ตําแหน่งการเงินและบัญชี ทําอะไรบ้าง

Home  »  เรื่องบัญชี (Accounting)   »   การจัดตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานแผนกการเงิน  เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรู้ชัดในหน้าที่งาน กำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)   เป็นการควบคุมภายในป้องกันการทุจริต   นอกจากนั้นยังสามารถบริหารเงินสดได้ดี  มีการจัดเก็บหนี้ได้ทันเวลา  ข้อมูลการเงินที่ดี ทำให้ผู้บริหารสามารถวางแผนบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม

เป็นตำแหน่งพื้นฐานสำหรับเด็กจบใหม่ เพราะตำแหน่งงานนี้มีเยอะมาก บริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ปกติแล้วจะไม่จ้างบริษัทรับทำบัญชีให้มาดูแลเรื่องการจัดทำบัญชีให้ อาจจะด้วยหลายๆสาเหตุ อาทิเช่น กลัวความลับทางการเงินรั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอก หรือไม่สะดวกเพราะขนาดของบริษัทเริ่มใหญ่ขึ้น และให้ความสำคัญกับการควบคุมดูแลระบบบัญชีและการเงินมากขึ้น การจ้างคนอื่นอาจจะทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ช้าเกินไป บริษัทเหล่านี้จึงมีแผนกบัญชีเอาไว้เลย

ตำแหน่งงานในแผนกบัญชี 

โดยทั่วไปแล้วแบ่งกันง่ายๆตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน คือ


 1.  Account Payable หรือ AP 

    เจ้าหน้าที่ฝั่งจ่าย มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายว่าถูกต้องหรือไม่ จัดทำเช็ค หรือโอนเงินค่าใช้จ่ายต่างๆของบริษัท และบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การตั้งหนี้ไปจนตัดจ่ายเจ้าหนี้

2. Account Receivable หรือ AR 

    เจ้าหน้าที่ฝั่งรับ มีหน้าที่บันทึกบัญชีการรับชำระเงินจากลูกค้า บางครั้งอาจควบตำแหน่งการคอยติดตามวางบิลและเก็บเงินจากลูกค้าเองด้วย

3. Cost หรือ บัญชีต้นทุน 

    ส่วนใหญ่แล้วจะควบการดูแลคลังสินค้าหรือ Store ไปด้วยในตัว ทำหน้าที่จัดทำบัญชีต้นทุนแยกประเภทตามแผนกผลิต จัดทำบัญชีราคาต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่างๆ จัดทำรายงานสินค้าคงเหลือทุกเดือน

4. บัญชีเจ้าหนี้ 

    หรือ Account Payment หรือบัญชี AP ทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารการจ่ายเงินก่อนจัดทำเช็คจ่ายในกรณีต่างๆ จัดทำรายงานภาษีซื้อ จัดทำใบสำคัญจ่ายเช็คเพื่อเสนอให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบ บันทึกบัญชีสำหรับการซื้อ จัดทำสรุปยอดในสมุดรายวันซื้อ และจัดทำใบสำคัญทั่วไป พร้อมทั้งบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องทุกสิ้นเดือน

5. บัญชีลูกหนี้ 

    หรือบัญชี AR (Account Receivable) ทำหน้าที่บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ สรุปยอดขายประจำวันและประจำเดือน สรุปยอดลูกหนี้คงเหลือ จัดทำรายงานวิเคราะห์อายุของลูกหนี้ประจำเดือน จัดทำรายงานภาษีขาย

6. บัญชีแยกประเภท 

    เจ้าหน้าที่บัญชีแยกประเภท มีหน้าที่ดูแลบัญชีรายตัวให้บันทึกให้ถูกต้อง บันทึกปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง ดูแลตัวเลขในงบทดลองทุกราย เป็นต้น

5. บัญชีสินทรัพย์ 

เจ้าหน้าที่บัญชีสินทรัพย์ มีหน้าที่ดูแลและบันทึกบัญชีและตรวจสอบสินทรัพย์ของกิจการ ทำรายงานสินทรัพย์ บันทึกตัดค่าเสื่อมราคา จัดทำรายงานสรุปค่าเสื่อมราคาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เป็นต้น

6.บัญชีภาษี 

เจ้าหน้าที่บัญชีภาษี ดูแลการส่งแบบฟอร์มภาษีต่าง ๆ เช่น ภงด. 1 , 2 , 3 , 53 , 54 , 1ก , 2ก , 90 , 91 , ภพ. 30 , ภพ. 36 , ภธ. 40 ฯลฯ เป็นต้น ตำแหน่งนี้จะรับผิดเรื่องนี้โดยเฉพาะ บางที บัญชีลูกหนี้บางกิจการ อาจรับผิดชอบเรื่องรายงานภาษีขาย และ ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย, บัญชีเจ้าหนี้ อาจรับผิดชอบรายงานภาษีซื้อ รวมถึงส่งแบบ ภงด. ต่าง ๆ ด้วย

งานบัญชีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมและบันทึกข้อมูลทางบัญชี การเงินและภาษี เพื่อสรุปเป็นรายงานงบการเงิน การตรวจสอบและรับรองงบการเงิน หรือการตรวจสอบระบบการควบคุมภายในขององค์กร ในการนำเสนอข้อมูลผลประกอบการและฐานะทางการเงินขององค์กรรวมทั้งการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน ทำให้ผู้บริหารทราบถึงสถานะทางการเงินของกิจการซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการวางแผนตัดสินใจ การกำหนดกลยุทธ์ต่างๆรวมทั้งนโยบายที่เหมาะสมสำหรับองค์กร

ตำแหน่งต่างๆในสายงานบัญชี

โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงสายงานบัญชีคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นงานรวบรวมเอกสารทางบัญชี บันทึกรายการและจัดทำงบการเงินเท่านั้น แต่ว่าที่จริงแล้วในสายงานบัญชีมีตำแหน่งต่างๆที่แบ่งตามลักษณะงานได้ ดังนี้

1. นักบัญชี (Accountant)

หน้าที่ของนักบัญชี

นักบัญชีทำหน้าที่จัดทำรวบรวมข้อมูล จัดทำเอกสารทางบัญชี การบันทึกรายการค้า การตรวจสอบความถูกต้องทางบัญชี การจัดทำงบการเงินรวมทั้งการจัดทำงบประมาณและรายงานทางการเงินสำหรับผู้บริหาร

ตำแหน่งงานสำหรับนักบัญชี

นักบัญชีมีทั้งที่ทำงานในองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ นักบัญชีที่ทำงานในสำนักงานบัญชี รวมถึงนักบัญชีอิสระ 

ถ้าแบ่งตามขนาดขององค์กร ตำแหน่งงานสำหรับนักบัญชีประกอบด้วย

1.1 องค์กรขนาดเล็กและสำนักงานบัญชี

องค์กรขนาดเล็กซึ่งมีงบประมาณน้อยมักจะจ้างนักบัญชีเพียงคนเดียวในการดูแลงานด้านบัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี ส่วนใหญ่ผู้บริหารเป็นผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและมีพนักงานบัญชีในระดับstaff ซึ่งให้บริการงานบัญชีแบบครบวงจร งานจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วน การวางระบบบัญชีรวมถึงการตรวจสอบบัญชี การวางแผนภาษี เป็นต้น

1.2 องค์กรขนาดกลาง

องค์กรขนาดกลาง มีโครงสร้างของแผนกบัญชีได้แก่สมุห์บัญชีหรือผู้จัดการแผนกบัญชีทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารทางบัญชี ตรวจสอบการบันทึกรายการค้าและรายการภาษี การจัดทำงบการเงินและรายงานสำหรับผู้บริหาร มีพนักงานบัญชีประมาณไม่เกิน 5 คน ทำหน้าที่รวบรวมเอกสารและบันทึกบัญชี 

1.3 องค์กรขนาดใหญ่

องค์กรขนาดใหญ่ได้แก่บริษัทข้ามชาติ บริษัทมหาชนหรือ กลุ่มบริษัท มีโครงสร้างของฝ่ายบัญชี(Accounting Department) ได้แก่ 

1.3.1 ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี (Financial Controller/Chief Financial Officer) 

ถือเป็นผู้บริหารสูงสุดของสายงานบัญชีและการเงินของบริษัท มีหน้าที่ควบคุม วางแผน บริหารด้านบัญชีและการเงินของงองค์กร ได้แก่การบริหารต้นทุน กระแสเงินสด ประมาณการกำไรของธุรกิจ วางแผนการระดมทุนเช่นการเพิ่มทุน การออกหุ้นกู้ การเสนอขายหุ้น เป็นต้น เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนไปขยายกิจการ ดูแลการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ตลอดจนควบคุมกำกับดูแลทางด้านการเงิน จึงเป็นตำแหน่งที่ต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์ความรู้ความชำนาญทางด้านบัญชีและต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการบริหารการเงิน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

1.3.2 ผู้จัดการฝ่าย/แผนกบัญชี (Accounting Manager) 

ในองค์กรขนาดใหญ่ ผู้จัดการฝ่าย/แผนกบัญชีเป็นผู้บริหารระดับกลางขององค์กร เป็นผู้รายงานตรงไปยังผู้อำนวยการฝ่ายบัญขี มีหน้าที่ดูแลจัดการทางด้านบัญชีและการเงิน การตรวจสอบรายการทางบัญชีและภาษี ควบคุมการปิดบัญชีการจัดทำงบการเงิน การจัดทำงบประมาณ การจัดทำรายงานทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีและการเงินเพื่อเสนอผู้บริหารระดับสูง

1.3.3 สมุห์บัญชีหรือหัวหน้าแผนก

สมุห์บัญชีหรือหัวหน้าแผนก ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลเอกสารทางบัญชี ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ปิดบัญชี ตรวจสอบและยื่นแบบรายงานภาษี ติดต่อประสานงานกับกรมสรรพากร จัดทำงบการเงินและจัดทำรายงานทางการเงิน

1.3.4 พนักงานบัญชี

พนักงานบัญชีเป็นพนักงานบัญชีระดับปฎิบัติการที่ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชา มีหน้าที่ออกเอกสารทางบัญชีได้แก่ ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น การบันทึกรายการทางบัญชี การวางบิล การรับวางบิล การจัดทำแบบรายงานภาษี การจัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย เป็นต้น ในองค์กรขนาดใหญ่มักจะแบ่งงานเป็นพนักงานบัญชีฝ่ายเจ้าหนี้ พนักงานบัญชีฝ่ายลูกหนี้ พนักงานการเงิน(Cashier) เป็นต้น 

2. ผู้สอบบัญชี (External Auditor)

ผู้สอบบัญชีเป็นหนึ่งในสายงานบัญชีที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ส่วนใหญ่เป็นอาชีพอิสระ มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับบริษัทตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่จะมีโครงสร้างของงานสอบบัญชี โดยมีผู้บริหารในระดับPartner รองลงมาเป็นระดับManager ระดับSupervisor และระดับStaff

3. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)

ผู้ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่วางแผนการตรวจสอบภายใน ประเมินความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในขององค์กร และเสนอรายงานการตรวจสอบต่อคณะกรรมการของบริษัท บริษัทที่มีหน่วยงานตรวจสอบภายในส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทมหาชน เป็นต้น โดยทั่วไปมีผู้จัดการตรวจสอบภายใน1 คนและพนักงานตรวจสอบภายใน 1-2 คน ส่วนองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบริษัทย่อยหลายๆบริษัท จะมีจำนวนผู้ตรวจสอบภายในมากขึ้น

สายงานบัญชีเป็นสายงานที่เป็นวิชาชีพเฉพาะที่มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานรายงานทางการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่นประมวลรัษฎากร ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์(เกี่ยวกับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ผู้ประกอบวิชาชีพควรมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพอยู่อย่างต่อเนื่อง และเปิดรับและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างสม่ำเสมอ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง