โคลงบทใดที่ตรงกับหลักปรัชญา

ขอโคลงโลกนิติที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงทีนะค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่

พอดีต้องทำงานเลยจะมาขอความช่วยเหลือเพื่อนๆสักหน่อย
ขอโคลงโลกนิติที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงทีนะค่ะ คือเราไม่รู้จริงๆ T^T
จะหาเองก็ไม่รู้ แปลความหมายไม่ออก (โง่จริง!) ส่งเป็นเว็บมาให้ก็ได้
ขอบคุณมากๆค้าาา _/\_

addwa 14 ก.ย. 56 เวลา 13:18 น.

2

like

196

views

Facebook Twitter

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

ยกเลิก

การศึกษาไทยในอดีต

 

สมัยสุโขทัย การศึกษาได้จัดกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี(พ.ศ. 1781-1921) แต่เป็นการศึกษาแผนโบราณ ซึ่งเจริญรอยสืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ในสมัยกรุงสุโขทัยรัฐและวัด รวมกันเป็นศูนย์กลางแห่งประชาคม กิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐและวัดย่อมเป็นการสอนประชาคมไปในตัววิชาที่เรียนคือภาษาบาลี ภาษาไทยและวิชาสามัญขั้นต้น สำนักเรียนมี 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือวัดเป็นสำนักเรียนของบรรดาบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป มีพระที่เชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นครูผู้สอน เพราะสมัยนั้นเรียนภาษาบาลีกันเป็นพื้น ใครรู้พระธรรมวินัยแตกฉานก็นับว่าเป็นปราชญ์ อีกแห่งหนึ่งคือ สำนักราชบัณฑิต ซึ่งสอนแต่เฉพาะเจ้านายและ บุตรหลานข้าราชการเท่านั้น ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระเจ้าลิไทแห่งกรุงสุโขทัยเมื่อทรงพระเยาว์ ได้เคยศึกษาเล่าเรียนในสำนักราชบัณฑิตเหล่านี้จนมีความรู้วิชาหนังสือแตกฉานถึง แก่ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์

 

สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา(พ.ศ.1893 -2310) การศึกษาได้เปลี่ยนรูปต่างไปจากการศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นไปในทางติดต่อกับประชาคมเท่านั้น เพราะการศึกษาทั่วไปก็ตกอยู่แก่วัด ราษฎรนิยม พาลูกหลานไปฝากพระ เพื่อเล่าเรียนหนังสือ พระยินดีรับไว้เพราะท่านต้องมีศิษย์ไว้สำหรับปรนนิบัติ ศิษย์ได้รับการอบรมในทางศาสนา ได้เล่าเรียนอ่านเขียน หนังสือไทยและบาลีตามสมควร

 

เพื่อเป็นการตระเตรียมสำหรับเวลาข้างหน้า เมื่อเติบโตขึ้นจะได้สะดวกในการอุปสมบท การให้ผู้ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์อุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว เข้าใจว่าจะสืบเนื่องมาจากแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เพราะปรากฏว่าพระองค์ทรงกวดขันการศึกษาทางพระศาสนามาก บุตรหลาน ข้าราชการคนใดที่จะถวายตัวทำราชการ ถ้ายังไม่ได้อุปสมบท ก็ไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็น ข้าราชการ ประเพณีนี้ยังผลให้วัดทุกแห่งเป็นโรงเรียนและพระภิกษุทุกรูป เป็นครูทำหน้าที่อบรมสั่งสอนศิษย์ของตน ตามความสามารถที่จะจัดได้ แต่คำว่า โรงเรียนในเวลานั้น มีลักษณะต่างกับโรงเรียนในเวลานี้กล่าวคือ ไม่มีอาคารปลูกขึ้นสำหรับใช้เป็นที่เรียนโดยเฉพาะ เป็นแต่ศิษย์ใคร ใครก็สอนอยู่ที่กุฎิของตนตามสะดวกและความพอใจพระภิกษุรูปหนึ่ง ๆ มีศิษย์ไม่กี่คนเพราะจะต้องบิณฑบาตร มาเลี้ยงดูศิษย์ด้วย ชาวยุโรปที่เข้ามาเมืองไทยในสมัยต่าง ๆ ได้เล่าเรื่องการศึกษาของไทยไว้ในหนังสือที่เขาแต่งขึ้น จะขอยกมาเป็นบางตอนดังนี้ เมอร์ซิเออร์ เดอะลาลูแบร์ ราชทูตผู้หนึ่งในคณะฑูตฝรั่งเศสครั้งที่ 2 ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้ในหนังสือราชอาณาจักรสยามว่า “พระสอนหนังสือให้แก่ เยาวชน ดังที่ ข้าพเจ้าได้เล่าแล้ว และท่านอธิบายคำสั่งสอนแก่ราษฎร์ ตามที่เขียนไว้ในหนังสือบาลี”

 

หนังสือราชอาณาจักรไทยหรือประเทศสยาม ของมองเซนเยอร์ ปัลเลอกัวซ์ สังฆราชแห่งมัลลอส ในคณะสอนศาสนาโรมันคาทอลิกของฝรั่งเศส ประจำประเทศไทยซึ่งพิมพ์ออกจำหน่าย เมื่อ พ.ศ. 2397 กล่าวว่า “ภายหลังหรือบางทีก่อนพิธีโกนจุก บิดามารดาส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อเรียนอ่านและเขียน ณ ที่นั่นเด็กเหล่านี้รับใช้พระพายเรือให้พระ และรับประทานอาหารซึ่งบิณฑบาตมาได้ ร่วมกับพระด้วยพระสอนอ่านหนังสือให้เพียงเล็กน้อยวันละครั้งหรือสองครั้งทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนการศึกษาของเด็กหญิงมีการสอนให้ทำครัว ตำน้ำพริก ทำขนมมวนบุหรี่และจีบพลู”

 

ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชการศึกษาเจริญมาก มีการสอนทั้งภาษาไทย บาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เขมร พม่า มอญ และจีน ปรากฏตามพงศาวดารว่า พระตรัสน้อย โอรสองค์หนึ่งของพระเพทราชา ได้ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ จนชำนาญทั้งภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่ง เขมร ลาว ญวน พม่า รามัญ และจีน ทั้งยังทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์ และแพทยศาสตร์จากอาจารย์ ต่าง ๆ เป็นอันมากเข้าใจว่าโดยเฉพาะ วิชาภาษาไทย คงจะได้วางมาตรฐานดีมาแต่ครั้งนั้น เพราะปรากฏว่าพระโหราธิบดี ได้แต่งแบบเรียนภาษาไทยชื่อจินดามณี ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้ใช้เป็นแบบเรียนสืบต่อมาเป็นเวลานานสำนักเรียนนอกจากวัดในบางรัชกาล ยังมีราชสำนัก สำนักราชบัณฑิตและโรงเรียนมิชชันนารีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การศึกษาในราชสำนักรุ่งโรจน์มาก แม้กระทั่งนายประตูก็สามารถแต่งโคลงได้ สำนักราชบัณฑิตนั้นคงจะสอนวิชาต่าง ๆ กัน ดังปรากฏตามพงศาวดารว่า พระตรัสน้อยได้ทรงเล่าเรียนอักขรสมัย และวิชาอื่น ๆ จากอาจารย์ต่าง ๆ เป็นอันมาก พวกราชบัณฑิตที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือนี้มีต่อมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แม้ในต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังมีบัณฑิตอาจารย์บอกหนังสือ พระเณรอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอื่นๆจนเมื่อมีโรงเรียนของกระทรวงธรรมการ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมแพร่หลายแล้ว สำนักราชบัณฑิตจึงได้หมดไป สำหรับโรงเรียนมิชชันนารีนั้น ในชั้นแรกชาวยุโรปที่เข้ามาค้าขาย มีชาวโปรตุเกส เป็นต้น ได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อทำกิจทางศาสนา โบสถ์ฝรั่งในชั้นเดิมเช่น ในแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชานั้นเป็นโบสถ์เล็ก ๆ สร้างขึ้นเพื่อทำกิจทางศาสนาและเพื่อสอนศาสนาเท่านั้นในระยะ นั้นไทยเป็นประเทศเดียวในแถบอาเชียตะวันออกที่ไม่รังเกียจศาสนาใดศาสนาหนึ่งเลย พวกฝรั่งเห็นเป็นโอกาสที่จะเกลี้ยกล่อมคนไทยให้เข้ารีตได้มากกว่าที่อื่น ดังนั้นบาทหลวงจึงได้เดินทางเข้ามามากขึ้น

 

พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงให้ความอุปถัมภ์พวกบาทหลวง ถึงแก่พระราชทานทรัพย์ให้สร้างโบสถ์ก็มี ดังเช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานแก่บาทหลวงฝรั่งเศสเป็นต้นในรัชกาลนั้นมีโบสถ์ฝรั่งใหญ่ ๆ มากกว่าในรัชกาลก่อน ๆ และเมื่อมีโบสถ์สำหรับทำกิจทางศาสนาแล้วก็ตั้งโรงเรียนขึ้น เรียกว่าโรงเรียนสามเณร โรงเรียนสามเณรตั้งขึ้น เพื่อสั่งสอนชาวพื้นเมืองที่ประสงค์จะเข้ารีตแต่นอกจากสอนศาสนา ก็ได้สอนหนังสือและวิชาอื่น ๆ ด้วยปรากฏว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงส่งมหาดเล็ก รุ่นเด็กเป็นจำนวนมากมาเรียนในโรงเรียนของพวกบาทหลวง จึงนับว่าโรงเรียนสามเณร เป็นสำนักเรียนวิชาสามัญอีกแห่งหนึ่ง

 

สมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การศึกษายังคงดำเนินไป เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวคือ มีวัดได้ให้ความรู้แก่พลเมืองให้เหมาะ แก่ความต้องการของประชาคม วัดและบ้านรับภาระในการอบรมสั่งสอนเด็ก ส่วนรัฐหรือราชสำนักควบคุมตลอดจนให้ความอุปถัมภ์ตามสมควร หนังสือราชอาณาจักรและชาวสยาม ของเซอร์จอห์นบาวริง ผู้สำเร็จราชการฮ่องกง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศบริเตนใหญ่ ทรงแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตมาเจริญทางพระราชพระราชไมตรีเมื่อ พ.ศ.2398 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงการศึกษาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไว้สองแห่ง

แห่งหนึ่งมีความว่า
“การศึกษาตั้งต้นแต่การโกนจุก แล้วเด็กผู้ชายถูกส่งไปอยู่วัดเรียนอ่าน เขียน และคำสอนศาสนากับพระ”

อีกแห่งหนึ่งมีความว่า
“พระได้รับมอบหมายให้จัดการศึกษา และโรงเรียนอยู่ติดกับวัดโดยมาก ย่อมเป็นของธรรมดาอยู่เองที่การสอน ให้รู้คำสั่งสอนและประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เป็นส่วนสำคัญมากของระบบการศึกษา พลเมืองชายส่วนหนึ่งอ่านและเขียนหนังสือออก แต่วิธีที่จะแสวงหาความรู้ชั้นสูง สาขาใดสาขาหนึ่งมีอยู่น้อยถึงกระนั้นก็ดี โดยเฉพาะในบรรดาขุนนางยังใฝ่ใจเรียนวิชาเครื่องจักรกลไก รู้จักใช้เครื่องมือเดินเรือและรู้วิชาปรัชญากันมาก ค่าเล่าเรียนตามปรกติในโรงเรียนสามัญที่กรุงเทพฯ เก็บจากเด็กชายคนละ 8 ดอลลาร์หรือ 35 ชิลลิงต่อปีและอีก 15 ดอลลาร์ เป็นค่าที่อยู่ เสื้อผ้า เครื่องเขียนและอื่น ๆ ชาวจีนที่รวยบางคนจ้างครูสอนส่วนตัวเดือนละ 8 ดอลลาร์ ห้องเรียนห้องหนึ่งอาจเช่าได้เดือนละ 2 ดอลลาร์ครึ่งหรือต่ำกว่านั้น การศึกษาสตรีถูกทอดทิ้ง ในประเทศสยาม มีสตรีอยู่น้อยคนที่อ่านหรือเขียนได้ อย่างไรก็ดี ในการแสดงละครภายในพระราชวัง สตรีคนหนึ่งบอกบทและพลิกหน้าบทละครได้อย่างแคล่วคล่องมาก”

 

 

แม้ไทยจะเคยติดต่อกับฝรั่งมาเป็นเวลานาน นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่การศึกษาก็ยังคงเป็นแผนโบราณอยู่ ตามเดิม การถ่ายทอดวิชาความรู้ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ยังน้อยมาก เข้าใจว่ามีเพียง วิธีหล่อปืนไฟ การใช้ปืนไฟในการสงคราม วิธีทำป้อมค่ายสู้กำลังปืนไฟ ตำรายาบางอย่าง เช่น วิธีทำขี้ผึ้ง และตำราทำอาหาร เช่น ฝอยทอง เป็นต้นเท่านั้น ในระยะปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก การติดต่อกับฝรั่งขาดไประยะหนึ่ง ต่อมาใน พ.ศ. 2361 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้มีการติดต่อกันอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ ไทยอนุญาตให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ แต่ไม่มี อำนาจพิเศษอย่างไร ใน พ.ศ.2365 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษอยาก จะขยายการค้าขายมาถึงกรุงเทพฯ มาควิสเฮสติงส์ผู้สำเร็จราชการอินเดีย แต่งตั้งให้นายจอห์นครอเฟิด เป็นทูตมาเจรจาเพื่อทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี การสนทนาโต้ตอบเป็นไปอย่างลำบากมาก เพราะพูดกันโดยตรงไม่ได้ ต้องมีล่าม คือ ครอเฟิด พูดภาษาอังกฤษกับล่ามของเขา ล่ามนั้นแปลเป็นภาษามลายูให้ล่ามฝ่ายไทยฟัง ล่ามฝ่ายไทยจึงแปลเป็นภาษาไทยเรียนเสนาบดี เมื่อเสนาบดีตอบว่า กระไรก็ต้องแปลกลับไปทำนองเดียวกัน ปรากฏว่าในครั้งนั้นไม่ได้ทำหนังสือสัญญาต่อกัน ในรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2369 รัฐบาลอินเดียส่งร้อยเอกเฮนรี เบอร์นีย์มาทำหนังสือ สัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย ขอความสะดวกในการค้าขาย แต่หาได้เรียกร้องอำนาจศาลกงสุลไม่ตรงกัน กลับบัญญัติไว้ว่า ต้องปฎิบัติตามกฎหมายของ บ้านเมืองหนังสือสัญญาต้องทำถึง 4 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาโปรตุเกส ใน พ. ศ. 2371 มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกี่ยวกับการศึกษา คือพวกมิชชั่นนารีอเมริกัน คณะเพรสไบติเรียนได้เข้ามาสอนศาสนาให้แก่ชาวจีน ส่วนคนไทยนั้นเพียงแต่ช่วยรักษาพยาบาลให้อย่างเดียว เพราะพวกมิชชันนารีไม่ รู้จักภาษาไทย และไม่ได้เตรียมหนังสือสอนศาสนาเข้ามาด้วย โดยเหตุที่พวกนี้มาช่วยรักษาโรคด้วย ทำให้คนไทยสำคัญว่าพวกมิชชันนารีอเมริกันเป็นแพทย์ จึงเรียกว่าหมอ ซึ่งบางคนก็เป็นแพทย์จริง ๆ แต่บางคนได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต วิชาศาสนศาสตร์ ครั้นเมื่ออยู่เมืองไทยนานเข้า พวกมิชชันนารีอเมริกันเรียนรู้ ภาษาไทยจึงขยายการสอนศาสนามาถึงคนไทยโดยเขียนคำสอนเป็นภาษาไทยแล้วส่งไปพิมพ์ที่สิงคโปร์

 

ในรัชกาลพระบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏว่า ได้ทรงสร้างโรงชนิดหนึ่ง เรียกว่า โรงทาน โรงทานนี้เป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาด้วย จะเห็น ได่จากคำประกาศเรื่องโรงทานในรัชกาลพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า”โรงทานนี้ พระบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงสร้างขึ้นไว้ให้มีเจ้าพนักงานจัดอาหารและสำรับคาวหวานเลี้ยงพระสงฆ์สามเณร และข้าราชการที่ มานอนประจำซองในพระบรมมหาราชวังกับทั้งบริจาคพระราชทรัพย์แจกคนชราพิการ และมีพระธรรมเทศนาและสอนหนังสือวิชาการต่าง ๆ โดยพระบรมราชประสงค์จะให้เป็นหิตานุหิต ประโยชน์แก่ชนทั้งหลายทั้งปวงในอิธโลกและปรโลกนั้นด้วย”

 

ดังจะเห็นได้ว่าถึงแม้ในสมัยนั้น จะได้มีโรงเรียนขึ้นแล้วก็ดี แต่หาได้มีจุดประสงค์ไปในทำนองที่จะแยกโรงเรียนออกจากวัดไม่ ทางด้านสามัญศึกษาก็มีวัดเป็น ที่เรียนและมีพระเป็นครู ยังไม่มีสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับทำการสอนวิชาโดยเฉพาะส่วนการเรียนก็แล้วแต่สมัคร ไม่มีการบังคับ มีการสั่งสอนทางวิชาหนังสือมากกว่าอย่างอื่น บางทีก็มีการเรียนวิชาเลขเบื้องต้นตามแผนเก่าด้วย

 

การติดต่อกับฝรั่งในระยะหลัง ๆ นี้ ทำให้คนไทยสำนึกได้ว่าการเรียนรู้ภาษาของเขาตลอดจนวิชาความรู้ใหม่ ๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะพวกนี้กำลังแผ่อำนาจ มาทางอาเชียตะวันออกมากขึ้นทุกที ผู้ที่พยายามศึกษาจนมีความรู้ สามารถใช้การได้เป็นอย่างดีก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ใน พ. ศ. 2398 ไทยได้ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ และต่อมาก็ทำกับประเทศอื่น ๆ อีกยังผลให้การค้าขายขยายตัวออกไปเป็นอันมาก ดังปรากฏจากจดหมายของหมอบรัดเลย์ตอนหนึ่งว่า “วันที่ 28 ตุลาคม 2398 เรือกำปั่นใบของอเมริกันชื่อลักเนาเข้ามาถึง เรือพ่อค้าอเมริกันไม่ได้มีเข้ามาถึง 17 ปี วันที่ 1 มกราคม 2399 มีเรือกำปั่นพ่อค้า ทอดอยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำเพราะเหตุที่ได้ทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ การค้าขายเจริญอย่างรวดเร็วไม่เคยมีเหมือนเช่นนี้มาก่อน”

 

อย่างไรก็ การเรียนวิชาความรู้แบบฝรั่งเชื่องช้ามาก แม้ว่ารัฐบาลมีกิจเกี่ยวข้องกับฝรั่งอยู่เสมอ และมีฝรั่งเข้ามาค้าขายอยู่ในกรุงเทพฯแล้วก็ตามคนไทยที่เรียนรู้ภาษาฝรั่งก็ยังมีน้อยมาก เห็นจะเป็นเพราะผู้ที่สอนภาษาต่างประเทศมีแต่พวกมิชชันนารี ซึ่งสอนศาสนาบรรดาเจ้านายและ ข้าราชการจึงไม่อยากส่งบุตรหลานไปเรียน เพราะเกรงว่า พวกมิชชันนารีจะสอนให้เปลี่ยนศาสนา พระเจ้าลูกเธอของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติ เมื่อก่อนทรงผนวชก็มีพระชนมายุพ้นวัยเรียนเสียแล้วพระเจ้าลูกเธอที่ประสูติ เมื่อเสวยราชย์แล้วก็ยังทรงพระเยาว์อยู่ ต้องรอมาจน พ. ศ. 2405 เมื่อสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้น ทรงพระเจริญวัยพอที่จะเล่าเรียนได้ จึงได้โปรดให้จ้างนางแอนนา เอช. เลียวโนเวนส์ เข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ แต่สอนอยู่ได้ไม่กี่ปี นางเลียวโนเวนส์ก็กลับไปเสีย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ศึกษาภาษาอังกฤษในครั้งนั้น และได้ศึกษาต่อมาจนทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ก็มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่พระองค์เดียว การศึกษาแผนโบราณหนักทางวิชาอักษรศาสตร์ เป็นการศึกษาที่อนุโลมตามแบบแผนและประเพณีไม่มีการค้นคว้าทางธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์ ส่วนวิชาชีพ เช่น วิชาช่างฝีมือต่าง ๆ มีช่างถม ช่างทอง ช่างแกะ ช่างปั้น วิชาแพทย์แผนโบราณ และวิชาอาชีพอื่น ๆ นั้นเรียนกันในวงศ์สกุลและตามท้องถิ่น เป็นการศึกษาแบบสืบตระกูลเป็นมรดกตกทอดกันมา ในกรุงเทพฯ มีท้องถิ่นสำหรับฝึกและประกอบอาชีพ ซึ่งยังมีชื่อติดอยู่จนทุกวันนี้ เช่น ถนนตีทอง บ้านพานถม บ้านบาตร บ้านดอกไม้ บ้านปูน บ้านช่างหล่อ ฯลฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้รวมช่างประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ จัดเป็นหมู่ เป็นกรม เรียกว่า กรมช่างสิบหมู่ ดังปรากฏในหนังสือพระราชดำรัสในพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลง พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินว่า “ส่วนซึ่งแบ่งปันฝ่ายทหารแต่ทำการฝ่ายพลเรือนนั้น คือกรมช่างสิบหมู่ ซึ่งแบ่งไว้ในฝ่ายทหารนั้นก็คงจะเป็นด้วยช่างเกิดขึ้นในหมู่ทหาร เหมือนทหาร อินเยอเนีย แต่ภายหลังมาเมื่อทำการต่าง ๆ มากขึ้น จนถึงเป็นการละเอียด เช่น เขียนปั้นแกะสลัก ก็เลยติดอยู่ในฝ่ายทหาร แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอันใดในราชการทหาร ไม่ได้ขึ้น กรมพระกลาโหมมีแต่กองต่างหาก แม่กองนั้นมักจะเป็นเจ้านายโดยมาก เมื่อเกิดช่างอื่น ๆ ขึ้นอีกก็คงอยู่ในกรมเดิมฝ่ายพลเรือนบ้างทหารบ้าง ไม่เฉพาะว่ากรมช่างจะต้องเป็นฝ่ายทหาร เช่นช่างประดับกระจกขึ้นกรมวังช่างมหาดเล็กคงอยู่ในมหาดเล็กเป็นต้น”

สำหรับการศึกษาของพวกสตรีนั้นเป็นการเรียนในบ้าน ส่วนมากเรียนแต่การเย็บปักถักร้อยการครัวและกิจการบ้านเรือน การเรียนหนังสือนั้น ถ้าใจรักก็ได้เรียนบ้างในบ้าน แต่ไม่สู้นิยมให้เรียนกันนัก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มักส่งเด็กหญิงเข้าไปอยู่ตามตำหนักเจ้านายในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจะได้มีโอกาสเปิดหูเปิดตา ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิชาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนกิริยามารยาทและการครองตนประเพณีนี้ได้ดำเนินมาจนตลอดรัชกาลที่ 5

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง