ตัวอย่างโฆษณาเกินจริง

โฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่อสำอางเกินจริง

  1. หน้าแรก
  2. โฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่อสำอางเกินจริง

กฎหมาย กสทช.
ตามประกาศ กสทช. การออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะจูงใจ โดยหลอกลวง หรือกระทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยการใช้หรืออ้างอิงรายงานทงวิชาการสถิติ หรือข้อมูลอันไม่เป็นความจริง หรือเกินความจริงเข้าข่ายกำรกระทำที่เป็นการเอาปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

กฏหมาย อย.
การโฆษณาเครื่องสำอาง ต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโกด ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริงอันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของเครื่องสำอาง ข้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มิไช่จุดมุ่งหมายเป็นเครื่องสำอาง

คำโฆษณาเกินจริง
▪ลดการอักเสบของผิวหนัง
▪ช่วยลดสิวฝ้าในทันที
▪เพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น
▪ทำให้ผิวกลบมาเต่งตึง
▪สวยเพรียว

ตัวอย่างโฆษณาเกินจริง
▪ครีมบำรุงผิว ใช้แล้วขาวขึ้นใน 7 วัน
▪โทนเนอร์ ใช้รักษาฟ้า รักษาสิวภายใน 3 วัน
▪แป้งฝุ่น คุมความมันของใบหน้าสามารถคุมความมันได้ตลอด 24 ชั่วโมง
▪สบู่สมุนไพร ช่วยในการลดผด ผื่นภายใน 5 วันใช้แล้วเห็นผล

หากพบโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่อสำอางเกินจริง ผ่านสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ สามารถแจ้งร้องเรียน ได้ที่ ☎สายด่วน อย. 1556 หรือที่ สำนักงาน กสทช. Call center 1200

Categories

    • ใครเป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุ-โทรทัศน์
    • สื่อวิทยุ-โทรทัศน์มีความเป็นมาอย่างไร
    • สิทธิผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์
    • เครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์
    • การเอาเปรียบผู้บริโภค
    • การรู้เท่าทันสื่อ
    • สื่อวิทยุ-โทรทัศน์กับผู้บริโภคและสังคม
    • สิทธิการเข้าถึงสื่อของทุกกลุ่ม
    • กระบวนการร้องเรียน
    • สู่ยุคดิจิตอล
  • สื่อวีดิทัศน์
  • INFOGRAPHIC
  • ผลการศึกษา/บทความ/งานวิจัยต่างๆ
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

Contact

อย. รวบรวมไว้ให้แล้ว คำโฆษณาเกินจริง ที่ห้ามใช้กับผลิตภัณฑ์อาหาร เตือนผู้บริโภคอ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เผยแพร่บทความลงบนเว็บไซต์ เรื่อง คำโฆษณาเกินจริงที่ “ห้ามใช้” กับผลิตภัณฑ์อาหาร โดยระบุว่า

 

หลายครั้งที่ตรวจสอบแล้วพบว่า คำโฆษณาที่ถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เป็นเพียงคำชักจูงหรือเชิญชวนเพื่อให้หลงเชื่อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเท่านั้น แต่เมื่อลองใช้จริง ผลกลับไม่ได้เป็นไปตามที่โฆษณา

ในบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับคำโฆษณาเกินจริง ที่มักพบในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบว่ามีสัดส่วนของผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อค่อนข้างสูง แล้วจะมีคำประเภทไหนบ้างนะมาติดตามกันเลย

การโฆษณาอาหาร หมายถึง การกระทำด้วยวิธีการใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับอาหาร ส่วนประกอบของอาหาร เพื่อประโยชน์ในทางการค้า

ข้อความ หมายความรวมถึง ข้อความ ข้อความเสียง เสียง ภาพ รูปภาพ รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายสัญลักษณ์ หรือการกระทำอื่นใดที่เข้าใจได้

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564 คําที่ไม่อนุญาตในการโฆษณาคุณภาพ คุณประโยชน์ หรือสรรพคุณของอาหาร เช่น

  • ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ วิเศษ
  • เลิศที่สุด ดีเลิศ ชนะเลิศ ชั้นเลิศ เลิศเลอ ลํ้าเลิศ เลิศลํ้า
  • ยอด ยอดเยี่ยม ยอดไปเลย เยี่ยมยอด เยี่ยมไปเลย สุดยอด
  • ที่หนึ่ง หนึ่งเดียว ที่หนึ่งเลย
  • ที่สุด ดีที่สุด ดีเด็ด สูงสุด
  • เด็ดขาด หายห่วง หายขาด หมดกังวล
  • สุดเหวี่ยง
  • ไม่มีผลข้างเคียง ไร้ผลข้างเคียง
  • อย. รับรอง ปลอดภัย
  • เห็นผลเร็ว

ข้อความที่ไม่อนุญาตในการโฆษณาอาหาร รวมถึงการใช้ภาพที่สื่อให้เข้าใจได้ในความหมายเดียวกัน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1. ข้อความที่สื่อแสดงสรรพคุณอันทำให้เข้าใจว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกัน โรคหรืออาการของโรคหรือความเจ็บป่วย ตัวอย่างเช่น

  • ลดโคเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว ภูมิแพ้ หอบหืด
  • บรรเทาอาการปวดหัว ไมเกรน อาการชา บวมและเส้นเลือดขอด
  • แก้ปัญหาปวดประจําเดือน ประจําเดือนมาไม่ปกติ อาการตกขาว
  • ป้องกันหรือต่อต้านเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไข้หวัด แบคทีเรีย เป็นต้น

2. ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย หน้าที่อวัยวะ หรือระบบการทำงานของร่างกาย ตัวอย่างเช่น

  • ปรับสมดุลให้ร่างกาย ฟื้นฟูร่างกายหรืออวัยวะ
  • บํารุงสมอง บํารุงประสาท หรือบํารุงอวัยวะของร่างกาย
  • เสริมสร้างหรือกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพิ่มภูมิต้านทาน
  • Detox / ล้างสารพิษ

3. ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบำรุงกาม บำรุงเพศ หรือเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น

  • ช่วยบํารุงและเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ เสริมสร้างศักยภาพทางเพศ
  • เพิ่มขนาดอวัยวะเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้นาน – ลดอาการหลั่งเร็ว
  • อาหารเสริมสําหรับชาย/ หญิง
  • กระชับช่องคลอด
  • เพิ่มขนาดหน้าอก อัพไซส์

4. ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณเพื่อบำรุงผิวพรรณและความสวยงาม ตัวอย่างเช่น

  • ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดํา ลดความมันบนใบหน้า
  • ผิวขาว กระจ่างใส นุ่มเด้ง เปล่งปลั่ง ออร่า
  • กระชับรูขุมขน/ ฟื้นฟูผิว
  • ชะลอความแก่
  • แก้ผมร่วง
  • กันแดด ท้าแดด

5. ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณในการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หรือข้อความอื่นใดในทำนองเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

  • ลดความอ้วน
  • ช่วยให้ระบายท้อง
  • สลายไขมันที่สะสมในร่างกาย ดักจับไขมัน
  • Block/ Burn/ Build /Break / Firm
  • การใช้ภาพสายวัด/ เครื่องชั่งน้ำหนัก/ กางเกง Over Size
  • ภาพ Before/ After
  • ไม่โยโย่

ดังนั้น อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่กล่าวอ้างเกินจริง เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป โดยเฉพาะการซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์

ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพใด ๆ ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาการได้รับอนุญาตและการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องแสดงฉลากเป็นภาษาไทย มีข้อมูล เช่น

ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร 13 หลัก ในกรอบเครื่องหมาย อย. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/ผู้แบ่งบรรจุ หรือผู้นำเข้า (ผลิตภัณฑ์นำเข้าต้องระบุประเทศผู้ผลิตด้วย) ชื่อและปริมาณของส่วนประกอบสำคัญและส่วนประกอบที่มีการกล่าวอ้างคุณประโยชน์ ปริมาณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุ วันเดือนปีที่ผลิต และ/หรือวันเดือนปีที่หมดอายุหรือควรบริโภคก่อน

นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำเตือนและคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ขอให้รู้เท่าทันการโฆษณาอย่าหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณใด ๆ มารับประทาน เพราะอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอย่างคาดไม่ถึง

ตัวอย่างโฆษณาเกินจริง มีอะไรบ้าง

ข้อความโฆษณาต้องห้ามใช้ สื่อโฆษณาอาหารเกินจริง!.
ศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์วิเศษ.
เลิศที่สุด ดีเลิศ ชนะเลิศ ชั้นเลิศ เลิศเลอ ล้ำเลิศ เลิศลํ้า.
ยอด ยอดเยี่ยม ยอดไปเลย เยี่ยมยอด เยี่ยมไปเลย สุดยอด.
ที่หนึ่ง หนึ่งเดียว ที่หนึ่งเลย.
ที่สุด ดีที่สุด ดีเด็ด สูงสุด.
เด็ดขาด หายห่วง หายขาด หมดกังวล.
สุดเหวี่ยง.

สินค้าที่โฆษณาเกินจริงส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทใด

เป็นอันตรายถึงชีวิต สินค้าโฆษณาเกินจริงส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทอาหารเสริม เช่น เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว ครีมทาหน้า สิ่งเหล่านี้ต้้้องใช่กับร่างกายโดยตรง ทั้งกิน ดื่ม ทา หากสรรพคุณที่กล่าวเกินจริง ผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับต่ำที่สุดคือไม่เห็นผลตามที่กล่าวอ้าง แต่ถ้าสินค้าชนิดนั้นผลิตขึ้นอย่างไม่ได้มาตรฐาน และใช้วัสดุ ...

โฆษณาที่ไม่น่าเชื่อถือเป็นอย่างไร

การโฆษณายาที่มีการรับรองคุณภาพ โดยบุคคลอื่น เช่น บุคคลที่มีชื่อเสียง บุคลากรทางการแพทย์ สถาบันวิชาการ หรืออ้างงานวิจัย สถิติที่ไม่น่าเชื่อถือ โฆษณาที่มีการแถม หรือออกสลากรางวัล ซื้อเป็นของฝาก โฆษณาโดยไม่สุภาพ ร้องรำทำเพลง แสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นการโฆษณายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ลักษณะของสื่อโฆษณาที่อวดอ้างเกินจริงเป็นอย่างไร

ใช้ภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาเกินจริง ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า สิ่งที่ไม่เคยมีความจำเป็นหลายอย่างในชีวิต กลายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นขึ้นมา โฆษณาด้วยลักษณะท่าทาง ใช้เทคนิคการโฆษณาเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการโดยไม่ใช้คำพูด เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง