ภาษีประเภทใดที่จัดเก็บโดยกรมสรรพสามิต

           วิธีการคำนวณ ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ = ปริมาณ x ภาษีสรรพสามิต = 30,000 x 3.685 = 110,550.00 บาท ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = ปริมาณ X ภาษีสรรพสามิต = 30,0000 X8.50X42/100 = 107100.00 บาท เพราะฉะนั้นจะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 110,550.00 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มพื่อกระทรวงมหาดไทย10% ของค่าภาษี = 11,055.00 บาท รวมต้องชำระภาษี = 121,605.00 บาท

ไม่ว่ารัฐบาลจะเบิกงบประมาณชาติ (กรมบัญชีกลาง) ผลิตเหรียญออกมาใช้ (กรมธนารักษ์) เก็บภาษีประชาชน (กรมสรรพากร) ฯลฯ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเงินของชาติมักต้องอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลังทั้งนั้น เพราะกระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเงินการคลังของแผ่นดิน เช่น การเก็บภาษีอากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจ การบริหารพัสดุของภาครัฐ และทรัพย์สินของแผ่นดิน ฯลฯ

ดังนั้นภาษีคนไทยถือเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยกระทรวงการคลังจะมอบหมายให้กรมสรรพากรต้องเก็บภาษีอากรประมาณ 60% ของรายได้ทั้งประเทศ (ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นทุกปี) อย่างไรก็ตามภายใต้กระทรวงการคลังแบ่งหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีเป็น 3 ส่วนได้แก่

  1. กรมสรรพสามิต รับผิดชอบในการเก็บภาษีสินค้าบางประเภทที่ผลิตในประเทศไทย รวมถึงเก็บภาษีสินค้าบางอย่างที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีสถานบริการ ฯลฯ และมีมาตรการปราบปรามคนที่ทำผิดกฎด้วย
  2. กรมศุลกากร    รับผิดชอบเก็บภาษีศุลกากร จากการค้าระหว่างประเทศ เช่น ภาษีอากรขาเข้า-ขาออก ซึ่งหน่วยงานนี้สามารถเก็บภาษีแทนกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงมีมาตรการป้องกัน ปราบปรามไม่ให้คนลักลอบหนีภาษี
  3. กรมสรรพากร   รับผิดชอบการเก็บภาษีตามประมวลรัษฏากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป แบ่งเป็นภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และเก็บภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีปิโตรเลียม และอากรแสตมป์

ทั้งนี้กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่สร้างรายได้ภาษีหลัก จึงมีอำนาจในการกำกับ ตรวจสอบ ติดตามและเร่ง (ให้คนจ่าย) ภาษีอากรค้าง รวมถึงมีอำนาจในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและระบบการจัดเก็บภาษี ไปจนถึงการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการออม การลงทุน ช่วยให้แข่งขันกับต่างประเทศ และใช้ภาษีเพื่อกระจายรายได้ ที่สำคัญต้องสร้างให้คนไทยสมัครใจในการเสียภาษี

ปี 2562 สรรพากรตั้งเป้าเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท

ปีงบประมาณ 2562 (เริ่มเดือนต.ค. 2561-ก.ย.2562) ภาครัฐตั้งเป้าหมายให้กรมสรรพากรต้องจัดเก็บภาษี 2,000,000 ล้านบาท ภายใต้การส่งออกไทยโต 8% GDP โต 4% (ปีงบประมาณ 2561 ยอดเก็บภาษีจริงอยู่ที่ 1,915,456 ล้านบาท)

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร บอกว่า ปีงบประมาณ 2562 คาดว่าจะเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย โดยครึ่งปีแรกงบประมาณปีนี้ (ณ มี.ค. 2562) เก็บภาษีได้แล้ว 823,000 ล้านบาท ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทั้งนี้เฉพาะเดือนมี.ค. 2562 กรมสรรพากรเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ สาเหตุที่เก็บภาษีได้น้อยลงมาจากผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง และนักลงทุนชะลอการลงทุน

ที่ผ่านมากรมสรรพากร รายได้ภาษีจะมาจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ประมาณ 40% รองลงมาคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)

สรุป

เรียกว่ากรมสรรพากรมีหน้าที่หารายได้ภาษีเข้าภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ ทำธุรกิจ หรือซื้อของในชีวิตประจำวันก็เสียภาษีให้สรรพากรทั้งนั้น

ที่มา BU, Postoday, กรมสรรพากร

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Share this:

  • Tweet

Related

Chutinun Sanguanprasit (Liu)

จากนักข่าวการเงินหนังสือพิมพ์ธุรกิจย่านประชาชื่น ผันตัวเข้าโลกออนไลน์ ความท้าทายครั้งใหม่คือการเล่าเรื่องเงินให้เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

[ประเด็นสำคัญ] ภาษีสรรพสามิต เป็นการเก็บภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท เพื่อให้ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เนื่องจากสินค้าเหล่านั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรม หรือมีลักษณะเป็นของฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาล หรือก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

ภาษีสรรพสามิต ถือเป็นภาษีทางอ้อม เนื่องจากผู้ผลิตหรือผู้ขายได้ชำระภาษีให้กับรัฐบาลแล้ว แต่ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็จะมีการขึ้นราคาสินค้าเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายภาษีที่เกิดขึ้น ซึ่งเสมือนว่าผู้บริโภคจะต้องแบกรับภาระภาษีในการซื้อสินค้านั้นอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สำหรับสินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิต
เพราะว่าเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรม หรือมีลักษณะเป็นของฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาล หรือก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

โดยหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง

ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้นำเข้าสินค้า ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ และบุคคลอื่นที่พระราชบัญญัติกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะฟุ่มเฟือย และสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย โดยสรุปการจําแนกเป็นกลุ่มสินค้าและบริการ ดังนี้

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กันยายน 2560 เป็นการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของระบบกฎหมายภาษีสรรพสามิตและแนวทางการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส เป็นสากล และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ส่งผลให้กฎหมายภาษีสรรพสามิตสามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้น ในการบริหารการจัดเก็บภาษีได้ทั้งระบบ และทําให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้กรมสรรพสามิตได้ออกกฎหมายลําดับรองประมาณ 80 ฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท โดยเฉพาะอัตรา การจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการต่าง ๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง