ความสําคัญของระบบไหลเวียนเลือดมีอะไรบ้าง

ระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory System)

  ระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเลือด หัวใจ หลอดเลือด และระบบน้ำเหลือง หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เปรียบเสมือนระบบขนส่งของร่างกายที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร น้ำ แก๊ส โดยเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และพาเอาของเสียจากการเผาผลาญสารอาหาร เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกที่ปอด

ความสำคัญของระบบไหลเวียนเลือด

          ระบบไหลเวียนเลือดเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างเลือด (Blood) หัวใจ (Heart) หลอดเลือดแดง (Artery) หลอดเลือดดำ (Vein) และหลอดเลือดฝอย (Blood Capillary) และระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) การทำงานของระบบไหลเวียนมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้

          1. หัวใจทำหน้าที่บีบตัวเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจโดยเฉพาะห้องล่างซ้าย ในภาวะปกติจะบีบตัวให้เลือดไหลประมาณ 70 มิลลิลิตร ต่อ 1 ครั้ง ของการบีบตัว

          2. นำแก๊สออกซิเจนส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย โดยมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีสารเฮโมโกลบิน (Haemoglobin) เป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ร่างกาย

          3. ขนส่งน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ไปสู่เซลล์ โดยน้ำของเลือดหรือพลาสมา (Plasma) ซึ่งมีร้อยละ 5 ของน้ำหนักของร่างกาย ทั้งนี้น้ำของเลือดจะมีส่วนประกอบคือน้ำและสารอาหารที่ร่างกายพร้อมที่จะนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญได้ คือ กลูโคส กรดไขมัน กรดอะมิโน วิตามิน แก๊สต่าง ๆ ฮอร์โมน (Hormone) และ   อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) เป็นต้น

          4. นำแอนติบอดี (Antibodies) ที่เป็นภูมิคุ้มกันโรค โดยอาศัยกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Antibodies) เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไปให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

          5. นำฮอร์โมนไปให้เซลล์ โดยฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไร้ท่อจะเข้าไปในหลอดเลือดโดยตรง เนื่องจากต่อมดังกล่าวไม่มีท่อ ฮอร์โมนแต่ละชนิดได้นำเอนไซม์ (Enzyme) ไปให้เซลล์ต่างๆ เพื่อช่วยในการเผาผลาญอาหาร

ประเภทของระบบไหลเวียนเลือด แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ

     1. ระบบเปิด เป็นระบบที่เลือดไม่ได้ไหลไปตามเส้นเลือดตลอดเวลาแต่เลือดจะไหลไปตามช่องว่างใน ลำตัวที่เรียกว่า เฮโมซีล (Haemocoel) พบในสัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา ได้แก่ หอย ปลาหมึก และสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา ได้แก่ ปู กุ้ง ตะขาบ และแมลง

     2. ระบบปิด เป็นระบบที่เลือดไหลไปตามเส้นเลือดผ่านหัวใจครบวงจร ระบบนี้มีเส้นเลือดฝอยเชื่อมโยงระหว่างเส้นเลือดที่พาเลือดออกจากหัวใจ กับเส้นเลือดที่พาเลือดเข้าสู่หัวใจ พบในสัตว์ไฟลัมแอนิลิดา เช่น ไส้เดือนดิน และสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา หรือพวกมีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ หัวใจ เลือด และหลอดเลือด

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือด

          องค์ประกอบของระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วย เลือด หัวใจ หลอดเลือด น้ำเหลือง และหลอดน้ำเหลือง มีหน้าที่แตกต่างกันไปตามกระบวนการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด

          1. เลือด (Blood) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีแดง ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวเรียกว่า น้ำเลือด หรือ พลาสมา (Plasma) และส่วนที่เป็นของแข็ง คือ เซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

                    1.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่เกิดในไขกระดูกแดงมีอายุอยู่ได้ประมาณ 120 วัน ก็จะแก่ตัว ซึ่งจะถูกกินและทำลายโดย เซลล์ฟาโกไซต์ (Phagocyte) ในม้าม (Spleen) ตับ และในไขกระดูกแดง รูปร่างของเซลล์จะเป็นแผ่นคล้ายจานและมีส่วนเว้าทั้งสองด้าน ไม่มีนิวเคลียส (Nucleus) ทำหน้าที่ขนส่งแก๊สออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อและนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อ   ไปขจัดออกทางปอด โดยในเซลล์มีสารสีม่วงแดงเรียกว่า ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เมื่อเลือดไหลผ่านปอด ฮีโมโกลบินจะทำหน้าที่จับออกซิเจนกลายเป็น ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) ซึ่งมีสีแดงสด และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปส่งให้แก่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายแล้ว ออกซีฮีโมโกลบินจะเปลี่ยนกลับมาเป็นฮีโมโกลบินอีกครั้ง โดยในร่างกายของเพศหญิงจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงประมาณ 4.5-5 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ซี.ซี. และในเพสชายมีประมาณ 5 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ซี.ซี.

                    1.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood Cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง มีนิวเคลียสแต่ไม่มีฮีโมโกลบิน สามารถเคลื่อนไหวได้โดยอิสระ ลอดผ่านผนังหลอดเลือดขนาดเล็กเข้าสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม และสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย        แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ แกรนูโลไซต์ (Granulocyte) เป็นพวกที่มีแกรนูล (Granules) ชองไลโซโซม (Lysosome) อยู่จำนวนมากในไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) สร้างจากไขกระดูกมีนิวเคลียส มีอายุประมาณ    2-3 วัน และอะแกรนูโลไซต์ (Agranulocyte) เป็นพวกที่ไม่มีแกรนูลของไลโซโซมซึ่งอยู่ในไซโตพลาสซึม ได้แก่ ต่อมไทมัส (Thymus) ต่อมน้ำเหลือง (Lymph Node) ม้าม (spleen) มีอายุประมาณ 100-300วัน

                   1.3 เกล็ดเลือด (Pletelet) เป็นส่วนประกอบของเลือดที่ไม่ใช่เซลล์ แต่จะเป็นส่วนประกอบชิ้นเล็ก ๆ ของเซลล์ ซึ่งปกติจะมีรูปร่างคล้ายจานแบน ๆ มีขนาดเล็ก ไม่มีสี ไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผลขึ้น โดยการแข็งตัวของเลือดจะเกิดขึ้น เมื่อมีเลือดไหลออกจากบาดแผล เลือดก็จะเปลี่ยนเป็นลิ่มคล้ายวุ้น เรียกว่า ลิ่มเลือด ประกอบด้วยไฟบริน (Fibrin) โดยมีเกล็ดเลือดเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยา ลิ่มเลือดทำหน้าที่ช่วยห้ามเลือดและป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล

  2. หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบไหลเวียนโลหิต มีขนาดเท่ากำปั้นของบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง วึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของร่างกายมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เยื่อหุ้มหัวใจ มีลักษณะเป็นถุงหุ้มอยู่รอบๆ หัวใจ มีหน้าที่ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับหัวใจ และช่วยให้หัวใจมีการเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก ไม่เสียดสีกัน และ ผนังหัวใจ ซึ่งจะประกอบไปด้วยผนัง 3 ชั้น คือ เอ็พพิคาร์เดียม (Epicardium) จะอยู่ชั้นนอกสุด มัยโอคาร์เดียม (Myocardium) อยู่ชั้นกลาง และเอนดดนคาร์เดียม (Endocardium) อยู่ชั้นในสุด ภายในหัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ ข้างบน 2 ห้อง และข้างล่าง 2 ห้อง โดยมีลิ้นหัวใจกั้นระหว่างห้องบนและห้องล่าง ซึ่งแต่ละห้องมีหน้าที่โดยเรียงลำดับตามการไหลเวียนโลหิตของหัวใจ ดังนี้

ส่วนประกอบและหน้าที่ของหัวใจทั้ง 4 ห้อง

  หัวใจห้องบนขวา (Right Atrium)เป็นช่องที่รับเลือดเสียหรือเลือดดำจากทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งนำมาโดยหลอดเลือด 3 เส้น คือ หลอดเลือดใหญ่บน จะรับเลือดจากส่วนบนของร่างกาย หลอดเลือดดำใหญ่ล่าง จะรับเลือดจากส่วนล่างของร่างกายและโพรงโลหิตดำของหัวใจ จะรับเลือดจากกล้ามเนื้อหัวใจเอง หัวใจห้องบนขวาเปิดสู่หัวใจหัวใจห้องล่างขวาผ่านลิ้นไตรคัสปิด (Tricuspid Valve) ซึ่งกั้นอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง ลิ้นนี้จะปิดตอนหัวใจห้องล่างบีบตัว เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลกลับเข้าหัวใจห้องบนขวา

  หัวใจห้องบนซ้าย (Left Atrium)รับเลือดดีหรือเลือดแดงจาดปอด ซึ่งถูกส่งมาทางหลอดเลือดดำจากปอดสู่หัวใจและเปิดเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้าย ผ่านลิ้นไบคัสปิด (Bicuspid Valve) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนลิ้นไตรคัสปิด

  หัวใจห้องล่างซ้าย (Left Ventricle) รับเลือดดีจากหัวใจห้องบนซ้าย แล้วส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจห้องนี้จะทำงานหนักที่สุด จึงมีผนังหัวใจหนาที่สุด การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายจะผ่านทางหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งภายในมีลิ้นเอออร์ติก (Aortic Valve) ลักษณะคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลกลับ ซึ่งหัวใจห้องล่างขวาและซ้ายจะบีบตัวพร้อมกัน

  หัวใจห้องล่างขวา (Right Ventricle)รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา แล้วส่งเลือดไปฟอกที่ปอด เนื่องจากหัวใจห้องล่างต้องทำหน้าที่สูบฉีดไปยังปอด ผนังจึงหนากว่าหัวใจห้องบน ส่วนที่อยู่ในหัวใจจะมีลิ้นลักษณะเป็นเสี้ยวจันทร์เรียกว่า ลิ้นเซมิลูนาร์ (Semilunar Valve) ซึ่งป้องกันไม่ให้เลือดไหลกลับเข้าหัวใจห้องล่างในขณะที่หัวใจห้องล่างคลายตัว

  3. หลอดเลือด (Blood Vessels) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

          3.1 หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ฉะนั้นหลอดเลือดแดงจึงเป็นเส้นทางนำเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูง ไปยังหลอดเลือดฝอย เพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป

          3.2 หลอดเลือดดำ (Vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกลับสู่หัวใจซึ่งเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดดำมีปริมาณของออกซิเจนอยู่น้อย

          3.3 หลอดเลือดฝอย (Capillary) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กมาก มีหน้าที่นำเลือดจากหลอดเลือดแดงไปยังเซลล์ และนำเลือดดำจากเซลล์ไปยังหลอดเลือดดำ หลอดเลือดฝอยจึงเปรียบเสมือนตัวกลางที่เชื่อมโยงระบบไหลเวียนโลหิตระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ซึ่งทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ระบบน้ำเหลือง เป็นระบบลำเลียงสารต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก  ระบบน้ำเหลืองประกอบไปด้วย น้ำเหลือง (Lymph) ท่อน้ำเหลือง (Lymph vessel) และอวัยวะน้ำเหลือง (Lymphatic organ)ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ

          น้ำเหลือง (Lymph) ส่วนประกอบของน้ำเหลืองคล้ายกับในเลือดแต่ไม่มีเม็ดเลือดแดง เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรือรอบๆ เซลล์ เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ในน้ำเหลืองจะมีโปรตีนโมเลกุลเล็ก เช่น อัลบูมิน และสารที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ เช่น แก๊ส น้ำ น้ำตาลกลูโคส 

ท่อน้ำเหลือง (Lymph vessel) เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกายมีขนาดต่าง ๆ กัน มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดเวน คือมีลิ้นกั้นป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง การไหลเวียนน้ำเหลืองประกอบด้วยร่างแหของหลอดน้ำเหลืองที่กระจายทั่วร่างกาย ซึ่งลำเลียงน้ำเหลืองกลับเข้าสู่กระแสเลือด

แหล่งที่มา: กุสุมาวดี  คำเกลี้ยง และคณะ. สุขศึกษา 5. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์เอมพันธ์, 2558.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง