สนธิสัญญาเบาว์ริง รัชกาลใด

ऐसा लगता है कि आप बहुत तेज़ी से काम करके इस सुविधा का दुरुपयोग कर रहे हैं. आपको इसका उपयोग करने से अस्थायी रूप से ब्लॉक कर दिया गया है.

अगर आपको लगता है कि यह हमारे कम्युनिटी स्टैंडर्ड के विरुद्ध नहीं है, तो हमें बताएँ.

หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง หรือสนธิสัญญาเบาว์ริง หรือในชื่อทางการว่าหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร โดยราชทูต เซอร์จอห์น เบาว์ริง ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามอยู่ในสภาวะคับขันเพราะการขยายอำนาจของชาติจักรวรรดินิยมตะวันตก โดยหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้เพียง 3 ปี สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือบีบบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปิดประเทศมากว่า 200 ปี ส่วนอังกฤษใช้อิทธิพลกับจีนและประเทศอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน กอปรกับพระองค์มีพระราชดำริแตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพระเชษฐาหลายประการ โดยทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับต่างประเทศอย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาลกว่านโยบาย ‘ปิดข้าว’ ที่สร้างรายได้ให้แก่คนส่วนน้อย 

ขณะเดียวกัน เซอร์จอห์น เบาว์ริง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดต่อด้วยเป็นการส่วนพระองค์ แสดงท่าทีชัดเจนที่จะใช้กำลังบีบบังคับไทยให้เปิดประเทศทำนองเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาทำกับญี่ปุ่นก่อนหน้านี้

ในปี 2393 รัฐบาลสยามไม่ยอมแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขายกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความตึงเครียด มิชชันนารีทั้งหลายถึงกับเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงอันตรายจากการที่ไทยไม่ยอมประนีประนอมกับชาติตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ต้อนรับคณะทูตอังกฤษอย่างสมเกียรติ และจำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษในปี 2398

เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ สร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นีในปี 2369 นอกจากนี้ยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานคร และรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้ 

สนธิสัญญาเบาว์ริงได้ชื่อว่าเป็น ‘สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม’ เนื่องจากสยามไม่อยู่ในสถานะที่จะเจรจาต่อรองได้ โดยมีการวิเคราะห์กันว่าความต้องการสำคัญของอังกฤษคือการเข้ามาค้าฝิ่นได้อย่างเสรีในสยามและไม่ต้องเสียภาษี และอังกฤษพร้อมทำสงครามกับสยามอยู่แล้วหากการเจรจาไม่ประสบผล

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีเนื้อหาคล้ายกับสนธิสัญญานานกิง ซึ่งจีนจำเป็นต้องลงนามร่วมกับอังกฤษภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งในปี 2385 และในปี 2397 สหรัฐอเมริกาบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศด้วยการลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะโดยใช้สนธิสัญญานานกิงเป็นต้นแบบ

TAGS:  

     ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 พ.ศ. 2398 อังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อทำสนธิสัญญาทางการค้า สนธิสัญญาฉบับนี้มีชื่อเรียกตามนามของทูตที่เข้ามาเจรจาว่า "สนธิสัญญาเบาว์ริง"


จอห์น เบาว์ริง
ที่มาของภาพ : //th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาเบาว์ริง

     1. อังกฤษได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต
     2. ยกเลิกภาษีปากเรือตามสนธิสัญญาเบอร์นีย์ พ.ศ.2369 และให้เก็บภาษีสินค้าเข้าร้อยละ 3 แทน ถ้าขายไม่หมดจะคืนภาษีสินค้าส่วนที่เหลือให้
     3. ให้มีการค้าเสรี และไทยอนุญาตให้นำเข้า ปลา เกลือ ไปขายต่างประเทศได้ ยกเว้นปีที่เกิดขาดแคลน
     4. คนในบังคับอังกฤษนำฝิ่นเข้ามาขายในเมืองไทยได้ แต่ต้องขายให้เจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ถ้าเจ้าภาษีฝิ่นไม่ซื้อต้องนำออกไป
     5. ถ้าชาติอื่นได้สิทธิพิเศษเพิ่มเติม อังกฤษจะได้สิทธิพิเศษนั้นด้วย นั่นคืออังกฤษได้สิทธิชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง
     6. สนธิสัญญานี้จะแก้ไขได้เมื่อพ้น 10 ปีไปแล้ว และต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี โดยได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 ฝ่าย

     1. รายได้ของประเทศลดลง เนื่องจากหลังการทำสัญญา ไทยต้องเปิดเสรีทางการค้าทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการค้าผูก ขาดของพระคลังสินค้า ส่งผลให้รัฐบาลไทยมีรายได้ลดลง ทำให้รัชกาลที่ 4 ต้องทรงพยายามหารายได้จากทางอื่น ตั้งแต่ การเพิ่มจำนวนประเภทภาษีจากเดิมที่เก็บในรัชกาลที่ 3 การให้เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดการจับเก็บภาษีมากขึ้น และการ จัดระบบแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การจำกัดอัตราภาษีขาเข้าตายตัวยังทำให้ สินค้าต่างชาติเข้ามาตีตลาดสินค้าภายใน เช่น น้ำตาล และผ้าทอพื้นเมือง ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมพื้นบ้านของไทย ซึ่งใช้เทคนิคการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพต้องซบเซาลง และถูกแทนที่ด้วยสินค้านำเข้าที่ทำด้วยเครื่องจักรที่มีราคาถูกกว่า

     2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ไทยได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อการยังชีพ กล่าวคือแต่ละครัวเรือนหรือ หมู่บ้านต่างก็ทำการผลิตทางการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นอาชีพรองเพื่อการบริโภคและการใช้สอย ส่วนที่เหลือเล็กๆ น้อยๆ  ก็จะนำไปแลกเปลี่ยนภายในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้านใกล้เคียงกัน ลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้ามาเป็นการผลิตเพื่อการค้า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ข้าวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลเองก็ให้การสนับสนุนการส่งข้าวไปขาย พร้อมกับการส่งเสริมการเปิดที่นาใหม่โดยไม่ต้องเก็บภาษีค่านาปีแรก ลดอากรค่านา และผ่อนผันให้ไพร่กลับไปทำนาในช่วงเวลารับราชการได้ มีการขุดคลองซึ่งให้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกและการคมนาคม การที่ทางการให้การสนับสนุนและการที่ข้าวมีราคาสูงขึ้น  ทำให้ราษฎรหันมาทำนาเพื่อการค้ากันมากขึ้น  อย่างไรก็ตามคนไทยจะมีบทบาทเฉพาะการปลูกข้าวเท่านั้น ส่วนการแปรรูปข้าวเปลือกและการค้าข้าวตกอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง คือชาวจีนที่อพยพเข้ามานั่นเอง นอกจากข้าวแล้วยังมีสินค้าอีกสองอย่าง คือ ดีบุก กับ ไม้สัก ซึ่งมีความสำคัญขึ้นมาแทนที่น้ำตาลที่เคยมีความสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 อีกด้วย

     3. เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก  การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นการนำเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก  ประเทศไทยเริ่มผูกผนวกให้เข้าไปอยู่ในกระบวนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลก  โดยประเทศไทยทำหน้าที่ผลิตสินค้าขั้นปฐมภูมิและวัตถุดิบ  เพื่อส่งออกแลกเปลี่ยนกับสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามาบริโภคในประเทศ

    4. เกิดระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา  เนื่องจากเงินตราเดิมที่ใช้อยู่ คือ เบี้ยและเงินพดด้วงเริ่มขาดแคลน  อีกทั้งยังเกิดการแตกหักและปลอมแปลงได้ง่าย  รัชกาลที่ 4 จึงตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญชนิดและราคาต่างๆ ได้แก่ เหรียญดีบุกที่เรียกว่า อัฐ โสฬส เหรียญทองเรียก ทศ พิศ พัดดึงส์ และเหรียญทองแดงคือ ซีก หรือ เซี่ยว(เสี้ยว)  ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเงินตราที่ใช้เงินเป็นมาตรฐานไปสู่การใช้ทองคำเป็นมาตรฐาน  รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระราชบัญญัติทองคำกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน  เพื่อให้การแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทไทยกับเงินตราสกุลอื่นๆ  มีความสะดวกและมีเสถียรภาพ  อีกทั้งเพื่อการแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่กำลังตกต่ำลง  เนื่องมาจากการที่ราคาของแร่เงินตกต่ำ  ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ไทยนำค่าของเงินตราไปเกี่ยวพันกับโลกภายนอก

     5. การปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง  รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ปัญหาการที่รายได้ของรัฐลดลงหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง  ด้วยการเพิ่มชนิดของภาษีอากรอีกหลายชนิด  โดยผ่านระบบเจ้าภาษีนายอากร แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็มีข้อบกพร่องอย่างมาก  เช่น  รายได้ของหลวงรั่วไหล  เงินที่ทางราชการเก็บได้ก็ลดน้อยลงทุกที  รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าการเก็บภาษีแบบเดิม  ที่แต่ละหน่วยงานแยกกันเก็บแล้วส่งมาให้ส่วนกลาง  ทำให้เงินภาษีรั่วไหลมาก  จึงทรงปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลังใหม่  โดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2416  เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมพระราชทรัพย์ในท้องพระคลังให้รู้จำนวนเงินที่มีอยู่  ทำหน้าที่รวบรวมเงินภาษีอากรจากทั่วประเทศให้มาอยู่ที่เดียวกัน  เพื่อนำเงินภาษีมาพัฒนาประเทศ


สนธิสัญญาเบาว์ริงฉบับภาษาไทยเขียนลงสมุดไทย ก่อนส่งไปจักรวรรดิอังกฤษ ให้รัฐบาลอังกฤษประทับตรา

          //jamsai987.blogspot.com/2013/09/blog-post_3722.html

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง