ตัวอย่าง สัญญาซื้อขาย ที่ดิน ติดจำนอง

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกเป็นประจำกันเช่นเคยนะค่ะโดยวันนี้ เราขอเอาใจคนที่กำลังจะ ซื้อที่ดิน สักแปลง แต่ติดตรงที่ ที่ดิน แปลงนี้ติดจำนองกับธนาคาร และยังค้างจ่ายธนาคารด้วย จะทำอย่างไรดีเดี๋ยววันนี้เราไปดูกันค่ะว่า จะแก้ปัญหาได้อย่างไรและควรระวังอะไรบ้างเพื่อที่จะทำให้การซื้อที่ดินติดจำนองไม่เป็นปัญหาเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ

ข้อควรรู้และระวังเกี่ยวกับการ ซื้อที่ดิน ติดจำนอง

โดยปกติการไถ่ถอนจำนองนั้นธนาคารจะไม่ไปไถ่ถอนจำนองให้ แต่จะมอบอำนาจให้เจ้าของที่ดินไปไถ่ถอนเอง ดังนั้นผู้จำนอง(ผู้ขาย) จะต้องไปติดต่อกับธนาคารที่นำที่ดินไปจำนอง ว่าจะทำการขายที่ดินแปลงนี้แล้ว เพื่อให้ธนาคารกำหนดวันที่จะไปไถ่ถอนจำนองให้ที่กรมที่ดิน จากนั้นธนาคารก็จะคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันที่จะไถ่ถอนที่กรมที่ดินแล้วแจ้งให้ผู้จำนอง(ผู้ขาย)ทราบหรือผู้ซื้อและผู้ขายที่ดินอาจไปติดต่อกับธนาคารด้วยกันเลยก็ได้ค่ะ ส่วนในกรณีไม่ได้ไปธนาคารด้วยกันนั้น ผู้ขาย(ผู้จำนอง) ก็ต้องแ0จ้งกำหนดวันที่จะไถ่ถอนจำนอง และจำนวนเงินที่ธนาคารแจ้ง(จำนวนเงินต้น+ดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอน)ให้ผู้ซื้อทราบ

จากนั้นผู้ซื้อก็ต้องเตรียมเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คก็ได้  ถ้าเป็นแคชเชียร์เช็คก็ใช้ 2 ใบ  แต่แนะนำให้ทำเป็นแคชเชียร์เช็คดีกว่า โดยแคชเชียร์เช็ค

  • ใบแรก ก็คือยอดเงินต้น+ดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอน เพื่อสำหรับนำมามอบให้ธนาคาร เพื่อธนาคารจะได้ไถ่ถอนจำนองให้
  • ใบที่สอง คือ ยอดเงินที่จะจ่ายให้แก่ผู้ขายที่ดิน ได้แก่ ราคาที่ตกลงซื้อขาย – (ยอดเงินต้น+ดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอนที่จ่ายให้แก่ธนาคาร)  –  ค่าโอนที่ผู้ขายต้องจ่าย(แล้วแต่จะทำการตกลงกัน)

เมื่อถึงวันไถ่ถอนที่กรมที่ดิน  ทั้ง 3 ฝ่าย(ผู้ขายที่ดิน , ผู้ซื้อที่ดิน , ธนาคาร) มาถึงกรมที่ดินแล้ว ผู้ซื้อก็มอบแคชเชียร์เช็ค(เงินต้น+ดอกถึงวันไถ่ถอน)ให้ธนาคาร  ธนาคารก็จะไถ่ถอนจำนองให้ แล้วมอบโฉนดให้ เพื่อทำการซื้อขายต่อไป

จากนั้นผู้ซื้อจะมอบแคชเชียร์เช็คใบที่สองให้ผู้ขายเมื่อได้ทำการซื้อขายเกือบเสร็จสิ้น โดยเจ้าหน้าที่ที่ดินจะถามว่า ผู้ขายได้รับเงินแล้วหรือยัง ผู้ซื้อก็จะมอบแคชเชียร์เช็คให้ และจะต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียวกันเท่านั้น โดยจะจต้องอย่าให้เกิดกรณีไถ่ถอนแล้วซื้อขายในวันถัดไป เพราะอาจมีปัญหาได้ ดังนั้น ทั้ง 3 ฝ่าย (ผู้ขายที่ดิน , ผู้ซื้อที่ดิน, ธนาคาร) ต้องไปกรมที่ดินแต่เช้า

ยกตัวอย่างง่ายๆคือ  ถ้ามีการตกลงซื้อขายที่ดิน 3ล้านบาท  ผู้ขายที่ดินมียอดหนี้ธนาคาร+ดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอนที่กรมที่ดินเป็นเงิน 1แสนบาท ตกลงกับผู้ขายหลังจ่ายธนาคารไปแล้วในราคา 5 แสน โดยผู้ขายและผู้ซื้อตกลงชำระค่าค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินแปลงนี้คนละครึ่ง สมมติค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินทั้งหมด 20,000 บาทผู้ซื้อเตรียมแคชเชียร์เช็ค สองใบ

  • ใบแรก สำหรับจ่ายให้ธนาคาาร และ
  • ใบที่สองสำหรับผู้ขาย โดยใบแรกจะมี ยอดคือ 3ล้าน – 1แสน(ยอดหนี้บวกดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอน) – ค่าธรรมเนียมการโอนครึ่งหนึ่ง ก็คือ 10,000 = ยอดแคชเชียร์เช็คใบที่สอง คือยอด 5แสนบาท เพื่อมอบให้ผู้ขาย

โดยส่วนใหญ่ปัญหาคือ ค่าธรรมเนียมการโอนเราจะยังไม่ทราบว่าจริงๆ สุทธิ เท่าไหร่ ทราบแต่เพียงประมาณการเท่านั้น  ดังนั้น เราต้องควรถือเงินสดไปด้วย และลดยอดแคชเชียร์เช็คใบที่สองลง เช่น แคชเชียร์เช็คใบที่สอง ยอด 4 แสน แล้วถือเงินสดไป 1.2 แสน เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเป็นเงินสด 20,000 เหลือเงินสด 100,000 ก็มอบให้ผู้ขายไป

โดยเราควรจะต้องทำทุกขั้นตอนให้เสร็จภายในวันเดียวจะดีที่สุดและก่อนจะมอบแคชเชียร์เช็คใบที่สองและเงินสดที่เหลือให้ผู้ขาย  ขั้นตอนการซื้อขายที่ดินจะต้องเกือบแล้วเสร็จแล้วเท่านั้นและส่วนมากเจ้าหน้าที่ที่ดินจะเป็นคนบอกเองค่ะ

สรุป

  1. เราจะไปหรือไม่ไปติดต่อธนาคารก็ได้ จะให้ผู้ขายเดินเรื่องทุกอย่างก็ทำได้เสร็จกัน
  2. นัดโอนที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น ค่อยจ่ายเช็คให้ในขณะที่โอน ห้ามจ่ายก่อนเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ
  3. ควรให้ผู้ขายไปต่อรองกับธนาคาร เพื่อนำโฉนดออกมา ที่สนง.ที่ดินในวันนัดโอน ถ้าวันโอนธนาคารไม่นำโฉนดมาไม่ก็ไม่ควรซื้อขาย
  4. ตกลงเรื่องจำนวนเงินตัวเลขและเช็คว่าจะใช้กี่ฉบับปกตินิยม2 ควรตกลงกันให้ชัดเจนก่อนวันโอน
  5. ตกลงกันให้ละเอียดเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการโอน ค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ค่าอากร   ว่า  ใครจ่ายส่วนไหนบ้าง สำหรับค่าโอนทั้งหมด

ดังนั้นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือการที่ผู้รับจำนองและเจ้าของที่ดินควรที่จะไปทำเรื่องพร้อมกันที่สำนักงานที่ดินตรวจสอบยอดหนี้รวมดอกเบี้ยของผู้รับจำนองว่ามีเท่าไร ชำระเงินแบบไหนและเราสามารถยื่นทำเรื่องไถ่ถอนจำนองแล้วขายได้เลยหรือไม่ ไม่ควรที่จะยอมให้เงินไปก่อนในกรณีที่ผู้ขายอ้างว่าจะขอเงินไปไถ่ถอนก่อนแล้วมาทำเรื่องขายทีหลัง

โดยวิธีนี้เสี่ยงมีปัญหาเจ้าของที่ดินเล่นไม่ซื่อถึงแม้จะทำสัญญากันไว้ก็ตาม ต้องฟ้องร้องกันเสียเวลาเสียค่าทนายค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกนานกว่าคดีจะจบ ส่วนในกรณีที่มีบ้านมาในที่ดินด้วยนั้นราคาประเมินคงไม่มากดังนั้นควรจะแจ้งประเมินไปด้วยเพื่อที่จะช่วยลดปัญหายุ่งยากทีหลังในกรณีคุณต้องการใช้ประโยชน์บ้านในทางทะเบียนหรือถ้าไม่และบ้านไม่มีคนอยู่ก็ไม่ต้องแจ้งสิ่งปลูกสร้างไปก็ได้บ้านถือเป็นส่วนควบของที่ดินอยู่แล้ว  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะต้องแน่ใจว่าจะไม่มีใครมาอ้างเป็นเจ้าของทีหลัง ดังนั้นเพื่อตัดปัญหาควรแจ้งประเมินจะดีที่สุดค่ะ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง