ข้อ ใด ถือ เป็น ปัจจัย สำคัญ ที่สุด ของการพัฒนาระบบ

คนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้ที่ใช้สติปัญญา ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบ วิเคราะห์ ตัดสินใจในกระบวนการเทคโนโลยี คนจึงเป็นปัจจัยแรกในการทำงานทางเทคโนโลยีที่จะขาดไม่ได้

2. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information)

ความรู้ทุกสาขาวิชาของมนุษย์เป็นพื้นฐานของการสร้างเทคโนโลยี การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์  การแปลความหมาย การใช้และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญของการทำงานด้านเทคโนโลยี

3. วัสดุ (Materials)

การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ย่อมต้องใช้วัสดุ วัสดุแต่ละประเภทต่างก็มีสมบัติที่แตกต่างกัน การตัดสินใจเลือกใช้วัสดุประเภทต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน เช่น ไม้มีน้ำหนักเบา ทำให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการได้ง่ายแต่ไม่ทนต่อความชื้น โฟมและพลาสติกมีน้ำหนักเบา ขึ้นรูปง่าย ราคาถูกแต่ไม่ทนกับสารเคมีบางชนิด เหล็กมีความแข็งแกร่งสูง แต่มีน้ำหนักมาก เซรามิกส์มีความแข็งสูงมาก ทนต่อสารเคมี แต่ก็เปราะมากเช่นกัน วัสดุเหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรทางเทคโนโลยี

4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (Machines and Tools) 

เครื่องมือ คือ สิ่งที่ช่วยในการเปลี่ยนรูปร่าง  ประสานและประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าเป็นชิ้นงานหรือทำให้เกิดผลสำเร็จตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น มีด กรรไกร เลื่อย ค้อน สว่าน หัวแร้งบัดกรี จอบ เสียม เครื่องขึ้นรูปพลาสติก เครื่องตัดเหล็ก ฯลฯ

5. พลังงาน (Energy)

พลังงานต่าง ๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานกลพลังงานความร้อน พลังงานแสง ฯลฯ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการทำงาน เพราะการผลิตหรือสร้างสิ่งของต้องอาศัยกำลังงานที่จะทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่าง ๆ

6. ทุน (Capital) หรือทรัพย์สิน (Asset)

ทุน หมายถึง เงินทุนที่จะใช้ในกระบวนการเทคโนโลยี เทคโนโลยีบางอย่างต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก รวมถึงทรัพย์สินที่เป็นอาคาร สถานที่หรือที่ดิน

7. เวลา (Time)

เทคโนโลยีหลายระดับมีตั้งแต่แบบง่ายจนถึงแบบที่ซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยเวลาในการสร้างเทคโนโลยี เวลาจึงจัดเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง  ถ้าผู้ใช้เทคโนโลยี ไม่ต้องการเสียเวลาในการคิดค้นอาจรับเทคโนโลยี หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้สร้างเทคโนโลยี

โลกกำลังอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและวิถีการใช้ชีวิตของเราทุกคน ถ้าเรามองข้ามช่วงวิกฤต ไวรัสโควิด 19 ออกไประยะยาว ช่วงที่ผู้คนเลิกกังวลเรื่องความเสี่ยงของโรคระบาดนี้ เชื่อว่าเหตุการณ์ไวรัสโควิด 19 ครั้งนี้ เป็นเสมือนตัวเร่งปฏิกิริยาให้หลาย ๆ เทรนด์ที่แต่เดิมเชื่อว่าจะใช้เวลาอีกนานหลายปี กลับมาทำให้เกิดเร็วขึ้น

อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานและเข้าถึงได้ทุกที่ที่ผสมผสานความสะดวกสบายในการใช้งาน การทำงานจากที่บ้าน การเรียนออนไลน์ จนมาถึงการจับจ่ายใช้สอย ในชีวิตประจำวัน จากไวรัสโควิด 19 ที่เร่งพฤติกรรมผู้บริโภคมาดิจิทัลมากขึ้น ในวันนี้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็น อีมาร์เก็ตเพลส บริการเดลิเวอรี่ออนไลน์ทั้งการสั่งซื้ออาหาร หรือสินค้า จะเป็นออนไลน์แพลตฟอร์มที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคถูกบังคับให้ไปดิจิทัลจากไม่มีสถานที่อื่น ๆ ให้ซื้อสินค้า เพราะผู้บริโภคยังมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแต่ไม่สามารถออกไปซื้อได้ด้วยตัวเอง จากความต้องการที่จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตนอกบ้าน และเกิดความเคยชินกับการซื้อขายออนไลน์จนเป็นพฤติกรรมต่อเนื่องที่เน้นความสะดวกสบายและประหยัดเวลามากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดกลางและเล็ก สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายดายมากขึ้น หรือแม้แต่การขายโดยไม่ต้องมีหน้าร้านหรือสต๊อกสินค้า ดังนั้นจากความสะดวกสบายที่ได้รับ สิ่งเหล่านี้นับเป็นการกระตุ้นให้แบรนด์ต้องพาตัวเองสู่ระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตลาด และการเข้าสู่ระบบออนไลน์ไม่ได้แค่เพียงยอดขาย แต่ยังได้ดาต้าเบสของผู้บริโภคเพื่อให้แบรนด์รู้จักผู้บริโภคมากขึ้นและนำมาใช้ในการทำการตลาด ในการเพิ่มยอดจำหน่ายผ่านการซื้อซ้ำ ขยายฐานลูกค้า และการนำบิ๊กดาต้ามาใช้ในการจัดการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเติบโตของการใช้งานบิ๊กดาต้าทำให้ผู้บริโภค มองว่าบิ๊กดาต้าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ความเคยชินกับดาต้าทำให้ผู้บริโภคเริ่มมองหา บิ๊กดาต้าที่มีความน่าเชื่อถือผ่านช่องทางต่าง ๆ แบรนด์ต้องปรับเปลี่ยนการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านบิ๊กดาต้าถึงผู้บริโภค เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ พร้อมสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้

ไวรัสโควิด 19 ยังได้เข้ามาเร่งพฤติกรรมการชำระเงินของผู้บริโภคเข้าสู่ Cashless Society จากความกลัวของผู้บริโภคที่ต้องสัมผัสเงินสดที่อาจจะมาพร้อมกับเชื้อโรคต่าง ๆ จนเกิดการใช้เงินสดดิจิทัลมากขึ้น ผ่านการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยแอปพลิเคชัน โมบาย แบงกิ้ง อีเพย์เมนต์ เครดิตการ์ด และอื่น ๆ นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ยังเกิดการใช้งานสินค้าในรูปแบบ Internet of Things รวมถึงประสบการณ์ Virtual Experience ในรูปแบบใหม่ ๆ

การใส่ใจเรื่องสุขอนามัยได้กลายมาเป็นกิจวัตรสำคัญของผู้บริโภค เทรนด์หลังไวรัสโควิด 19 จะเป็นบรรทัดฐานความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องของสุขลักษณะที่จะเป็นเรื่องปกติในอนาคต รวมถึงระบบสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศจะพัฒนาทั้งในเรื่องของคุณภาพและความง่ายต่อการเข้าถึง สำหรับธุรกิจจะเห็นได้ว่าได้มีหลายๆ แบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์ ที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์เข้าใจและเตรียมพร้อมในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในเรื่องความสะอาดและอนามัย

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 

    1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน  ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    2.  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

    3.  การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 

            -  ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก

            -  ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

            -  ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

            การพัฒนาระบบประกอบด้วย

            1)  กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ

            -  การปรับปรุงคุณภาพ

            -  การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน

            -  การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี

            -  การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว           

    2)  บุคลากร (People) 

    3)  วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ

    4)  เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด  

    5)  งบประมาณ (Budget)  

    6)  ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)

    7)  การบริหารโครงการ (Project Management) 

            ทีมงานพัฒนาระบบ

    การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล

    1)  คณะกรรมการ (Steering Committee)

    2)  ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)

    3)  ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)

    4)  นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ

                        -  ทักษะด้านเทคนิค

                        -  ทักษะด้านการวิเคราะห์ 

                        -  ทักษะดานการบริหารจัดการ 

                        -  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

    5)  ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค 

                        -  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

                        -  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

    6)  ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager) 

            หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

    1)  คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ

    2)  เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้
     -  ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น

                     -  รวบรวมและกำหนดความต้องการ

     -  หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด

     -  ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก

     -  สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    3)  กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ

    4)  กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ

    5)  ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง

    6)  เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา

    7)  แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย

    8)  ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

         ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 

            -  การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)

            -  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)

            -  การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

            -  การออกแบบระบบ (System Design)

            -  การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)

            -  การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

    การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ

            1.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก

             2.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ
          เพื่อต้องการความชัดเจน

            3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ

            4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC)  เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้  ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์ 

    วงจรการพัฒนาระบบ

Phase 1  การกำหนดและเลือกสรรโครงการ  (System Identification and Selection) ผลของการพิจารณาของคณะกรรมการอาจเป็นไปได้ดังนี้

            -  อนุมัติโครงการ

            -  ชะลอโครงการ

            -  ทบทวนโครงการ

            -  ไม่อนุมัติโครงการ

Phase 2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ  (System Initiation and Planning) จะเริ่มจัดทำโครงการ  โดยจัดตั้งทีมงานพร้อมทั้งกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ

            -     การศึกษาความเป็นไปได้

            -     การพิจารณาผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ

            -     การพิจารณาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของโครงการ

            -     การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการพัฒนาระบบสารสนเทศ

Phase 3  การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล

            -     Fact-Finding Technique

            -     Joint Application Design (JAD)

            -     การสร้างต้นแบบ 

Phase 4  การออกแบบระบบ (System Design) การออกแบบแบ่งเป็น 2 ส่วน

            -     การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)

            -     การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)

Phase 5  การดำเนินการระบบ (System Implementation) ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมดังต่อไปนี้

            -     จัดซื้อหรือจัดหาฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Solfware)

            -     เขียนโปรแกรมโดยโปรแกรมเมอร์ (Coding)

            -     ทำการทดสอบ (Testing)

            -     การจัดทำเอกสารระบบ (Documentation)

            -     การถ่ายโอนระบบงาน (System Conversion)

            -     ฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ (Training)


Phase 6  การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

            เป็นขั้นตอนการดูและระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานโดยบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ในส่วนนี้

การบำรุงรักษาระบบแบ่งได้ 4 ประเภท

            -     Corrective Maintenance เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ

            -     Adaptive Maintenance  เพื่อให้ระบบสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

            -     Perfective Maintenance  เพื่อบำรุงรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            -     Preventive Maintenance  เพื่อบำรุงรักษาระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิด

วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ

        1)  การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC

        2)  การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น

    การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน

    ขั้นที่ 1 :  ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้

    ขั้นที่ 2 :  พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก

    ขั้นที่ 3 :  นำต้นแบบมาใช้

    ขั้นที่ 4 :  ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ

       3)  การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development)

    4)  การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcingในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing

    5)  การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น

       การพัฒนาระบบแบบออบเจ็กต์ (Object-Oriented Methodology)

            ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ (Class of Objects) ซึ่งทำงานร่วมกัน มีการจัดกลุ่มของข้อมูลและพฤติกรรมหรือฟังก์ชันที่กระทำกับข้อมูลนั้นเป็นกลุ่มๆ ในรูปของออบเจ็กต์ เนื่องจากออบเจ็กต์มีคุณสมบัติในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusability) การพัฒนาโปรแกรมแบบออบเจ็กต์จึงใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่าวิธีอื่น

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนารวดเร็วกว่าและคุณภาพดีกว่าวิธีพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม  โดยมีการนำเครื่องมือซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนาระบบซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบอยู่ 4 ขั้นตอนคือ

        1)  การกำหนดความต้องการ

        2)  การออกแบบโดยผู้ใช้

        3)  การสร้างระบบ

        4)  การเปลี่ยนระบบหรือใช้ระบบ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ

        1)  การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร

        2)  การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

        3)  ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ

        4)  การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม

        5)  การบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง