ภาษีซื้อขอคืนได้ภายในกี่ปี

เมื่อเจ้าของธุรกิจได้มีการจดทะเบียนเป็น "นิติบุคคล" รายได้จากการประกอบกิจการ จะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี และถ้าหากกิจการมียอดการเสียภาษีเกินไว้ ก็สามารถขอคืนเงินภาษีได้

แต่! ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่า ควรจะขอคืนเงินภาษีหรือไม่ และรับได้กับผลลัพธ์ที่จะตามมา

เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วสรรพากรจะต้องขอเอกสารเพิ่มเติม หรือเข้าตรวจสอบเพื่อพิจารณาคืนเงินภาษี และในบางรายที่ทำบัญชีไม่ถูกต้อง การขอคืนภาษีกลับเป็นการทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มแทน

ดังนั้น กิจการสามารถขอคืนเงินภาษีแบบไหนได้บ้าง และควรทำอย่างไรเพื่อให้ได้เงินภาษีคืนแบบถูกต้อง รวดเร็ว มีเงื่อนไขอย่างไรบ้างต้องไปอ่านกัน

ขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่เมื่อใดที่ธุรกิจบริการได้รับเงินค่าจ้าง จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ตามประเภทธุรกิจของตนเอง เช่น ค่าจ้างทำของ 3% ค่าขนส่ง 1% ค่าโฆษณา 2% เป็นต้น ซึ่งการเสียภาษีดังกล่าวเมื่อกิจการยื่นภาษีแล้ว พบว่าได้เสียภาษีเกินกว่ายอดที่ต้องชำระ กิจการก็สามารถขอคืนเงินภาษีจากสรรพากรได้

โดยเงื่อนไขของการขอคืนเงินภาษี คือ

1.เป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีแล้ว แต่นำส่งเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี

2.ระยะเวลาในการขอคืนภาษี โดยผู้มีสิทธิขอคืนเงินภาษีสามารถยื่นคำร้องได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดยื่นแบบฯ ภาษี เช่น กิจการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ภาษี (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี หลังจากนั้นจะมีเวลาในการขอคืนภาษีภายใน 3 ปี

แต่ก่อนจะขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น กิจการต้องเช็กความพร้อมก่อนว่า...

- มีเงินขอคืนภาษีมากพอหรือไม่

- การจัดการบัญชี เอกสารต่างๆ ถูกต้อง พร้อมให้สรรพากรเข้ามาตรวจหรือไม่

เพราะหลังจากขอคืนเงินภาษีแล้ว ทางสรรพากรจะต้องขอเอกสารเพิ่มเติม หรือเข้าตรวจเอกสารหรือซักถามข้อมูลต่างๆ

ถ้าหากการจัดการบัญชี หรือเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน คำนวณแล้วต้องเสียภาษีเพิ่ม อาจทำให้ได้คืนเงินภาษีน้อยลงกว่าที่ขอคืน

หรือที่เลวร้ายกว่านั้นคือ คำนวณแล้วกลับต้องเสียเงินเพิ่มให้สรรพากรก็ได้

โดยวิธีการขอคืนเงินภาษีมี 2 แบบ คือ

- ยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานประเมิน ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50

- ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10)

การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

1.นำเครดิตภาษีที่มีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษี ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ไปใช้สิทธิชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ในเดือนถัดไป

โดยวิธีการขอคืนคือเมื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 และมีเครดิตภาษีเหลืออยู่ของเดือนนั้น ถ้าไม่ลงชื่อขอคืนภาษี ให้ถือว่ามีความประสงค์จะนำเครดิตภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป แต่ถ้าในเดือนถัดไปไม่ได้นำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม จะยกยอดเครดิตภาษีข้ามไปเดือนอื่นอีกไม่ได้

แต่ให้เลือกขอคืนเป็นเงินสด โดยยื่นคำร้องขอคืนภาษีด้วยแบบ ค.10 ซึ่งการขอคืนภาษีเป็นเงินสดหรือขอโอนเข้าบัญชีธนาคาร ให้ผู้ประกอบการลงลายมือชื่อในแบบ ภ.พ.30

2.เป็นการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชี สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ซึ่งกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้ขอคืนภาษีด้วยการเครดิตภาษีตามข้อ 1 ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น

3.เป็นการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าหากผู้นำเข้าเป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอง สามารถยื่นคำร้องได้ ณ ที่ว่าการอำเภอของท้องถิ่นนั้นๆ แต่ถ้าไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเอง ให้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี ณ ด่านศุลกากรขาเข้า

ทั้งนี้ หากผู้นำเข้ามีข้อโต้แย้ง หรือติดคดีในชั้นศาล การขอคืนภาษีสามารถทำได้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับข้อโต้แย้งอากรขาเข้าเป็นลายลักษณ์อักษร

แต่ส่วนใหญ่สำหรับธุรกิจขายสินค้าและให้บริการ รวมถึงนำเข้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ผู้ระกอบการจะไม่นิยมขอคืนภาษี และใช้วิธีเครดิตภาษีซื้อไปหักภาษีขายในเดือนถัดไปแทน แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ผู้ประกอบการว่าจะเลือกใช้วิธีเครดิตภาษีหรือขอคืนภาษี ในกรณีที่ขอคืนภาษีทางสรรพากรจะต้องเข้ามาตรวจสอบ

ดังนั้น หากผู้ประกอบการทราบอยู่แล้วว่า ธุรกิจของตนเองไม่มีทางที่จะมีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้ออย่างแน่นอน เมื่อมีภาษีซื้อให้ขอภาษีคืนตั้งแต่เปิดบริษัทครั้งแรก เพื่อให้สรรพากรเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของภาษีที่เสียไป ตรวจเดือนต่อเดือนเพื่อไม่ให้สะสมมาก ก็จะมีโอกาสผิดพลาดน้อยและก็ได้เงินคืนภาษีเร็ว

ในทางกลับกัน ถ้าทราบอยู่แล้วว่ามีโอกาสที่ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อบ่อยครั้ง ให้ขอเป็นเครดิตภาษีเพื่อป้องกันปัญหาที่ตามมาเมื่อสรรพากรเข้าตรวจสอบ อาจไม่ได้เงินภาษีคืนแถมเสียเงินเพิ่มอีกด้วย

แต่ถ้าหากต้องการขอคืนภาษีเป็นเงินสดหลังจากดำเนินกิจการมาหลายปีแล้ว ก็สามารถทำได้โดยกิจการจะต้องมั่นใจว่าได้ทำบัญชีถูกต้องเมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบ

ขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น กิจการที่มีรายได้จากดอกเบี้ยรับจากการให้กู้ยืม หากได้มีการนำส่งภาษีแล้ว แต่นำส่งเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีแต่ได้ชำระภาษีไว้ สามารถขอคืนภาษีได้โดยสามารถยื่นคำร้องได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดยื่นแบบฯ ภาษี ด้วยแบบคำร้อง ค.10

ทั้งนี้ ในการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ ภาษี เช่นเดียวกับการขอคืนภาษีอื่นๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่อาจมีเอกสารเพิ่มเติม เช่น แบบ ภ.ง.ด. หนังสือจดทะเบียนบริษัท และหลักฐานอื่นๆ ที่จะต้องใช้ในการประเมิน และหลังจากยื่นคำร้องเสร็จแล้ว หากผู้ประกอบการต้องการยกเลิกการขอคืนภาษีก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปแจ้งพนักงานที่สรรพากรว่าไม่ต้องการขอคืนภาษีแล้วเท่านั้น

  • ขอคืนภาษีได้เร็วขึ้น...ผ่านระบบพร้อมเพย์

ปัจจุบันมีการนำบริการขอคืนภาษีผ่านระบบโอนเงินแบบพร้อมเพย์มาใช้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการคืนเงินภาษี โดยนิติบุคคลสามารถใช้ระบบการคืนเงินผ่านพร้อมเพย์ได้ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

- เป็นนิติบุคคลที่มีพร้อมเพย์แล้ว

- เป็นนิติบุคคลที่มีเงินคืนภาษีไม่ถึง 100 ล้านบาท

- เป็นนิติบุคคลที่ไม่เปลี่ยนแปลงสถานะนิติบุคคล เช่น ไม่ได้กำลังควบรวมกิจดาร หรือโอนกิจการ

สำหรับกิจการที่ตรงตามเงื่อนไขข้างต้น และลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้เรียบร้อยแล้ว ทางสรรพากรจะทำการคืนเงินภาษีเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกไว้กับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก

ส่วนกิจการอื่นๆ ที่ไม่เข้าเงื่อนไขดังที่กำหนด ยังสามารถขอคืนเงินภาษีช่องทางอื่นๆ ได้อีก เช่น โอนเงินแบบธรรมดา การคืนภาษีเป็นเช็ค โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกดำเนินการได้ตามความสะดวกของแต่ละองค์กร แล้วทางสรรพากรก็จะทำการคืนเงินภาษีผ่านเช็คหรือโอนคืนเงินภาษีผ่านบัญชีธนาคารนั้นๆ ได้เช่นกัน

ดังนั้น ในการขอคืนภาษีกิจการควรศึกษาเงื่อนไขในการขอคืนภาษีแต่ละประเภทให้ดีเสียก่อน รวมถึงเตรียมข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ให้พร้อมเมื่อสรรพากรเข้าตรวจสอบ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบของสรรพากร ซึ่งจะส่งผลให้กิจการได้เงินคืนไวนั่นเอง

ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กี่ปี

ภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่กรมสรรพากรอนุมัติให้งดเบี้ยปรับนั้น มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากร หรือตามกฎหมายอื่น บริษัทฯ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามมาตรา 193/30.

ภาษีซื้อเก็บไว้ได้กี่ปี

กำหนดเวลาสามปีนับจากวันที่ได้มีการออกใบกำกับภาษี ภาษีซื้อดังกล่าวจึงไม่สามารถนำไปหักใน การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือขอคืนภาษีได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

เครดิตภาษีซื้อใช้ได้กี่เดือน

🌟หลายท่านอาจจะรู้ว่าใบกำกับภาษี เราสามารถนำมาใช้หักกับภาษีขายได้ไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี มาติดตามกันว่าเราต้องนับอย่างไรกันนะคะ 🟠ข้อควรระวังภาษีซื้อที่ไม่ได้นำมาหักในเดือนภาษีจะต้องมีสาเหตุดังต่อไปนี้ ◾️เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า ◾️เหตุสุดวิสัย

ภาษีซื้อ ไม่เกิน 6 เดือนนับอย่างไร

"ข้อ 2 ภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจำเป็นตามข้อ 1 ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง