไปอีกอย่างน้อย 5 ถึง 10 ปี โดยสามารถกำจัด เศษอนุภาค น้ำและความชื้น รวมถึง ค่าความเป็นกรด (TAN : Total Acid Number) ที่เกิดจาก Oxidation ของน้ำมันได้

นี่คือสิทธิบัตรที่บริษัท OilPure Technology จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

บริษัทกำลังวางแผนที่จะเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ในรูปแบบของการบริการ (On Site Service) ภายใต้ชื่อ OilPure Fluid Care โดยบริการของเราจะประกอบไปด้วย การวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่นในปัจจุบันว่ามีสภาพเป็นอย่างไร หลังจากนั้นเครื่องจักรของเราที่ถูกบรรทุกบนรถเทลเลอร์จะเข้าไปให้บริการถึงโรงงานของคุณ นำไปติดตั้งกับถังน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือเครื่องจักรของลูกค้า และมีรายการรายงานผลหลังให้บริการเสร็จ

เครื่องจักรและเทคโนโลยีของ OilPure

ทำการวิเคราะห์ SWOT ของเราออกมาได้ดังนี้ :

จุดแข็ง

      • เรามีประสบการณ์ในสายงานน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 30 ปี ทำให้มีกรณีศึกษาจริงจำนวนมาก
      • เรามีเทคโนโลยีในการกรองยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นที่สามารถใช้งานได้จริง และพิสูจน์มาแล้ว
      • ผู้บริหาร คุณวิชัย ศรีมงคงกุล เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานน้ำมันหล่อลื่น ASTM มาก่อน
      • เทคโนโลยีของเราสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กว่า 3 ไมครอนได้
      • เทคโนโลยีของ OilPure สามารถกำจัดปริมาณน้ำในน้ำมันออกได้ จนเหลือค่าน้ำต่ำกว่า 100 PPM
      • เทคโนโลยีของ OilPure สามารถกำจัด Oxidation ในน้ำมันได้โดยวัดจากค่า TAN ที่ไม่มีบริษัทไหนในโลกทำได้
      • เทคโนโลยีของเราใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจวัด พร้อมกับระบบ Automation โดยเครื่องจักรใช้เพียงคนเดียวในการควบคุม ทำให้ต้นทุนต่ำ

จุดอ่อน

      • เป็นบริษัทใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก หรือรู้จักในวงแคบ
      • วัฒนธรรมองค์กรแบบอเมริกันที่ยังไม่คุ้นชินกับรูปแบบการดำเนินการในประเทศไทย
      • บริษัทอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้งานเกิดคอขวดอยู่ที่บางบุคลากรและบางแผนก

 

โอกาส

      • ปัญหาเครื่องจักรหยุดงานของลูกค้า จากงานวิจัยพบว่า 80% มาจากความสกปรกในน้ำมันหล่อลื่น ดังนั้นลูกค้าต้องเปลี่ยนน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ
      • น้ำมันหล่อลื่นมีการซื้อซ้ำสูง เพราะต้องเปลี่ยนทุกๆ 3 – 6 เดือน
      • จากงานวิจัยพบว่าระบบไฮดรอลิก (การใช้น้ำมันไฮดรอลิก) มีอัตราการเติบโตมากขึ้น
      • จากการเข้ามาของรถไฟฟ้า ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบมีโอกาสขุดน้อยลง และ ราคาน้ำมันหล่อลื่นมีโอกาสสูงขึ้น
      • ทุกบริษัทหาวิธีลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรอยู่เสมอ และบริการ OilPure Fluid Care ตอบโจทย์ส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี

 

ภัยคุกคาม หรือ อุปสรรค

      • อุปสรรคใหญ่ของเราคือ ความคุ้นชินของลูกค้าที่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นตามคำแนะนำของบริษัทขายน้ำมัน
      • อุปสรรคถัดมา คือ ความไม่รู้ของลูกค้าว่ามีเทคโนโลยีที่สามารถกรองยืดอายุน้ำมันให้กลับมาสะอาดเหมือนใหม่ได้อีกครั้ง

สรุป

มาถึงตอนนี้คุณคงทราบแล้วว่า SWOT Analysis คือ เครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณขนาดไหน คุณควรวิเคราะห์ SWOT เป็นประจำเพื่อตรวจหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ ภัยคุกคาม เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบันและวางแผนเพื่อความเติบโตในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • หากท่านต้องการนำเนื้อหาหรือข้อมูลจากเว็ปเราไปใช้งานเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้โดยไม่มีผลประโยชน์ โปรดติดลิ้งค์เครดิตกลับมาหาเราที่หน้านี้
  • ข้อมูลอ้างอิง : 1 / 2 / 3 / 4/ 5 / 6 / 7

Copyright © GoodMaterial.co

goodmaterial

Good Material คือ แหล่งรวมเรื่องราวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ทั้งความรู้ สิ่งของ รวมถึงไอเดีย และหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตของเพื่อนๆ ดีขึ้นเช่นกันครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง