วิธี คิด กองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ

ข้อดีของการออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่การออมการลงทุนประเภทอื่นไม่มี นั่นก็คือ สมาชิกกองทุนจะได้รับเงินจากนายจ้าง เรียกว่า “เงินสมทบ” มาช่วยเพิ่มพูนให้เงินเติบโตอีกทางหนึ่ง เหมือนได้เงินโบนัสเพิ่มพิเศษจากการทำงานทุกเดือน ซึ่งเป็นสวัสดิการที่นายจ้างให้แก่เฉพาะลูกจ้างที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนเท่านั้น 

ตามกฎหมายแล้วสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีสิทธิส่ง “เงินสะสม” เข้ากองทุนเพื่อเก็บออมเป็นเงินออมทุกเดือนได้ตั้งแต่ 2% ไปจนถึง 15% ของค่าจ้าง ขณะเดียวกันก็มีสิทธิได้รับ “เงินสมทบ” จากนายจ้างตั้งแต่ 2% ไปจนถึง 15% ของค่าจ้างเช่นกัน  ในทางปฏิบัตินายจ้างสามารถกำหนดเงื่อนไขการนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบแตกต่างกันได้ภายใต้อัตราที่กำหนดดังกล่าว กฎหมายยังเปิดให้ลูกจ้างสามารถสะสมเงินในอัตราที่มากกว่าอัตราสมทบของนายจ้างได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุใน “ข้อบังคับกองทุน” ของแต่ละบริษัท

หลายคนยอมพลาดโอกาสได้เงินพิเศษก้อนนี้เพราะคิดว่านำเงินไปลงทุนเองดีกว่า แต่อาจลืมนึกไปว่าการลงทุนเองจะต้องได้รับผลตอบแทนที่สูงมาก จึงจะเท่ากับจำนวนเงินสมทบของนายจ้างกรณีเป็นสมาชิกกองทุน เช่น สมมติว่าเราทำงานในบริษัท A เงินเดือน 40,000 บาท และสมัครเป็นสมาชิกกองทุน โดยส่งเงินสะสมในอัตรา 5% ของค่าจ้าง คิดเป็นเงิน 2,000 บาทต่อเดือน ส่วนนายจ้างส่งเงินสมทบให้ในอัตรา 3% ของค่าจ้าง คิดเป็นเงิน 1,200 บาท เงินสมทบที่ได้จากนายจ้างนี้เปรียบเสมือนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนถึง 60% เลยทีเดียว ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปได้ง่ายนักหากนำเงินไปลงทุนเอง ทั้งนี้ยังไม่นับรวมเงินที่จะได้จากการนำเงินสะสม-สมทบจำนวน 3,200 บาท ไปลงทุนให้เกิดดอกออกผลต่อไป 

อย่างไรก็ดี แม้ว่านายจ้างจะส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้ตั้งแต่เดือนแรกที่ลูกจ้างสมัครเป็นสมาชิกกองทุน แต่จะกำหนดเงื่อนไขที่สมาชิกกองทุนจะได้รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนไว้ในข้อบังคับกองทุน โดยนายจ้างส่วนใหญ่มักให้เงินสมทบเป็นขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามอายุงานหรือระยะเวลาที่เป็นสมาชิกกองทุน เพื่อเป็นการตอบแทนและสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างนานขึ้น ตัวอย่างเงื่อนไขการได้รับเงินจากกองทุน เช่น หากสมาชิก “สิ้นสุดสมาชิกภาพ” โดยเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 3 ปี จะไม่ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ แต่หากเป็นสมาชิกกองทุนมากกว่า 3 ปี แต่ไม่ถึง 5 ปี จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ 50% และหากเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบเต็ม 100%

ดังนั้น หากเรามีโอกาสได้ทำงานกับนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นหนึ่งในสวัสดิการแล้ว เราไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยที่จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนนับตั้งแต่วันแรกที่ทำได้ เพราะเงินเพิ่มพิเศษอย่างเงินสมทบที่ได้จากนายจ้างเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนการออมการลงทุนได้เร็วขึ้นและมีเงินออมก้อนใหญ่สำหรับเลี้ยงชีพหลังเกษียณได้

“เคยคิดมั้ย... ที่เราถูกหักเงินเดือนเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน เราได้อะไร แล้วจริงๆ ควรหักเท่าไหร่”


มนุษย์เงินเดือนหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ถูกหักเงินเดือนเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จนรู้สึกเหมือนเหลือเงินไว้ใช้จ่ายน้อยลง อยากเอาเงินไปทำอย่างอื่นบ้าง ทั้งที่จริงแล้วเงินก้อนนี้เป็นหนึ่งในหัวใจของความมั่งคั่งยามเกษียณของมนุษย์เงินเดือน ซึ่งจะช่วยให้ดำรงชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุขและไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลานด้วย


นอกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นแหล่งเงินออมชั้นดีเพื่อวัยเกษียณแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์เจ๋งๆ อีก 2 ต่อ ได้แก่


ต่อที่ 1 เมื่อจ่ายเงินสะสมเข้าไปในกองทุนฯ แล้ว ยังได้รับ “เงินสมทบจากนายจ้าง” ตามเงื่อนไขของบริษัท เหมือนเราได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกๆ เดือนโดยปริยาย


ต่อที่ 2 เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท


ทีนี้รู้แล้วใช่มั้ยว่า... ทำไมบริษัทถึงอยากให้เราสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่จริงๆ แล้วยังมีอีก “3 เคล็ดลับ เพิ่มเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ที่จะช่วยให้เราได้ประโยชน์สูงสุด ดังนี้


ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เต็มสิทธิ


ลองเปลี่ยนมุมมองซักนิดว่า... หากให้เราเก็บเงินเอง ก็อาจจะเก็บไม่อยู่ แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้วิธีหักเงินออมจากเงินเดือนมาสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลย ก็รับประกันได้ว่าเราจะมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณแน่นอน ดังนั้น เราควรเลือกหักเงินสะสมในอัตราสูงสุด พูดง่ายๆ คือ นายจ้างให้สิทธิออมได้สูงสุดเท่าไหร่ ก็เลือกใช้สิทธิเท่านั้น ซึ่งบางบริษัทให้เราสะสมได้ถึง 15% ของเงินเดือน และนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบให้อีกตามข้อกำหนดของบริษัท

ยิ่งเก็บเยอะ ยิ่งสบายในยามเกษียณ

ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอายุ 30 ปี เงินเดือนอยู่ที่ 30,000 บาทต่อเดือน อัตราการขึ้นเงินเดือน 4% ต่อปี เลือกลงทุนในนโยบายตราสารหนี้ 100% ได้ผลตอบแทน 5.40% ต่อปี


หากเราเลือกสะสม 3% นายจ้างสมทบให้เท่ากันที่ 3% รวมเป็น 6% เราก็จะมีเงินออม ณ ปีที่เกษียณอายุ 3,860,437 บาทแต่หากเราเลือกสะสม 15% นายจ้างสมทบให้อีก 3% รวมเป็น 18% เราก็จะมีเงินออม 9,455,924 บาท จะเห็นว่า... เพียงแค่เราลดการใช้จ่ายในปัจจุบัน และเปลี่ยนไปออมต่อเดือนให้มากขึ้น เราก็จะมีเงินออมเพิ่มขึ้นถึง 5,595,487 บาทเลย

เลือกนโยบายการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้


การเลือกนโยบายลงทุน หรือ Employee’s Choice นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากต้องการให้เงินออมของเราโตมากๆ คาดหวังอัตราผลตอบแทนสูงๆ เป็นตัวเลขสองหลัก แต่เลือกนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ 100% ก็คงเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ไม่มีทางที่นโยบายการลงทุนในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว จะทำให้เราได้รับอัตราผลตอบแทนเป็นตัวเลขสองหลักแน่นอน


นั่นหมายความว่า... หากคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น ก็ควรเลือกนโยบายการลงทุนที่แบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงๆ อย่าง “หุ้น” ด้วย


คำถามที่ตามมา คือ ควรแบ่งไปลงทุนในหุ้นสักกี่เปอร์เซ็นต์ดี 20% 30% 50% หรือ 70% คำตอบว่าควรจะแบ่งสัดส่วนไปลงทุนในหุ้นเท่าไหร่ดีนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนที่เราคาดหวังว่าจะได้จากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายวัยเกษียณ


นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตัวเราเอง รวมไปถึงทางเลือกในนโยบายการลงทุน หรือ Choice ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรามีให้เลือกอีกด้วย


แต่เนื่องจาก “หุ้น” ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่สูงกว่าเงินฝากและตราสารหนี้ จึงทำให้หุ้นมีความเสี่ยงที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน หลายคนจึงกังวลว่าถ้าแบ่งสัดส่วนไปลงทุนในหุ้นแล้วจะทำให้ขาดทุน หรือเงินต้นจะสูญ อย่าลืมว่า... การออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการลงทุนที่มีระยะเวลายาวนาน 20 - 40 ปี ซึ่งทำให้ความเสี่ยงโดยรวมของการลงทุนในหุ้นลดลง ขณะเดียวกันเงินออมของเราก็มีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยจากการลงทุนที่สูงขึ้น ซึ่งหมายความว่า เราจะมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณที่เพิ่มมากขึ้น


ตัวอย่างเช่น หากเราเปลี่ยนนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก “ตราสารหนี้ทั้ง 100%” เป็น “ตราสารหนี้ 70% และหุ้น 30%” จะทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 5.40% เป็น 7.33% ซึ่งจำนวนเงินออมที่มากกว่า ย่อมทำให้เรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันบริษัทหลักจัดการกองทุน (บลจ.) ที่ดูแลกองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพของแต่ละบริษัท จะมีโปรแกรมให้เราเข้าไปลองคำนวณเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อดูว่า ณ วันเกษียณเราจะมีเงินออมก้อนดังกล่าวประมาณเท่าไหร่ บางที่ Advance กว่านั้น คือ เราสามารถทดลองปรับเปลี่ยนอัตราเงินสะสมและนโยบายการลงทุน เพื่อฉายภาพให้เราสามารถวางแผนออมเงินในกองทุนสำรองให้เพียงพอกับที่ต้องการได้ด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คิดยังไง

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องหักกี่เปอร์เซ็นต์ ในการหักเงินสมทบนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ลูกจ้างสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน และนายจ้างสมทบเข้าเป็นประจำทุกครั้งที่จ่ายเงินเดือนให้อีกในอัตราตั้งแต่ 2-15% ตามข้อบังคับของแต่ละบริษัท เพราะฉะนั้นถ้ามองในแง่ของการลงทุนแล้ว ยิ่งเราสะสมมากเท่าไหร่ เรายิ่ง ...

เงินสมทบบริษัทคิดยังไง

“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund” คือ กองทุนที่นายจ้างและ บลจ. จัดตั้งขึ้นให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นสวัสดิการให้ลูกจ้างมีเงินใช้หลังเกษียณ โดยลูกจ้างสามารถเลือกจ่าย "เงินสะสม" ได้ตั้งแต่ 2%-15% ของเงินเดือน ซึ่งนายจ้างจะจ่าย “เงินสมทบ” เพิ่มให้อีกตามนโยบายของบริษัท ถือเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจกว่าการลงทุนรูปแบบอื่นตรง ...

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเสียภาษีไหม

แต่ข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะยังมีสิทธิประโยชน์ในส่วนของรายได้ที่เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับด้วย เนื่องจากผลตอบแทนและรายได้จากเงินลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีกด้วย ซึ่งทำให้ได้รับผลตอบแทนแบบเต็ม ๆ โดยที่ไม่ต้องเสียภาษี

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักภาษียังไง

1. เมื่อเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - สามารถหักลดหย่อนได้เมื่อคำนวณเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ปีละ 10,000 บาท - สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท (แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000บาท) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้ เพื่อเสียภาษี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง