การวางแผนทร พยากรมน ษย human resource planning ม ล กษณะอย างไร

การจัดหาบุคคล (Staffing) หมายถึง การคัดเลือก การบรรจุตำแหน่งงานต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์การ มีการรับสมัครงาน คัดเลือกรวมถึงการแต่งตั้ง การประเมินผล การเลื่อนตำแหน่ง การให้รางวัล การฝึกอบรมและการพัฒนา

ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนและประเภทของผู้บริหารที่เป็นที่ต้องการ (Factor affecting the number and kinds of managers required) ขนาดและความซับซ้อนของโครงสร้างองค์การ แต่คุณสมบัติของผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์(Vision) มีความสามารถปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา มีความสามารถในการวางแผนประนีประนอม ชักจูงที่ดี และเป็นที่ปรึกษาของผู้ใต้บังคับบัญชาได้

ปัจจัยทางสถานการณที่มีผลต่อการจัดหาบุคลากร (Situation factors affecting staffing) ปัจจัยภายนอกประกอบด้วยระดับการศึกษา ทัศนคติทั่วไปในสังคม ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการจัดหาบุคคลากร คือ เป้าหมายขององค์การ เทคโนโลยีโครงสร้างองค์การ ชนิดของลูกจ้าง ผลตอบแทน ประเภทของนโยบาย

1.สภาพแวดล้อมภายนอก (The external environment) เช่น วัฒนธรรมทางสังคม การเมือง กฎหมาย เช่น ตำแหน่งงานบางตำแหน่งจำเป็นจะต้องได้รับการศึกษาโดยเฉพาะทาง

2.สภาพแวดล้อมภายใน (The Internal Environment) เช่น การจัดหาบุคคลากรภายในองค์การ ต้องมีการพิจารณาจากพนักงานในแต่ละแผนกที่มีความรู้ ความสามารถ ได้ทำงานเป็นเวลาพอสมควร ผลงานออกมาดี องค์การก็ควรที่จะเลื่อนตำแหน่ง ควรจะถนอมพนักงานให้อยู่กับองค์การนานๆ

กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์

กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (The human resource management process)

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆ [1] กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์ จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้น จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทั้งทฤษฎีในเชิงวิชาการและแบบปฏิบัติในธุรกิจที่ศึกษาวิธีการบริหารแรงงานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

ขั้นที่ 1 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource planning) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต

1.การพยากรณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ (Forecasting human resource needs)

1.1 การเปลี่ยนแปลงพนักงาน (Personnel change) สาเหตุเพราะว่าพนักงานได้รับการเลื่อนตำแหน่ง การเกษียณหรือการลาออก วิธีหนึ่งที่จะใช้จ้างบุคคลภายนอก

1.2 การเปลี่ยนแปลงองค์การ (Organization changes) การเปลี่ยนเป้าหมายองค์การและกลยุทธ์จะทำให้เกิดตำแหน่งใหม่ และมีการเปลี่ยนตำแหน่งเก่า การเปลี่ยนแปลงอาจจะทำให้องค์การเล็กลง และโครงสร้างกลายเป็นแบบกว้าง มีการกระจายอำนาจและลดความต้องการของงานบางสิ่งลง แต่อาจจะเพิ่มงานบางอย่าง

1.3 ปริมาณแรงงานที่มีอยู่ในตลาดและความต้องการแรงงาน (Supply and demand) องค์การโดยส่วนใหญ่มีพยกรณ์ความต้องการทรัพยากรบุคคลในช่วงสั้น โดยผ่านกระบวนการงบประมาณ สัมพันธ์กับแนวโน้มของจำนวนประชากร เทคโนโลยี และคู่แข่งขัน

2.การวิเคราะห์งาน(Job analysis) กระบวนการซึ่งเป็นระบบเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของงาน จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน หลังจากการวิเคราะห์งานผู้จัดการจะต้องมีการออกแบบงาน (Job design) ซึ่งเป็นกระบวนการกำหนดลักษณะโครงสร้างของงาน (Structure of work) โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มผลผลิต และสร้างความพอใจในการทำงาน ประกอบด้วย การเพิ่มหน้าที่รับผิดชอบในงาน(Job enrichment) การขยายงาน(Job enlargement) การหมุนเวียนงาน(Job rotation) และทำให้การทำงานง่ายขึ้น (Job simplification) ภายหลังที่องค์การได้มีการออกแบบงานจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน (job specification) กำหนดไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน (Job description) มีส่วนประกอบของงานหลัก 5 ประการ คือ

(1) ความหลากหลายในจำนวนงาน(Skill variety) เป็นสิ่งที่พนักงานต้องการความหลากหลายของกิจกรรม พรสวรค์ และความชำนาญ

(2) ลักษณะงาน(Task identity) เริ่มทำงานตั้งแต่ต้นจนเสร็จงานโดยไม่มีการจำกัดบางขั้นตอนของงาน

(3) ความสำคัญของงาน (Task significance)

(4) ความอิสระ(Autonomy)

(5) การป้อนกลับ (Feedback)

ขั้นที่ 2 การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน: การสรรหา และการคัดเลือก

การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน (Staffing)

1.การสรรหาบุคคล (Recruitment) หมายถึง กรรมวิธีในการแสวงหาบุคคลที่เหมาะสม

1.1 ระบบการสรรหาบุคคล (Recruitment system) สรรหาจากบุคคลได้ 2 ประเภท

(1) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage system) การจัดหาบุคคลเข้าทำงานโดยไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ทำให้ขวัญของพนักงานเสีย ไม่มีความเชื่อมั่นการจงรักภักดีต่อองค์การมีน้อย

(2) ระบบคุณธรรม (Merit system) สรรหาบุคคล โดยการพิจารณาความรู้ ความสามารถ

1.2 กระบวนการในการสรรหา (Recruitment process) มีขั้นตอน 9 ประการ

(1) สร้างภาพลักษณ์

(2) กำหนดกฎเกณฑ์ในการรับสมัคร

(3) ใบขอเพิ่มพนักงาน โดยหน่วยหรือแผนกจะทำเรื่องถึงผู้บริหารเพื่อขอเพิ่มพนักงานหรือทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

(4) การประการรับสมัคร

(5) การรับสมัคร

(6) การคัดเลือก

(7) การตรวจสอบรายละเอียด

(8) การตัดสินผลการคัดเลือก

(9) การรับเข้าทำงาน

2.การคัดเลือกบุคคล (Selecting) จะต้องพิจารณาดังนี้

2.1 การคัดเลือก: การจัดบุคคลให้เข้ากับงาน ( matching the person with the Job)

2.2 ระบบการคัดเลือก (System approach to selection)

2.3 ความต้องการตำแหน่งงานและการออกแบบงาน (Position requirements and job design) การขยายงาน (Job Enlargement) การขยายความรับผิดชอบ (Job Enrichment) การออกแบบงานจะต้องขึ้นอยู่กับโครงาร้างที่เหมาะสมทั้งด้านปริมาณ หน้าที่ และความสัมพันธ์

2.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบงาน (Factors influencing job design) คำนึงถึงความต้องการขององค์การประกอบกับการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น ความแตกต่างของบุคคล นิสัย ทัศนคติ การทำงาน เทคโนโลยีที่ใช้

2.5 ความเชี่ยวชาญ และคุณสมบัติส่วนบุคคลที่ผู้บริหารจะต้องมี (Skills and personal characteristics need by managers) ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ผู้บริหารระดับสูง(Top management) จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการนึกคึด ระดับกลาง (Middle management) จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ส่วนผู้บริหารระดับล่างจะต้องมีความสามารถทางด้านเทคนิคในการทำงาน (Technical skill)

2.6 คุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำที่ต้องการ (Matching qualification with position requirements)

(1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งสนับสนุนการคัดเลือกที่ประสบผลสำเร็จ (Information exchange contributing to successful) จัดเตรียมข้อมูลให้กับบุคคลที่จะมาสมัครงาน

(2) การคัดเลือก การแทนตำแหน่ง และการเลื่อนตำแหน่ง (Selection placement and promotion) การเลือกจากผู้ที่สมัครที่มีคุณสมบัติตามที่องค์การมีความต้องการตรงกับตำแหน่งลักษณะที่งานระบุไว้ การแทนตำแหน่งอาจจะทำได้โดยการเลือกบุคคลภายในที่เหมาะสมแล้วมีการแลกเปลี่ยนตำแหน่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความรู้ความสามารถ

(3) ความรับผิดชอบในการคัดเลือก (Responsibility for selection) การคัดเลือกตำแหน่งผู้บริหาร ควรจะให้บริหารระดับสูงเป็นผู้พิจารณาในการคัดเลือก

2.7 กระบวนการคัดเลือก (Selection process) การคัดเลือกบุคคล ต้องอาศัยลำดับขั้นต่างๆ 8 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การรับสมัคร

ขั้นที่ 2 การตรวจใบสมัคร

ขั้นที่ 3 การสอบประวัติ

ขั้นที่ 4 การสัมภาษณ์เบื้องต้น

ขั้นที่ 5 วิธีการคัดเลือก

ขั้นที่ 6 การตรวจสุขภาพ

ขั้นที่ 7 การคัดเลือกขั้นสุดท้าย

ขั้นที่ 8 การบรรจุเข้าทำงาน

ขั้นที่ 3 การฝึกอบรมและการพัฒนา

การฝึกอบรม (Training)

1. การให้คำแนะนำ (Orientation) คำแนะนำพนักงานให้รู้จักงานในเบื้องต้น หัวหน้างาน โครงสร้างองค์การ และระดับขั้นของสายการบังคับบัญชา วัฒนธรรมภายในองค์การ

2. การฝึกอบรม (Training) ฝึกพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน

2.1 การฝึกอบรมโดยให้ลงมือปฏิบัติงาน (On-the-job training) นิยมกันมาก ลงมือทำงานจริง ผู้ทำหน้าที่ฝึกอบรมก็คือ หัวหน้างานผู้สอนงาน

2.2 การสอนงาน (Coaching) ให้ลงมือปฏิบัติ (On-the-job training) การสอนงานจะมีประสิทธิภาพผลสูงสุดขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา

3. การพัฒนาอาชีพ (Career development) เตรียมความพร้อมในการเลื่อนตำแหน่ง

ขั้นที่ 4 การบริหารค่าตอบแทน

การบริหารค่าตอบแทน (Compensation management)

รวมถึงการจ่ายค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน และผลประโยชน์ต่างๆ เช่น สวัสดิการเรื่องการประกันภัย การลาหยุด การพักร้อน การลากิจ และรายได้พิเศษ ผลประโยชน์(Benefits) เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าตอบแทนที่นอกจากค่าจ้างแรงงาน

ขั้นที่ 5 การประเมินผลพนักงาน

การประเมินผลพนักงาน (Employee evaluation)

การประเมินผลงาน สามารถนำไปเป็นพื้นฐานสำหรับการปรับเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) การโยกย้าย (transfers) การลดตำแหน่ง (demotions) และการเลิกจ้าง (terminations)

ขั้นที่ 6 การย้ายพนักงานและการแทนที่

การย้ายพนักงานและการแทนที่ (Employee movement and replacement)

1.การเลื่อนตำแหน่ง (Promotion)

2.การย้าย (Transfer)

3.การลดตำแหน่ง (Demotion)

4.การสมัคร (Voluntary severance)

5.การเลิกจ้าง (Termination)

วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

เพื่อช่วยให้บุคลากรใช้ทักษะความรู้ ความสามารถปฎิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อช่วยองค์การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อช่วยคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพและมีแรงจูงใจใฝ่หาผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงเข้ามาปฎิบัติงานเพื่อยกระดับความสามารถ และสร้างความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของบุคลากร

กระบวนการผลิต

การผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการที่เรียกอีกอย่างว่าวงจรอายุการผลิต ดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดซึ่งจำเป็นต่อการผลิตสินค้าให้เสร็จสมบูรณ์ วงจรชีวิตเริ่มต้นด้วยการสร้างใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบัง จะสิ้นสุดด้วยสินค้าที่ผลิตเสร็จสิ้นที่พร้อมสำหรับลูกค้าหรือขั้นตอนอื่นของการผลิต แต่ละขั้นตอนในวงจรชีวิตต้องใช้ชนิดของข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อจะดำเนินกระบวนการให้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อแต่ละขั้นตอนจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบังจะแสดงการเปลี่ยนแปลงในสถานะการผลิต ชนิดต่างๆของผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน

ใบสั่งผลิต– นี่เป็นชนิดใบสั่งแบบคลาสสิกเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะหรือผลิตภัณฑ์ย่อยในปริมาณที่กำหนดในวันเฉพาะเจาะจง ใบสั่งผลิตจะขึ้นอยู่กับสูตรการผลิต (Bom) และกระบวนการผลิต

ใบสั่งชุดงาน– ชนิดใบสั่งนี้ใช้สำหรับอุตสาหกรรมกระบวนการและกระบวนการที่ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งการแปลงการผลิตจะเป็นไปตามสูตร หรือซึ่งสินค้าร่วมและสินค้าพลอยได้อาจเป็นสินค้าสุดท้ายที่เพิ่มเติมหรือแทนที่สินค้าหลัก ใบสั่งชุดงานใช้ชนิด สูตร BOMs และกระบวนการผลิตคัมบัง– คัมบังจะถูกใช้เพื่อให้สัญญาณกระบวนการ lean manufacturing ที่ซ้ำกัน ตามขั้นตอนการผลิต กฎคัมบัง และ BOMs

โครงการ– โครงการการผลิตรวมผลิตภัณฑ์และบริการที่มีกำหนดการและงบประมาณที่กำหนดให้ ส่วนการผลิตของโครงการที่สามารถถูกจัดส่งผ่านใบสั่งชนิดอื่นใดได้

หลักการของการผลิต

เมื่อต้องการเลือกหลักการผลิตที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้กับสินค้าเฉพาะและการตลาดที่เกี่ยวข้อง คุณต้องพิจารณาถึงความต้องการของการผลิตและลอจิสติกส์ และรวมถึงความคาดหวังของลูกค้าเกี่ยวกับเวลารอคอยสินค้าการจัดส่งด้วย

ผลิตตามสินค้าคงคลัง– นี่เป็นหลักการผลิตแบบคลาสสิก ที่ผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตสำหรับสินค้าคงคลังขึ้นอยู่กับการคาดการณ์หรือแผนการเติมสินค้าต่ำสุด (โดยทั่วไป อย่างหลังนี้จะคำนวณตามการคาดการณ์หรือปริมาณการใช้ในอดีต)

ผลิตตามคำสั่ง– ผลิตภัณฑ์มาตรฐานถูกผลิตตามใบสั่งหรือเสร็จสิ้นตามใบสั่ง ถึงแม้ว่าก่อนการผลิตอาจสามารถทำได้โดยใช้หลักการผลิตตามสินค้าคงคลัง ขั้นตอนห่วงโซ่มูลค่าที่มีราคาแพง หรือขั้นตอนที่สร้างตัวแปร จะถูกทริกเกอร์โดยใบสั่งขายหรือใบสั่งโอนย้าย

ตั้งค่าคอนฟิกตามใบสั่ง– เนื่องจากสำหรับหลักการผลิตตามใบสั่ง การดำเนินการขั้นสุดท้ายของห่วงโซ่มูลค่าเป็นการผลิตตามใบสั่ง ตัวแปรสินค้าจริงที่มีการผลิตไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่ถูกสร้างขึ้น ณ เวลาของการป้อนข้อมูลใบสั่ง ตามแบบจำลองการจัดโครงแบบของผลิตภัณฑ์ขาย หลักการตั้งค่าคอนฟิกตามใบสั่งต้องการระดับหนึ่งๆของการรวมกันของกระบวนการสำหรับรายการผลิตภัณฑ์ที่ระบุ

ผลิตตามวิศวกร – โดยทั่วไป กระบวนการผลิตตามวิศวกรจะถูกระบุโดยโครงการ และโดยปกติจะเริ่มต้นด้วยระยะวิศวกรรม ในระหว่างขั้นตอนทางวิศวกรรม ผลิตภัณฑ์จริงที่ต้องการให้ตอบสนองใบสั่งที่มีการออกแบบและอธิบาย ใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบัง จากนั้นสามารถถูกสร้างเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์

ภาพรวมวงจรชีวิตของการผลิต

ขั้นตอนต่อไปนี้ในวงจรชีวิตของการผลิตอาจใช้สำหรับชนิดทั้งหมดของใบสั่งผลิตของการผลิตโหมดผสม อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทั้งหมดจะถูกแสดงเป็นสถานะใบสั่งที่ชัดแจ้ง

1. สร้างแล้ว– คุณสามารถสร้างใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบังด้วยตนเอง หรือคุณสามารถตั้งค่าคอนฟิกระบบเพื่อสร้างตามสัญญาณความต้องการต่างๆ การวางแผนหลักสร้างใบสั่งผลิต ชุดงานใบสั่ง หรือคัมบัง โดยการยืนยันแผนการใบสั่ง สัญญาณความต้องการอื่นคือ ใบสั่งขาย หรือเชื่อมโยงสัญญาณการจัดหาวัสดุที่มีการเชื่อมโยงความต้องการกับการจัดซื้อจากใบสั่งผลิตหรือคัมบังอื่น ๆ สำหรับคัมบังปริมาณคงที่ สัญญาณความต้องจะถูกสร้างเมื่อคัมบังมีการลงทะเบียนเป็นว่างเปล่า

2. ประเมินแล้ว– คุณสามารถคำนวณการประเมินสำหรับปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรได้ การประเมินสร้างธุรกรรมสินค้าคงคลังสำหรับวัตถุดิบที่มีสถานะเป็น อยู่ระหว่างการสั่ง การรับสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตภัณฑ์ร่วม และสินค้าพลอยได้ จะถูกสร้างเมื่อมีการประเมินใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงาน ถ้า BOM ประกอบด้วยรายการของชนิด การจัดหาวัสดุที่มีการเชื่อมโยงความต้องการกับการจัดซื้อ ใบสั่งซื้อสำหรับวัสดุหรือบริการการดำเนินงานรับเหมารายย่อยจะถูกสร้างขึ้นและเชื่อมโยงกับใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงาน มีการจองสินค้าหรือใบสั่งตามกลยุทธ์การจองของใบสั่งผลิต และราคาของสินค้าสำเร็จรูปจะถูกคำนวณตามการตั้งค่าพารามิเตอร์

3. จัดกำหนดการแล้ว - คุณสามารถจัดกำหนดการการผลิตโดยยึดตามการดำเนินการ งานแต่ละงาน หรือทั้งสองอย่างได้

· การจัดตารางการผลิตระดับการดำเนินงาน– วิธีการจัดกำหนดการนี้จัดให้มีแผนการระยะยาวแบบคร่าวๆ ด้วยการใช้วิธีนี้ คุณสามารถกำหนดวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดไปยังใบสั่งผลิตได้ ถ้ามีการแนบใบสั่งผลิตไปกับการดำเนินการผลิต คุณสามารถกำหนดให้กับกลุ่มศูนย์ต้นทุนได้

· การจัดกำหนดการงาน– วิธีการจัดกำหนดการนี้แสดงรายละเอียดแผน แต่ละการดำเนินงานจะแบ่งออกเป็นงานต่างๆแต่ละงานที่มีวันที่เฉพาะ เวลา และทรัพยากรการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ถ้ามีการใช้กำลังการผลิตที่จำกัด งานจะถูกกำหนดให้กับการดำเนินงานทรัพยากรตามความพร้อมใช้งาน คุณสามารถดูและเปลี่ยนแปลงกำหนดการได้ในแผนภูมิ Gantt

· กำหนดการคัมบัง– งานคัมบังถูกจัดกำหนดการไว้ในบอร์ดกำหนดการคัมบัง หรือจัดกำหนดการโดยอัตโนมัติตามการตั้งค่าคอนฟิกการวางแผนอัตโนมัติของกฎคัมบัง

4. นำออกใช้แล้ว– คุณสามารถนำใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานออกใช้ เมื่อเสร็จสิ้นการกำหนดเวลาและวัสดุพร้อมที่จะถูกเบิกหรือจัดเตรียม การตรวจสอบความพร้อมของวัสดุ ช่วยหัวหน้างานฝ่ายผลิตประเมินความพร้อมใช้งานของวัสดุและส่วนประกอบ สำหรับใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงาน คุณยังสามารถพิมพ์เอกสารใบสั่งผลิต เช่น รายการเบิกสินค้า บัตรงาน บัตรกระบวนการผลิต และงานในกระบวนการผลิต เมื่อมีการนำใบสั่งผลิตออกใช้ จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของใบสั่งเพื่อบ่งชี้ว่าสามารถเริ่มการผลิตได้ เมื่อมีใช้การบริหารคลังสินค้า การนำออกใช้ของใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานจะนำรายการการผลิต BOM ออกใช้กับการจัดการคลังสินค้า เวฟคลังสินค้าและงานของคลังสินค้าจะถูกสร้างขึ้นตามการตั้งค่าคลังสินค้า

5. จัดเตรียมแล้ว/เบิกสินค้าแล้ว – เมื่อวัสดุและทรัพยากรทั้งหมดมีการแบ่งระยะตามที่ตั้งการผลิต รายการการผลิต BOM หรือรายการคัมบังจะถูกอัพเดตไปเป็นสถานะ เบิกสินค้าแล้ว ใบสั่งการจัดหาวัสดุที่มีการเชื่อมโยงความต้องการกับการจัดซื้อและงานของคลังสินค้าที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปจะเสร็จสมบูรณ์ในขั้นตอนนี้ บัตรคัมบังหรือบัตรงานที่จำเป็นต่อการรายงานความคืบหน้าของการผลิตควรจะถูกกำหนดและพิมพ์

6. เริ่มต้นแล้ว– เมื่อมีการเริ่มต้นใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบัง คุณสามารถรายงานปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรตามใบสั่งได้ สามารถตั้งค่าคอนฟิกระบบเพื่อลงรายการบัญชีการใช้วัสดุและทรัพยากรที่ถูกปันส่วนไปยังใบสั่งเมื่อมีการเริ่มต้นใบสั่ง การปันส่วนนี้เรียกว่า การ Preflush การล้างค่าแบบไปข้างหน้า หรือ autoconsumption คุณสามารถปันส่วนวัสดุกับใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานด้วยตนเองได้ โดยการสร้างสมุดรายวันรายการการเบิกสินค้าเพิ่มเติม คุณยังสามารถปันส่วนแรงงานและต้นทุนกระบวนการผลิตอื่นด้วยตนเองกับใบสั่งได้ด้วย ถ้าคุณกำลังใช้การจัดตารางการผลิตระดับการดำเนินงาน คุณสามารถปันส่วนต้นทุนเหล่านี้ได้โดยการสร้างสมุดรายวันบัตรกระบวนการผลิต ถ้าคุณกำลังใช้การจัดตารางงาน คุณสามารถปันส่วนต้นทุนได้โดยการสร้างสมุดรายวันบัตรงาน สามารถเริ่มต้นใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานในชุดงานของปริมาณขั้นสุดท้ายที่ร้องขอ ภายในใบสั่งผลิต ใบสั่งชุดงาน หรือคัมบัง งานที่ถูกสร้างขึ้นสามารถเริ่มต้นและรายงานแยกกันผ่านสมุดรายวัน การดำเนินการผลิตเทอร์มินัล (MES เทอร์มินัล) หรือบอร์ดคัมบัง

7. งานรายงานความคืบหน้า /เสร็จสมบูรณ์ – ใช้เทอร์มินัล MES สมุดรายวันการผลิต บอร์ดคัมบัง หรือความสามารถการสแกนของอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการรายงานความคืบหน้าของการผลิตตามงานหรือทรัพยากร ปริมาณการใช้วัสดุและทรัพยากรจะถูกลงรายการบัญชี และสถานะของคัมบังที่เกี่ยวข้อง ใบสั่งผลิต และใบสั่งชุดงานอาจถูกอัพเดตเป็น ได้รับแล้ว หรือ รายงานเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว อาจจะมีการสร้างงานย้ายสำหรับคลังสินค้า ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคอนฟิกคลังสินค้า

8. รายงานเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว (การรับสินค้า) – ใบสั่งผลิตหรือใบสั่งชุดงานถูกรายงานเป็นเสร็จสมบูรณ์แล้ว ปริมาณของสินค้าสำเร็จรูปที่เสร็จสมบูรณ์ถูกอัพเดตในสินค้าคงคลัง ปริมาณนี้รวมปริมาณของผลิตภัณฑ์ร่วมที่เกี่ยวข้องและสินค้าพลอยได้ ถ้าคุณกำลังใช้บัญชีงานในระหว่างดำเนินการ (WIP) สมุดรายวันบัญชีแยกประเภทจะถูกสร้างขึ้นเพื่อลดบัญชี WIP และเพิ่มสินค้าคงคลังของสินค้าสำเร็จรูป เมื่อมีการคำนวณต้นทุนของใบสั่งผลิต ต้นทุนจริงของการผลิตจะมีการลงรายการบัญชี ถ้าต้นทุนแรงงานและวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไม่ได้ถูกปันส่วนในสมุดรายวันหรือโดยการ preflush พวกมันสามารถถูกปันส่วนผ่านการล้างย้อนกลับโดยอัตโนมัติ การปันส่วนโดยใช้การล้างย้อนกลับเกี่ยวข้องกับการหักลบภายหลังของกระบวนการของธุรกรรมสินค้าคงคลัง ถ้าใบสั่งผลิตเสร็จสมบูรณ์ ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย สิ้นสุดงาน เพื่อเปลี่ยนสถานะที่เหลือเป็น สิ้นสุดแล้ว มิฉะนั้น ให้ปล่อยฟิลด์นี้ว่างเปล่าเพื่อเปิดใช้งานการรายงานปริมาณเพิ่มเติมที่มีการผลิต

9. การประเมินคุณภาพ– ใบรับสินค้าสามารถทริกเกอร์การสร้างใบสั่งตรวจสอบคุณภาพ โดยขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคอนฟิกของกระบวนการทดสอบและกฎการตรวจสอบคุณภาพที่กำหนดไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ระบุได้ เนื่องจากใบสั่งตรวจสอบคุณภาพสามารถอัพเดตสถานะสินค้าคงคลังหรือแอททริบิวต์ของชุดงานของผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบได้ การประเมินคุณภาพคือ กระบวนการบังคับในอุตสาหกรรมจำนวนมาก

10. การสำรองสินค้า และ การจัดส่งตามใบสั่ง – หลังจากการรับผลิตภัณฑ์และการประเมินคุณภาพ งานการสำรองสินค้าทางเลือกนำผลิตภัณฑ์ได้รับไปยังจุดถัดไปของปริมาณการใช้ ไปยังคลังสินค้าของสินค้าสำเร็จรูป หรือไปยังโซนการจัดส่งถ้ามีความต้องการจัดส่งตามใบสั่ง

11. สิ้นสุดแล้ว– ก่อนสิ้นสุดการผลิต มีการคำนวณต้นทุนจริงสำหรับปริมาณที่มีการผลิต ต้นทุนวัตถุดิบ สหภาพแรงงาน และโสหุ้ยการผลิตมีการกลับรายการ และแทนที่ ด้วยต้นทุนจริง ถ้าคุณเลือกกล่องกาเครื่องหมาย สิ้นสุดงาน เมื่อคุณดำเนินการคำนวณต้นทุน สถานะใบสั่งผลิตจะเปลี่ยนเป็น สิ้นสุดแล้ว สถานะนี้ป้องกันต้นทุนเพิ่มเติมใดๆจากการลงรายการบัญชีไปยังใบสั่งผลิตที่เสร็จสมบูรณ์

12. การปิดรอบระยะเวลา– บางหลักการบัญชีต้นทุน เช่น ค่าเฉลี่ยเป็นงวด การคิดต้นทุนการล้างแบบย้อนกลับ FIFO หรือ LIFO ต้องการกิจกรรมเป็นงวดๆเพื่อปิดสินค้าคงคลังหรือรอบระยะเวลาทางการเงิน โดยทั่วไป ระบบจะพยายามรายงานการใช้ทรัพยากรวัสดุและปริมาณทั้งหมด และรวมถึงการแก้ไขของสินค้าคงคลังและปริมาณของเสียด้วย ก่อนที่จะมีการปิดรอบระยะเวลา รายงานนี้ใช้โดยทั่วไปถูกดำเนินงานโดยใช้สมุดรายวันความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังหรือสมุดรายวันการปรับปรุง เป้าหมายคือ การประเมินประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของหน่วยการดำเนินงานต่อรอบระยะเวลา ในบางกรณี เมื่อมีการใช้ใบสั่งผลิตที่ใช้งานเป็นเวลานานซึ่งครอบคลุมรอบระยะเวลาการรายงานทางการเงิน สมุดรายวันการผลิตจะถูกใช้เพื่อรายงานความคืบหน้าการผลิตและปริมาณการใช้วัสดุภายในจุดสิ้นสุดของรอบระยะเวลา

การวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงิน หมายถึง การกำหนดการใช้จ่ายเงินต่างๆ ให้สอนคล้องกับแผนงานที่จัดทำขึ้นและระบุถึงแหล่งที่มาของเงินและการใช้ไปของเงินในกิจกรรมต่างๆ

การวางแผนทางการเงิน สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่

1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือการบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. การวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจ การวางแผนทางการเงินจำเป็นในการดำเนินงานธุรกิจโดยจะวางแผนล่วงหน้าต่างๆ

หลักการวางแผนทางการเงิน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทำให้มีความจำเป็นต้องวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ และไม่ประมาทในการใช้ชีวิต หลักในการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมีดังนี้

1. การประเมินสถานการณ์

2. กำหนดเป้าหมาย

3. การจัดทำแผนทางการเงิน

4. การนำแผนไปปฏิบัติ

5. การวัดผลและการปรับปรุงแก้ไข

บุคคลที่เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ได้แก่

1. รัฐบาล เป็นผู้จัดหาสินค้าหรือบริการสาธารณะ

2. ธุรกิจ เป็นผู้จัดหาสินค้าและบริการ ซึ่งในการผลิตสินค้าก็ต้องการแรงงาน ที่ดิน และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ผู้บริโภค เป็นผู้มีบทบาทในการวางแผนทางการเงินมาก คือการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค

การจัดการทางการเงิน

การจัดการทางการเงิน หมายถึง การวางแผนการจัดระเบียบและการควบคุมกำกับกิจกรรมทางการเงิน เช่น การจัดซื้อและการใช้ประโยชน์จากเงินทุน ซึ่งใช้หลักทั่วไปของทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ

ขอบเขตการดำเนินงาน

1. การตัดสินใจลงทุน

2. การตัดสินใจทางการเงิน

3. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทน

หน้าที่ของการจัดการทางการเงิน

1. การประมาณค่าของความต้องการของการลงทุน

2. ความมุ่งมั่นในการลงทุน

3. แหล่งที่มาของเงินทุน

4. แผนการลงทุน

5. การจัดการด้านกำไรส่วนเกินต่างๆ

6. การควบคุมทางการเงิน

งบการเงินและงบประมาณ

รายได้บุคคล หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ ในรอบปีซึ่งอาจจะได้มาจากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน รายได้จากงานส่วนตัว โบนัส ค่านายหน้า ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลที่ได้จากเงินออมและการลงทุนการจำหน่ายสินทรัพย์ และรายได้อื่นๆ

ปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคล

1. อายุ มีความสัมพันธ์ต่อการหารายได้ของบุคคล

2. การศึกษา จะเป็นเครื่องกำหนดรายได้ของบุคคล

3. อาชีพ การเลือกอาชีพมีความสัมพันธ์กับการศึกษาของบุคคล

4.คุณสมบัติเฉพาะตัว บุคคลแต่ละคนจะแตกต่างกันโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว

5. แหล่งรายได้ต่างๆ ของบุคคล

งบการเงินส่วนบุคคล

งบการเงินส่วนบุคคล เป็นงบสรุปผลการใช้จ่ายเงิน และช่วยวางแผนทางการเงินในอนาคตซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบรายได้รายจ่ายและบันทึกต่างๆ งบการเงินส่วนบุคคลที่นำมาใช้บันทึกรายการ มีดังนี้

1. งบรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล เป็นงบสรุปรายละเอียดรายได้และรายจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผ่านมา หรือเป็นรายงานที่แสดงที่มาของรายได้และที่ไปของรายจ่าย

2. งบแสดงฐานะการเงินส่วนบุคคล เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน จำนวนเท่าใด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

2.1 สินทรัพย์

2.2 หนี้สิน

2.3 ส่วนของเจ้าของ

3. การบันทึกรายการทรัพย์สินส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องเรือน และเครื่องใช้ต่างๆการเก็บบันทึกรายการควรระบุชื่อทรัพย์สิน/วันที่ซื้อ/ร้านที่ซื้อและราคาที่ซื้อ

4. บันทึกรายการเสียภาษี การเก็บรวบรวมบันทึกรายการเสียภาษีไว้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ทราบถึงกำหนดของการชำระภาษี รวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายได้ถูกต้องว่ารายการภาษีประเภทใดบ้างที่จะ ต้องชำระ

5. บันทึกหลักฐานกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ โฉนดที่ดิน พิมพ์เขียว แบบบ้านและบันทึกรายจ่ายการต่อเติมหรือปรับปรุงอาคารบ้านที่อยู่อาศัย

6. บันทึกหลักฐานการประกันภัย เมื่อบุคคลนั้นได้รับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินหรือชีวิตโดยที่บุคคลนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัย และเก็บรักษาไว้เป็นระบบที่ปลอดภัย บุคคลหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะสามารถนำหลักฐานไปอ้างสิทธิ์ในการรับสินไหมทดแทนได้ภายในกำหนดที่บริษัทรับประกัน

7. บันทึกหลักฐานการลงทุน เมื่อมีการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาลการบันทึกรายการต่างๆ จะเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น

8. บันทึกหลักฐานสำคันอื่นๆ

งบประมาณส่วนบุคคล

งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน

งบประมาณส่วนบุคคล หมายถึง การวางแผนประมาณรายได้รายจ่ายล่วงหน้า เพื่อจัดสรรเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

การจัดการเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่อง

การจัดการเงินสด คือ การบริหารที่เกี่ยวกับประสิทธิในการเก็บรวบรวมเงินสด การจ่ายเงินสดและการลงทุน

สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ สินทรัพย์ในรูปของเงินสดและสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี

เงินสดสำรอง หมายถึง เงินที่ได้เก็บออมไว้ สามารถนำมาใช้ได้ทันทีที่จำเป็น เงินสดที่สำรองไว้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ถ้าไม่นำมาใช้ จึงต้องหาทางบริหารเงินสำรองให้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ

กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล หมายถึง การบริหารการเงินของบุคคลอย่างฉลาด ด้วยการนำหลักและวิธีการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการตัดสินในจนทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

อ้างอิง

//www.scribd.com/doc

//docs.microsoft.com/th-th/dynamics365/unified-operations/supply-chain/production-control/production-process-overview

อาจารย์ ณัฐผไท. การจัดหาและการวางแผนทางการเงินสุทธิเสริม//sites.google.com/site/natpatai24456/hnwy-thi5-kar-cadha-laea-kar-wangphaen-thangkar-ngein

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง