การเปล ยนเเปลงระบบเมตาบอล ซ ม ม ก ว ธ

คือ กระบวนการทางเคมีที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติหรือสามารถรักษาภาวะต่าง ๆ ภายในร่างกายให้คงที่ (Homeostasis) กระบวนดังกล่าวประกอบด้วยการย่อยสารอาหารจากอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไป และการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย กระบวนการเมตาบอลิซึมจะเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มที่รับเข้าไปให้กลายเป็นพลังงาน เพื่อนำไปใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น หายใจ ไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ย่อยอาหาร ขับของเสียออกมาในรูปปัสสาวะหรืออุจจาระ รวมทั้งทำให้สมองและเส้นประสาททำงานได้

กระบวนการทางเคมีของเมตาบอลิซึมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กระบวนการสลาย และกระบวนการสร้าง โดยร่างกายจะจัดระบบการทำงานของกระบวนการทั้ง 2 ส่วนนี้ให้เกิดความสมดุลในด้านต่าง ๆ แก่ร่างกาย กระบวนการทางเคมีทั้ง 2 ส่วนมีรายละเอียดการทำงาน ดังนี้

  • กระบวนการสลาย (Catabolism) คือ กระบวนการทางเคมีที่สลายส่วนประกอบหรือสารอาหารของอาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไป เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยจะสลายสารอาหารดังกล่าวให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมนำไปใช้เสริมสร้างการเจริญเติบโต หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  • กระบวนการสร้าง (Anabolism) คือ กระบวนการทางเคมีที่สร้างหรือซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยกระบวนการนี้ต้องนำพลังงานที่ได้จากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มมาใช้ หากได้รับพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันมากเกินไป ร่างกายจะนำสารอาหารส่วนเกินมาเก็บสะสมในรูปของไขมัน

นอกจากนี้ ร่างกายจะมีอัตราการเผาผลาญ (Metabolic Rate) หรือพลังงานที่ใช้ไปมากน้อยเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง ได้แก่ อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกาย พลังงานที่ใช้ระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ และพลังงานที่ใช้ย่อยอาหาร ซึ่งปัจจัยแต่ละอย่างมีความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกาย (Basal Metabolic Rate: BMR) คือ ปริมาณพลังงานที่เผาผลาญในขณะที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวทำกิจกรรมใด ๆ ซึ่งรวมไปถึงพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ควบคุมระบบการทำงานส่วนต่าง ๆ ให้เป็นปกติหรืออยู่ในภาวะคงที่ (Homeostasis) อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกายนี้นับเป็นแหล่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ร่างกายนำไปใช้ในแต่ละวัน คิดเป็นร้อยละ 50-80 โดยทั่วไปแล้ว ผู้ชายจะมีอัตราการเผาผลาญวันละประมาณ 1,700 กิโลแคลอรี่ (7,100 กิโลจูล) ส่วนผู้หญิงมีอัตราการเผาผลาญวันละประมาณ 1,400 กิโลแคลอรี่ (5,900 กิโลจูล) โดยร่างกายจะใช้พลังงานไปเรื่อย ๆ แต่ระดับการเผาผลาญจะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาในแต่ละวัน ซึ่งร่างกายจะมีอัตราการเผาผลาญต่ำสุดในตอนเช้า ส่วนใหญ่แล้วอัตราการเผาผลาญของร่างกายขึ้นอยู่กับมวลกล้ามเนื้อทั้งหมดของร่างกาย เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อต้องใช้พลังงานในการมาเสริมสร้างให้อยู่ได้ต่อไป หากมวลกล้ามเนื้อลดลง อัตราการเผาผลาญของร่างกายก็ลดลงด้วย ทั้งนี้ ร่างกายต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย จึงจำเป็นต้องรักษาหรือออกกำลังกายเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในกรณีที่พยายามลดน้ำหนัก โดยมวลกล้ามเนื้อจะช่วยลดโอกาสบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ส่วนการออกกำลังกายก็จะช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานในแต่ละวันมากขึ้น
  • พลังงานที่ใช้ระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ คือ พลังงานที่ร่างกายเผาผลาญหรือใช้ไปขณะเคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายวันละ 30-45 นาที โดยกล้ามเนื้อจะเผาผลาญพลังงานขณะที่พักหรือไม่ได้เคลื่อนไหว คิดเป็นร้อยละ 20 เมื่อร่างกายออกแรงมากในการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเผาผลาญพลังงานประมาณชั่วโมงละ 700 กิโลแคลอรี่ (3,000 กิโลจูล) โดยพลังงานส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 50 เท่า หรือมากกว่านั้นระหว่างที่ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม การคำนวณพลังงานที่เผาผลาญระหว่างออกกำลังกายเป็นเรื่องยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนัก อายุ สุขภาพ และความหนักของกิจกรรมที่ทำ โดยจะยกตัวอย่างกิจกรรมพร้อมคำนวณพลังงานที่เผาผลาญจากการทำกิจกรรมนั้น ๆ ในอัตราต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมงพอสังเขป ดังนี้
    • นั่งเฉย ๆ ประมาณ 0.4 กิโลแคลอรี่ (1.7 กิโลจูล)
    • เขียนหนังสือ ประมาณ 0.4 กิโลแคลอรี่ (1.7 กิโลจูล)
    • ยืนเฉย ๆ ประมาณ 0.5 กิโลแคลอรี่ (2.1 กิโลจูล)
    • ขับรถ ประมาณ 0.9 กิโลแคลอรี่ (3.8 กิโลจูล)
    • เดินเร็ว ประมาณ 3.4 กิโลแคลอรี่ (14.2 กิโลจูล)
    • วิ่ง ประมาณ 6.9 กิโลแคลอรี่ (29.3 กิโลจูล)
    • ว่ายน้ำ (4 กิโลเมตร /ชั่วโมง) ประมาณ 7.9 กิโลแคลอรี่ (33 กิโลจูล)
  • พลังงานที่ใช้ย่อยอาหาร (Thermic Effect of Food) คือ พลังงานที่ใช้ในการรับประทาน ย่อย และเผาผลาญอาหาร โดยพลังงานส่วนนี้คิดเป็นร้อยละ 5-10 ของพลังงานที่ใช้ เมื่อบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าไป ร่างกายจะเริ่มเผาผลาญ เนื่องจากต้องใช้พลังงานเมื่อกิน ย่อยอาหาร และเผาผลาญอาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภค โดยอัตราการเผาผลาญจะเพิ่มขึ้นหลังจากบริโภคอาหารเข้าไปได้สักพัก และจะพุ่งขึ้นสูงในช่วง 2-3 ชั่วโมงต่อจากนั้น การเพิ่มขึ้นของอัตราการเผาผลาญจะแตกต่างกันไปตั้งแต่ร้อยละ 2-30 ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของอาหารที่รับประทาน โดยอาหารแต่ละอย่างจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในจำนวนที่ต่างกันไป ดังนี้
    • ไขมัน เพิ่มอัตราการเผาผลาญร้อยละ 0-5
    • คาร์โบไฮเดรต เพิ่มอัตราการเผาผลาญร้อยละ 5-10
    • โปรตีน เพิ่มอัตราการเผาผลาญร้อยละ 20-30
    • อาหารรสเผ็ด เช่น พริก หรือมัสตาร์ด มีผลต่อการเผาผลาญ

ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อเมตาบอลิซึม

เมตาบอลิซึมคือกระบวนการที่ช่วยควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ หากเกิดปัญหาสุขภาพบางอย่างขึ้นมา อาจส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมได้ โดยปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อเมตาบอลิซึมแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับฮอร์โมน และโรคทางพันธุกรรม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับฮอร์โมน ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โดยช่วยควบคุมและปรับกระบวนการดังกล่าวให้เป็นปกติ อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับฮอร์โมน ก็อาจส่งผลต่อเมตาบอลิซึมในร่างกายได้ ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมที่พบได้บ่อยมักเกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์ โดยทั่วไปแล้ว ต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยปรับและควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึม โดยโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์นั้นประกอบด้วยภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนและต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ดังนี้
    • ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยเกิดจากโรคฮาชิโมโต (Hashimoto Disease) ซึ่งเป็นโรคระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ ทำให้กระบวนการเมตาบอลิซึมทำงานช้าลง ผู้ป่วยภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะมีน้ำหนักตัวมากขึ้นผิดปกติ เซื่องซึม ซึมเศร้า และท้องผูก
    • ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) ส่วนใหญ่แล้ว โรคนี้เกิดจากโรคเกรฟส์ (Graves Disease) จะทำให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไป ซึ่งไปเร่งกระบวนการเมตาบอลิซึม ผู้ป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษจะมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวลดลง รู้สึกกังวล และท้องเสีย
  • โรคทางพันธุกรรม โดยทั่วไปแล้ว ยีนหรือสารพันธุกรรม คือต้นแบบของโปรตีนในร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารและกระบวนการเมตาบอลิซึม หากเกิดความผิดพลาดกับยีน จะส่งผลให้ร่างกายผลิตโปรตีนที่ไม่สามารถตอบสนองในการย่อยและกระบวนการเมตาบอลิซึมที่ทำปฏิกิริยากับอาหารได้ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึม ส่วนใหญ่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพนี้อันเนื่องมาจากโรคทางพันธุกรรมจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการคล้ายกับโรคอื่น ทำให้ระบุสาเหตุของอาการป่วยที่เกิดขึ้นได้ยาก ผู้ป่วยจึงควรพบแพทย์ในกรณีที่คาดว่ามีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึม ตัวอย่างโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม มีดังนี้
    • ภาวะแพ้น้ำตาลฟรักโทส (Fructose Intolerance) ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถย่อยน้ำตาลฟรักโทสได้ โดยฟรักโทสเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง พบในผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำตาล หรือผักบางชนิด
    • กาแลกโตซีเมีย (Galactosaemia) ร่างกายของผู้ที่ประสบภาวะนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนกาแลกโตสให้เป็นกลูโคสได้ โดยทั่วไปแล้ว กาแลกโตสไม่ใช่สารที่พบได้ตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการย่อยแลคโทสให้กลายเป็นกลูโคสและกาแลกโตส แลคโทสมักพบมากในน้ำนมและผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ำนม เช่น โยเกิร์ต หรือชีส เป็นต้น
    • ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuri: PKN) ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนฟีนิลอะลานีน ( Phenylalanine) ให้กลายเป็นไทโรซีน (Tyrosine) ได้ หากมีระดับฟีนิลอะลานีนในเลือดสูงจะทำให้สมองถูกทำลาย ผู้ป่วยควรเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูงและอาหารที่ใช้แอสปาแตมเป็นสารให้ความหวาน

เมตาบอลิซึมสำคัญอย่างไร ?

ผู้คนมักเข้าใจว่าการมีน้ำหนักตัวมากขึ้นเป็นผลจากกระบวนการเมตาบอลิซึมที่ทำงานช้าลง แท้จริงแล้ว การทำงานของเมตาบอลิซึมที่ช้าลงนั้นเป็นสาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินที่พบได้ไม่บ่อย ทั้งนี้ พลังงานที่ได้จากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันคือปัจจัยที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวโดยตรง โดยกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความสำคัญต่อร่างกายอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ เปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นพลังงาน และส่งผลต่อน้ำหนักตัว ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • เปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นพลังงาน เมื่อได้รับอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไป กระบวนการเมตาบอลิซึมจะเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มเหล่านั้นมาเป็นพลังงาน โดยใช้ออกซิเจนช่วยในการเผาผลาญ และปล่อยออกมาในรูปของพลังงาน เพื่อนำไปใช้ทำสิ่งต่าง ๆ ตามที่ร่างกายต้องการ ปริมาณพลังงานที่ใช้ก็คืออัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกายตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งมีปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเผาผลาญนั้นมีหลายอย่าง ดังนี้
    • ขนาดร่างกาย ผู้ที่มีร่างกายใหญ่จะมีกระบวนการเมตาบอลิซึมหรืออัตราการเผาผลาญที่มากกว่า
    • มวลกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อในร่างกายมาก มักเผาผลาญพลังงานได้เร็ว
    • ไขมันในร่างกาย เซลล์ไขมันที่อยู่ในร่างกายจะทำให้เผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่า
    • ปริมาณอาหารที่รับประทาน ผู้ที่อดอาหาร ลดปริมาณอาหาร หรือรับประทานอาหารน้อยเกินไปจะทำให้กระบวนการเมตาบอลิซึมเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มที่ได้รับให้กลายเป็นพลังงานได้ช้าลง ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายต่ำลงถึงร้อยละ 15 ทั้งนี้ หากสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปมากก็จะลดอัตราการเผาผลาญด้วย
    • เพศ ผู้ชายมีแนวโน้มเผาผลาญได้เร็วกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้ชายมักมีไขมันน้อย แต่กล้ามเนื้อเยอะเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีอายุและน้ำหนักตัวเท่ากัน
    • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ก็จะเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง เนื่องจากร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และสะสมไขมันมากขึ้น
    • การเจริญเติบโต ทารกและเด็กมีความต้องการพลังงานต่อน้ำหนักตัวสูงกว่า เนื่องจากร่างกายต้องนำพลังงานไปใช้ควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่
    • พันธุกรรม อัตราการเผาผลาญในร่างกายมีปัจจัยมาจากยีนที่ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม
    • การควบคุมของฮอร์โมน ระบบประสาทและฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมอัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกาย หากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล อาจส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญได้เร็วหรือช้าได้
    • อุณหภูมิของสภาพแวดล้อม อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่สูงหรือต่ำเกินไป ส่งผลให้ควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ได้ยาก ซึ่งช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญของร่างกายให้เพิ่มขึ้น
    • กิจกรรมที่ทำ กล้ามเนื้อที่ต้องเคลื่อนไหวหรือใช้งานนั้นต้องการพลังงานสำหรับเผาผลาญเป็นจำนวนมาก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อ รวมทั้งทำให้ร่างกายเผาผลาญได้เร็วแม้จะไม่ได้เคลื่อนไหวหรือออกแรงทำกิจกรรมใด ๆ อยู่ก็ตาม
    • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หากร่างกายป่วยหรือติดเชื้อ จะส่งผลให้อัตราการเผาผลาญเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องเร่งสร้างเนื้อเยื่อหรือภูมิคุ้มกันร่างกายขึ้นมาใหม่
    • การใช้ยา สารเสพติดหรือยาบางอย่าง เช่น คาเฟอีน หรือนิโคติน ช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญของร่างกายได้
    • การขาดสารอาหารต่าง ๆ ผู้ที่ได้รับสารอาหารบางอย่างไม่เพียงพอ อาจได้รับผลกระทบต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมได้ เช่น ผู้ที่ได้รับธาตุไอโอดีนน้อยเกินไป อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยลง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญช้า
  • ส่งผลต่อน้ำหนักตัว กระบวนการเมตาบอลิซึมอาจส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยผู้ที่ประสบภาวะน้ำหนักเกินอันเนื่องมาจากกระบวนการเมตาบอลิซึมนั้น มักป่วยเป็นโรคที่ส่งผลต่อการกระบวนการดังกล่าว เช่น กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ทั้งนี้ ภาวะน้ำหนักเกินยังเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยอื่น ได้แก่ พันธุกรรม การควบคุมฮอร์โมน การรับประทานอาหาร การนอนหลับ กิจกรรมที่ทำ และความเครียด โดยผู้ป่วยอาจขาดสมดุลของปัจจัยเหล่านี้ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายเผาผลาญพลังงานน้อยกว่าจำนวนแคลอรี่ที่รับเข้าไป หากต้องการลดน้ำหนัก ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในปริมาณแคลอรี่ที่น้อยลง และเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรเลี่ยงลดน้ำหนักหักโหมและเร็วเกินไป เนื่องจากการอดอาหารหรือรับประทานอาหารน้อยเกินไปจะลดอัตราการเผาผลาญของร่างกายได้ ทั้งนี้ ร่างกายอาจสลายกล้ามเนื้อเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน เมื่อมวลกล้ามเนื้อน้อยลง ย่อมส่งผลต่อการทำงานของกระบวนการเมตาบอลิซึม ทำให้เผาผลาญช้าลง ซึ่งส่งผลให้สะสมไขมันได้ง่ายขึ้น

เร่งอัตราการเผาผลาญของเมตาบอลิซึมได้อย่างไร ?

วิธีเร่งอัตราการเผาผลาญของกระบวนการเมตาบอลิซึมยังไม่ปรากฏชัดเจน เนื่องจากการเร่งอัตราเผาผลาญของร่างกายนั้นทำได้ยาก อย่างไรก็ตาม การควบคุมจำนวนแคลอรี่ที่ใช้เผาผลาญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถทำได้ด้วยการออกแรงหรือเคลื่อนไหวร่างกาย หากเคลื่อนไหวร่างกายมาก ก็จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้มากตามไปด้วย วิธีที่ช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานได้มากนั้น มีดังนี้

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกคือวิธีช่วยเผาผลาญพลังงานที่มีประสิทธิภาพ โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วยการเดิน ปั่นจักยาน วิ่ง หรือว่ายน้ำ โดยทั่วไปแล้ว ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอาจต้องเพิ่มเวลาออกกำลังกายมากกว่านั้น ส่วนผู้ที่ไม่มีเวลามากสำหรับออกกำลังกายในแต่ละวัน ควรออกกำลังกายที่ต้องออกแรงเยอะแต่ใช้เวลาสั้น ๆ เพียง 10 นาที โดยทำไปเรื่อย ๆ ตลอดวัน ทั้งนี้ ควรเพิ่มแรงในการออกกำลังกายด้วย โดยออกแรงหนักเบาสลับกัน เช่น บริหารร่างกายด้วยท่า Jumping Jacks มีลักษณะคล้ายการทำกระโดดตบ โดยยืนตรงกางขาพร้อมกับกวาดแขนไปข้างบนเหนือศีรษะจนมือแตะกัน จากนั้นจึงกระโดดแล้วขยับขาเข้าหากัน ลดแขนไว้ข้างลำตัว ทำเช่นนี้จนครบ 1 นาที สลับกับเดิน 2 นาที และทำซ้ำต่อไปเป็นเวลา 15 นาที ทั้งนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแรงที่ใช้ในการออกกำลังกายร่วมด้วย
  • เสริมสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย การออกกำลังกายที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากกิจกรรมลักษณะนี้จะช่วยให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้ช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้ ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานได้เยอะขึ้นหากมีมวลกล้ามเนื้อมาก การออกกำลังกายที่เสริมสร้างความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อจึงช่วยให้ลดน้ำหนักได้ ควรออกกำลังกายเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ การออกกำลังกายลักษณะนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อหัวใจ กระดูก และสภาพอารมณ์ เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ การเคลื่อนไหวหรือออกแรงทำสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาจะช่วยให้เผาผลาญได้มากขึ้น ควรหาโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เช่น เดิน ขึ้นบันไดแทนใช้ลิฟต์ ทำสวน ล้างรถ หรือทำงานบ้าน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง