ความหมายของพรหมวิหาร 4 คืออะไร

พรหมวิหาร 4 ประการ คือ ธรรมครองใจ 4 ประการ ที่ทำให้บุคคลในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติในทางอันประเสริญทั้งต่อตน และผู้อื่น ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ คือ
1. เมตตา หมายถึง ความประสงค์ที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา หมายถึง ความประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีสรรเสริญในความสุขที่ผู้อื่นได้รับ
4. อุเบกขา หมายถึง ความวางใจเป็นกลางต่อความสุข และความทุกข์ที่มีต่อตน และผู้อื่นได้รับ

อรรถาธิบายเพื่มเติม พรหมวิหาร 4
1. เมตตา
เมตตา แห่งพรหมวิหาร 4 เป็นความปรารถนาหรือความประสงค์อันเกิดขึ้นในจิตที่จะยังให้ผู้อื่นมีความสุข ภายใต้จิตอันบริสุทธิ์ อันจักนำไปสู่การเกิดความกรุณาต่อไป

ประเภทของเมตตาแห่งพรหมวิหาร 4
1. เมตตาแท้ คือ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุขอย่างแท้จริง อันประกอบขึ้นจากใจที่บริสุทธิ์ไม่แอบแฝงด้วยเพียงหวังประโยชน์แก่ตน
2. เมตตาเทียม คือ การแสร้งทำด้วยความปรารถนาหรือความประสงค์ที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข อันประกอบขึ้นจากใจที่มุ่งหวังหวังประโยชน์แก่ตน

การฝึกตนให้เกิดความเมตตา
1. การตั้งมั่นในจิต คือ การกำหนดจิตของตนที่จะมีความเมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลายผ่านการทำสมาธิ และการภาวนาอย่างเป็นนิจ
2. การแผ่เมตตา คือ การภาวนาในจิตพร้อมการสวดด้วยวาจาในการแผ่เมตตาให้แก่สรรพสิ่งทั้งหลาย

การแสดงออกในความเมตตา
– ระลึกถึงความทุกข์ของผู้อื่น และยังจิตให้มีกุศลอยู่เสมอ
– ไม่เบียดเบียน รังแก หรือ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
– มีความรัก และความปรารถนาดีที่จะเห็นผู้อื่นมีความสุข
– ให้ความเป็นมิตรต่อคนรอบข้าง

2. กรุณา
กรุณา แห่งพรหมวิหาร 4 เป็นความปรารถนาที่จะช่วยหรือสงเคราะห์ให้ผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ บนพื้นฐานจิตใจอันบริสุทธิ์ จนนำไปสู่การใช้ปัญญาเพื่อที่จะหาแนวทาง และการประพฤติต่อการสงเคราะห์นั้นให้สำเร็จ ซึ่งจะยังให้ตนเกิดมุทิตา คือ ความอิ่มเอิบ และยินดีต่อความสุข และการพ้นจากทุกข์ของผู้นั้น

ความทุกข์ 2 ประการ
– ทุกข์ทางกาย คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทำให้ต้องทนกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย การรู้สึกร้อนหนาว เป็นต้น
– ทุกข์ทางใจ คือ ความขุ่นข้องหมองใจอันเกิดจากความผิดหวังหรือไม่ต้องตามประสงค์ในสิ่งที่ตนยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นๆ

ประเภทของกรุณา
1. กรุณาแท้ คือ การสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ด้วยความปรารถนาที่แท้จริง อันประกอบขึ้นจากใจที่บริสุทธิ์ไม่ได้เพียงสงเคราะห์ผู้อื่นเพราะหวังให้เขาหลงเชื่อหรือยังซึ่งประโยชน์แก่ตน
2. กรุณาเทียม คือ การแสร้งทำสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ด้วยความที่ตนมุ่งหวังให้เขาหลงเชื่อหรือเพียงเพื่อหวังในประโยชน์จากผู้อื่นหรือเพื่อเพิ่มความทุกข์ให้ผู้อื่น

การแสดงออกในความกรุณา
– ให้ความช่วยเหลือหรือสงเคราะห์ผู้อื่นตามกำลังทรัพย์ของตน เช่น การบริจาคทรัพย์ให้แก่ขอทาน
– การช่วยเหลือหรือสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ ได้แก่ การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
– การส่งเสริมความดีของผู้อื่นให้เจริญยิ่งขึ้น เช่น การช่วยส่งเสียเด็กกำพร้าให้เล่าเรียนหนังสือ
– การยังตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การทำความสะอาดวัดวาอารามในวันว่าง

บุคคลที่พึงระวังในการแสดงความกรุณา
– บุคคลที่เกลียดกันหรือเป็นศัตรูกัน เพราะจะทำให้เกิดความขุ่นเคือง ความอิจฉา และเพิ่มความบาดหมาง
– บุคคลที่รักมาก เพราะหากเกิดความทุกเพียงเล็กน้อยย่อมจะทำให้ตนทุกข์ตามไปด้วย
– บุคคลที่ไม่ยินดีในเรา เพราะความกรุณาสูญเปล่าหรือควรให้กรุณาแก่ผู้อื่นที่ยินดีในตนจะยังกุศลมากกว่า
– บุคคลที่มีความใคร่ต่อเรา เพราะจะเพิ่มความใคร่นั้นให้เพิ่มขึ้น

See Also

วิเศษ จูงวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)

3. มุทิตา
มุทิตา แห่งพรหมวิหาร 4 เป็นความอิ่มเอิบ และยินดีในใจที่ได้เห็นผู้อื่นมีความสุข และการพ้นจากทุกข์ อันจะนำไปสู่การส่งเสริม และสนับความสุขหรือความดีนั้นๆให้คงอยู่ และเจริญยิ่งๆขึ้นไป อันเป็นการกำจัดกิเลสทางใจที่ยังให้เกิดแก่อุเบกขาต่อไป

ประเภทของมุทิตา
1. มุทิตาแท้ คือ การทำใจยินดี และแสดงออกถึงความยินดีต่อความสุข และการพ้นจากทุกข์ของผู้อื่นด้วยจิตอันบริสุทธิ์ มิใช่แกล้งทำเพื่อหวังให้ผู้อื่นหลงเชื่อหรือหวังประโยชน์จากเขา
2. มุทิตาเทียม คือ การแสร้งทำใจยินดีหรือแกล้งแสดงออกถึงความยินดีต่อความสุข และการพ้นจากทุกข์ของผู้อื่น เพียงเพื่อหวังให้ผู้อื่นหลงเชื่อหรือจะได้รับประโยชน์จากเขา

การแสดงออกในมุทิตา
– แสดงความยินดีต่อผู้อื่นด้วยจิตอันบริสุทธิ์ เมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข
– ยกย่อง สรรเสริญในความดี และความสุขที่ผู้อื่นได้รับ
– แนะนำหรือเสนอแนะแนวทางต่อการยังประโยชน์ของผู้อื่นให้เจริญยิ่งขึ้นไป
– อนุโมทนาในกุศลกรรมที่ผู้อื่นได้กระทำ

4. อุเบกขา
อุเบกขา แห่งพรหมวิหาร 4 เป็นความสงบของจิตใจด้วยการวางใจเป็นกลางต่อความสุขหรือความทุกข์ที่ตนหรือผู้อื่นได้รับ ที่ประกอบขึ้นด้วยจิตที่ปราศจากความเศร้าหมองหรือความอิจฉาริษยาต่อสิ่งนั้นๆ

ประเภทของอุเบกขา
1. อุเบกขาแท้ คือ การวางใจเป็นกลางต่อความสุขหรือความทุกข์ด้วยจิตอันที่ตนตั้งมั่นโดยแท้ มิใช่เพียงแสร้งทำเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
2. อุเบกขาเทียม คือ การแสร้งทำในการวางใจเป็นกลางต่อความสุขหรือความทุกข์ เพียงเพื่อหลอกให้ผู้อื่นหลงเชื่อในตน

การแสดงออกในอุเบกขา
– ทำใจจิตเป็นกลาง ไม่มีความอิจฉาริษยาต่อความสุขที่ผู้อื่นได้รับ
– มีความเป็นธรรม และความเสมอภาคต่อผู้อื่น
– จิตใจสงบ ไม่โต้ตอบต่อสิ่งเราด้วยกายหรือวาจา
– ให้ความเคารพต่อต่อความคิด และการแสดงออกของผู้อื่น
– ยอมรับในผลแห่งการกระทำที่ยังให้เกิดขึ้นด้วยตนหรือผู้อื่น

 ที่มา 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง