ระบบส่งเสริมให้นักเรียนได้รอบรู้ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญ ในศตวรรษที่ 21 ด้านการประเมินผลคือข้อใด

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21  (21st Century Support Systems) เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามโมเดลที่กล่าวถึง ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญจะประกอบไปด้วย

  1. มาตรฐานในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards) จุดเน้น (1) เน้นทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เกิดกับผู้เรียน (2). สร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้น (3) มุ่งเน้นการสร้างความรู้และเข้าใจในเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผิน (4) ยกระดับความสามารถผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริง การใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษา การทางานและในการดารงชีวิตประจาวัน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และ (5) ใช้หลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง
  2. การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 (Assessment of 21st Century Skills) จุดเน้น (1) สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบทดสอบมาตรฐานสาหรับการทดสอบย่อยและทดสอบรวมสาหรับการประเมินผลในชั้นเรียน (2) เน้นการนำประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไขงาน (3) ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (4) สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
  3. หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 (21st Century Curriculum & Instruction) จุดเน้น (1) การสอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก (2) สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา และสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน (Competency-based) (3) สร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรียนจากการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based) เพื่อการสร้างทักษะขั้นสูงทางการคิด และ (4) บูรณาการแหล่งเรียนรู้ (Learning Resources) จากชุมชนเข้ามาใช้ในโรงเรียน
  4. การพัฒนาทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 (21st Century Professional Development) (1) จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการสร้างครูให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงบูรณาการ การใช้เครื่องมือและกำหนดยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน และสร้างให้ครูมีความสามรรถในการวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสม (2) สร้างความสมบูรณ์แบบในมิติของการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย (3) สร้างให้ครูเป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงลึกเกี่ยวกับการแก้ปัญหา การคิดแบบวิจารณญาณ และทักษะด้านอื่นๆที่สำคัญต่อวิชาชีพ (4) เป็นยุคแห่งการสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพให้เกิดขึ้นกับครูเพื่อเป็นตัวแบบ ( Model ) แห่งการเรียนรู้ของชั้นเรียนที่จะนาไปสู่การสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ (5) สร้างให้ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนได้ทั้งรูปแบบการเรียน สติปัญญา จุดอ่อนจุดแข็งในตัวผู้เรียน เหล่านี้เป็นต้น (6) ช่วยให้ครูได้เกิดการพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นเพื่อนาไปใช้สาหรับการกำหนดกลยุทธ์ทางการสอนและจัดประสบการณ์ทางการเรียนได้เหมาะสมกับบริบททางการเรียนรู้ (7) สนับสนุนให้เกิดการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างทักษะและเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ (8) แบ่งปันความรู้ระหว่างชุมชนทางการเรียนรู้โดยใช้ช่องทางหลากหลายในการสื่อสารให้เกิดขึ้น และ (9) สร้างให้เกิดตัวแบบที่มีการพัฒนาทางวิชาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
  5. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environment ) (1) สร้างสรรค์แนวปฏิบัติทางการเรียน การรับการสนับสนุนจากบุคลากรและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เกื้อหนุน เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุผล (2) สนับสนุนทางวิชาชีพแก่ชุมชนทั้งในด้านการให้การศึกษา การมีส่วนร่วม การแบ่งปันสิ่งปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกันรวมทั้งการบูรณาการหลอมรวมทักษะหลากหลายสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน (3) สร้างผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติจริงตามบริบท โดยเฉพาะการเรียนแบบโครงงาน (4) สร้างโอกาสในการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือหรือแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ (5) ออกแบบระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งการเรียนเป็นกลุ่มหรือการเรียนรายบุคคล และ (6) นำไปสู่การพัฒนาและขยายผลสู่ชุมชนทั้งในรูปแบบการเผชิญหน้าหรือระบบออนไลน์

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
สอนอย่างไรให้เกิดผลกับผู้เรียน

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะสำคัญมากมาย มนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการ สอนที่หลากหลายหากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลาอาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญาผู้เรียนควร เป็นผู้กำหนด องค์สามรู้ของตนเองไม่ใช่นำความรู้ไปใส่และให้ผู้เรียนดำเนินรอยตามผู้สอน โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัยมีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมไม่ ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่แบบเผด็จการ แบบให้อิสระ หรือประชาธิปัตย์ไตย เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุกๆ 10 ปี โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลายโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด และระบบที่ยืดหยุ่นจะผลิตคนที่รู้จักคิดยืดหยุ่น

        การพัฒนากรอบความคิด ที่ครอบคลุมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้นจำเป็นจะต้องสร้างระบบส่งเสริมเพิ่มขึ้นจาก ทักษะเฉพาะด้าน องค์ความรู้ความชำนาญการและความสามารถในการเรียนรู้ด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนรอบรู้มีความสามารถที่จำเป็นและหลากหลาย เครือข่าย P21 ได้ระบุระบบส่งเสริมให้นักเรียนได้รอบรู้ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้ด้วยกัน 5 ระบบได้แก่มาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การประเมินผลทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 และบรรยากาศ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้


1. มาตรฐาน ในศตวรรษที่ 21 มีการเน้นทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนพร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้นการสร้างความรู้ และความเข้าใจเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผินจึงสามารถยกระดับผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริงการใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาและมีหลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง

2. การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 มีการสร้างความสมดุลในการประเมินเชิงคุณภาพโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานสำหรับการทดสอบย่อยและการทดสอบรวม โดยการนำผลที่สะท้อนมาปฏิบัติปรับปรุงแก้ไขอาจใช้การพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ

3. หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 มี หลักการสอนเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก มีการสร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะจึงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหาและสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐานพร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุนการเรียนรู้แบบสืบค้นและวิธีการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการสร้างทักษะขั้นสูงขั้นการคิด

4. การพัฒนาทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการสร้างครูให้เป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงบูรณาการการใช้เครื่องมือและกำหนดยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนและสร้างให้ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสม

5. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษ 21พื่อสร้างสรรค์แนวปฏิบัติการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากบริบทจริงเป็นการสร้างโอกาสในการก็ถึงสื่อเทคโนโลยีเครื่องมือหรือแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพนำไปสู่การพัฒนาและขยายผล สู่ชุมชนทั้งในรูปแบบเผชิญหน้า หรือระบบออนไลน์

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำดับที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนได้เช่นการกำหนดปัญหาที่ผู้เรียนสนใจการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆได้ด้วยตนเองและการสอนที่ถือว่ามีประสิทธิภาพครูต้องมีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่สอนครูต้องมีลักษณะที่สามารถชี้แนะการเรียนรู้และสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำนักเรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีมีมากมายครูสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนในด้านต่างๆเช่นการใช้วีดีทัศน์ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาที่เป็นนามธรรมการใช้วีดีทัศน์มีทั้ง ภาพยนต์ แอนิเมชั่น หรือโปรแกรมต่างๆถือได้ว่ามีความสำคัญต่อผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน


     นสมัยนี้ถือได้ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และมีความสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างมากทั้งอินเตอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆก็เป็นส่วนหนึ่งการเรียนรู้ ครู แห่งศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีความทันสมัยและก้าวทันยุค เนื่องจากโลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยนทำให้เด็กเรียนเด็กสมัยนี้ไม่ได้เรียนรู้และข้อมูลสำคัญเฉพาะการเรียนรู้ในโรงเรียนอีกต่อไปแต่ผู้เรียนสมัยนี้มีความรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆที่มีความทันสมัยและรองรับความสนใจของผู้เรียนเป็นอย่างดีแต่บางครั้งการเรียนรู้ในอินเตอร์เน็ตไม่ใช่ดีเสมอไปครูจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจแก่ผู้เรียน ครูเป็นเพียงผู้ช่วยหรือคุณอำนวยการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ไปพร้อมๆกัน

นางสาวอารีรัตน์ แก้วล่องลอย

5706510056 TH257

ผู้สรุป

อ้างอิง

โดย โชติมาพร ไชยสิทธิ์

นิสิตปริญญาเอก รุ่น 5 สาขาหลักสูตรและการสอน

//drive.google.com/file/d/0B6bhjP--r6NdQW40elRCUUU5d2s/view

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง