ปีพศ. 2557 ตรงกับปีนักษัตรอะไร

พ.ศ. 2557 ในปฏิทินอื่น ๆ

ปฏิทินสุริยคติไทย 2557
 - รัตนโกสินทรศก 233
 - ปีนักษัตร มะเมีย
 - พุทธศักราช 2558
ปฏิทินเกรกอเรียน ค.ศ. 2014 (MMXIV)
ปฏิทินเกาหลี 4347
ปฏิทินคอปติก 1730 – 1731
จุลศักราช 1376
ปฏิทินจูเลียน เกรกอเรียนลบ 13 วัน
ปฏิทินญี่ปุ่น ปีเฮเซที่ 26 (平成26年)
ปฏิทินบาไฮ 170 – 171
มหาศักราช 1936
อับ อูรเบ กอนดิตา 2767
ปฏิทินอาร์เมเนีย 1463 (ԹՎ ՌՆԿԳ)
ปฏิทินเอธิโอเปีย 2006 – 2007
ฮิจญ์เราะหฺศักราช 1435 – 1436
ปฏิทินฮินดู
 - วิกรมสมวัต 2069 – 2070
 - ศกสมวัต 1936 – 1937
 - กลียุค 5115 – 5116
ปฏิทินฮีบรู 5774 – 5775

    

พุทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักราช

  • พุทธศักราช 2557 นับเป็นปีที่ 557 แห่งพุทธสหัสวรรษที่ 3 หรือปีที่ 57 แห่งพุทธศตวรรษที่ 26 หรือปีที่ 8 แห่งพุทธทศวรรษที่ 255
  • ตรงกับปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช 1376 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
  • สหประชาชาติกำหนดให้ปีนี้เป็นปีสากลในด้านต่อไปนี้[1]
    • ปีสากลแห่งความเป็นหนึ่งเดียวร่วมกับชาวปาเลสไตน์ (International Year of Solidarity with the Palestinian People)
    • ปีสากลแห่งรัฐเกาะขนาดเล็กที่กำลังพัฒนา (International Year of Small Island Developing States)
    • ปีสากลแห่งเกษตรกรรมโดยครอบครัว (International Year of Family Farming)
    • ปีสากลแห่งผลิกศาสตร์ (International Year of Crystallography)

ผู้นำ[]

ดูบทความหลักที่ รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2557

  • พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
  • นายกรัฐมนตรี :
    1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
    2. นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (รักษาราชการแทน, 7 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
    3. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน; รักษาราชการแทน: 22 พฤษภาคม – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557)

เหตุการณ์[]

มกราคม[]

  • 1 มกราคม - ประเทศลัตเวียเปลี่ยนมาใชเงินสกุลยูโร
  • 13 มกราคม - กปปส. เริ่มชุมนุมปิดกรุงเทพมหานคร

กุมภาพันธ์[]

  • กุมภาพันธ์ – เกิดการระบาดอีโบลาในพื้นที่แอฟริกาตะวันตก นับเป็นการระบาดของโรคไวรัสอีโบลาครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรก
  • 7 กุมภาพันธ์ - 7 มีนาคม - การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ณ เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย
  • 13 กุมภาพันธ์เบลเยียมเป็นประเทศแรกของโลกที่กฎหมายอนุญาตให้การุณยฆาตได้โดยไม่จำกัดอายุ[2]
  • 22 กุมภาพันธ์ – รัฐสภายูเครนลงมติถอดถอนประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิชออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งโอเล็กซันดร์ ทูร์ชินอฟดำรงตำแหน่งแทน หลังการก่อความไม่สงบหลายวันซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คนในกรุงเคียฟ[3]

มีนาคม[]

  • 8 มีนาคม - เครื่องบินของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ MH 370 ซึ่งมีผู้โดยสาร 239 คน หายสาบสูญเหนืออ่าวไทย ระหว่างทางจากกัวลาลัมเปอร์ไปปักกิ่ง มีการสันนิษฐานว่าเครื่องบินลำนี้จะตกในมหาสมุทรอินเดีย[4]
  • 16 มีนาคม - มีการจัดการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย[5]
  • 21 มีนาคม
    • ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้จัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[6]
    • รัสเซียผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนอย่างเป็นทางการ
  • 24 มีนาคม - ในระหว่างการประชุมฉุกเฉิน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และแคนาดา ได้คัดรัสเซียออกจาก G8
  • 29 มีนาคม
    • กปปส. ชุมนุมใหญ่ โดยไปที่รัฐสภา พระบรมรูปทรงม้า
    • ครบรอบ 7 ปี กามิกาเซ่ ค่ายเพลงวัยรุ่นแห่งชาติ โดยได้ออกเพลง 7 ปีที่รักเธอ [7]

เมษายน[]

  • 6 เมษายน - เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 ณ สนาม เมอร์ซีเดส-เบนซ์ ซุเปอร์โดม เมืองนิวออร์ลีนส์รัฐลุยเซียนา ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบเพย์-เพอร์-วิว (PPV) ของ WWE ซึ่งอันเดอร์เทคเกอร์ ถูกล้างสถิติ 21-1

พฤษภาคม[]

  • 7 พฤษภาคม - ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นจากตำแหน่ง พร้อมกับรัฐมนตรีอื่นอีก 9 คน ที่โยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
  • 20 พฤษภาคม - กอ.รส. ประกาศกฎอัยการศึก ตั้งแต่เวลา 3 นาฬิกา
  • 22 พฤษภาคม – เกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเวลา 16:30 น. และเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย หลังจากเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศนานหลายเดือน[8]

มิถุนายน[]

  • 13 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม - การแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2014ประเทศบราซิล
  • 27 มิถุนายน - วันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 80 ปี

กรกฎาคม[]

  • 8 กรกฎาคม26 สิงหาคมปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์โดยกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เริ่มขึ้นรอบเขตฉนวนกาซา เป็นการโจมตีด้วยขีปนาวุธนานาชนิด ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮะมาสอย่างต่อเนื่อง
  • 17 กรกฎาคมมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 ซึ่งเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถูกขีปนาวุธยิงตกในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน ใกล้กับพรมแดนประเทศรัสเซีย ทำให้ผู้โดยสารรวมทั้งลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 298 ราย
  • 24 กรกฎาคมแอร์แอลจีเรีย เที่ยวบินที่ 5017 ตกในประเทศมาลี ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 116 ราย

สิงหาคม[]

  • 7 สิงหาคมศาลเขมรแดงวินิจฉัยว่า นวน เจียและเขียว สัมพัน ผู้นำเขมรแดง มีความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และตัดสินจำคุกตลอดชีวิต[9]
  • 8 สิงหาคม – กองทัพสหรัฐเริ่มการทัพทางอากาศในภาคเหนือของอิรักเพื่อหยุดการไหลบ่าของนักรบไอซิส

กันยายน[]

  • 18 กันยายน – มีการจัดการลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ ผลปรากฏว่า ฝ่ายข้างมาก 55% ลงมติ "ไม่" ต่อเอกราช และมีเพียงสี่สภาที่ประกาศเอกราช[10]

ตุลาคม[]

  • 4 ตุลาคม – กามิกาเซ่ แดนซ์เนรมิต คอนเสิร์ต คอนเสิร์ตประจำปีครั้งที่ 6 ของค่ายกามิกาเซ่

พฤศจิกายน[]

  • 13 พฤศจิกายน – ยานฟิเลของยานสำรวจอวกาศโรเซตตาลงจอดบนดาวหาง 67พีสำเร็จ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ยานอวกาศลงจอดบนดาวหาง

ธันวาคม[]

  • 11 ธันวาคมพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์พระราชวงศ์
  • 17 ธันวาคม – ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ประกาศคืนสภาพความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับคิวบา[11]
  • 28 ธันวาคมอินโดนีเซียแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ 8501 สาบสูญในการบินจากซูราบายา ประเทศอินโดนีเซียไปประเทศสิงคโปร์ มี 162 คนบนเครื่อง[12]

วันเกิด[]

  • 20 กุมภาพันธ์เจ้าหญิงเลโอนอร์ ดัชเชสแห่งกอตลันด์
  • 10 ธันวาคม
    • เจ้าหญิงกาเบรียลา เคาน์เตสแห่งการ์ลาแด็ส
    • เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก

วันถึงแก่กรรม[]

มกราคม[]

  • 5 มกราคม – ยูเซบิโอ นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2485)
  • 7 มกราคมรัน รัน ชอว์ นักสร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกง (เกิด 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450)
  • 11 มกราคมอาเรียล ชารอน นายกรัฐมนตรีแห่งอิสราเอล (เกิด 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471)
  • 14 มกราคมเมย์ ยัง นักมวยปล้ำชาวอเมริกัน (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2466)
  • 16 มกราคมฮิโร โอะโนะดะ ทหารชาวญี่ปุ่น (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2465)
  • 27 มกราคมพีต ซีเกอร์ นักร้อง นักแต่งเพลงและนักดนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2462)

กุมภาพันธ์[]

  • 2 กุมภาพันธ์ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510)
  • 28 กุมภาพันธ์วิเชียร นีลิกานนท์ นักแสดงชาวไทย (เกิด 26 ธันวาคม พ.ศ. 2474)

มีนาคม[]

  • 31 มีนาคมแฟรงกี นักเคิลส์ ผู้จัดรายการและบันทึกการผลิตชาวอเมริกัน (เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2498)

เมษายน[]

  • 2 เมษายนประโยชน์ เนื่องจำนงค์ นักการเมืองชาวไทย (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2466)
  • 8 เมษายนดิ อัลติเมท วอร์ริเออร์ นักมวยปล้ำอาชีพ (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2502)
  • 15 เมษายนรัชนี ศรีไพรวรรณ ครูชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2474)
  • 17 เมษายนกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นักประพันธ์ชาวโคลอมเบีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2470)
  • 24 เมษายนฮันส์ ฮอลไลน์ นักออกแบบชาวออสเตรีย (เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2477)
  • 25 เมษายนตีโต บีลานอบา ผู้จัดการทีมฟุตบอล (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2511)
  • 30 เมษายนพีรพันธุ์ พาลุสุข นักการเมืองชาวไทย (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2489)

พฤษภาคม[]

  • 12 พฤษภาคมเอช อาร์ กีเกอร์ นักวาดภาพชาวสวิส (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483)
  • 30 พฤษภาคมกาญจนา นาคนันทน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2464)

มิถุนายน[]

  • 15 มิถุนายนดาเนียล คีย์ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470)

กรกฎาคม[]

  • 4 กรกฎาคมปาน พึ่งสุจริต นักการเมืองชาวไทย (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489)
  • 7 กรกฎาคมอัลเฟรโด ดี สเตฟาโน นักฟุตบอลและโค้ชชาวอาร์เจนติน่า-สเปน (เกิด 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2469)
  • 20 กรกฎาคมพันนา ฤทธิไกร นักแสดงชาวไทย (เกิด 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504)
  • 25 กรกฎาคมกฤตยา ล่ำซำ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2506)

สิงหาคม[]

  • 11 สิงหาคมโรบิน วิลเลียมส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)

กันยายน[]

  • 3 กันยายน
    • ถวัลย์ ดัชนี จิตรกรชาวไทย (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2482)
    • โก อึน-บี นักร้องชาวเกาหลีใต้ (เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
  • 7 กันยายน
    • คว็อน รี-เซ นักร้องชาวเกาหลีใต้ (เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2534)
    • โยชิโกะ ยามางูจิ นักแสดงและนักร้องชาวญี่ปุ่น (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463)
  • 28 กันยายนสวัสดิ์ คำประกอบ นักการเมืองชาวไทย (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2462)
  • 30 กันยายนสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ นักประพันธ์เพลงชาวไทย (เกิด 22 กันยายน พ.ศ. 2469)

ตุลาคม[]

  • 6 ตุลาคมอภิวันท์ วิริยะชัย นักการเมืองชาวไทย

พฤศจิกายน[]

  • 15 พฤศจิกายน - เสือมเหศวร
  • 29 พฤศจิกายน - ศักดิชัย บำรุงพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ นักเขียน นักการทูต นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย[13]

ธันวาคม[]

  • 5 ธันวาคม - สมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม (พระราชสมภพ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2471)

รางวัลโนเบล[]

  • สาขาเคมี – เอริค เบตซิก, สเตฟาน ดับเบิลยู. เฮลล์ และ วิลเลียม อี. มัวร์เนอร์[14]
  • สาขาวรรณกรรม – ปาทริค โมดิยาโน[15]
  • สาขาสันติภาพ – ไกรลาส สัตยาธิ และ มะลาละห์ ยูซัฟซัย[16]
  • สาขาฟิสิกส์ – อิซามุ อาคาซากิ, ฮิโรชิ อามาโนะ และ ชูจิ นากามูระ[17]
  • สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – จอห์น โอคีฟ, เมย์-บริตต์ โมเซอร์ และ เอ็ดวาร์ด โมเซอร์[18]
  • สาขาเศรษฐศาสตร์ – ฌ็อง ติโรล[19]

วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม[]

  • 31 มกราคม - วันตรุษจีน
  • 14 กุมภาพันธ์ - วันมาฆบูชา
  • 30 มีนาคม - วันตรุษไทย
  • 5 เมษายน - วันเช็งเม้ง
  • 13-15 เมษายน - สงกรานต์
  • 20 เมษายนวันอีสเตอร์
  • 9 พฤษภาคม - แรกนาขวัญ
  • 13 พฤษภาคม - วันวิสาขบูชา
  • 2 มิถุนายน - วันบ๊ะจ่าง
  • 21 มิถุนายนครีษมายัน
  • 11 กรกฎาคม - วันอาสาฬหบูชา
  • 12 กรกฎาคม - วันเข้าพรรษา
  • 2 สิงหาคม - เทศกาลเจ็ดนางฟ้า
  • 10 สิงหาคมวันสารทจีน
  • 8 กันยายนวันไหว้พระจันทร์
  • 23 กันยายนวันสารทไทย
  • 24 กันยายน - 2 ตุลาคมเทศกาลกินเจ
  • 8 ตุลาคม - วันออกพรรษา
  • 6 พฤศจิกายน - วันลอยกระทง
  • 21 ธันวาคมเหมายัน
  • 22 ธันวาคมวันไหว้ขนมบัวลอย
  • 25 ธันวาคม - วันคริสต์มาส

บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้[]

  • แปซิฟิค ริม สงครามอสูรเหล็ก (พ.ศ. 2556)
  • อีวานเกเลียน (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2539)
  • บียอนด์:ทู โซลส์ (พ.ศ. 2556)

อ้างอิง[]

  • หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).

  1. "United Nations Observances". สหประชาชาติ. //www.un.org/en/events/observances/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2557-07-31.
  2. "Belgium's parliament votes through child euthanasia", BBC News, February 13, 2014. สืบค้นวันที่ February 13, 2014
  3. "Ukraine: Speaker Oleksandr Turchynov named interim president", BBC News, February 23, 2014. สืบค้นวันที่ February 23, 2014
  4. {{Malaysia Airlines plane missing at sea off Vietnam, presumed crashed
  5. Ukraine crisis: EU ponders Russia sanctions over Crimea vote
  6. เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ. มติชน
  7. ศิลปิน KamiKaze หอบเค้กก้อนโตอวยพรค่าย พร้อมเฉลย Surprise ใหญ่
  8. "'ประยุทธ์-เหล่าทัพ'แถลง'ควบคุมอำนาจรัฐ' [Prayuth and military chiefs are controlling state powers]" (ในภาษาThai). คมชัดลึก. 2014-05-22. //www.komchadluek.net/detail/20140522/185160.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2014-05-22.
  9. "Top Khmer Rouge leaders guilty of crimes against humanity", 7 August 2014. สืบค้นวันที่ 8 August 2014
  10. //www.bbc.co.uk/news/uk-scotland-29270441
  11. "Obama hails 'new chapter' in US-Cuba ties". BBC. 17 December 2014. //www.bbc.co.uk/news/world-us-canada-30516740. เรียกข้อมูลเมื่อ 17 December 2014.
  12. "AirAsia flight QZ8501 loses contact with air traffic control", 28 December 2014. สืบค้นวันที่ 28 December 2014
  13. //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1417266189
  14. //www.nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laureates/2014/press.html
  15. //www.nobelprize.org/nobel_prizes/literature/laureates/2014/press.html
  16. //www.nobelprize.org/nobel_prizes/peace/laureates/2014/press.html
  17. //www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/2014/press.html
  18. //www.nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/2014/press.html
  19. //www.nobelprize.org/nobel_prizes/economic-sciences/laureates/2014/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง