โคก นั้นเป็นพื้นที่ใช้ทำประโยชน์อะไร

โคกหนองนาโมเดล ซึ่งความจริงแล้ว โมเดลนี้จะฮิตกันมากในช่วงปลายปี 2563 กระทั่งถึงต้นปี 2564 ก็ค่อย ๆ ลืมเลือนไป วันนี้ ก็เลยอยากหยิบยกออกมาปัดฝุ่นดูใหม่ เกี่ยวกับเชิงลึกของเรื่องนี้กัน

ว่าด้วยเรื่อง โมเดล นี้มีความเป็นมาอย่างไร และมี วัตถุประสงค์ เพื่ออะไรกันแน่ เพราะหลายคนยังคง สับสน และทำกันผิด ๆ ถูก ๆ

โคกหนองนาโมเดล กับความเป็นจริง

โคกหนองนาโมเดล คือรูปแบบย่อยหนึ่งในหลายส่วนของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเน้นในด้านการจัดการเรื่องน้ำเป็นหลัก ซึ่งก็คือ

ทำอย่างไรให้พื้นที่มีน้ำใช้ตลอดปี และสามารถสร้างระบบเชิงนิเวศน์ให้เป็นธรรมชาติที่สุด

แนวคิดนี้ถือกำเนิดขึ้นที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาต่อยอด

โดยนำแนวคิดมาใช้ ร่วมกับหลักการภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผสมผสานปั้นแต่งขึ้นมา จนได้นิยามคำ ๆ นึง นั่นคือ “ภูมิสังคม” และก็ถูกหยิบมาใช้เป็นนิยามเกี่ยวกับโมเดลนี้นับแต่นั้นมา

และจากข้อมูลนี้ หากใครจะดำเนินการในเรื่องของ “โคกหนองนาโมเดล” ก็จำเป็นจะต้องคำนึงถึง “ภูมิสังคม” ร่วมกันไปด้วย

ดังนั้นแล้ว หากเอ่ยถึงคำว่า “โคกหนองนา” เราก็จะคุ้นเคยกับคำว่า “ภูมิสังคม” ตามไปด้วยกัน ซึ่งจะแยกกันไม่ออก ซึ่งคำว่า ภูมิสังคม ก็มาจาก…

  1. “ภูมิ” คือ สภาพทางกายภาพทั่วไป เช่น สภาพดิน นํ้า ลม ไฟ(แสงแดด) หรือสภาพแวดล้อมทั่วไปในเขตนั้น
  2. “สังคม” หรือก็คือธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมในท้องถิ่น ความเชื่อ วิถีชีวิตในชุมชนนั้น

เมื่อรวมกันแล้วก็จะมีหมายความว่า การจะดำเนิน การทำโคกหนองนาโมเดล ย่อมต้องคำนึงถึงเรื่องของสภาพแวดล้อมที่อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ(แสงแดด) และไม่ไปขัดกับธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมหรือความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้นด้วย เช่น

  • อยู่ดี ๆ จะไปขุดบ่อลึก 10 เมตรโดยที่รอบข้างเป็นท้องนา มีบ่อลึกเพียง 2-3 เมตร ทำแบบนี้ก็ไปเบียดเบียนท้องถิ่น เพราะน้ำโดยรอบจะไหลเข้าบ่อตัวเองทำให้บ่อรอบข้างไม่มีน้ำ
  • หรืออยู่ดี ๆ ขุดบ่อลึกถึงชั้นน้ำบาดาลจนทำให้น้ำใต้ดินปนเปื้อน ในขณะที่ในท้องถิ่นจะต้องใช้น้ำบาดาลอุปโภคบริโภค แบบนี้ก็ไม่ไหวเช่นเดียวกัน

เพราะ โคกหนองนาโมเดล นั้น จะต้องเน้นและให้ความสำคัญกับสังคม มากกว่าภูมิ(หรือพื้นที่) นั่นก็คือ การจะออกแบบ โคกหนองนาโมเดล ซักหนึ่งโครงการ จะต้องให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของผู้ใช้ แม้จะอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม ซึ่งก็จะได้โมเดลที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะที่จำเป็นต้องใช้งาน

เช่น ในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตแตกต่างกันในเรื่องของศาสนา การจะทำคอกปศุศัตว์ซักแห่ง ก็ต้องคำนึงถึงทิศทางและตำแหน่งที่ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ตามหลักสูตรตำรา บอกว่าให้ทำคอกหนีทิศทางลม คนในบ้านจะได้ไม่เหม็น แต่คอกหมูดันไปอยู่ข้างบ้านคนที่เป็นอิสลาม แบบนี้ก็ไม่ถูกหลักของ การทำโคกหนองนาโมเดล

โคกหนองนาโมเดล มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

วัตถุประสงค์หลักของ โคกหนองนาโมเดล ตามที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นนั่นก็คือ การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ทำอย่างไรให้มีน้ำใช้สำหรับการเพาะปลูกและทำเกษตรโดยการจัดการที่ชาญฉลาด ลดการใช้แรงงานและเงินทุน

บางแห่งบอกว่า ก็เจาะน้ำบาดาลใช้ แล้วขุดบ่อเก็บน้ำ ทำโคก ทำนา ก็ได้แล้วโคกหนองนา ซึ่งในความเป็นจริงตามหลักการนั้น ไม่ใช่อย่างนี้

เพราะการทำแบบนั้น (ขุดบ่อน้ำตามดีไซน์สวย ๆ แล้วถมที่เป็นโคก มีพื้นที่ทำนานิดหน่อย เป็นเพียงแค่การเก็บน้ำไว้ใช้เฉย ๆ สุดท้ายยังต้องติดตั้งเครื่องมือเพื่อนำน้ำที่เก็บไว้มาใช้อีกรอบ

อีกทั้งการติดตั้งสปริงเกอร์ ปั๊มน้ำ สายยาง ท่อประปา ฯลฯ รวม ๆ ที่ใช้เพียงวัตถุประสงค์คือการรดน้ำต้นไม้ ต้องลงทุนถึงขนาดนี้กันเลยหรือ

โคกหนองนาที่ในหลวง ร.9 ท่านประทานแนวคิดมาให้ เป็นการจัดการน้ำอย่างชาญฉลาดที่แฝงอยู่ในโมเดลนี้ นั่นคือ การลดต้นทุน ลดเครื่องมือและแรงงาน และทำให้ระบบมันเป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด

แล้วจะทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง ไม่โดนหลอกมโนเอาได้ว่า แค่การขุดบ่อเลี้ยงปลา หาน้ำมาได้ แล้วเอาดินไปถมโคกสูง ๆ และมีพื้นที่ทำนาก็เป็นโคกหนองนาแล้ว….??

โคกหนองนาโมเดล คืออะไร มีองค์ประกอบอย่างไร

อย่างที่บอก โคกหนองนาโมเดล คือโมเดลในเรื่องของการแก้ไขปัญหาและจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด โมเดลนี้มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 อย่างคือ

  1. โคก หรือพื้นที่สูง
  2. หนอง คือ หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ
  3. นา คือพื้นที่ลุ่ม ไว้ทำนา หรือแปลงเกษตรอื่นที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนาเท่านั้น

แค่มีองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างครบ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการทำ โคกหนองนา โมเดล และอย่าให้ใครเขาหลอกเอาได้ เพราะในสิ่งที่เห็นว่าง่าย ๆ มีความยากแฝงอยู่ มีเงินอย่างเดียวไม่ได้นะ…

โคก หรือพื้นที่สูง มีประโยชน์อย่างไร ทำอย่างไรให้เป็น โคกหนองนาโมเดล

ในโมเดลนี้ โคกกับหนอง จะอยู่คู่กัน เมื่อต้องการทำโคก จะต้องมีการขุดหนอง ดังนั้น ดินที่ขุดทำหนองน้ำ ก็ให้นำมาทำโคกไว้สำหรับพื้นที่อาศัย หรือหากไม่จำเป็นต้องใช้เป็นที่อาศัยก็สามารถนำพื้นที่นี้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวทางพระราชดำริ นอกจากจะได้ป่าได้อาหารแล้วยังเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำขนาดเล็ก ๆ ได้ด้วย โดยในพื้นที่โคกนี้ ก็สามารถขุดบ่อกักเก็บน้ำได้ด้วยโดยไม่ผิดหลักเงื่อนไข

หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ มีประโยชน์อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะเป็นโคกหนองนาโมเดล

เมื่อขุดแหล่งน้ำ สิ่งสำคัญโคกหนองนาโมเดลคือ ต้องไม่ขุดหนองให้เป็น 4 เหลี่ยม (เห็นหลายคนขุดสระ ขุดบ่อเลี้ยงปลา แล้วอุปมาว่าทำโคกหนองนาโมเดล ไม่ใช่เลย การขุดบ่อขุดสระ หรือขุดหนองในโคกหนองนาโมเดลนี้ จะต้องขุดให้พื้นที่เก็บน้ำอยู่ในรูปแบบที่เป็นธรรมชาติที่สุด คือไม่เหลี่ยมมุม แต่อาจจะมีส่วนเว้า โค้ง ตื้น ลึก ให้น้ำได้รับแสงที่เพียงพอ รับกระแสลมเพื่อให้เคลื่อนไหว พร้อมทั้งให้ความชื้นแก่พื้นดิน หากมีการปลูกพืชหรือต้นไม้ น้ำในหนองนี้จะเป็นตัวช่วยให้พืชเหล่านี้เติบโตได้โดยที่เจ้าของพื้นที่ แทบไม่ต้องจัดการอะไรเลย คือ จัดการอย่างชาญฉลาดให้อยู่ได้ด้วยตัวเองแบบธรรมชาติ

แต่การจัดการเรื่องน้ำเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความรู้ การทำอย่างไรให้มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการ (ในพื้นที่ 100 ตารางเมตร เมื่อโดนแดดทั้งวัน เฉลี่ยน้ำจะระเหยออกไป 1 cm.) ยังไม่นับเรื่องน้ำซึม การดึงน้ำไปใช้ ฯลฯ ดังนั้นหากจำเป็นต้องขุดกักเก็บน้ำต้องคำนวณปริมาณน้ำต่อปีไว้ด้วย ไม่ใช่คิดว่า ทำนาใช้น้ำเท่านี้ คนโตหรือเด็กใช้น้ำเท่านี้ รดผักเลี้ยงสัตว์ใช้เท่านี้ สรุปขุดลึก 3 เมตรจบ มันคิดตื้นเกินไปนะ หรือบางแห่งทำธนาคารน้ำใต้ดิน ไร้สาระ ถ้าขุดลึกถึงชั้นน้ำใต้ดินก็ทำให้น้ำปนเปื้อนอีก ขุดไม่ถึงน้ำก็ไม่มี แบบนี้แนะนำให้ใช้วัสดุรองก้นบ่อเพื่อกักเก็บน้ำไว้จะดีกว่า

แนะนำบ่อสำหรับเก็บน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง

ไม่แนะนำให้ขุดบ่อจนถึงระดับน้ำใต้ดิน หากมีการขุดลักษณะนี้ แนะนำให้ขุดบ่อบนโคกไว้แห่งหนึ่ง ส่วนจะมีขนาดเท่าใดนั้น ต้องศึกษาถึงระบบการใช้น้ำในพื้นที่ ว่าต้องใช้น้ำในปริมาณเท่าใด เช่น

ต้องการขุดบ่อขนาดกว้าง 100 เมตร x ยาว 100 เมตร x ลึก 5 x จำนวน 2 บ่อ เพื่อกักเก็บน้ำโดยใช้วัสดุรองก้นบ่อเพราะเป็นที่ดอน จะได้ปริมาณน้ำ 100,000 ลบ.ม. หักส่วนโค้งส่วนเว้า ตะพัก / ชานบ่อ / Berm 40% จะเหลือพ้นที่เก็บน้ำ 100,000 – 40 % = 60,000 ลบ.ม. และปริมาณการใช้น้ำต่อปี ในพื้นที่ 1 ไร่ มีที่นา สวนผักผลไม้ ป่าไม้ ปศุสัตว์ และที่อยู่อาศัย (ไม่นับน้ำประปา) จะได้ปริมาณการใช้น้ำรวมต่อปี = 11,585 ลบ.ม. เมื่อได้แบบนี้อาจปรับพื้นที่ให้มีขนาดเล็กลงก็ย่อมได้

และแหล่งน้ำส่วนใหญ่ในบริเวณพื้นที่สูงหรือแห้งแล้ง ปกตินิยมเจาะบ่อบาดาล ทำการสูบน้ำบาดาลขึ้นถังเก็บน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แล้วจากถังน้ำก็เปิดลงบ่ออีกที หรือจะรับน้ำจากบ่อบาดาลโดยตรงก็ดี

ในการลงทุนลักษณะนี้มีต้นทุนหลายแสนบาท เจ้าไหนมีทุนก็ทำได้ เจ้าไหนไม่มีทุนก็ต้องรอไปก่อน แต่เหมือนระบบนี้ซ้ำซ้อน

สูบน้ำบาดาลมาใส่ถังเก็บ แล้วยังต้องเก็บน้ำไว้ในบ่ออีกทั้ง ๆ ที่น้ำใช้ก็คือน้ำบาดาล แต่ให้เหตุผลว่าน้ำไม่เพียงพอ จึงต้องมีบ่อเก็บน้ำ และบ่อก็เลี้ยงสัตว์น้ำไปด้วย แต่บ่อก็ไม่สามารถเอาน้ำออกมาใช้ประโยชน์ได้ หรือเมื่อเอาน้ำออก ก็ต้องเติมน้ำจากบ่อบาดาลกลับเข้าไปใหม่

**ทำไมไม่เอาน้ำบาดาลไปใช้โดยตรงเลย ไม่ต้องติดตั้งระบบปั๊มน้ำเข้าสวน หรือต้องเดินไปปิดระบบตรงนั้น ต้องเปิดระบบตรงนี้ ขี้เกียจก็โซล่าเซลล์ให้มันทำงานเอง ไม่คิดว่าจะเปลืองอุปกรณ์ เปลืองค่าใช้จ่าย เปลืองแรงงาน บ้างหรือ??***

โคกหนองนาโมเดล จึงเป็นโมเดลในการจัดการเรื่องน้ำที่ชาญฉลาด

เพราะปัญหาหลายปัจจัย สระเก็บน้ำจึงกลายเป็นเอาไว้เลี้ยงสัตว์น้ำเฉย ๆ ส่วนพืชผักผลไม้ กลายเป็นต้องลงทุนทำระบบน้ำจากบ่อบาดาลอีกต่อนึง ลงทุนทำซ้ำซ้อนแบบนี้ แล้วบอกว่าเป็นโคกหนองนาโมเดล คุณคิดว่าใช่หรือไม่

เอาจริง ๆ การทำลักษณะแบบนี้ไม่ใช่โคกหนองนาโมเดล แต่นี่คือการขุดเจาะเอาน้ำบาดาลมาใช้กับทำเกษตร และบ่อเก็บน้ำก็เป็นบ่อเลี้ยงปลาเหมือนทั่วไป พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากบ่อเก็บน้ำ รวมไปถึงการต่อระบบกระจายน้ำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สปริงเกอร์ ท่อส่งน้ำ ปั๊มน้ำ จะต้องเปลืองอุปกรณ์หลายอย่างและต้นทุนอีกมากมาย

ความลับของหนองน้ำ ในโคกหนองนาโมเดล

การทำโคกหนองนาโมเดล ในเรื่องของหนองน้ำนี้ จริง ๆ แล้ว วัตถุประสงค์คือการเก็บน้ำไว้ให้มีใช้ยามจำเป็น แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถนำน้ำที่เก็บเอาไว้มาใช้ยามปกติได้ด้วย เช่น..

  • หลุมขนมครก การขุดหลุมขนมครกตามจุดสำคัญบนพื้นที่แปลงเกษตร และหลุมขนมครกเหล่านี้ แต่ละหลุมก็มีจุดประสงค์เพื่อเก็บน้ำ ลึกบ้างตื้นบ้างอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ และแต่ละหลุมก็จะเชื่อมต่อกันด้วยคลองไส้ไก่
  • คลองไส้ไก่ ก็คือการขุดคูร่องน้ำให้มีการคดเคี้ยวไปตามพื้นที่ มีทั้งตื้นทั้งลึก เพื่อทำให้น้ำกระจายได้ทั่วพื้นที่เกษตร

คลองไส้ไก่ นี้เองคือ หัวใจของโคกหนองนาโมเดล เพราะจะทำให้ดินได้รับน้ำอย่างเพียงพอ คลองคูที่กระจายไปตามพื้นที่แปลงเกษตรที่สำคัญจะได้รับน้ำได้อย่างทั่วถึง จึงไม่จำเป็นต้องมี สปริงเกอร์ ปั๊มน้ำ หรือท่อส่งน้ำใด ๆ ให้วุ่นวาย

ส่วนพื้นที่ไหนไม่ได้ทำเกษตร หรือไม่ได้ต้องการน้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องขุดคลองให้ผ่านไปบริเวณนั้น

คลองหรือร่องน้ำที่ขุดไว้เชื่อมโยงแต่ละหลุมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อกระจายน้ำให้แก่ดินตามจุดต่าง ๆ และการคดเคี้ยวเลี้ยวงอนี่เอง จึงเป็นที่มาของชื่อ คลองไส้ไก่

สิ่งที่สำคัญ เมื่อทำให้ระบบเชิงนิเวศน์ของโคกหนองสมบูรณ์แบบแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดน้ำระบายจากหนองอยู่ตลอดเวลา ทำเพียงวันละครั้ง หรือสองสามวันครั้ง หรืออาทิตย์ละครั้งนึงก็ยังได้ เพราะดินยังคงอุ้มน้ำได้ดีอยู่แล้ว

ทำไมถึงต้องมีการขุดคลองไส้ไก่ให้คดเคี้ยว?

นั่นก็เพราะว่า เมื่อน้ำไปถึงที่ไหน จะทำให้ดินชุ่มชื้นที่นั่น และการคดเคี้ยวของคลองจะทำให้กระแสน้ำไม่ไหลแรงเกินไป ทำให้ดินรับน้ำได้อย่างเต็มที่ พืชผักก็งอกงาม

ส่วนในฤดูน้ำหลาก จะต้องสังเกตุว่าบริเวณไหนมีการไหลของน้ำในปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นบริเวณคลองไส้ไก่ หรือบริเวณที่น้ำไหลเข้าหนอง ก็จำเป็นต้องทำฝายทดน้ำเพิ่มเติม นั่นก็เพื่อกักหรือชะลอน้ำเอาไว้ หากน้ำหลากก็สามารถชะลอน้ำได้ หากในฤดูแล้งก็จะกลายเป็นที่กักเก็บน้ำไปในตัว

และทั้งหมดนี้ หากมีการถ่ายเทน้ำจากหนองที่มี และบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด ก็แทบไม่ต้องมีปั๊มน้ำหลายตัว ไม่ต้องต่อท่อประปาติดสปริงเกอร์ให้เต็มสวน หรือแม้แต่มีทั้งบ่อใหญ่ มีทั้งแท๊งค์น้ำ ที่จะต้องเก็บน้ำเอาไว้ใช้เลยด้วยซ้ำ

นา มีประโยชน์อย่างไร และทำแบบไหนให้ โคกหนองนาโมเดลสมบูรณ์แบบ

พื้นที่นาหรือพื้นที่ลุ่ม จะกินบริเวณ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด ในบริเวณนี้หากมีการทำนา แนะนำให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน และในบริเวณพื้นที่นานี้ ก็แนะนำให้ทำคันนา ให้มีความสูงและกว้างมากพอที่จะใช้เป็นที่รองรับน้ำในฤดูน้ำหลากด้วย ส่วนคันนาอาจใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกผลไม้หรือไม้ยืนต้นแบบ การทำเกษตรบนคันดิน

ส่วนของนานี้ หมายรวมไปถึงพื้นที่แปลงเกษตรในที่ราบลุ่มทั้งหมด และควรเน้นพืชที่สามารถทนน้ำท่วมได้พอสมควร สำหรับพันธุ์พืชที่ต้องการน้ำน้อย อาจเลือกปลูกในพื้นที่บริเวณโคก หรือพื้นที่อื่นที่การกระจายน้ำได้ไม่ดีพอก็ได้

ทั้งหมดนี้หากทำให้เป็นระบบและมีการจัดการบริหารน้ำได้ดีแล้ว ภายใน 1 ปีก็สามารถจัดการน้ำได้เพียงพอ รวมไปถึงระบบการไหลเวียนของนิเวศน์ตามธรรมชาติ โดยที่เราอาจไม่ต้องเปลืองแรง หรือลงทุนไปกับอุปกรณ์อะไรมากมาย ตลอดจนไม่ต้องเสียต้นทุนขุดหนองทำโคกให้สวยหรูและใหญ่โต

เอาแค่ตัวเองไหว เพราะท้ายที่สุด ธรรมชาติก็จะทวงคืนกลับไปทุกสิ่ง…

ก็จบกันไปแล้วสำหรับเรื่องของ โคกหนองนาโมเดล ส่วนที่เหลือจะเป็นการแยกย่อยในหัวข้อของการสร้างโคกหนองนา สร้างอย่างไรให้ถูกหลักภูมิสังคม ดูกระแสลม แสงแดด และวางตำแหน่งที่จะทำโคก ขุดหนอง และพื้นที่สำหรับทำเกษตรต่าง ๆ รวมไปถึงการขุดคลองไส้ไก่เชื่อมต่อระหว่างหลุมขนมครกตามจุดต่าง ๆ รวมทั้งหมดนี้เอาไว้ในบทความหน้า อย่าให้โคกหนองนาโมเดลเป็นแค่ศิลปะของการขุดบ่อ

หากชอบและคิดว่าเป็นประโยชน์ก็แชร์กันเยอะ ๆ นะครับ เจอกับกับบทความเรื่อง การสร้างโคกหนองนา สร้างอย่างไรให้ถูกหลักภูมิสังคม สัปดาห์หน้าจ้า

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง