ข้อสอบเครื่องยนต์แก๊สโซลีน พร้อมเฉลย

แนวความคิด แหวนลูกสูบมีจำนวน 3 ตัว ต่อ 1 สูบ แหวนตัวบนและตัวที่ 2(Top and 2nd Rings) ทำหน้าที่เป็นแหวนอัด (Compression Rings) สำหรับแหวนตัวที่ 3 เป็นแหวนน้ำมัน (Oil Rings) ทำหน้าที่กวาดน้ำมันหล่อลื่นที่เกินบริเวณผนังกระบอกสูบ ดังนั้นจึงเหลือน้ำมันเครื่อง ในห้องเผาไหม้ด้วยปริมาณที่จำเป็นสำหรับการหล่อลื่นเท่านั้น 

3. ถ้าท่อร่วไอดีของเครื่องยนต์แกโซลีนรั่วจะมีผลต่อเครื่องยนต์อย่างไร 

1) ขณะเครื่องเดินเบาะรอบจะสูง

2) สิ้นเปลืองน้ำมันเชื่อเพลิง

3) ส่วนผสมจะบางลง

4) ส่วนผสมจะหนาขึ้น

เฉลย ข้อ 3

แนวความคิด การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

                ในแต่ละรอบการทำงาน (cycle) เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นลง 4 ครั้ง (ขึ้น 2 ครั้ง ลง 2 ครั้ง) โดยเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ การที่ลูกสูบขึ้นลง 4 ช่วงชัก ทำให้เกิดการทำงาน 4 จังหวะ จังหวะการทำงานทั้ง 4 ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะมีดังนี้

1. จังหวะดูด (Intake stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ลง ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะดูดเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกดูดเข้ามาในกระบอกสูบโดยผ่านลิ้นไอดี(intake vavle) ซึ่งเปิดอยู่ ฃิ้นไอดีจะปิดที่ประมาณปลายจังหวะดูด (ใกล้ศูนย์ตายล่าง)

2. จังหวะอัด (Compression stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น ลิ้นทั้งสองทั้งลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย(Exhaust valve) จะปิดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกอัดจนกระทั้งใกล้ศูนย์ตายบน ส่วนผสมจะถูกจุดโดยหัวเทียน (เครื่องยนต์ดีเซลน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ามาโดยหัวฉีด) การเผาไหม้จึงเริ่มขึ้น

3. จังหวะกำลัง , จังหวะระเบิด , (Power stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนลงลิ้นทั้งสองยังคงปิดอยู่ แรงดันของแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ จะกระแทกลงหัวลูกสูบ ผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง จนกระทั้งใกล้ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอดีเสียจะปิด

4. จังหวะตาย , จังหวะไอเสีย (Exhaust stoke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น จะผลักดันให้ไอเสียค้างในกระบอกสูบ ออกไปภายนอกโดยผ่านลิ้นไอเสียที่เปิดอยู่ ลิ้นไอเสียยังคงเปิดอยู่จนกระทั่งลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นการเริ่มจังหวะดูดในรอบการทำงานต่อไป

4. การประกอบหัวฉีดเข้ากับเครื่องยนต์ทุกครั้งต้องทำอย่างไร

1) หมุนเครื่องยนต์ให้ตรงกับตำแหน่งการฉีด

2) ให้หัวเป่าลมทำความสะอาดเครื่องล้างหัวฉีดบนฝากสูบ

3) เปลี่ยนแหวนรองหัวฉีดทุกครั้ง

4) เปลี่ยนไส้กรองที่ชุดฉีดทุกครั้ง

เฉลย ข้อ 1 แนวความคิด หมุนเครื่องยนต์ให้ตรงกับตำแหน่งการฉีด 

5. ชิ้นส่วนที่ใช้ป้องกันแก๊สและน้ำหล่อเย็นรั่วของเครื่องยนต์คือ

1) แหวนอัด

2) ปะเก็บฝาสูบ

3) ปะเก็บอ่างน้ำมันเครื่อง

4) ซิวก้านวาล์ว

เฉลย ข้อ 1 แนวความคิด 

1) แหวนอัด = นี้ป้องกันการรั่วของส่วนผสมอากาศและเชื้อเพลิงและแก๊สที่เกิดจากห้องเผาไหม้ระหว่างจังหวะอัด และจุดระเบิดมิให้น้อยลงสู่ห้องเพลาข้อเหวี่ยงจำนวนแหวนอัดนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องยนต์ โดยทั่วไปลูกสูบหนึ่งลูกจะมีแหวะอัดสองตัว ซึ่งเรียกว่า “แหวนอัดตัวบน” และ “แหวนอัดตัวที่สอง” แหวะอัดจะมีลักษณะเป็นเทเปอร์ ดังนั้นขอบล่างของมันจึงสัมผัสกับผนังกระบอกสูบ กระออกแบบเช่นนี้เพื่อให้เกิดการสัมผัสที่แนบสนิทกันเป็นอย่างดี ระหว่างแหวนและ กระบอกสูบ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่กวาดน้ำมันเครื่องออกจากผนังกระบอกสูบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2) ประเก็บฝาสูบ = ประเก็บฝาสูบป้องกันการรั่วของแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ตามการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

3) ประเก็บอ่างน้ำมันเครื่อง = มีหน้าที่เป็น ที่เก็บน้ำมันเครื่องไว้เพื่อใช้ในการหล่อลื่น โดยมีประเก็นเป็นตัวป้องกันการการรั่วระหว่างเสื้อสูบกับอ่างน้ำมันเครื่อง

4) ซิวก้านวาล์ว = เป็นชิ้นส่วนที่นำมาจากอลูมิเนียมมีหน้าที่ป้องกันการรั่วของน้ำมันเครื่องที่ใช้หล่อลื่น กระเดื่องวาล์ว

6. เครื่องยนต์ดีเซลถ้าปลอกนำลิ้นลึกจะเกิดอาการใด

1) ควันไอเสียมีสีดำ

2) เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง

3) กินน้ำมันเชื้อเพลิง

4) ควันไอเสียมีสีขาว

เฉลย ข้อ 1 แนวความคิด

1) ควันไอเสียมีสีดำ = ควันดำ เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ในขณะที่ปริมาณของปริมาณของออกซิเจนในห้องเปาไหม้มีไม่เพียงพอ จึงทำให้การเผาไหม้ไม่หมด อนุภาคของเชื้อเพลิงที่หลงเหลือเหล่านี้จะได้รับความร้อนแล้วกลายเป็นสภาพเขม่าที่ถูกปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย

2) เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง = เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซลที่ไม่สมบูรณ์ มีสาเหตุจาก

·       หัวฉีดมีการอุดตัน ฉีดน้ำมันไม่เป็นฝอยละเอียด มีแรงดันผิดปกติจากค่ามาตรฐานที่กำหนด

·       ปั้มดีเซลจ่ายน้ำมันผิดปรกติ มีแรงดันต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐาน ทำให้จังหวะจุดระเบิดผิดปรกติ

·       เทอร์โบบกพร่อง สร้างแรงดันและปริมาณอากาศน้อยกว่าปรกติ

3) กินน้ำมันเชื้อเพลิง = อาการเครื่องยนต์กินน้ำมันมากผิดปกติ มีได้หลายสาเหตุ

·       ปั๊มดีเซลจ่ายปริมาณน้ำมันผิดปรกติ หรือมีการปรับแต่งปั๊มดีเซลให้จ่ายน้ำมันมาก

·       หัวฉีดผิดปรกติ จ่ายน้ำมันไม่เป็นฝอยละเอียด มีค่าแรงดันต่ำกว่ามาตรฐาน หรือมีการปรับค่าแรงดันไม่ถูกต้อง

·       เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ทำให้ต้องใช้เกียร์ต่ำ ส่งผลให้ใช้เครื่องยนต์รอบสูง มำให้เครื่องยนต์สึกหรอสูงด้วย

4) ควันไอเสียมีสีขาว = ควันขาว เกิดจากอุณหภูมิที่ถูกอัดในห้องเผาไหม้มีต่ำเกินไป เชื้อเพลิงที่ถูกฉีดออกมาจากหัวฉีดจะระเหยกลายเป็นไอแต่เผาไม่หมด จึงถูกขับออกมาทางท่อไอเสีย หรือมีส่วนผสมของน้ำมันเครื่องปะปนอยู่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง