ทํางานในสนามบิน มีอะไรบ้าง

เพราะในสนามบินไม่ได้มีแค่นักบินและแอร์โฮสเตสที่ทำงานในสายการบินอยู่ แต่ยังมีพนักงาน อีกหลากหลายตำแหน่ง

ผู้บริหารสายการบิน หรือ ผู้จัดการสนามบิน (Airport Operations Manager หรือ Station Manager)

คอยควบคุมดูแลงานด้านบริหารในภาพรวม อาทิให้การปฏิบัติงานของเหล่าพนักงานประสานงานภาคพื้นดินเป็นไปอย่างราบรื่น และเมื่อเกิดปัญหาก็จะต้องใช้วิจารณญานในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อาทิเช่น ในกรณี มีการแอบซ่อนสัตว์เลี้ยง การดูแลผู้สูงอายุและเด็กเดินทางคนเดียว ผู้โดยสารเมาอาละวาดเป็นต้น ซึ่งจะมีขอบเขตงานกว้างขวางมาก

นักบินเครื่องบินพาณิชย์ (Airline Pilot)

คือเจ้าหน้าที่ที่จะพาเราขึ้นบิน และ ลงจอดเมื่อถึงที่หมาย ที่เราต้องการ ซึ่งตำแหน่งนี้นั้นก็ไม่ได้ง่าย ๆ เลย เพราะว่าจะเป็นคนที่แบกรับ ชีวิตของผู้โดยสารทั้งหมดเอาไว้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กดดันค่อนนข้างสูงเลยทีเดียว แต่เงินเดือนก็สูงตามเช่นกัน

เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)

ในการทำงานในสายการบินนั้นไม่ใช่ว่านึกว่าจะบินขึ้นแล้วก็ได้บินนะคะ เพราะว่าจะต้องเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรไว้ด้วยเช่นกันเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และ คอยดูแลความเรียบร้อยเส้นทางการ บิน เพดานนักบิน ที่นักบินนั้นจะต้องปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่เท่านั้น เพื่อมาตรการความปลอดภัยในการบินนั่นเอง

พนักงานบริการภาคพื้น (Ground / Airport Station Attendant)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพนักงานประสานงานภาคพื้นโดยปกติแล้วหน้าที่หลักของตำแหน่งนี้คือให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารภายในสนามบินไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตอบคำถามของผู้โดยสารที่เขามาถามเรื่องทั่วไป หรือไม่ว่าจะเป็นการให้บริการผู้โดยสารทั้ต้องการนั่งรถเข็นและนั้นร่วมไปถึงการช่วยเหลือผู้โดยสารต่างชาติ และรับมือกับคำติชมของลูกค้า อย่างที่เราทราบกันก็คือพวกเขาจะมาช่วยให้บริการในการตรวจรับบัตรโดยสารและสัมภาระซึ่งก็คือการเช็คอินและพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินที่อยู่ในเคาน์เตอร์รับบัตรโดยสารของแต่ละสายการบินจะเป็นคนเช็คอินให้ และในกรณีที่ผู้โดยสารต้องการรับสัมภาระ ถ้าพวกเขาไม่ได้รับกระเป๋า ของตัวเอง ก็จะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเช่น แผนกติดตามสัมภาระหรือสถานีต้นทางที่ผู้โดยสารเดินทางมา

เจ้าหน้าที่คลังสินค้า (Cargo Services)

หลายๆ คนคงรู้จักการพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศหรือการส่งของจากต่างประเทศกันมาบ้างแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายคลังสินค้า หรือ การพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์คือตำแหน่งที่ขนส่งสินค้าและพัสดุต่างๆ ทางอากาศซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

พนักงานอำนวยการบิน (Flight Dispatcher)

เป็นหน้าที่ของการวางแผนความปลอดภัยของเที่ยวบิน ซึ่งนี้ก็รวมไปถึง การวางแผนงานต่างๆใน จุดพักระยะการบินหรือการควบคุมน้ำหนัก และคอยตรวจสอบสภาพอากาศทิศทางแรงลมหรือแม้กระทั่งวางแผนเส้นทางสำรองเมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในสายทางหลัก ซึ่งในสายการนี้มีอำนาจที่จะสั่งยกเลิกเที่ยวบินได้เพราะเนื่องจากต้องดูแลความปลอดภัยของเที่ยวบิน

วันนี้แอดมิน JobCute ก็ได้นำสาระดี ๆ มาให้ได้อ่านกันอีกแล้วนะคะ สำหรับน้อง ๆ หรือเพื่อน ๆ คนไหน ที่มีความสนใจในงานที่เกี่ยวกับ งานสายการบิน ไม่ว่าจะเป็น นักบิน หรือแอร์โฮสเตส เป็นต้น แต่แอดมินคิดว่าต้องมีหลายคนในที่นี้ที่มีความสนใจในตำแหน่งงานเหล่านี้อย่างแน่นอนใช่ไหมละค่ะ

ปัจจุบันโลกของอุตสาหกรรมการบินได้มีการเติบโตไปทั่วโลกอย่างก้าวกระโดด และมีความสวนทางกับเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง จึงส่งผลให้ความต้องการบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องนั้นก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามไปอีกด้วย และแน่นอนว่างานในอุตสาหกรรมการบินนั้นไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพ นักบิน หรือแอร์โฮสเตส เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทางอื่น ๆ อีกมากมายหลากตำแหน่งด้วยกัน

และแล้ววันนี้นั้นแอดมินจะช่วยให้น้อง ๆ ได้เป็นแนวทางในการเตรียมตัววางแผนการเรียน และเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจงานด้านนี้ที่จะได้เห็นภาพอนาคตของตัวเองเมื่อเรียนจบได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจึงได้รวบรวมอาชีพหลัก ๆ  11 อาชีพสำคัญและขาดไม่ได้ ในทุก ๆ สนามบินไม่ว่าจะสนามบินภายในประเทศ หรือต่างประเทศก็ตาม โดยมีการเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งเหล่านี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาให้ทุกคนนำไปเป็นแนวทางในเรียนและทำงานต่อไป มาดูกันเลยนะคะว่ามีอะไรบ้าง

1.เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller) ก็จะทำหน้าที่ดูแล กำหนดทิศทาง ความเร็ว เพดานการบินของเครื่องบิน ที่นักบินแต่ละคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

2.นักบินเครื่องบินพาณิชย์ (Airline Pilot) ก็เหมือนกับนักบินทั่ว ๆ ไป เป็นผู้ควบคุมการบินในระหว่างทำการบินรวมถึงการขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร หรืออื่น ๆ นักบินจะมีการใช้กระบวนการคิดและทักษะในการทำงานภายใต้ภาวะการกดดันทั้งเรื่องของเวลา เสียงรวมถึงความปลอดภัยอีกด้วย

เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)

3.พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant/Cabin crew/Cabin attendant) ก็คือผู้ที่ทำหน้ารักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน มีหน้าที่ คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน ตรวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่าง ๆ เป็นต้น

4.พนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant) จะทำหน้าที่ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารตั้งแต่เข้ามาใช้บริการของสายการบินจนส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องบินให้อยู่ในความดูแลและการบริการของแอร์โฮสเตสต่อไปค่ะ

5.วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer) มีหน้าที่ดูแลตรวจเช็ค และซ่อมบำรุงโครงสร้างและลำตัวของเครื่องบิน รวมไปถึงระบบของเครื่องบินและเครื่องยนต์ของอากาศยานประเภทต่าง ๆ

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

6.เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Equipment Services) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลอุปกรณ์ภาคพื้นต่าง ๆ ที่ให้บริการแก่อากาศยานและผู้โดยสาร หรือง่าย ๆ ก็คือ ยานพาหนะที่บริการผู้โดยสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อากาศยานจำเป็นต้องใช้ เช่น รถบริการน้ำ รถบริการไฟใช้ในเครื่องบิน รถลากเครื่องบิน เป็นต้น

7.เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Services) คือการขนส่งสินค้าและพัสดุต่าง ๆ โดยทางอากาศเป็นการขนส่งที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

8.เจ้าหน้าที่ฝ่ายครัวการบิน (Catering) เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านอาหารที่มีไว้ให้บริการแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบินและภาคพื้น ด้วยความสะอาดและถูกหลักอนามัย และต้องเป็นไปตามหลักสากล รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านบริการด้านอาหารทั้งหมดอีกด้วย

เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน (Airline Ticket Agent)

9.เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน (Airline Ticket Agent) จะมีหน้าที่ที่จะพบกับผู้โดยสารเมื่อผู้โดยสารมาถึงสนามบิน อาจจะเป็นพนักงานของสายการบิน หรือพนักงานของสนามบินก็ได้ที่มีหน้าที่ Check-in ผู้โดยสาร ให้ที่นั่งบนเครื่องแก่ผู้โดยสาร Check -in กระเป๋าของผู้โดยสาร และทำการขายตั๋วหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินให้แก่ผู้โดยสารตามต้องการอีกด้วย

10.เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบิน (Reservation Sales Agent) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการจองที่ให้ผู้โดยสาร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางแกผู้โดยสารจะเป็นทางโทรศัพท์หรือไม่ก็ตาม ข้อมูลนั้นรวมถึงการวางแผนการเดินทาง ที่ว่างบนเครื่อง ค่าโดยสาร ตารางการบิน การท่องเที่ยว การเช่ารถยนต์ และข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับแผนการบินของผู้โดยสาร

11.เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืองานสนับสนุนด้านคอมพิวเตอร์ ให้แก่สายการบิน ซึ่งปัจจุบันเป็นหัวใจของธุรกิจนี้ไปแล้ว ดังนั้น ทุกสายการบินจำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านนี้เพื่อให้งานต่าง ๆ ของการบินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งงานของหน่วยงานด้านนี้ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความสลับซับซ้อนของงาน หรือของบริษัทว่าหน่วยงานต่าง ๆ สัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไร

เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับทั้ง 11 อาชีพที่เรานำมาแนะนำให้ทุก ๆ คนได้รู้จักและนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานด้านสายการบินเท่านั้น ซึ่งตำแหน่งหรืองานในอุตสาหกรรมการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังมีงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ รายได้ และมีระดับการทำงานที่แตกต่างกันอีกมากมาย และน้อง ๆ คนไหนหรือใครที่กำลังมองหางานและช่องทางในการเติบโตในอนาคต ก็อย่าลืมที่จะพิจารณางานในสายการบิน ไว้นะคะ เพราะงานสายการบินนั้นมาพร้อมกับเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง สวัสดิการในการทำงานก็ดีค่ะ

งานภาคพื้นสนามบิน มีอะไรบ้าง

หน้าที่หลักๆ ของพนักงานบริการภาคพื้น (Ground Service Officer) คือ ให้บริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน อำนวยความสะดวก ให้ความดูแลเอาใจใส่ ตั้งแต่ขั้นตอนการ Check-in การตรวจรับบัตรโดยสาร (Boarding Pass) และสัมภาระ ไปจนถึงการนำส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องได้ตรงตามเที่ยวบิน ถูกจุดหมายปลายทาง รวมไปถึงการรับ-ส่งเครื่องบิน การเดินเอกสาร ...

พนักงานในสนามบินมีหน้าที่อะไรบ้าง

พนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant) จะทำหน้าที่ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารตั้งแต่เข้ามาใช้บริการของสายการบินจนส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องบินให้อยู่ในความดูแลและการบริการของแอร์โฮสเตสต่อไปค่ะ

เรียนอะไรถึงได้ทำงานในสนามบิน

สำหรับตำแหน่งนี้ต้องจบสาขาวิชาการบินมาด้วยค่ะ โดยถ้าจบสาขาการจัดการธุรกิจการบิน (Aviation Management) หรือการจัดการอำนวยการบิน (Flight Operation) มาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษค่ะ รวมถึงต้องมีใบอนุญาตพนักงานอำนวยการบินของสำนักงานการบินพลเรือนของไทย ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานอำนวยการบิน จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ ...

เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบินทำอะไรบ้าง

ทำหน้าที่ในการรับจองและขายตั๋วเครื่องบิน สำรองที่นั่งบัตรโดยสารและออกบัตรโดยสาร อธิบายข้อมูลของสายการบินและบริการลูกค้าในรูปแบบต่างๆ หน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง