ทำไมการทำงานของผู้สอบบัญชีจึงเกิดความเสี่ยง


HIGHLIGHTS :




  • ผู้บริหารของกิจการมีความรับผิดชอบในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน


  • ผู้สอบบัญชีมีความรับผิดชอบในการรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบเพื่อนำมาสรุปและแสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตรวจสอบ


  • บุคคลทั้งภายในและภายนอกกิจการจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทางการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ


เวลาในการอ่าน 5 นาที



สิ้นปีผ่านไปแล้วอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้าสู่ปีใหม่ แต่งานทางบัญชีของกิจการยังไม่จบเสียที เพราะว่า งบการเงินของปีที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) ก่อนที่จะนำส่งงบการเงินไปยังหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ของไทย เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นลำดับต่อไป ฤดูกาลการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นปีใหม่ก็ว่าได้ รวมทั้งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร พนักงานบัญชี บุคลากรต่างๆ ของกิจการก็ต้องจัดเตรียมข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบได้อย่างเหมาะสม


ผู้บริหารของกิจการมีความรับผิดชอบอย่างไรต่องบการเงิน


แล้วทำไมผู้บริหารของกิจการจึงต้องให้ความสนใจในการสอบบัญชีด้วย ก็เพราะว่างานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  เป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงิน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการทุจริตหรือข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในงบการเงินได้อีกด้วย โดยผู้บริหารของกิจการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำงบการเงิน ซึ่งหมายความว่า ผู้บริหารอาจจะไม่ต้องมานั่งทำงบการเงินด้วยตนเอง แต่มอบหมายให้พนักงานบัญชีของกิจการหรือมีการว่าจ้างสำนักงานทำบัญชีภายนอกกิจการ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลทางการเงินเพื่อนำมาจัดทำงบการเงิน แต่อย่างไรก็ดี ผู้บริหารของกิจการเหล่านั้นต้องรับผิดชอบต่อรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในงบการเงิน ผู้บริหารจะไม่สนใจ ละเลยการจัดทำบัญชี หรือปฏิเสธไม่รู้ไม่ทราบรายการที่ปรากฎในงบการเงินที่ตนรับผิดชอบคงมิได้


ผู้สอบบัญชีมีความรับผิดชอบอย่างไรต่องบการเงิน


กระบวนการสอบบัญชี เริ่มตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงก่อนการตอบรับงานจากกิจการ การวางแผนการตรวจสอบ การรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบ ไปสู่การสรุปผลการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำหรับในประเทศไทยมีกฎหมายหลายต่อหลายฉบับที่เล็งเห็นความสำคัญของกระบวนการสอบบัญชี เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 8 และมาตรา 11 ได้กำหนดว่า “ให้ (1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (2) บริษัทจำกัด (3) บริษัทมหาชนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย  (4) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และ (5) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องจัดให้มีการทำบัญชี และงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1197 กำหนดว่า “งบดุลนั้นต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคนตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ในงบดุลนั้น” และในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 109 กำหนดไว้ว่า “บริษัทมหาชนจำกัดต้องจัดให้มีการทำและเก็บรักษาบัญชี ตลอดจนการสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น” 


ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของผู้สอบบัญชี จึงเป็นผู้รวบรวมหลักฐานประกอบการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่อยู่ในงบการเงินนั้น เพื่อนำมาสรุปผลและแสดงความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องของการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน กล่าวโดยสรุปคือว่า ผู้สอบบัญชีมีความรับผิดชอบในการ “แสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี” ไว้ใน “รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” ซึ่งจะแสดงแนบไปกับงบการเงินของกิจการที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้ว


ประโยชน์ของการสอบบัญชี


ผู้สอบบัญชีจึงอาจจะถูกตั้งความคาดหวังจากบุคคลต่างๆ ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากงบการเงินของกิจการ ว่างบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้วต้องมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ ผู้สอบบัญชีจึงต้องรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นอิสระจากกิจการที่ไปตรวจสอบ ซึ่งหากว่าผู้สอบบัญชีขาดความเป็นอิสระแล้วไซร้ เช่น ถูกผู้บริหารกดดันให้แสดงความเห็นต่องบการเงินที่ผิดให้เป็นถูก ก็จะทำให้งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบนั้นไม่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน งบการเงินไม่มีคุณภาพ ผู้สอบบัญชีก็ขาดความน่าเชื่อถือ


หากผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานทางวิชาชีพแล้ว รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต รวมทั้งข้อมูลในงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินกลุ่มต่างๆ  ยกตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินใช้งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้ว ในการพิจารณาการให้สินเชื่อแก่กิจการ การอนุมัติวงเงินสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย รวมทั้งระยะเวลาการให้สินเชื่อ เป็นต้น สำหรับผู้บริหารของกิจการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในงบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีในการตัดสินใจลงทุนขยายกิจการ การพิจารณาต้นทุน การควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ การวางแผนกำไร เป็นต้น สำหรับผู้ลงทุนในกิจการจะต้องสนใจข้อมูลในงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้ว เพื่อใช้ในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจลงทุนกับกิจการ ในขณะที่กรมสรรพากรก็สนใจข้อมูลในงบการเงินของกิจการเพื่อใช้ในการประเมินการจัดเก็บภาษีประจำปี


โดยสรุป การตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ถือเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นอิสระ โดยไม่มีแรงกดดันจากผู้ว่าจ้างแต่อย่างใด งานสอบบัญชีจึงถือเป็นงานด้านหนึ่งของวิชาชีพบัญชี และถือเป็นงานที่ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ การสอบบัญชีจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งบการเงินผ่านรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ว่างบการเงินได้จัดทำขึ้นถูกต้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินหรือไม่ งบการเงินมีการแสดงข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดที่มีมูลเหตุจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ




เรียบเรียงโดย : อาจารย์ธเรศ สันตติวงศ์ไชย, CPA


ผู้ช่วยคณบดี และหัวหน้าสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ


และอนุกรรมการกลั่นกรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง