สหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ppt

       สหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

            สหกรณ์ได้เข้าไปมีบทบาทในชีวิตเศรษฐกิจสาขาต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านผลิตการบริโภค การค้า และการบริการด้านต่าง ๆ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยพัฒนาด้านสังคมศึกษาและวัฒนธรรมอีกด้วย บรรดาประเทศต่าง ๆ ยอมรับว่าสหกรณ์มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม อันช่วยนำความมั่นคงมาสู่ประเทศชาติในระบบทุนนิยม สหกรณ์ได้พิสูจน์ตัวเองให้เห็นว่าสามารถแก้ข้อบกพร่องของระบบทุนนิยมทีมีอยู่หรือขจัดความชั่วร้ายที่แอบแฝงอยู่ในระบบทุนนิยม ในระบบเศรษฐกิจแบบผสม สหกรณ์ก็สามารถที่จะรับสนองในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น โครงการศึกษา โครงการปฏิรูปที่ดิน โครงการปรับปรุงการตลาด ฯลฯ มักมีผู้กล่าวว่าความเจริญก้าวหน้าของกิจการสหกรณ์ ย่อมเป็นเครื่องชี้อันสำคัญ ที่จะแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นได้พัฒนาไปแล้วเพียงใด ทั้งนี้เพราะกิจการของสหกรณ์นั้น เป็นผลที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากเหตุที่ดี ได้แก่ประชาชนมีการศึกษาดี ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ สมัครสามัคคี มีการพัฒนาในกิจการสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางฝ่ายเอกชน หรือฝ่ายรัฐ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากปราศจากเหตุที่ดีดังกล่าวแล้ว สหกรณ์ก็จะเจริญก้าวหน้าขึ้นมาไม่ได้ การเอารัดเอาเปรียบการขูดรีด เบียดเบียน คดโกง กอบโกยผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่แก่คนส่วนน้อย การบริหารงานอยู่ใต้อำนาจของคนเฉพาะกลุ่มไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคมหรือการเมืองก็ตามซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่กีดขวาง ความก้าวหน้าของสหกรณ์ทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม

        บทบาทของสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ

            ความมุ่งหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เพียงแต่การส่งเสริมขยายตัวของวิสาหกิจเท่านั้น แต่มุ่งให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างฉลาด การเพิ่มผลิตภาพการกระจายความมั่งคั่งที่เกิดจากการประกอบการทางเศรษฐกิจอย่างเที่ยงธรรม การให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีบทบาทในการส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการได้รับผลตอบแทนจากการพัฒนาโดยการมีกรรมสิทธิ์ การควบคุมธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรมขบวนการสหกรณ์ที่เข้มแข็งนอกจากจะส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์เต็มที่เช่นเดียวกับวิสาหกิจอื่นแล้ว บทบาทอันสำคัญของสหกรณ์และที่ควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้มีอยู่สองประการคือ

     ประการแรก สหกรณ์สามารถรักษาเสถียรภาพและตรึงราคาสินค้าและบริการ และช่วยลดระดับราคาสินค้าบริโภคในตลาด ในขณะเดียวกันจะช่วยยกระดับราคาผลิตผลทางเกษตร (ซึ่งโดยปกติมักจะตกต่ำ) ให้สูงขึ้น เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร

    ประการที่สอง อันเป็นเป้าหมายสุดยอดของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ หรือการกระจายรายได้ของประชาชาติอย่างเป็นธรรมและถาวร เพราะระบบสหกรณ์จะกระจายผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนอย่างเที่ยงธรรม โดยการที่ประชาชนมีส่วนเป็นเจ้าของและควบคุมธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม และบริการของตนเอง ผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจึงตกเป็นของประชาชนผู้เป็นสมาชิก

         บทบาทของสหกรณ์ในการพัฒนาสังคม

                สหกรณ์เป็นสถาบันเศรษฐกิจและขบวนการทางสังคมในขณะเดียวกันจุดมุ่งหมายของสหกรณ์ในด้านสังคมคือ การส่งเสริการศึกษา ส่งเสริมเสรีภาพของมนุษย์ตามแนวทางประชาธิปไตย เสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจอันดีระหว่างเพื่อนมนุษย์รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและจิตใจบทบาทประการแรกของสหกรณ์ในการพัฒนาสังคมได้แก่ การให้การศึกษาคำว่า “การศึกษา” ในที่นี้มิได้มีความหมายเพียงแต่การศึกษาที่สอนให้รู้หลักวิธีการ กฎหมายและกฎข้อบังคับของสหกรณ์เท่านั้น แต่เป็นการศึกษาในความหมายอย่างกว้าง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในด้านเศรษฐกิจและสังคมอันเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ประการที่สอง สหกรณ์ที่แท้จริงเป็นโรงเรียนประชาธิปไตย เพราะสหกรณ์เป็นองค์การของประชาชนผู้เป็นสมาชิก ควบคุมโดยสมาชิก และเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในกระบวนการควบคุมสหกรณ์ เช่น การมอบหมายอำนาจหน้าที่ การวินิจฉัยปัญหาโดยหมู่คณะ การเลือกผู้นำเพื่อบริหารจัดการ ล้วนแต่ใช้วิธีปฏิบัติแบบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้สหกรณ์จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการเมืองระดับท้องถิ่น ปรากฏว่ามีผู้นำทางการเมืองของประเทศกำลังพัฒนาจำนวนไม่น้อยทีได้รับการฝึกอบรมขั้นต้นมาจากขบวนการสหกรณ์ประการที่สาม สหกรณ์ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันเพื่อปฏิรูปและส่งเสริมความเท่าเทียมกันของมนุษย์ในสังคม สหกรณ์ไม่สอนเฉพาะในเรื่องประชาธิปไตยเท่านั้น แต่พยายามขจัดความแตกต่างระหว่างชนชั้นด้วยประการที่สี่ สหกรณ์ส่งเสริมสามัคคีธรรมและสันติสุขในสังคม สหกรณ์เป็นกระบวนการร่วมมือกันด้วยจิตสำนึกบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม นักสหกรณ์เชื่อว่าด้วยการสหกรณ์คนเราจะหยุดการหาประโยชน์จากความต้องการของคนอื่นและร่วมมือกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่มีอยู่ร่วมกัน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตน การร่วมมือในทางปฏิบัติมักจะมีการจัดลำดับความสำคัญในการวางแผนจัดสหกรณ์บางรูปให้เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศหนึ่งตามระดับของการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ที่ยอมรับกันว่ามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริงนั้น หมายถึงขบวนการสหกรณ์ที่มีระดับการพัฒนาสูง สามารถพึ่งตนเอง หรือผ่านพ้นระยะการอุปถัมภ์ของรัฐ และดำเนินการตามหลักสหกรณ์บทบาททั้งสองประการที่กล่าวมาแล้ว โดยปกติไม่มีอยู่ในจิตสำนึกของผู้ประกอบการเอกชนในธุรกิจอื่น เพราะจุดมุ่งหมายของธุรกิจเอกชนโดยทั่ว ๆ ไป คือ การหากำไร (ให้มากที่สุด) ในตลาดมีการแข่งขัน

           ลักษณะของสหกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

               เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของสหกรณ์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และนำมาซึ่งความมั่นคงของประเทศชาติ เด่นชัดยิ่งขึ้นต่อไป ขอกล่าวถึงลักษณะของสหกรณ์ที่เป็นคุณประโยชน์ที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวเสียก่อน ดังนี้

       1. ลักษณะในทางสังคม หมายความว่าสหกรณ์เป็นการสมาคมอย่างหนึ่งทำให้ผู้เป็นสมาชิกของสหกรณ์มีความรักและความเมตาต่อกัน จึงมีความคิดที่จะรวมมือเพื่อช่วยเหลือซึงกันและกัน ทั้งนี้โดยความสมัครใจปราศจากการบังคับขู่เข็ญ ความรู้สึกในทางเป็นตัวใครตัวมันจะหายไป ตัวสหกรณ์เองก็จดทะเบียนเป็นสมาคมด้วย การที่คนทั้งหลายมารวมกันเป็นสมาคมได้เช่นนี้ ด้วยอำนาจของสามัคคีธรรม ก็จะทำให้กิจการที่ใหญ่โตหรือยากเข็ญบรรลุไปประสบผลสำเร็จได้

       2. ลักษณะในทางเศรษฐกิจ การสหกรณ์เมื่อนำไปใช้กับทางเศรษฐกิจก็จะทำให้เศรษฐกิจของบุคคล ตลอดไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศถึงซึ่งความเจริญรุ่งเรืองได้การประกอบเศรษฐกิจในแบบสหกรณ์นั้นผิดแผกแตกต่างจากการประกอบเศรษฐกิจในแบบทุนนิยมแท้ ๆ แต่ก็ไปไม่ไกลถึงกับเลิกล้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคล การประกอบเศรษฐกิจของสหกรณ์เป็นทางสายกลาง ไม่หนักไปทางขวาสุดหรือซ้ายสุด แต่ถือเอาการตั้งอยู่บนฐาน แห่งความเป็นธรรมเป็นสำคัญและสามารถป้องกันหรือแก้ไขความยากจนข้นแค้น และความขาดแคลนสิ่งจำเป็นแก่ชีวิตของประชาชนได้

       3. ลักษณะในทางธุรกิจ การจัดการของสหกรณ์ถือเอาความซื่อสัตย์สุจริตและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสำคัญ สหกรณ์มีทั้งที่เป็นสมาคมเล็ก ที่เรียกว่าสหกรณ์ปฐมในท้องถิ่นและในเมือง มีชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งมีสหกรณ์หลาย ๆ สมาคมเป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์เหล่านี้มีรูปเป็นสหกรณ์กลางบ้าง สหพันธ์สหกรณ์บ้าง รวมทั้งหมดเป็นขบวนการสหกรณ์ทำการติดต่อกันทั้งโลก ธุรกิจของสหกรณ์เป็นงานที่มีระเบียบ และทำการติดต่อประสานกันหมด

       4. ลักษณะทางการเมือง ข้อนี้หมายความว่าระบอบของการเมืองที่มีหลายแบบ เช่น แบบเผด็จการ แบบประชาธิปไตย แบบราชาธิปไตย แบบเสรี แบบจารีตนิยมแบบโชชะลิสต์ แบบคอมมิวนิสต์ แบบชาตินิยม เหล่านี้ การสหกรณ์มีลักษณะทางแบบไหนในลักษณะของการสหกรณ์นั้น ให้มีความคิดเห็นเป็นกลาง ๆ ไม่หนักไปทางแบบใดแบบหนึ่งและสหกรณ์ก็ไม่ใช่เป็นสมาคมการเมืองด้วย สมาชิกของสหกรณ์ใครจะมีความนิยมในการเมืองอย่างไรย่อมไม่เอามาพูดกันในสหกรณ์ ซึ่งจะเป็นเครื่องทำให้เกิดความแตกแยกกัน แต่ในการปฏิบัตินั้นสหกรณ์เป็นแบบประชาธิปไตยแท้ และมีลักษณะโน้มไปทางสังคมนิยม

        5. ลักษณะในการปกครอง สหกรณ์ปกครองตัวเองอย่างอิสระ เพราะสมาชิกเข้ามาโดยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับใจกันเลย ถ้าจะมีการจัดการอะไรขึ้นในสหกรณ์นั้นก็เป็นไปโดยความเห็นดีเห็นชอบของสมาชิกส่วนข้างมากเอง เนื่องด้วยการปกครองภายในสหกรณ์เองก็เป็นลักษณะปกครองตัวเอง ดังนี้ ในทางปกครองชุมนุมชนก็จะเป็นเช่นนั้นด้วยสหกรณ์ทำให้ชุมนุมชนที่มีสหกรณ์ตั้งอยู่มีสภาพดีขึ้นเจริญขึ้น เพราะฉะนั้น ในด้านพัฒนาการของท้องถิ่นแล้ว การสหกรณ์จะช่วยได้มาก

        6. ลักษณะทางศาสนา สมาชิกของสหกรณ์เป็นคนมีศาสนาต่าง ๆ กันจึงไม่มีการจำกัดเรื่องศาสนา ความคิดเห็นในทางศาสนาจึงเป็นสาหลหรือกลาง ๆ คนที่มีศาสนาแตกต่างกัน ก็อาจร่วมมือกันปฏิบัติธุรกิจของสหกรณ์ได้ และไม่ถือเอาเหตุที่มีความเชื่อถือแตกต่างกันนี้มาเป็นเครื่องแบ่งแยกในหมู่สมาชิก นักสหกรณ์ยอมรับรู้ว่าคำสอนของศาสนาทุกศาสนาเป็นทางทำให้ผู้ประพฤติตามมีความดีขึ้นได้ และสหกรณ์ก็ต้องการรับแต่คนดีมาเป็นสมาชิก เพราะฉะนั้น คนที่นับถือศาสนาใด ๆ ก็เป็นสมาชิกสหกรณ์ได้

       7. ลักษณะในทางศีลธรรม การประกอบกิจการของสหกรณ์ถือความมีศีลธรรมและความเป็นธรรมต่อสังคมมาก การเอารัดเอาเปรียบต่อผู้อ่อนกำลังทรัพย์กว่าก็ดีการบังคับขูดรีดหรือเบียดแย้งก็ดี เหล่านี้จะไม่มีในลักษณะการประกอบการของสหกรณ์เป็นอันขาด นอกจากนั้น การสิ่งใดซึ่งเป็นอุปกรณ์แก่การรักษาความสามัคคีธรรมแล้วย่อมจัดให้มีขึ้นในสหกรณ์เป็นปกติฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าการสหกรณ์เป็นเครื่องส่งเสริมศีลธรรมอันดีของประชาชนได้ส่วนหนึ่ง

       8.ลักษณะทางการศึกษา การสหกรณ์ถือว่าการศึกษาของสมาชิกนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงได้มีการปรากฏไว้ในหลักมูลฐานของสหกรณ์ว่า สมาชิกจะต้องมีการศึกษาเนืองนิตย์ สหกรณ์ทั้งหลายจึงได้มีการอบรมแก่สมาชิกและเจ้าหน้าที่เสมอ นอกจากสหกรณ์มีการให้การศึกษาแก่สมาชิกและเจ้าหน้าที่แล้ว การสหกรณ์นี้ยังอาจนำเอาไปใช้ในวิธีให้การศึกษาแบบของสหกรณ์อีกด้วย นั่นคือ วิธีสอนโดยให้ผู้ศึกษารวบรวมกันขึ้นเป็นหน่วย ๆแล้วบุคคลที่เป็นสมาชิกของแต่ละหน่วยนั้น ต่างช่วยกันไปค้นคว้าหาข้อเท็จจริง และนำประสบการณ์ของแต่ละคนมาเข้าที่ประชุมแสดงความคิดเห็นและปรึกษาหารือกัน เมื่อได้ทราบแน่นอนเป็นประการใดแล้วก็จะบันทึกไว้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป ถ้ายังไม่ได้ความแน่นอนก็จะบันทึกไว้เพื่อทำการค้นคว้าต่อไป

       9. ลักษณะทางการครองชีพ ในประเทศที่การสหกรณ์มีความเจริญรุ่งเรืองมาก กิจการต่าง ๆ ที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น การเดินรถประจำทาง การไฟฟ้า น้ำประปาเป็นต้น ได้จัดดำเนินการโดยสหกรณ์ทั้งสิ้น ในบางท้องถิ่นประชาชนมีชีวิตอยู่กับการสหกรณ์ทั้งหมด เขาอาศัยอยู่ในนิคมสหกรณ์ หรืออยู่บ้านของสหกรณ์อาคาร ซื้อหาอุปกรณ์อุปโภคบริโภคจากร้านสหกรณ์ เขาทำมาหากินอยู่กับสหกรณ์การเกษตรและอุตสาหกรรม เช่นทำนาส่งข้าวขายให้สหกรณ์ ต้องการปุ๋ยและพันธุ์พืชก็ให้สหกรณ์ซื้อให้ จะไปไหนมาไหนก็ขึ้นรถประจำทางของสหกรณ์ ลูกไปเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนของสหกรณ์ แม่เจ็บก็ไปรักษาที่โรงพยาบาลสหกรณ์ เมื่อตายก็ให้สหกรณ์ฌาปนกิจจัดการศพ การครองชีพแบบสหกรณ์นั้นคือการมีชีวิตหมู่เหมาะสำหรับบุคคลที่เข้ากับใคร ๆ ได้ ไม่เหมาะสำหรับคนชนิดที่ไม่เอาพวกพ้องเลย แต่ใคร ๆ ก็ตาม ถ้าได้มีโอกาสดำเนินชีวิตแบบสหกรณ์แล้ว เขาจะรู้สึกตัวว่าเขามีความสุข เพราะความอบอุ่นอยู่ในหมู่ผู้เป็นมิตรเสมอ

       10. ลักษณะทางวิวัฒนาการ ถ้าเราจะเปรียบความแตกต่างอันแท้จริงระหว่างคนป่ากับคนเมือง หรือคนในเมืองที่ยังไม่เจริญกับคนเมืองที่เจริญแล้วก็จะเห็นได้ว่าความแตกต่างที่แท้จริงนั้นอยู่ตรงที่ว่า การที่คนอยู่รวมกันได้อย่างมีระเบียบที่ดี กับการอยู่กันอย่างไม่มีระเบียบหรือมีระเบียบไม่ดี ถ้าในที่ใดใครนึกจะทะไรก็ทำโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายซึ่งจะเกิดแก่คนอื่นหรือส่วนรวม ก็เรียกได้ว่าในที่นั้นอยู่กันอย่างไม่มีระเบียบ ซึ่งทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในเมื่อเกิดมีประโยชน์ขัดกันขึ้น เช่นมีการทะเลาะวิวาทปราศจากจากความสามัคคีเป็นต้น แต่ในที่ใดใครนึกจะทำอะไร ก็คิดถึงส่วนรวมคือคนอื่น ๆ ก่อนคิดถึงตนเอง แม้การที่จะทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง แต่จะเสียหายแก่ผู้อื่นก็ไม่กระทำ สละประโยชน์ส่วนตัวให้แก่ประโยชน์ส่วนรวมเสียได้ดังนี้ในสถานที่นั้นก็มีความสงบสุขดี เป็นที่น่าอยู่ในการสหกรณ์นั้น คนที่เป็นสมาชิกมาทำงานร่วมกัน อยู่ด้วยกัน และคิดถึงส่วนรวมมากกว่าวนตัว เป็นการรวมกันได้อย่างเป็นระเบียบ อันเป็นความเจริญขั้นสูงสุดของมนุษย์ในปัจจุบันแล้ว โดยเหตุนั้นการสหกรณ์จึงแสดงถึงความวิวัฒนาการของมนุษย์อยู่มากสำหรับประเทศไทย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผสม การประกอบการทางเศรษฐกิจมีทั้งส่วนเอกชน (Private sector) และส่วนรัฐ (Public sector) การเกื้อกูลเนินงานส่วนของรัฐ ก็เพื่อชักจูงเกื้อกูล กระตุ้น หรือส่งเสริม การประกอบการในสาขาเอกชนให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ความมั่นคงของประเทศจึงขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางการเกษตรเป็นสำคัญ และกล่าวได้ว่า การพัฒนาการเกษตรซึ่งหมายถึงการปรับปรุงฐานะของเกษตรกรและประชาชนในชนบทด้วย ย่อมเป็นเครื่องชี้และตัดสินอนาคตของประเทศตลอดจนความมั่นคง คงอยู่ซึ่งเป็นอิสรภาพ และสันติภาพด้วย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงให้ความสนใจในด้านการเกษตร และการพัฒนาการท้องถิ่นเป็นพิเศษ และด้วยเหตุนี้สหกรณ์จึงเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการเกษตรและพัฒนาการท้องถิ่น ช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนในชนบทเป็นอย่างมาก และลู่ทางที่จะคลี่คลายขยายตัวมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

            สหกรณ์เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้อ่อนแอทางเศรษฐกิจ โดยวิธีรวมกำลัง รวมปัญหา และรวมทุนเข้าด้วยกัน โดยถือความสมัครใจเป็นสำคัญ ดำเนินการตามหลักการช่วยตนเอง การช่วยซึ่งกันและกัน และการประหยัด นอกจากนั้น แม้ว่าสหกรณ์จะเพ่งเล็งช่วยเหลือสมาชิกในทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็หาได้ละเลยทางสังคมและจิตใจไม่เพราะถ้าได้ศึกษาถึงประวัติของสหกรณ์เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน อันเป็นสหกรณ์เครดิตในชนบทแล้ว จะเห็นว่าไรฟ์ไฟเซน ได้พยายามหาวิธีส่งเสริมศีลธรรม จรรยา ของสมาชิกสหกรณ์ไว้ในหลักและวิธีการดำเนินงานของสหกรณ์ แม้สหกรณ์เครดิตในประเทศไทยก็มีข้อกำหนดเช่นเดียวกัน เช่น กำหนดว่าผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัยดี เป็นต้น

           บทบาทของสหกรณ์กับการพัฒนาท้องถิ่น

                  สหกรณ์มีบทบาทในการพัฒนาการท้องถิ่น หรือปรับปรุงชีวิตประชาชนในท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ อยู่ตลอดมา และยิ่งในปัจจุบันการสหกรณ์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนามากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจแยกอย่างกว้าง ๆ ได้ดังนี้

        1. สหกรณ์ช่วยเพิ่มพูล กระตุ้นความพยายามช่วยเหลือตนเอง ของประชาชนในท้องถิ่นและก่อให้เกิดการริเริ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะสหกรณ์ที่แท้จริงนั้น ก่อกำเนิดขึ้นด้วยความริเริ่มที่จะหาทางขจัดหรือบรรเทาความเดือดร้อนในทางเศรษฐกิจของประชาชนเอง นับว่าเป็นการพัฒนาท้องถิ่นด้วยตนเอง ดังนั้นถ้าหากว่าไม่มีองค์การใดที่เป็นของประชาชน ในท้องถิ่นดังเช่นสหกรณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเชื่อมั่นในตนเองของประชาชนแล้ว จะเกิดอันตรายขึ้นไม่น้อยทีเดียว ที่ความรับผิดในการพัฒนาบ้านเมืองนั้นตกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายเดียวยิ่งกว่านั้นแผนการพัฒนาการท้องถิ่นของรัฐ ก็ไม่สามารถดำเนินให้บรรลุสู่เป้าหมายได้

       2. สหกรณ์จะช่วยเป็นพื้นฐานในกรฝึกอบรม ให้ประชาชนเข้าใจวิธีการแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นยิ่งในกิจการแขนงต่าง ๆ ของการพัฒนาการท้องถิ่น

       3. สหกรณ์ที่ดีนั้นเปรียบเสมือนโรงเรียนฝึกอบรมความเป็นผู้นำในท้องถิ่นซึ่งช่วยให้มีผู้นำทีชำนาญมากขึ้นไปช่วยกิจการพัฒนาในท้องถิ่นนั้น ๆ

       4. สหกรณ์เปรียบเสมือนองค์การ (Organization) ที่มั่นคงในระดับท้องถิ่นที่ช่วยเป็นสื่อการช่วยเหลือประชาชนด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ในด้านการเงินก็อาจจะนำไปไว้ในการพัฒนาได้ถูกต้อง และอยู่ในความรับผิดชอบของประชาชนเอง เป็นไปตามหลักแหล่งความเที่ยงธรรม ยกตัวอย่างเช่น ในการช่วยเหลือด้านเครดิตของรัฐบาล รับอาจจัดให้เครดิตเป็นเงินก้อนใหญ่ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่น โดยมอบให้สมาคมสหกรณ์เครดิตเป็นผู้ดำเนินการจัดการเงินทุนนั้น

       5. สหกรณ์ย่อมดำเนินการในฐานะสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ในการวางรูปและกระจายแผนการ หรือ นโยบายในการพัฒนาการของรัฐบาลไปสู่ประชาชนยกตัวอย่างเช่น นโยบายในการเกษตรเรื่องต่าง ๆ ก็อาจทำเป็นข้อเสนอเข้าที่ประชุมธรรมดาสมาชิกของสหกรณ์ให้พิจารณา หรือรับทราบได้และความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นก็จะกระจายไปสู่ประชาชนทั่วไปภายหลัง

          สำหรับประเทศไทยนั้น สหกรณ์มีบทบาทในการพัฒนาการท้องถิ่นในด้านต่างๆ หลายด้านพอจะจำแนกออกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

      1. การส่งเสริมให้มีสถาบันเครดิตทางการเกษตรที่ดีขึ้นในท้องถิ่นโดยทั่วไปประชาชนตามท้องถิ่นมีอาชีพางเกษตรเป็นส่วนมาก เกษตรกรไทยมี

ทุนรอนน้อยและการทำกาเกษตรต้องเสี่ยงภัยลงทั้งในด้านภัยธรรมชาติและภัยทางเศรษฐกิจคือราคาพืชผลตกต่ำ เป็นเหตุให้ขาดทุนรอน ต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งที่ไม่เหมาะสม คือเสียดอกเบี้ยแพง มีเงื่อนไขไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้มีหนี้สินรุงรังจนไม่อาจพื้นตัวได้ สหกรณ์ได้เข้ามาช่วยแก้สถานการณ์ในเรื่องนี้โดยจัดให้มีสถาบันเครดิตที่ดีและเหมาะสม คือให้เงินกู้แก่เกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยถูก มีระยะเวลาผ่อนชำระนานปี เงื่อนไขเหมาะสมและดำเนินงานตามแบบสหกรณ์

      2. การช่วยเหลือเกษตรกรให้จำหน่ายผลผลิตได้ราคราดี และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยปกติราษฎร เมื่อผลิตพืชผล หรือปศุสัตว์ขึ้นมาได้ มักต้องจำหน่ายให้แก่พ่อค้าเอกชน คนกลางในท้องถิ่นในราคาต่ำ และถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องการชั่งตวงวัดเพราะฉะนั้น เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนเหล่นี้ ทางการจึงเข้าทำการช่วยเหลือด้วยวิธีการสหกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่สหกรณ์ขายข้าว และสหกรณ์ขายพืชผล (ในบรรดาสหกรณ์ดังกล่าวบางสมาคมยังทำการดำเนินงานช่วยแปรรูปพืชผล และผลิตผลเพื่อจำหน่ายอีกด้วยเป็นการเพิ่มคุณค่าของสมาชิกออกจำหน่าย สำหรับสหกรณ์ขายพืชผลและผลิต ได้แก่สหกรณ์ขายมะพร้าว สหกรณ์ช่วยแปรรูปเป็นมะพร้าวแห้ง เป็นต้น)

     3. การให้ราษฎรมีที่ดินของตนเอง หรือให้เช่าในอัตราต่ำ ปรากฏว่ามีราษฎรในท้องถิ่นอยู่ไม่น้อย ที่ไม่มีที่ดินของตนเอง หรือ ต้องเช่าผู้อื่นทำมาหากินโดยมีเงื่อนไขไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถตั้งหลักฐานให้มั่นคงได้ จึงได้นำวิธีการสหกรณ์มาใช้ เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินเป็นของตนเอง เช่น ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์นิคม สหกรณ์เช่าซื้อที่ดิน และสหกรณ์ผู้เช่าขึ้น นอกจากราษฎรจะได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือ ได้เช่าที่ดิน โดยเสียค่าเช่าถูกและมีเงื่อนไขเป็นคุณแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือดินที่ทำประโยชน์อยู่แล้วให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยการบุกเบิก หรือปรับปรุงที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

     4. ส่งเสริมให้มีการบำรุงดินให้มีคุณภาพดี ด้วยวิธีการชลประทานอันทันสมัยและการส่งเสริมการใช้ปุ๋ย และพันธุ์พืชที่ดิน

           สหกรณ์ที่ดินรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์นิคม สหกรณ์เช่าซื้อ สหกรณ์ผู้เช่าหรือสหกรณ์บำรุงที่ดิน ต่างมีบทบาทในการปรับปรุงส่งเสริมการทำไร่นาของเกษตรกรในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ปรับปรุงที่ดิน ได้แก่การจัดแบ่งที่ดินให้มีขนาดอันเหมาะสม การขุดคลองลอกคลอง การทำคันคูนา การสร้างอาคารชลประทาน การสูบน้ำ การบุกเบิกป่า การทำถนนการเจาะน้ำบาดาล การใช้ปุ๋ยและปรับปรุงที่ดินการปรับปรุงในเรื่องตัวบุคคลและแรงงาน ได้แก่การปลูกพืชหลังฤดูทำนา การปลูกพืชหลายอย่าง การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนการปรับปรุงด้านเงินทุน ได้แก่การจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืม ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม เงื่อนไขเป็นคุณ และมีการควบคุมการใช้เงินการปรับปรุงด้านการจัดการ การแนะนำ ชี้แจง ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการที่ดี ทั้งด้านการผลิต และการตลาด

              ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น เป็นการพิจารณาบทบาทของสหกรณ์ในด้านการพัฒนาท้องถิ่นหนักไปในทางเศรษฐศาสตร์ หรือทางด้านวัตถุ เป็นประการสำคัญ แต่ความจริงสหกรณ์หาได้มีวัตถุประสงค์แต่ในทางเสริมสร้างความเจริญในด้านวัตถุแต่อย่างเดียวไม่ หากยังเพ่งเล็งถึงความสุขแห่งจิตใจด้วยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเราพอจะแยกพิจารณาได้ดังนี้

         1. การส่งเสริมชีวิตในหมู่บ้านให้สะดวกสบายและแจ่มใสยิ่งขึ้นการส่งเสริมในด้านนี้ สหกรณ์มีทางส่งเสริมทั้งนี้ในด้านวัตถุและในด้านจิตใจ

    สำหรับด้านวัตถุนั้นเป็นที่เห็นได้ว่า หมู่บ้านซึ่งเป็นชุมนุมชนของคนไทยเรานี้ ถ้าแห่งใดประชาชนในหมู่บ้านนั้นมีทางทำมาหากินดี สภาพของหมู่บ้านก็ดูมีลักษณะเจริญดี เช่น มีเรือนฝากกระดาน หลังคามุงกระเบื้อง หรือสังกะสีเกือบทุกหลัง ถนนหนทางมีมากมายหลายสาย ร่นขายของมีมากร้าน มีตลาดใหญ่ มีของกินของใช้บริบูรณ์ ตรงกันข้ามถ้าในหมู่บ้านใด การทำมาหากินฝืดเคือง ประชาชนในหมู่บ้านนั้นยากจน มีหนี้สินรุงรัง หมู่บ้านนั้นก็ดูมีลักษณะซ่อมซ่อ และซบเซา บ้านเรือนก็มีน้อย และประชาชนก็อยู่กระท่อม หรือโรงมุงจากเป็นส่วนมาก ของกินของใช้ก็ขาดแคลน ทั้งนี้เพราะความเจริญหรือความเสื่อมของชุมนุมชน หรือหมู่บ้าน ในด้านวัตถุนั้นอยู่ที่การเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ แต่ละครอบครัวเป็นสำคัญสหกรณ์ทุกรูปล้วนส่งเสริมการเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยวิธีที่ทำให้คนในชุมนุมชนนั้น รู้จักการช่วยเหลือกันเพื่อช่วยตนเองให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นเมื่อเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่น หรือหมู่บ้านดีขึ้น ชีวิตของคนในท้องถิ่นหรือหมู่บ้านก็จะสะดวกสบายและแจ่มใสยิ่งขึ้นนอกจากนั้น สหกรณ์ยังส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักขวนขวายหรือกระตือรือร้นที่จะช่วยตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขอุปสรรคของตน ร่วมมือร่วมใจกันสร้างหมู่บ้านของตนให้น่าอยู่น่าอาศัย และเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพราะวิธีการของสหกรณ์นั้นอาศัยความสมัครใจเป็นรากฐานไม่มีการบังคับแต่อย่างใด ซึ่งความสมัครใจนี้เองได้แสดงออกเป็นการไม่ดูดายในงานของส่วนรวมและความรู้สึกในหน้าที่ซึ่งต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นชีวิตในชุมชนสหกรณ์จึงเป็นชีวิตที่อบอุ่นและเพราะอยู่ในหมู่มิตร เพราะความสามัคคี และความแจ่มใส เมื่อได้รับผลสมประสงค์ตามความมุ่งหมายร่วมกันนั้น

        2. การส่งเสริมศีลธรรม และวัฒนธรรมในด้านศีลธรรมจรรยา และวัฒนธรรมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น สหกรณ์มีส่วนในการส่งเสริมเป็นอันมาก จะเห็นได้จากข้อบังคับของสหกรณ์ทุกรูปแบบมีกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกว่า ต้องเป็นคนที่มีความประพฤติและชื่อเสียงดี ต้องเป็นคนขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพของตน และเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกแล้วก็ต้องรักษาความดีนั้นไว้ หากขาดตกบกพร่องไปก็อาจถูกคัดออกจากการเป็นสมาชิก ดังนี้ จึงนับได้ว่าสหกรณ์ได้คัดเลือกคนดีมีศีลธรรม และวัฒนธรรมไว้ชั้นหนึ่งแล้ว และยังควบคุมไปมิให้บุคคลที่เป็นสมาชิกกลายเป็นผู้ผิดศีลธรรม หรือ ไร้วัฒนธรรมอีกขั้นหนึ่ง บุคคลที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์นั้น มีส่วนมากเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อหัวหน้าครอบครัวเป็นคนดี มีศีลธรรมแล้วบรรดาคนในครอบครัวก็ย่อมจะเป็นคนดีมีศีลธรรมไปด้วยนอกจากนั้น ทางสหกรณ์ยังมีการแนะนำและสั่งสอนอยู่เสมอ โดยพวกสมาชิกตักเตือนกันเองบ้าง ทางราชการสหกรณ์ส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมบ้าง ทั้งนี้ เพื่อมุ่งหมายให้สมาชิกเป็นผู้มีความประพฤติดี มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอยู่เสมอ ครั้นเมื่อสมาชิกของสหกรณ์เป็นคนดีมีศีลธรรมและวัฒนธรรมแล้ว บรรดาคนภายนอกสหกรณ์ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ก็มักจะประพฤติเอาเยี่ยงอย่างสมาชิกสหกรณ์ด้วย

       3. การส่งเสริมการออมทรัพย์การออมทรัพย์เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่ง ซึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะเป็นที่มาแห่งเงินทุน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในกิจการทุกสาขาในการพัฒนาเศรษฐกิจ ท้องถิ่นใดมีทุนมากย่อมเจริญ ประชาชนมีความอยู่ดี กินดี ดังนั้น สหกรณ์ทุกรูปจึงมุ่งส่งเสริมการออม

ทรัพย์ขึ้นในระหว่างสมาชิก โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ เช่น ข้อบังคับของ

              สหกรณ์หาทุนกำหนดให้สมาชิกฝากเงินไว้กับสหกรณ์ 3 ประเภท คือ

        2. เงินฝากเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์

        3. เงินฝากระยะเวลายาว เป็นต้น

        4. การส่งเสริมความสามัคคี

              ความสามัคคีเป็นเรื่องสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในวงการสหกรณ์ เพราะสหกรณ์เป็นองค์การที่มีจุดมุ่งหมายรวมคนมากกว่ารวมทุน เพื่อส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยวิธีร่วมกันดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ด้วยกัน และส่งเสริมการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและช่วยตนเอง ดังนั้น การที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้จึงจำเป็นต้องยึดหลักความสามัคคีธรรมเป็นหลัก มิฉะนั้นก็รวมกันไม่ได้ สหกรณ์มีวิธีการส่งเสริมความสามัคคีในหลายทางด้วยกันเช่น

                  1) ก่อนจะรับเข้าเป็นสมาชิก บุคคลนั้นต้องมีสมาชิกรับรองว่า เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย และมีชื่อเสียงดี ซึ่งย่อมเป็นประกันถึงความสามัคคีในหมู่สมาชิกได้ทางหนึ่ง

                  2) การดำเนินงานของสหกรณ์นั้น สมาชิกต้องมาประชุมพบปะซึ่งกันและกันอยู่เสมอ งานบางอย่างสมาชิกต้องช่วยเหลือกันทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ย่อมทำให้สมาชิกบังเกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกันขึ้น แล้วความสามัคคีย่อมมีตามมาด้วยเป็นธรรมดา

                  3) ในสมาคมสหกรณ์ สมาชิกมีความรับผิดชอบร่วมกันในส่วนได้เสียสมาชิกแต่ละคนต้องช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของสหกรณ์ ช่วยควบคุมดูแลกิจการของสหกรณ์ ดูแลความประพฤติของเพื่อสมาชิกด้วยกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ได้ การช่วยป้องกันผลประโยชน์ของสหกรณ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ นี้เอง เป็นการส่งเสริมความสามัคคีของสมาชิกอีกทางหนึ่ง

                  4) สหกรณ์ดำเนินงานตามแบบประชาธิปไตยแท้ ในสหกรณ์ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ไม่มีข้า เจ้า บ่าว นาย การขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ไม่มีในสหกรณ์ ห้ามนำมาถกเถียงกัน เป็นการขจัดเหตุให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง การแตกแยกจึงไม่มี สมาชิกจึงมีแต่ความสามัคคีซึ่งกันและกัน

                  5) สหกรณ์มีวิธีการที่จะสร้างอิทธิพล ทำให้ปวงสมาชิกมีความสามัคคีกันไว้เสมอ เช่น การติดต่อธุรกิจกับสหกรณ์ที่สำคัญบางอย่าง สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกนั้นต้องมีเพื่อนค้ำประกัน เช่น การกู้ยืมเงิน มิฉะนั้นสหกรณ์ไม่ให้กู้เงิน สมาชิกต้องการกู้ยืมต้องรู้จักเอาอกเอาใจเพื่อนสมาชิกไว้ และต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจเพื่อนสมาชิกด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ความสามัคคีจึงบังเกิดขึ้นแก่บรรดาสมาชิกของสหกรณ์อีกทางหนึ่ง

         5. การส่งเสริมการศึกษาการศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานอันสำคัญในการพัฒนาการทุกด้าน ในด้านสหกรณ์นั้นการส่งเสริมการศึกษาในด้านสหกรณ์เป็นหลักสหกรณ์ที่สำคัญข้อหนึ่ง สมาชิกสหกรณ์จะต้องได้รับการศึกษาอยู่เนืองนิตย์ กิจการของสหกรณ์จึงจะเจริญก้าวหน้าเป็นบึกแผ่นมั่นคงพนักงานสหกรณ์ที่คอยช่วยเหลือควบคุมสหกรณ์อยู่นั้นจะได้พยายามอบรม แนะนำ ชี้แจง ให้การศึกษาแก่สมาชิกเพื่อมุ่งหมายให้สมาชิกสามารถบริหารงานของแต่ละสหกรณ์ สหกรณ์จึงเปรียบเสมือนองค์การที่ส่งเสริมการศึกษาของผู้ใหญ่ในด้านเศรษฐกิจที่สำคัญได้อย่างหนึ่ง

        นอกจากนั้น สหกรณ์ยังมุ่งส่งเสริมการศึกษาทั่ว ๆ ไปอีกด้วย โดยจัดให้มีทุนสาธารณประโยชน์ขึ้น มีการตั้งโรงเรียนสำหรับลูกหลานขอสมาชิกได้ศึกษาเล่าเรียน

        6. การส่งเสริมความเข้าใจและความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยการดำเนินงานในกิจการทั้งปวง เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย เริ่มตั้งแต่การสมัครเข้าเป็นสมาชิกก็ต้องเป็นด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็นหลักเสรีภาพ สหกรณ์เปิดรับสมาชิกโดยทั่วไปซึ่งเป็นหลักสมภาพสมาชิกทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน สมาชิกทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของสหกรณ์โดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า สหกรณ์มีหลักการและการปฏิบัติเหมือนกับการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งในบางกรณีทางบ้านเมืองยังไม่สามารถปฏิบัติได้เสียด้วยซ้ำ จึงนับได้ว่าเป็นการส่งเสริมให้มีความเข้าใจ และเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยด้วยการปฏิบัติโดยตนเอง

                 คุณประโยชน์ของสหกรณ์ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ

- ปลดเปลื้องหนี้เก่าอันมีภาระหนักในเรื่องอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขที่ไม่เป็นคุณ และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการผลิตและการจำหน่าย

- เกษตรกรสามารถยึดหน่วงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนไว้ได้

- ช่วยถ่วงอัตราดอกเบี้ยในชนบทที่สหกรณ์ดำเนินการอยู่ลดลง เป็นผลดีแก่เกษตรกร หรือประชาชนโดยทั่วไป

- อำนวยความสะดวกในด้านเครดิต และการตลาด

- ปรับปรุงระบบการตลาดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีแก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

- ช่วยในการพัฒนาที่ดินให้เกษตรกร มีที่ดินทำกินในขนาดอันเหมาะสมบำรุงรักษาดินและน้ำ มีความมั่นคง และหลักประกันแน่นอนในการถือครองที่ดิน อันจะจูงใจให้เกษตรกรปรับปรุงการผลิต

- ช่วยให้เกษตรกรให้ประกอบอาชีพถูกหลักวิชา ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

- ช่วยประชาชนได้ใช้แรงงาน ทุน และทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น

- ช่วยให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพอิสระ ไดรับประโยชน์จากการทำงานของตนเองอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย สามารถตั้งตัวและสร้างฐานะให้มั่นคงเป็นปึกแผ่นได้

- ช่วยให้ประชาชนได้จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในราคาที่เหมาะสมคุณภาพดี

- ช่วยให้ประชาชนมีที่ดินและเคหสถานเป็นของตนเอง

- ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

- ก่อให้เกิดการเสียสละ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

- ทำให้สวัสดิภาพของสังคมดีขึ้น

- ช่วยในการพัฒนาชุมชนดีขึ้น และสะดวกขึ้น

- ช่วยให้เกิดสื่อสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มชนในท้องถิ่นนั้นดีขึ้น

- เป็นกันชนระหว่างสังคมในเมืองกับชนบท

- สร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจในตนเองแก่เกษตรกร หรือประชาชน ที่เขาได้มีสถาบันของตนเอง เป็นตัวแทน และเป็นที่พึงในด้านต่าง ๆ แทนที่จะโดดเดียวตามลำพังหรืออยู่ในฐานะอย่างขอทาน แบมือขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นอยู่ร่ำไป

- ช่วยปลูกฝังศีลธรรมจรรยาในท้องถิ่นให้ดีขึ้น เพราะบรรดาสมาชิกสหกรณ์เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างอันดีแก่บุคคลในท้องถิ่นนั้น ๆ

- ผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดี เพราะสหกรณ์ถือคนเป็นสำคัญ สหกรณ์จึงมีส่วนกระตุ้นในด้านศีลธรรม จรรยาของราษฎรให้ดีขึ้น

- เนื่องจากสหกรณ์มีส่วนช่วยในด้านเศรษฐกิจสังคม และศีลธรรมของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น จึงเป็นเหตุให้สะดวกต่อการปกครองของบ้านเมือง

- การดำเนินงานของสหกรณ์ ถือหลักประชาธิปไตย กล่าวคือ เป็นการดำเนินงานของสมาชิก โดยสมาชิกและเพื่อสมาชิก สหกรณ์จึงมีส่วนส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นการสร้างประชาธิปไตยขึ้นในชนบท และในสังคมต่าง ๆ สอนให้ราษฎรเข้าใจว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร และคงจะมีส่วนรักษารัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้เวลาร่างถึง 10 ปี ลงทุนไปเป็นจำนวนมหาศาลไว้ได้บ้างกระมัง

- เมื่อเกษตรกรมีสถาบันของตนเอง รัฐบาลสนับสนุนความเชื่อมั่นและเข้าใจดีต่อรัฐบาลก็บังเกิดขึ้นแก่ราษฎร

- ช่วยให้นโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศบรรลุเป้าหมาย ฐานะของรัฐบาลก็จะมั่นคงขึ้น ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง

- สามารถช่วยในการป้องกันการบ่อนทำลาย การแทรกซึมของลัทธิอันไม่พึงปรารถนา

- เป็นศูนย์แห่งการเผยแพร่วิทยาการต่าง ๆ

- ช่วยให้การส่งเสริมช่วยเหลือในด้านเทคนิคของรัฐบาลสะดวกรวดเร็วและประหยัดยิ่งขึ้น

- ช่วยส่งเสริมการศึกษาผู้ใหญ่

- ช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนไปในทางที่จะให้มีการปรับตัวปรับปรุงการประกอบอาชีพ มีความตื่นตัวที่จะรับอารยธรรมแผนใหม่ อันเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเท่าที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น แสดงให้เห็นว่าสหกรณ์ได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม อันนำมาซึ่งความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติเป็นการถาวรตลอดไปดังนั้นเมื่อรัฐบาลมีจุดมุ่งหมายจะพัฒนาชาติบ้านเมืองโดยแท้จริง ก็น่าจะได้สนับสนุนให้เข้มแข็งต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง