ใคร จะ เป็น นายก คน ต่อ ไป

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

25 ส.ค. 2565 เวลา 0:11 น. 17.3k

เปิด 5 รายชื่อแคดิเดตนายกฯใหม่ มีใครบ้าง จากพรรคไหน เพราะอะไร อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอเฉลิมชัยรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ให้แล้ว

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

5 รายชื่อแคนดิเดตนายกฯใหม่ อนุทิน ชาญวีรกุล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และชัยเกษม นิติสิริ

จากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติต่อคำร้องการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันนี้ สองประการคือ

  • รับเรื่องไว้พิจารณาด้วยเสียงเอกฉันท์ 9-0
  • สั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดการ ปฎิบัติหน้าที่ชั่วคราว ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 5-4
  • ให้นายกรัฐมนตรี ยื่นคำชี้แจงภายใน 15 วัน

ทำให้พอจะคาดการณ์ได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะมีคำวินิจฉัยภายในช่วง 15-30 วันนับจากนี้ ซึ่งจะเป็นได้สองกรณีคือ

  • นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ จะถึงปี 2568 หรือถึงปี 2570 ก็แล้วแต่กรณี

  • นายกรัฐมนตรี จะต้องหยุดการปฎิบัติหน้าที่เป็นการถาวร ทำให้รองนายกรัฐมนตรีที่รักษาการ จะต้องทำหน้าที่ต่อไปในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จำเป็นคือ ก่อนที่รัฐสภาจะเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ขั้นตอนที่ผู้คนสนใจตามมาก็คือ ถ้ามีความจำเป็นต้องเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในที่ประชุมรัฐสภา อันประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. จำนวนรวมกัน 750 คนนั้น ชื่อผู้ที่จะถูกพิจารณาจะประกอบด้วยใครบ้าง ใช้หลักดังนี้

รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดว่า ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 2562 พรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ

และเมื่อได้จำนวนส.ส. แล้ว ให้พิจารณารายชื่อเฉพาะพรรคที่มี ส.ส.เกินกว่า 5% คือ 25 คนขึ้นไป

ซึ่งก็จะเหลือพรรคที่มีส.ส.เกิน 25 คนเพียง 5 พรรค ได้แก่

  • พรรคเพื่อไทย
  • พรรคพลังประชารัฐ
  • พรรคภูมิใจไทย
  • พรรคก้าวไกล
  • พรรคประชาธิปัตย์

โดยรายชื่อของพรรคเพื่อไทยซึ่งเสนอไว้ 3 ชื่อ ประกอบด้วย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชัยเกษม นิติสิริ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

พรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อเดียวคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

พรรคภูมิใจไทยเสนอชื่อ อนุทิน ชาญวีรกุล

พรรคประชาธิปัตย์เสนอชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พรรคก้าวไกลไม่ได้เสนอชื่อไว้ เพราะจัดตั้งขึ้นภายหลัง

เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันพรรคเพื่อไทย คงจะเหลือชื่อเดียวคือชัยเกษม นิติสิริ พรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญวีรกุล พรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

กล่าวโดยสรุป

5 ชื่อที่จะถูกนำมาพิจารณาในที่ประชุมร่วมรัฐสภา ประกอบด้วย

  • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
  • ชัยเกษม นิติสิริ
  • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
  • อนุทิน ชาญวีรกุล
  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

แต่ถ้าดูจากสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว จะเหลือเพียง 3 ชื่อคือ

  • ชัยเกษม นิติสิริ
  • อนุทิน ชาญวีรกุล
  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

แต่ถ้าที่ประชุมไม่สามารถจะเลือกนายกรัฐมนตรีจากรายชื่อดังกล่าวได้ ก็จะไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือ

การขอยกเว้น แล้วเสนอชื่อนายกฯจากนอกบัญชีรายชื่อได้ ซึ่งต้องใช้เสียงเห็นชอบด้วยอย่างน้อย 500 เสียงจาก 750 เสียง ซึ่งถ้ามีโอกาสจะได้เขียนรายละเอียดให้ทราบกันต่อไป
 


คำถามที่ถูกถามมาตอนนี้คือ รัฐบาลจะยุบสภาฯ เพื่อเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ส่วนตัวผมจะตอบว่า เชื่อว่ารัฐบาลน่าจะยังไม่ยุบสภาฯ ตอนนี้ แต่หลายพรรคก็เริ่มส่งสัญญาณออกมาว่ามีการเตรียมพร้อมที่จะเลือกตั้งกันแล้ว

หลายพรรคเริ่มเปิดตัวว่าใครจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี โดยฝั่งฝ่ายค้านนั้นชัดเจนแล้วว่า พรรคก้าวไกลจะชูธงหัวหน้าพรรคคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งประกาศแล้วว่าจะยึดพื้นที่ในภาคอีสานเขตอิทธิพลของพรรคเพื่อไทยให้ได้ ในขณะที่พรรคเพื่อไทยเอง ยังคงรอทักษิณ นายใหญ่จากดูไบเคาะว่าจะเป็นใคร

ส่วนฝั่งรัฐบาลตอนนี้นั้นมีพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศก่อนใครว่าจะผลักดันนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐนั้นก็น่าจะสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาต่อไป เพียงแต่มีปัญหาว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีที่อยู่ได้ไม่เกิน 8 ปีออกมาอย่างไร

แต่ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนบทความเรื่องอนาคตที่มองไม่เห็นของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ต้องการสะท้อนว่า โอกาสในการกลับมาเป็นพรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากนั้นไม่มีเลย แถมจะรักษาที่นั่งครั้งนี้ไม่ให้น้อยลงในการเลือกตั้งข้างหน้าก็คงจะยาก ดังนั้น โอกาสที่นายจุรินทร์ จะเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นยังมองไม่เห็น ถึงตอนนี้ผมก็ยังยืนยันความคิดนี้อยู่

แม้ว่าอยู่ๆ มีโพลถึงสองโพลที่สร้างความประหลาดใจมาก คือ สวนสุนันทาโพล และซูเปอร์โพล ที่บอกว่า นายจุรินทร์ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับสองรองจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่แปลกที่นิด้าโพลได้สำรวจความนิยมนายกรัฐมนตรีมาเป็นระยะไม่เคยมีชื่อของจุรินทร์เกิดขึ้นในลำดับต้นเลย

ผลสำรวจของสวนสุนันทาโพล ระบุว่า ผลสำรวจจากคำถามที่ว่า ใครเหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนต่อไป พบว่า อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 16.68% อันดับ 2 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 16.26% อันดับ 3 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 16.19% อันดับ 4 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 12.10% อันดับ 5 อนุทิน ชาญวีรกูล 9.85% และอื่นๆ 28.92%

ส่วนซูเปอร์โพลเผยผลประเมินความเหมาะสมเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอันดับแรกได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.2 ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 2 ร้อยละ 59.3 ระบุ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อันดับ 3 ที่ตามมาติดๆ ร้อยละ 58.6 ระบุ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อันดับ 4 ได้แก่ ร้อยละ 58.5 ระบุ นายกรณ์ จาติกวณิช อันดับ 5 ได้แก่ ร้อยละ 54.4 ระบุ นายอนุทิน ชาญวีรกูล อันดับ 6 ร้อยละ 53.9 ระบุ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และอันดับ 7 ร้อยละ 46.7 ระบุ นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม

นิด้าสำรวจความเห็นว่าใครคือบุคคลที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 32.61 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 2 ร้อยละ 17.54 ระบุว่า เป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 3 ร้อยละ 11.15 ระบุว่า เป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อันดับ 4 ร้อยละ 11.05 ระบุว่า เป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อันดับ 5 ร้อยละ 9.07 ระบุว่า เป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อันดับ 6 ร้อยละ 7.48 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 7 ร้อยละ 2.58 ระบุว่า เป็น นายกรณ์ จาติกวณิช อันดับ 8 ร้อยละ 2.33 ระบุว่า เป็น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อันดับ 9 ร้อยละ 1.54 ระบุว่า เป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อันดับ 10 ร้อยละ 1.24 ระบุว่า เป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล

ไม่น่าเชื่อว่าผลโพลของนิด้าโพลซึ่งนายจุรินทร์มีความนิยมต่ำมากจะแตกต่างกับสุนันทาโพลและซูเปอร์โพลซึ่งความนิยมพุ่งขึ้นมาขนาดนี้

นิด้าโพลอ้างว่า สำรวจจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 20-23 กันยายน รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,018 หน่วย

ซูเปอร์โพลอ้างว่า สำรวจจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,348 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 11-16 ตุลาคม

สวนสุนันทาโพล อ้างว่า สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 12-16 ตุลาคม จำนวนทั้งสิ้น 1,421 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างจากในเขตอำเภอเมือง 822 ตัวอย่าง ต่างอำเภอ 599 ตัวอย่าง ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

เมื่อพิจารณาจากนิด้าโพลที่ทำมาก่อนเพียง 2 สัปดาห์น่าสงสัยว่าชื่อของนายจุรินทร์กระโดดพรวดขึ้นมาใน 2 โพลที่ทำไล่เลี่ยกันได้อย่างไร แต่ถ้าเราติดตามข่าวสารจะเห็นว่าในระยะเวลานั้น พรรคประชาธิปัตย์พยายามประโคมข่าวออกมาว่าพรรคจะประกาศตัวนายจุรินทร์เป็นนายกรัฐมนตรีในโควตาของพรรคประชาธิปัตย์ ในเพจของพรรคมีการนำเสนอประวัติและผลงานของนายจุรินทร์ออกมาอย่างคึกคัก

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาทั้งสามโพลจะยังไม่ปรากฏชื่อตัวแทนของพรรคเพื่อไทย แม้จะมีชื่อของนายสมพงษ์ หัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนนิดหนึ่งจากนิด้าโพลก็เป็นที่รู้กันว่า พรรคเพื่อไทยคงจะไม่เสนอชื่อนายสมพงษ์อย่างแน่นอน

ดังนั้นความน่าเชื่อถือของโพลยังไม่สามารถบอกอะไรได้ในตอนนี้ ต้องรอให้ทักษิณเคาะเสียก่อนว่าจะส่งใครลงมาเป็นนายกรัฐมนตรีในโควตาของพรรคเพื่อไทย

แต่ถ้าเราพิจารณาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งคนออกเป็นสองฝ่าย และมีกำลังก้ำกึ่งกันระหว่างฝ่ายอำนาจรัฐรวมกันกับพรรคฝ่ายค้านรวมกันในตอนนี้ ผลสำรวจจากตัวเลือกสองฝั่งก็น่าจะออกมาก้ำกึ่งกันมาก

พรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์จะแย่งคะแนนในฐานมวลชนกลุ่มเดียวกัน และพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลก็จะแย่งคะแนนในฐานมวลชนกลุ่มเดียวกัน

ฝั่งของพรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ชะตากรรมผูกไว้กับคุณสมบัติของพล.อ.ประยุทธ์ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะให้ไปต่ออีกสมัยหรือไม่ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ยังได้ไปต่อก็เชื่อว่า คะแนนนิยมของพรรคพลังประชารัฐจะออกมาเหนือกว่าไม่ต่างกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

ฝั่งพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลนั้นก็จะเป็นการต่อสู้ที่พรรคเพื่อไทยประมาทไม่ได้เลย เพราะวันนี้กระแสของพรรคก้าวไกลในมวลชนฝั่งนี้นั้นมาแรงมาก แต่มีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะสร้างกระแสว่า ไม่เลือกเราเขามาแน่ คือถ้าไม่เลือกพรรคเพื่อไทยให้ชนะเด็ดขาดสุดท้ายแล้วก็จะพ่ายแพ้แก่ฝั่งรัฐบาลตอนนี้อย่างแน่นอน

แต่อย่าลืมว่า อำนาจในการโหวตนายกรัฐมนตรีของ 250 ส.ว.ยังอยู่ ถ้าพรรคฝ่ายค้านจะกดดัน ส.ว.ให้ใช้ความอิสระในการเลือกนายกรัฐมนตรี พรรคฝ่ายค้านก็จะต้องชนะเลือกตั้งให้มาก เพื่อกดดัน 250 ส.ว.ว่าประชาชนต้องการให้ฝ่ายนี้เป็นรัฐบาล แต่ถ้ายังก้ำกึ่งกันแบบการเลือกตั้งครั้งที่แล้วก็เชื่อว่าขั้วอำนาจรัฐก็ยังเป็นฝั่งเดิม ส่วนนายกรัฐมนตรีก็ต้องรอดูชะตากรรมของพล.อ.ประยุทธ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญ

แต่ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นรัฐบาล ใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีความขัดแย้งทางการเมืองก็ยังคงอยู่ ฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐบาลอีกฝ่ายหนึ่งก็จะออกมาขับไล่ ยิ่งถ้าฝ่ายอำนาจรัฐปัจจุบันไม่ชนะให้เด็ดขาดและยังพึ่งพิงชัยชนะจาก 250 ส.ว.แล้วก็กล่าวหาเรื่องสืบทอดอำนาจก็จะยังคงถูกใช้เป็นชนวนต่อไป

ยังมองไม่ออกเลยว่า เราจะกลับไปสู่สภาวะปกติที่จะออกจากความขัดแย้งได้อย่างไร ไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม

ติดตามผู้เขียนได้ที่ //www.facebook.com/surawich.verawan

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง