เจ้าหน้าที่ห้องบัตร โรงพยาบาล

กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน

  • งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

       เมื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 1และ 2
       หัวหน้าเวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีหน้าที่ดังนี้

1.   รายงานแพทย์เวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  เพื่อประกาศใช้แผนในกรณีแพทย์เวรไม่ได้
อยู่ในพื้นที่พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  สามารถตัดสินใจประกาศใช้แผนอุบัติภัย
และสาธารณภัย1และ 2ได้
2.   ประสานงานกับพนักงานประชาสัมพันธ์เพื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 1  
และ 2
3.  แจ้งเจ้าหน้าที่ทุกระดับในหน่วยงานและศูนย์เปลเพื่อเตรียมรับสถานการณ์
4.  รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น
5.  จัดสถานที่และเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อม ถ้าพื้นที่ในห้องฉุกเฉินไม่เพียงพอให้ใช้
พื้นที่หลังห้องบัตรเพิ่ม
6.   จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ นอกเวลาราชการถ้าพบปัญหา  หัวหน้าเวรรายงาน
หัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน   ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นหัวหน้าเวรประสานงานกับ
เจ้าหน้าที่ห้องยา
7.   จัดทีมหน่วยกู้ชีพไปยังจุดเกิดเหตุที่ปลอดภัยตามสถานการณ์

เมื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 3
         หัวหน้าเวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีหน้าที่ดังนี้

1.   รายงานแพทย์เวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินถึงสถานการณ์และจำนวนผู้บาดเจ็บในขณะนั้น เพื่อพิจารณาประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 3
2.   ประสานงานกับพนักงานประชาสัมพันธ์เพื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 3
3.   แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจัดพื้นที่พร้อมรับสถานการณ์กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใน  บริเวณรักษาพยาบาลจัดพื้นที่บริเวณแผนกผู้ป่วยนอกเคลื่อนย้ายเก้าอี้ออกไปจากบริเวณ นั้น
4.   แจ้งเจ้าหน้าที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินทุกคนรับทราบและรายงานตัวที่ศูนย์อำนวยการ
5.   พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  สั่งการให้พยาบาลวิชาชีพจัดเตรียม อุปกรณ์และ รับผิดชอบประจำพื้นที่สีเหลือง สั่งการให้ผู้ช่วยเหลือคนไข้จัดเตรียมอุปกรณ์ประจำพื้นที่สี เขียว
  • พยาบาลวิชาชีพ  มีหน้าที่ดังนี้
1.   ให้ IV Fluid
2.   เตรียมยาและให้ยาที่จำเป็นตามแผนการรักษาของแพทย์
3.   เป็นหัวหน้าทีม CPR และดูแลผู้ป่วยหนัก
4.   เย็บบาดแผลหรือช่วยแพทย์ทำหัตถการพิเศษ
5.   เมื่อวัสดุการแพทย์ไม่เพียงพอรายงานหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจัดหาวัสดุการแพทย์
เพิ่มเติม
6.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  จัดพยาบาลนำส่งผู้บาดเจ็บสาหัสไปหอ
ผู้ป่วยใน/ส่งต่อ พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
7.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ตรวจสอบการลงทะเบียนภายหลังแผนฯยุติ
8.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ตรวจสอบทรัพย์สินมีค่าของ ผู้บาดเจ็บ
ทั้งหมดบันทึกในสมุดของมีค่า
9.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  เขียนรายงานอาการในสมุดรายงานอาการ
ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
10.  พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  บันทึกแบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุ
11. ตามของใช้เวชภัณฑ์ต่างๆคืนห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  เมื่อเข้าสู่สภาวะปกติ
  • เวชกรฉุกเฉิน  มีหน้าที่ดังนี้
1.   เตรียม IV Fluid และช่วยเตรียมอุปกรณ์การให้ IV Fluid
2.   ทำหน้าที่เป็น Circulate
3.   ตรวจบันทึกสัญญาณชีพและสัญญาณประสาท
4.   ชำระล้างบาดแผลและหัตถการตามความจำเป็น
5.   จัดเตรียมอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องการใช้
6.   ออกปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุ /ส่งต่อผู้ป่วย
7.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
  • ผู้ช่วยเหลือคนไข้/ลูกจ้าง   มีหน้าที่ดังนี้
1.  เตรียมความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้ ให้เพียงพอ
2.  ดูแลความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
3.  ชำระล้างบาดแผลตามความจำเป็น
4.  เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
5.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

กรณีเป็นอุบัติภัยจากสารเคมี

1.  พยาบาลวิชาชีพประสานงานกับพยาบาลศูนย์รักษาพิษฯเพื่อขอสนับสนุนข้อมูลของสารเคมีเพื่อการรักษาผู้บาดเจ็บและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี โทร.1367หรือศูนย์ พิษวิทยา ร.พ.ศิริราช โทร 02-419-7007 หรือ//drug.nhso.go.th/Antidotes/

ทีมล้างตัวผู้บาดเจ็บ   และการเปลี่ยนทีม

**  ทีมสำหรับล้างตัวผู้บาดเจ็บ     คือ  ทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ประกอบด้วย 
พยาบาลวิชาชีพ             1        คน 
เวชกรฉุกเฉิน                 1        คน
พนักงานศูนย์เปล            1        คน

**  ต้องมีการเปลี่ยนทีมที่ล้างตัวทุกครึ่งชั่วโมง  ครั้งละ 1 คน

ขั้นตอนการปฏิบัติการ EMS สารเคมี ณ จุดเกิดเหตุ

1. การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่หรือออกไปยังจุดเกิดเหตุต้องได้รับทราบข้อมูลชนิดและ อันตรายของสารเคมี การป้องกันอันตรายของเจ้าหน้าที่ ทิศทางการพัดของลม ต้องทราบจุด หรือตำแหน่งที่ปลอดภัยและผู้ประสานงาน ณ จุดเกิดเหตุได้แก่ ชื่อ- สกุล เบอร์ โทรศัพท์ที่ สามารถติดต่อได้ 2. การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่หรือออกไปยังจุดเกิดเหตุต้องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ขั้น (นอกเวลาราชการรายงานแพทย์เวร) และรอคำสั่งอนุญาตจากผู้อำนวยการหรือ ผู้ทำการแทนก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
3. เมื่อออกปฏิบัติการและไปถึงจุดเกิดเหตุต้องให้รายงานตัวกับผู้อำนวยการในภาวะฉุกเฉิน (ED) EMERGENCY DIRECTOR
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ ให้พร้อม ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยชีวิต ยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ล้างตา ออกซิเจน ชุดป้องกันสารเคมี ถุงมือและรองเท้าบู๊ตป้องกันสารเคมี ผ้ายางหรือถุง พลาสติก ชนิดมีซิปหุ้มร่างกายผู้บาดเจ็บทั้งตัว ถุงพลาสติกเพราะผู้บาดเจ็บอาจมีอาการอาเจียน
5. พนักงานขับรถและทีมแพทย์ พยาบาลที่เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บควรสวมชุดป้องกันอันตราย ส่วนบุคคล
6. เมื่อหน่วยบริการพยาบาลช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ (EMS) ถึงจุดปฏิบัติการแล้วต้อง รายงาน กลับมายังห้องฉุกเฉินเกี่ยวกับลักษณะของเหตุการณ์ ความรุนแรงจำนวน ผู้ได้รับบาดเจ็บ หน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือ สารเคมีที่เกี่ยวข้องเท่าที่ทราบ
7. หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ การช่วยเหลือระบบหายใจ การให้สารน้ำ การลดความ เจ็บปวด และผู้บาดเจ็บจากสารเคมีควรได้รับการล้างตัวตามความเหมาะสม และถอดเสื้อผ้า ที่ปนเปื้อนสารเคมีออกและใช้ผ้ายางหรือถุงพลาสติกชนิดมีซิปห่อหุ้มร่างกายผู้บาดเจ็บโดยให้ คลุมตั้งศีรษะถึงปลายเท้า เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้อุปกรณ์การเคลื่อนย้ายที่เหมาะสม
8. เปลเข็นนอนที่นำส่งผู้บาดเจ็บต้องได้รับการปูด้วยพลาสติกหรือห่อตัวผู้บาดเจ็บด้วยพลาสติก
9. ขณะนำส่งผู้บาดเจ็บต้องให้ออกซิเจน100% ตลอดเวลา(ยกเว้นสารเคมีที่มีข้อห้ามในการให้ ออกซิเจน เช่น พาราควอท ) และถ้ามีถังออกซิเจนสำรองอยู่ในรถพยาบาลให้นำถังออกซิเจ ไว้ที่จุดเกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรายอื่น
10. รถนำส่งผู้บาดเจ็บต้องได้รับการชำระล้างก่อนนำไปใช้ต่อไป ฉีดล้างทำความสะอาดภายใน และเปิดประตู หน้าต่าง ระบายอากาศให้แห้ง
11. ทีมพยาบาลและพนักงานขับรถควรได้รับการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติหลังจากปฏิบัติงานแล้ว

บทบาทของทีมกู้ชีพชุดแรกเมื่อไปถึง ณ จุดเกิดเหตุ
หัวหน้าทีม

  1. ทำหน้าที่เป็นcommander ประเมินสถานการณ์ตัดสินใจประกาศสถานการณ์และรายงานMETHANE มายังศูนย์สั่งการ M: Major incident            : เป็นเหตุการณ์สาธารณภัยหรือไม่
    E : Exact location           : สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน
    T : Type of accident        : ประเภทของสาธารณภัย
    H : Hazard                    : มีอันตรายหรือเกิดอันตรายอะไรบ้าง
    A : Access                    : ข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกจากที่เกิดเหตุ
    N : Number of casualties  : จำนวนและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ
    E : Emergency service     : หน่วยฉุกเฉินไปถึงหรือยังและต้องการความช่วยเหลืออะไรอีกบ้าง
  2. สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
  3. เลือกพื้นที่ที่จะเป็นที่จอดรถพยาบาลฉุกเฉิน
  4. พิจารณาตัดสินใจว่าจะต้องระดมทรัพยากรมากน้อยแค่ไหนมาสนับสนุน
  5. กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการหน่วยปฐมพยาบาลในพื้นที่cold zone รอรับการส่งต่อผู้ป่วยมาจากhot zone และเป็นพื้นที่ที่สามารถปฏิบัติการล้างตัวผู้ป่วยเพิ่มเติมได้
  6. คัดกรองผู้ป่วยส่งต่อตามลำดับความสำคัญตามหลักmedical triage
  • Red tags   : ผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายเสี่ยงต่อชีวิต
  • Yellow tags : ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บหรืออาการที่อาจเปลี่ยนแปลงแย่ลงได้
  • Green tags          : ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเล็กน้อย
  • Black tags           : ผู้ที่เสียชีวิตหรือไม่หายใจแล้ว

    ผู้ช่วย/สมาชิกทีม

    1. จอดรถพยาบาลใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุดตามหลักความปลอดภัยโดยหันหน้าออกจากที่เกิดเหตุ
    2. สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
    3. เปิดสัญญาณไฟรถพยาบาลแสดงตำแหน่งจุดสั่งการเพื่อเป็นจุดสังเกตให้ทีมสนับสนุนอื่นๆที่จะมาช่วยเหลือ
    4. แจ้งศูนย์สั่งการว่ามาถึงที่เกิดเหตุแล้วคอยประสานกับหัวหน้าทีมกับศูนย์สั่งการ
    5. อยู่ประจำรถพยาบาลห้ามนำกุญแจออกจากรถพยาบาลไม่ควรดับเครื่องพร้อมเคลื่อนย้ายตลอดเวลาเมื่อเกิดเหตุไม่ปลอดภัย การจัดลำดับชั้นของพื้นที่

    การจัดลำดับชั้นของพื้นที่

           Hot zone :พื้นที่อันตรายคัดแยกผู้ป่วยครั้งที่1 ผู้ปฏิบัติการต้องชำนาญสูงเนื่องจากต้องเข้าออกพื้นที่อย่างรวดเร็วและเท่าที่จำเป็น

           Warm zone :พื้นที่ต้องระวังคัดแยกผู้ป่วยครั้งที่2 ดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้นและเป็นจุดรับผู้ป่วยโดยรถพยาบาลพื้นที่นี้ต้องควบคุมการจราจรและเข้าออกอย่างเคร่งครัดดังนั้นต้องมีเครื่องหมายเสื้อหรือบัตรแสดงตัวชัดเจนตามหลักผู้บัญชาการจุดเกิดเหตุ(field commander) จะปฏิบัติงานในพื้นที่นี้

           Cold zone :พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่สนับสนุนและผู้บริหารระดับสูงผู้สื่อข่าวเพื่อติดตามสถานการณ์

    แผนภูมิแสดงตำแหน่งที่ทำtriage

    Triage sieve
        คือการตรวจดูอย่างรวดเร็วเพื่อจัดกลุ่มผู้ป่วยในเบื้องต้นเนื่องจากต้องกระทำอย่างรวดเร็ว และใช้ข้อมูลไม่มากการทำtriage sieve จึงอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้แต่ก็จะสามารถปรับแก้ไขได้ในภายหลังการทำtriage sieve จะพิจารณาจากผู้ป่วยเดินได้เองหรือไม่การประเมินการประเมินการหายใจชีพจรหรือCapillary refill  ดังแสดงในแผนภูมิ

    แผนภูมิแสดงขั้นตอนของ triage sieve

    Triage sort 
        เมื่อผู้ป่วยมาถึงจุดรักษาพยาบาลหรือในโรงพยาบาลจะถูกทำtriage อีกครั้งหนึ่งซึ่ง ณ จุดนี้จะมีบุคลากรและอุปกรณ์มากขึ้นการทำtriage จะมีการใช้ข้อมูลมากขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า triage sort
        ในขั้นนี้ต้องมีการใช้trauma score มาช่วยในการจัดกลุ่มผู้ป่วยแต่เดิมนั้นtrauma score ประกอบด้วยค่าทางสรีรวิทยา(physiologic parameter) 5 อย่างคือrespiratory rate, respiratory effort, systolic blood pressure, capillary refill และGlasgow coma scale แต่ในปัจจุบันได้ปรับใช้ค่าทางสรีรวิทยาเพียง 3 อย่างเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติโดยเปลี่ยนเป็นrevised trauma score (RTS) หรือtriage revised trauma score (TRTS) ซึ่งใช้respiratory rate, systolic blood  pressure และGlasgow coma scale แล้วปรับค่าที่วัดได้แต่ละตัวเป็นscore  0–4  โดยscore 4 เป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์ปกติลดหลั่นลงมาถึง   0  เป็นค่าที่วัดไม่ได้เลยดังแสดงในตารางการคำนวณคะแนนtriage revised  trauma  score (TRTS)

    ตารางคำนวณคะแนน    triage revised  trauma  score (TRTS)

    เมื่อนำscore ทั้ง 3 มารวมกันจะได้เป็นค่าTRTS ซึ่งมีคะแนนเต็ม 12 การนำTRTS ไปจัดกลุ่มผู้ป่วยดังแสดงในตารางแปลผลค่าTRTS เป็นกลุ่มผู้ป่วยในแต่ละสี

        ข้อดีในการใช้ทำTriage sort  โดยวิธีนี้คือทำได้เร็วแม่นยำสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ง่ายอีกทั้งยังเป็นการวัดค่าทางสรีรวิทยาที่ต่อเนื่องจากtriage sieve อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มวิธีนี้บอกได้เพียงว่ากลุ่มใดหนักหรือเบาและต้องการการดูแลรักษาที่รีบด่วนกว่ากันแต่ไม่ได้บอกถึงอวัยวะที่บาดเจ็บซึ่งจะทำให้บอกไม่ได้ว่ารายใดต้องส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางสาขาใด

    การประเมินสถานการณ์แจ้งเหตุแก่ห้องฉุกเฉิน
        เมื่อทีมEMS ไปถึงจุดเกิดเหตุให้มีการประเมินความรุนแรงและแจ้งกลับมายังทีมห้องฉุกเฉินการประเมินเพื่อเตรียมรับเหตุเกิดอุบัติภัยสารเคมีโดยประเมินจาก

    1. จำนวนผู้ป่วยแยกประเภทความรุนแรง (เขียวเหลืองแดง) โดยประมาณ
    2. ชนิดของสารเคมีหรือลักษณะการเกิดเหตุ
    3. ความพร้อมในการล้างตัว ณ จุดเกิดเหตุหรือก่อนส่งต่อมาโรงพยาบาล
    4. ความเพียงพอของรถส่งต่อมาโรงพยาบาล
    5. ในกรณีที่ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือไม่ให้สงสัยว่าผู้ป่วยที่รับมาจะได้รับการปนเปื้อนจากสารเคมี

    การส่งต่อจากที่เกิดเหตุไปยังโรงพยาบาล
        ในการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีไปยังบริเวณอื่นจะต้องมีหลักการในการส่งต่อคือ

    1. ทำการล้างตัวผู้ป่วยเสมอเมื่อจะส่งต่อผู้ป่วยข้ามโซนและก่อนนำขึ้นรถส่งต่อ
    2. หากเป็นไปได้ควรมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนส่งต่อโดยเฉพาะรายที่มีการปนเปื้อนมาก
    3. รถส่งต่อควรเปิดโล่งให้มากที่สุดเพื่อการระบายอากาศ

    การทำการคัดกรองด้วยMedical Triage
        วิธีการคัดกรองผู้ป่วย Triageมีดังนี้

    S.T.A.R.T. Category Decon Priority อาการทางคลินิกที่สำคัญ อาการและร่องรอยการถูกสารเคมีพิษ
    ระบบการคัดแยกผู้ป่วยทางการแพทย์(START Medical Triage System)
    IMMEDIATE Red Tag 1 มีลมหายใจหลังเปิดทางเดินหายใจ
    -อัตราการหายใจ>30 ครั้ง/นาที
    -มี Capillary refill ช้ากว่า2 วินาที
    -ระดับการรู้สติไม่ดี
    • อาการและอาการแสดงรุนแรงมาก
    • รู้ชื่อสารพิษที่เป็นของเหลวที่ได้รับ
    DELAYED Yellow Tag 2 มีอาการบาดเจ็บที่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา
    สำหรับการรักษาหรือควบคุมในสถานที่เกิดเหตุ
    • อาการและอาการแสดงรุนแรงปานกลางถึงน้อย
    • รู้ชื่อหรือสงสัยว่าได้รับสารพิษที่เป็นของเหลว
    • รู้ชื่อสารพิษประเภทละอองฝอย
    • อยู่ใกล้กับจุดที่สารพิษรั่วไหล
    MINOR Green Tag 3 ช่วยตัวเองได้(Ambulatory) อาจมีอาการบาดเจ็บ
    เล็กน้อยที่ไม่ต้องการการรักษาทันทีทันใด
    • อาการและอาการแสดงเล็กน้อย
    •ไม่รู้ชื่อสารพิษหรือแค่สงสัยว่าสัมผัสกับไอพิษละอองพิษ
    หรือสารพิษที่เป็นของเหลว
    DECEASED/ EXPECTANT Black Tag 4 หายใจเองไม่ได้แม้เปิดทางเดินหายใจให้แล้ว • อาการและอาการแสดงรุนแรงมากที่สุด
    • ได้รับสารพิษและมีผลต่อระบบประสาท
    • ไม่ตอบสนองต่อยาต้านพิษ

    ศูนย์เปล
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้
              1.   ช่วยจัดพื้นที่เพื่อรับผู้บาดเจ็บพื้นที่สีแดง สีเหลือง และกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
              2.   รับผู้ป่วยจากรถส่งต่อผู้ป่วยนอก,เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปจุดคัดกรอง
              3.   เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเอกซเรย์ตามคำสั่งแพทย์
              4.   เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปหอผู้ป่วยในหรือกลับบ้านหรือส่งต่อ

    งานเวชระเบียน
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้
              1.   เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งทำหน้าที่บันทึกประวัติผู้บาดเจ็บทำบัตรโรงพยาบาล
              2.   เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งทำหน้าที่ช่วยจุดคัดกรองผูกบัตรข้อมือ ผู้บาดเจ็บ
              3.   ติดประกาศรายชื่อผู้บาดเจ็บที่บอร์ด

    งานอาชีวอนามัย
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้

    1.  ถ้าเป็นแผนรับอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน  1 และ 2 ซึ่งไม่ได้เป็นภัยจากสารเคมีให้   ปฏิบัติงาน ประจำพื้นที่สีเขียว
    2.  กรณีเป็นอุบัติภัยจากสารเคมีให้ปฏิบัติดังนี้       2.1 รับแจ้งข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆร่วมเป็นทีมรักษาผู้ป่วยในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
         2.2 สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับอันตรายและแนวทางการปฐมพยาบาล  การรักษาเบื้องต้นให้กับ แพทย์
         2.3 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมี  การป้องกันอันตรายจากสารเคมีในขณะ ปฏิบัติงาน
         2.4 กรณีผู้บาดเจ็บต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลร่วมเป็นทีมดูแลผู้บาดเจ็บกับแพทย์เจ้าของ ไข้
         2.5 ตรวจเยี่ยม สอบสวนโรค ให้คำปรึกษาแก่ ผู้บาดเจ็บ/ผู้สัมผัสสารเคมีที่ห้องฉุกเฉิน และ   กรณีที่ผู้บาดเจ็บต้องนอนพักในโรงพยาบาล
         2.6  รวบรวม  จัดทำรายงานส่ง  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

    งานรังสีวิทยา 
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้
                1. การลงทะเบียน  เขียนบันทึกHospital number และ X-ray number ในบัตรผูกข้อมือ ผู้บาดเจ็บ
                2.  ถ่ายภาพรังสีปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์

    งานประชาสัมพันธ์
    หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
                1.  ถ้าได้รับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ให้โอนสายไปยังจุดแจ้งเหตุห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
                2.  รับรายชื่อผู้บาดเจ็บจากศูนย์อำนวยการจัดพิมพ์ข้อมูลผู้บาดเจ็บหรือตายประกาศให้ผู้มาติดต่อทราบ
                3.  ให้ข้อมูลรายชื่อผู้บาดเจ็บแก่ญาติและผู้มาติดต่อ
                4.  แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจชันสูตรพลิกศพ  ในกรณีผู้เสียชีวิต ได้รับคำสั่งจากศูนย์ อำนวยการ

    งานโภชนาการ
             หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
             จัดเตรียมอาหารและอาหารว่างภายใต้การสั่งการของศูนย์อำนวยการและโภชนาการจะนำ
    อาหารมาส่งที่ศูนย์อำนวยการเมื่อเตรียมอาหารเสร็จ

    กลุ่มงานเภสัชกรรม
    หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
             ฝ่ายเภสัชกรรมกำหนดหน้าที่สนับสนุนการจ่ายยาและเวชภัณฑ์  โดยเปิดห้องยาใหญ่  แยก
    ใบสั่งยากลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อเรียกเก็บตามสิทธิ์  ผู้บาดเจ็บที่ไม่มีสิทธิ์พิเศษให้ชำระเงิน
    ตามปกติ

    หน่วยจ่ายกลาง
              หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
                   1.   จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้เพียงพอกับความต้องการ
                   2.   สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือเพิ่มเติม

    การดูแลประชาชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติภัยจากสารเคมีมารับบริการหลังเกิดเหตุการณ์
    ดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้ 1.  ในรายที่ไม่ฉุกเฉินให้รับบริการที่ห้องตรวจโรคทั่วไป
    2.  ในรายที่ฉุกเฉินให้รับบริการที่ห้องฉุกเฉิน
    3.  พยาบาลประจำหน่วยงานแจ้งเจ้าหน้าที่งานอาชีวอนามัยทราบเพื่อขอรับข้อมูลสารเคมี เพิ่มเติม การล้างตัว(Decontaminate)

    วัตถุประสงค์และประโยชน์
    1.  เพื่อลดการปนเปื้อนทำให้ผู้บาดเจ็บไม่ได้รับพิษจากสารเคมีที่ติดตัวเพิ่ม  ทำให้พิษเจือจางลง
    เป็นการลดปฏิกิริยาของสารเคมี
    2.  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารพิษไปสู่ผู้รักษาและบุคคลอื่นๆ  และทำให้ห้องฉุกเฉินเป็น
    เขตสะอาด

    ทีมล้างตัว(Decontaminate)
    ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการล้างตัวให้กับผู้บาดเจ็บ ต้องสวมใส่เครื่องมือป้องกันตนเองได้แก่

    1.  ชุดป้องกันสารเคมี
    2.  ผ้าอ้อมพลาสติก
    3.  ถุงมือป้องกันสารเคมี
    4.  แว่นตาป้องกันสารเคมีหรือหมวกที่มีกระจกบังหน้า
    5.  หน้ากากป้องกันสารเคมี
    6.  รองเท้ายางป้องกันสารเคมี

    ขั้นตอนการปฏิบัติหลังล้างตัวผู้บาดเจ็บเสร็จแล้ว

    1.  ล้างตัวผู้ปฏิบัติการเริ่มด้วยบริเวณที่ปนเปื้อนมากที่สุด และ Decontaminate เหมือนเป็น
    ผู้บาดเจ็บ แต่ให้สวมชุดป้องกันตัวไว้ก่อน
    2.  จัดเก็บหรือทิ้ง PPE ยังถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้
    3.  จัดเก็บหรือทิ้งเครื่องมือเข้าถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้
    4.  ตรวจร่างกายทีมงาน  หลังจากปฏิบัติงานสำเร็จ ขั้นตอนการล้างตัว(Decontaminate)ทั่วไป 1.  ปลดและจัดเก็บสิ่งของมีค่าของผู้บาดเจ็บ
    2.  ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกใส่ในถุงพลาสติกและปิดปากให้เรียบร้อย
    3.  ถ้ามีบาดแผลให้ใช้น้ำชำระล้าง  ถ้าไม่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในบาดแผลไม่ต้องคุ้ยแล้วปิดไว้
    ด้วยผ้าก๊อต  และล้างตามขั้นตอน
    4.  ล้างตัวด้วยน้ำแรงและมากพอสมควรใช้น้ำสบู่หรือ Hypochlorite และใช้ฟองน้ำหรือแปรงถูตัว  
    เริ่มล้างจากจากศีรษะไปปลายเท้า
    5.  ล้างเท้าก่อนเข้าไปยังบริเวณต่อไปเพื่อไม่ให้นำสิ่งปนเปื้อนเข้าไปด้วย
    6.  เช็ดตัวให้แห้ง
    7.  ให้สวมเสื้อผ้าสะอาดหรือคลุมด้วยผ้าสะอาด

    หลักการสำคัญในการล้างตัวผู้บาดเจ็บ

    1.   ถ้าผู้บาดเจ็บไม่เคยได้รับการล้างพิษให้ทำการล้างพิษเบื้องต้นทันที
    2.   มีสารเคมีหลายชนิดที่เมื่อถูกน้ำแล้วจะมีปฏิกิริยารุนแรง  วิธีที่ดีที่สุดคือใช้น้ำปริมาณมาก ล้าง เอาสารเคมีออกให้หมด  การใช้น้ำปริมาณมากจะทำให้ปฏิกิริยาลดลงหรือไม่เกิดขึ้น  ซึ่งมีข้อดี กว่าปล่อยให้สารเคมีติดอยู่บนตัวของผู้บาดเจ็บ เพราะถ้าไม่ล้างออกสารเคมีจะทำปฏิกิริยากับเหงื่อที่ตัวผู้บาดเจ็บ เอง  จึงจำเป็นต้องเอาสารเคมีออกให้หมด
    3.   ระยะเวลาการล้างผิวหนังหรือตาอาจเปลี่ยนแปลงตามสารเคมีและการสัมผัส  สารที่มีฤทธิ์เป็น
    ด่างรุนแรงอาจต้องใช้เวลานาน  10  ถึง  15  นาที  การสัมผัสกับไอของสารอาจใช้เพียงการล้าง เบาๆ(irrigate)   และใช้เวลาไม่นาน
    4.   การล้างเอาสารที่ไม่ละลายน้ำหรือเป็นน้ำมันที่ติดอยู่บนผิวหนังหรือผมจำเป็นต้องล้างด้วยสบู่ หรือแชมพู  น้ำยาล้างมือ  หรือ น้ำยาล้างจาน  ใช้แปรงที่มีขนอ่อนถูเบาๆ  แปรงขนแข็งจะทำให้ผิวหนังลอก  และทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้  แต่อย่างไรก็ตามน้ำเป็นตัวล้างที่ดีที่สุดเสมอ
    5.   สนใจการปนเปื้อนที่ตาและผิวหนังที่เป็นบาดแผลก่อน  เมื่อทำความสะอาดแผลแล้วไม่ควรให้มีการปนเปื้อนอีก  โดยการปิดแผลด้วยผ้าปิดชนิดกันน้ำสำหรับสารเคมีบางชนิดเช่น ด่างชนิดแรงจะต้องล้างผิวหนังที่สัมผัสและตาด้วยน้ำหรือน้ำเกลือเป็นเวลานาน
    6.   การสัมผัสที่ตา ต้องเอา contact lens ออกและ irrigate ตานั้นด้วยน้ำหรือน้ำเกลือที่หยดจากชุดให้สารน้ำทางเลือดล้างโดยให้น้ำไหลจากหัวตาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไล่วัตถุแปลกปลอมเข้าไปในท่อน้ำตา            การใช้ยาชา เช่น  0.5  %  tetracaine  อาจมีความจำเป็นเพื่อลด blepharospasm พยายามหาเศษสารเคมีในบริเวณ  conjunctival sac  ดูค่าความเป็นกรดด่าง  และ irrigate  จน  pHได้  7  ถึง  7.5 และถ้ามีการปนเปื้อนที่จมูกด้วยต้องล้างและดูดออกบ่อยๆเพื่อป้องกันวัตถุแปลกปลอมเข้าไป ในรูจมูก 
    7.   การสัมผัสที่ผิวหนัง ให้ใช้น้ำล้างแรงๆที่ผิวหนังและผมประมาณ  3- 5นาที  ในกรณีที่เป็นสารน้ำมันหรือมีไขมัน หรือเป็นสารที่ติดผิวหนังต้องถูออกด้วยสบู่อ่อนหรือแชมพู ไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือแปรงถูแรงๆเพราะทำให้เกิดรอยถลอกและเส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัวทำให้มีโอกาส ที่สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังได้

    การดูผู้บาดเจ็บที่สัมผัสสารเคมีสำหรับพนักงานขับรถ
    เมื่อได้รับแจ้งให้ออกปฏิบัติหน้าที่กับทีม EMS ต้องทราบ

    1.   ข้อมูลเบื้องต้นของสารเคมีว่ามีอันตรายอย่างไร  ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นตามชนิด
    ของสารเคมี เช่น  ชุดป้องกันอันตราย  หน้ากากกรองสารเคมี  แว่นตา   ถุงมือ  รองเท้าบู๊ท
    2.   ควรศึกษาทิศทางลมว่าพัดจากไหนไปไหน  จะจอดรถที่ไหนจึงจะปลอดภัย
    3.   เมื่อไปถึงเวลาจอดรถให้จอดเอาหน้ารถออกเพื่อเตรียมพร้อม
    4.   หลังจากส่งผู้บาดเจ็บเสร็จแล้วให้ทำความสะอาดรถโดยล้างภายนอก และ ภายในรวมถึง
    อุปกรณ์ อื่นๆที่อยู่ในรถ เช่น  เปลผู้ป่วย  เบาะนั่ง  ฯลฯ ด้วยน้ำให้สะอาด  เปิดประตูหน้าผึ่ง     
    ลมให้แห้ง  สนิท

    การดูผู้บาดเจ็บที่สัมผัสสารเคมีสำหรับผู้ดูแลศพ

    1.   สวมถุงพลาสติกบรรจุศพหรือห่อด้วยพลาสติกให้มิดชิด  เพื่อป้องกันการ แพร่กระจายของ
    สารเคมี และติดป้ายแสดง “ ผู้เสียชีวิตจากสารเคมียังไม่ได้ล้างตัว”  
    2.   เมื่อเหตุการณ์สงบ  และห้องล้างตัวใช้ล้างตัวผู้บาดเจ็บจากสารเคมีที่มีชีวิตหมดแล้ว  จึงนำศพ
    มาชำระล้างร่างกายให้สะอาด 

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง