ข้อใดเป็นประเด็นของการโต้แย้ง

การโต้แย้งเป็นการแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ผู้แสดงทรรศนะต้องพยายามหาเหตุผล สถิติ หลักการ อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ มาสนับสนุนทรรศนะของตนให้น่าเชื่อถือ และคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่งเรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการโต้แย้ง มีดังนี้
1. โครงสร้างของการโต้แย้ง
2. หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
3. กระบวนการโต้แย้ง
4. การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
5. ข้อควรระวังในการโต้แย้ง

โครงสร้างของการโต้แย้ง
โครงสร้างของการโต้แย้งคือ โครงสร้างของการแสดงเหตุผล เพราะกระบวนการโต้แย้งต้องอาศัยเหตุผลเป็นสำคัญ ซึ่งการโต้แย้งจะต้องประกอบด้วย
" ข้อสรุป " และ " เหตุผล "

ดังตัวอย่าง ทรรศนะที่ 1

นักเรียนระดับมัธยมตอนปลายของโรงเรียนนี้ส่วนใหญ่ต้องการออกไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ( เหตุผล )
ดังนั้นโรงเรียนของเราจึงควรเปิดรายวิชาเลือก วิชาพื้นฐานอาชีพที่มีอยู่ในหลักสูตรให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ( ข้อสรุปหรือข้อเสนอทรรศนะ )

ทรรศนะที่ 2

เรายังไม่ได้สำรวจอย่างเป็นกิจจะลักษณะเลยแม้แต่ครั้งเดียวว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนักเรียนของเราในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมุ่งหมาย
ที่จะไปทำอะไรต่อไป จะมีก็เพียงแต่การคาดคะเนเอาเองตามความรู้สึกส่วนตัวเท่านั้น ( เหตุผล )
ฉะนั้นเราอาจประสบความล้มเหลวก็ได้ ถ้าเรามุ่งที่จะเปิดวิชาพื้นฐานอาชีพให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ได้เคยเปิดมาแล้ว ( ข้อสรุปหรือข้อโต้แย้งทรรศนะที่ 1 )

ทรรศนะที่ 3
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย น่าจะสอบครั้งเดียวก็พอ จะได้ลดภาวะความเครียดของเด็ก สอบครั้งเดียวก็น่าจะตัดสินได้
เพราะเด็กที่เก่ง จะสอบกี่ครั้งก็ได้คะแนนดีทุกครั้ง

ทรรศนะที่ 4
เด็กที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ควรต้องผ่านการทดสอบหลาย ๆ ด้าน การวัดเฉพาะความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีการวัดด้านความถนัดด้วย
เพราะการเรียนในระดับสูงเด็กต้องวิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้
รู้จักเชื่อมโยง และการสอบหลายครั้งทำให้เด็กได้มีโอกาสเลือกโครงสร้างของการโต้แย้งอาจขยายกว้างออกไปเป็นเหตุผลหลายข้อ
ประกอบกัน และมีข้อสรุปหลายข้อด้วยก็ได้ ข้อสนับสนุนและข้อสรุปจะสั้นยาวเพียงใด อยู่ที่ดุลพินิจของผู้โต้แย้งหัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
ตามปกติหัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้งกว้างขวางมากไม่มีขอบเขตจำกัด แต่ในการโต้แย้งจริงๆ ต้องกำหนดประเด็นในการโต้แย้งเพื่อไม่ให
้เกิดความสับสน โต้แย้งกันให้ตรงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง ผู้ที่เริ่มการโต้แย้งควรเสนอสิ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายตรงข้ามอาจคัดค้าน
การเปลี่ยนแปลงนั้น โดยอ้างเหตุผลมาหักล้าง เพื่อชี้ให้เห็นว่าข้อเสนอนั้นไม่เหมาะสม หรือไม่มีประโยชน์

กระบวนการโต้แย้ง
กระบวนการโต้แย้งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
2. การนิยามคำสำคัญในประเด็นในการโต้แย้ง
3. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน
4. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะฝ่ายตรงข้าม

การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง หมายถึง คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกัน ซึ่งผู้โต้แย้งต้องรู้จักวิธีการตั้งประเด็นโดยไม่ให้ออกนอก
ประเด็น การโต้แย้งจะต้องรู้ว่ากำลังโต้แย้ง
เกี่ยวกับทรรศนะประเด็นใด เพื่อจะได้ไม่ได้แย้งออกนอกประเด็น แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบายเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม
การโต้แย้งประเภทนี้เริ่มจากมีผู้เสนอทรรศนะของตน เพื่อให้บุคคลอื่นพิจารณายอมรับผู้เสนอ
ทรรศนะก็จะหาเหตุผลมาสนับสนุนข้อเสนอของตน ชี้ให้เห็นว่าหลักการเดิมนั้นมีจุดอ่อนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
แล้วเสนอหลักการใหม่ที่จะแก้ไขจุดอ่อนนั้นได้และชี้ให้เห็นผลดีที่ได้รับจากหลักการใหม่นั้น การโต้แย้งประเภทนี้มีข้อที่ควรคำนึงของทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้งดังนี้

ฝ่ายเสนอ
ประเด็นที่ 1 ชี้ให้เห็นข้อเสียหายของสภาพเดิม
ประเด็นที่ 2 เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถแก้ไขข้อเสียหายได้
ประเด็นที่ 3 ชี้ให้เห็นผลดีของข้อเสนอ

ฝ่ายโต้แย้ง
ประเด็นที่ 1 ชี้แจงว่าไม่มีข้อเสียหาย หรือมีก็ไม่มากนัก
ประเด็นที่ 2 แย้งว่าข้อเสนอนั้นปฏิบัติได้ยาก
ประเด็นที่ 3 แย้งให้เห็นว่าเป็นตรงกันข้าม

2. การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้ง ควรคำนึงในเรื่องต่อไปนี้

ฝ่ายเสนอ
ประเด็นที่ 1 เรื่องนำมาอ้างมีอยู่จริง อยู่ที่ไหน
ประเด็นที่ 2 การตรวจสอบว่าเรื่องนั้นมีจริง ๆ สามารถตรวจสอบได้

ฝ่ายโต้แย้ง
ประเด็นที่ 1 แย้งว่าเรื่องนั้นไม่มีอยู่จริง
ประเด็นที่ 2 แย้งว่าได้ตรวจสอบแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามี
3. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า
การโต้แย้งประเภทนี้จะมีความรู้สึกส่วนตัวแทรกอยู่ด้วย
การนิยามคำสำคัญในประเด็นในการโต้แย้ง
การนิยาม คือ การกำหนดความหมายของคำว่า คำ ที่ต้องการจะโต้แย้งนั้นมีขอบเขตความหมายอย่างไร เพียงใด เพื่อการโต้แย้งจะ
ได้เข้าใจตรงกันไม่ให้สับสนวิธีการนิยามอาจทำได้โดยใช้พจนานุกรมสารานุกรมหรือนิยามด้วยการเปรียบเทียบ หรือยกตัวอย่างก็ได้การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตนทรรศนะจะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อสนับสนุน
ผู้โต้แย้งต้องพยายามแสดงทรรศนะที่มีข้อสนับสนุนที่หนักแน่น หลักฐานและเหตุผลต่างๆ เกี่ยวโยงสัมพันธ์
กันอย่างน่าเชื่อถือ วิธีการเรียบเรียงข้อสนับสนุนเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มตั้งแต่ส่วนอารัมภบทต้องดึงดูด
ความสนใจของผู้ฟัง ชวนให้ติดตามการแสดงทรรศนะนั้น สาระสำคัญที่เป็นประเด็นการโต้แย้งต้องแสดงข้อสนับสนุนอย่างชัดเจน
แจ่มแจ้ง และตรงตามความเป็นจริง

การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะฝ่ายตรงข้าม
จุดอ่อนของทรรศนะของบุคคลจะอยู่ที่การนิยามคำสำคัญ ปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล และสมมติฐานและวิธีการอนุมาน ผู้โต้แย้งจะต้องชี้ให้เห็นจุดอ่อนของการนิยามของฝ่ายตรงข้ามว่ามีจุดอ่อนอย่างไร
จุดอ่อนในด้านการนิยามคำสำคัญ นิยามที่ดีจะต้องชัดเจน รัดกุม นิยามที่ไม่ดี มีลักษณะดังนี้
1. นำเอาคำที่นิยามไปบรรจุไว้ในข้อความที่นิยาม
2. ข้อความที่ใช้นิยามมีถ้อยคำที่เข้าใจยากจนสื่อความหมายไม่ได้
3. ผู้นิยามมีเจตนาไม่สุจริต สร้างข้อโต้แย้งให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนจุดอ่อนในด้านปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่นำมาแสดงทรรศนะ
ผิดพลาดหรือน้อยเกินไป ทำให้ไม่น่าเชื่อถือจุดอ่อนในด้านสมมติฐานและวิธีการอนุมาน สมมติฐานหรือการอนุมานจะด้วยวิธีใดก็ตาม
ต้องเป็นที่ยอมรับเสียก่อน กล่าวคือ ต้องเป็นสมมติฐานที่ไม่เลื่อนลอย เป็นวิธีการอนุมานที่ไม่มีความผิดพลาด ถ้าชี้ให้เห็นว่า
สมมติฐานมีจุดอ่อน ไม่ควรค่าแก่
การยอมรับวิธีการอนุมานผิดพลาด ก็จะทำให้ทรรศนะนั้นมีน้ำหนักน้อย ไม่น่าเชื่อถือ
การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
การที่จะตัดสินว่าทรรศนะของฝ่ายใดควรแก่การยอมรับ หรือไม่ยอมรับนั้น มี 2 วิธี คือ
1. พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระที่นำมาโต้แย้งกันเท่านั้น
2. พิจารณาโดยใช้ดุลพินิจในคำโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด
ข้อควรสังเกตในการโต้แย้ง มีดังนี้
1. การโต้แย้งทำให้มีความคิดที่กว้างไกลขึ้น มองเห็นผลดีและผลเสียชัดเจนขึ้น
2. การโต้แย้งไม่กำหนดระยะเวลา วิธีการ จำนวนบุคคล และสถานะของผู้โต้แย้ง
3. การโต้แย้งแตกต่างจากการโต้เถียง เพราะเป็นการใช้ความคิดและวิจารณญาณที่อาศัยเหตุผลและหลักฐานเป็นสำคัญ
ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
1. หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ พยายามทำใจให้เป็นกลาง เคารพในเหตุผลของกันและกันโต้แย้งให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
2. มีมารยาทในการโต้แย้ง ควรใช้ภาษาที่สุภาพ เหมาะสมกับบุคคล สถานที่ และเนื้อหาแสดงความอ่อนน้อมและมีสัมมาคารวะ
3. เลือกประเด็นในการโต้แย้งเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงประเด็นที่ไม่มีใครรู้
ข้อเท็จจริงที่แน่นอน หรือประเด็นที่โต้กันแล้วจะทำให้เกิดการแตกแยกเข้าใจผิด ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมและ
การกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้น จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์กับการโน้มน้าวใจ
ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์สร้างทัศนคติความเชื่อค่านิยม รวมทั้งกระทำพฤติกรรมอื่น ๆ
อีกนานัปการ เพื่อสนองความต้องการ ของตน เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ถูกเร้าจนประจักษ์ว่า ถ้าตนได้ปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำไปตามแนวทางที่
ถูกรบเร้านั้นแล้ว ตนก็จะได้รับสิ่ง ซึ่งสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐาน ตามความปรารถนา เมื่อนั้นมนุษย์ก็จะตกอยู่ในสภาวะ
ที่ถูกโน้มน้าวใจได้ หลักสำคัญที่สุดของการโน้มน้าวใจคือการทำให้มนุษย์
ประจักษ์แก่ใจตนเองว่า ถ้าเชื่อเห็นคุณค่าหรือกระทำตามที่ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำ ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตน
การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ
1. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจโดยธรรมดาบุคคลที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ มีความรู้จริง
มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดี ต่อผู้อื่นย่อมได้รับความเชื่อถือจากบุคคลทั่วไป
2. การแสดงให้ประจักษ์ ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้ประจักษ์ว่า เรื่องที่ตนกำลังโน้มน้าวใจมีเหตุผลหนักแน่น
และมีคุณค่าควร แก่การยอมรับ อย่างแท้จริง
3. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วมบุคคลที่มีอารมณ์ร่วมกันย่อมคล้อยตามกันได้ง่ายกว่าบุคคลที่มีความ รู้สึก
ปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจ ค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วมออกมา การโน้มน้าวใจก็จะสัมฤทธิ์ผล
4. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสียผู้โน้มน้าวใจต้องโน้มน้าวผู้รับสารให้ เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตนต้องการ
โดยชี้ให้ว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไรด้านที่เป็นคุณอย่างไร
5. การสร้างความหรรษาแก่ผู้รับสารการเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ผ่อนคลายด้วยอารมณ์ขัน จะ ทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลาง ๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้
6. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจโกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช่เหตุผลอย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึง ความถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะคล้อยไปตามที่ผู้โน้มน้าวใจเสมอแนะนำได้ง่าย

น้ำเสียงของภาษาที่โน้มน้าวใจ
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อ
ความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวลในน้ำเสียง
การพิจารณาสารโน้มน้าวใจลักษณะต่าง ๆ
1. คำเชิญชวน เป็นการแนะให้ช่วยกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กลวิธีคือ การชี้ให้เห็นผู้ถูกโน้มน้าวใจเกิดความภาคภูมิใจว่า
ถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวน จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
2. โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการลักษณะสำคัญของโฆษณาสินค้าคือ
2.1 จะมีส่วนนำที่สะดุดหูสะดุดตาซึ่งมีผลทำให้สะดุดใจสาธารณชน
2.2 ตัวสารจะไม่ใช่ถ้อยคำที่ยืดยาว มักเป็นรูปประโยคสั้นๆ หรือวลีสั้นๆ
2.3 เนื้อหาจะชี้ให้เห็นถึงความดีของสินค้า
2.4 ผู้โฆษณาจะโน้มน้าวใจที่มุ่งสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
2.5 เนื้อหาของการโฆษณา จะขาดเหตุผลที่หนักแน่นและรัดกุม
2.6 สารโฆษณาจะปรากฏทางสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ กัน
3. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพยายามโดยจงใจเจตนา ที่จะเปลี่ยนความเชื่อและการกระทำของบุคคลให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ
ด้วยวิธีต่าง ๆ โดยไม่คำนึง ถึงความถูกต้อง ของเหตุผลและข้อเท็จจริง ผู้โฆษณามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนความเชื่อ
และอุดมการณ์ของคน ให้นิยมเลื่อมใสในอุดมการณ์ฝ่ายตน และกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ ตามที่ฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อต้องการ
กลวิธีในการโฆษณาชวนเชื่อ
1. การตราชื่อ เป็นการเบนความสนใจและผู้รับสารไปจากเหตุผลและข้อเท็จจริง ผู้รับสารควรพิจารณาหลักการและเนื้อหาต่าง ๆ
ให้รอบคอบเสียก่อน โดยไม่ใช้ความคิด หรือเหตุผลตรวจสอบ
2. การกล่าวสรุปรวม ๆ ด้วยถ้อยคำหรูหรา ผู้โน้มน้าวใจมักจะใช้ถ้อยคำที่ผูกพันความคิด หลักการ บุคคล สถาบันและอุดมการณ์
ทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ เลื่อมใส ด้วยความคิด บุคคลและสถาบัน
3. การอ้างบุคคลหรือสถาบัน ผู้โฆษณาจะเน้นการใช้วิธีอ้างถึงสถาบันหรือบุคคลที่ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ฟังเกิด
ทัศนคติที่ดี หรือเกิดความนิยมชมชอบนโยบาย หลักการหรืออุดมการณ์ของตน
4. การทำเหมือนชาวบ้านธรรมดา ผู้โฆษณาจะเชื่อมโยงตนเองและหลักการหรือความคิดของตน ให้เข้าไปผูกพันกับชาวบ้านเพื่อแสดงตนว่า ตนเป็นพวกเดียวกับ ชนเหล่านั้น
5. การกล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน ผู้โฆษณาจะเลือกนำแต่เฉพาะแง่ที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากล่าวโดยพยายาม
กลบเกลื่อนแง่อื่นที่เป็นโทษ
6. การอ้างคนส่วนใหญ่ ผู้โฆษณาชวนเชื่อพยายามชักจูงให้ผู้รับสารเกิดความตระหนักว่าคนส่วนใหญ่ ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้การโน้มน้าวใจจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ก็ต่อเมื่อ ผู้โน้มน้าวใจมีเจตนาที่ลวง กลบเกลื่อน หรือปิดบังไม่ให้ผู้รับการได้รับรู้ความจริงและเหตุผลที่จะเป็นต้องรู้

       //www.im2market.com/2015/12/23/2250

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง